Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

วันพุธ, 22 มกราคม 2568

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ

วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม)
ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ หรือ “หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม” เป็นพระเถราจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดกาญจนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามาก

ต้นตำรับตะกรุดโลกธาตุอันลือเลื่อง และผู้สร้างพระปิดตา ที่ได้รับยกย่องให้เป็น ๑ ใน ๕ ชุดเบญจภาคีพระปิดตาของไทย นอกจากนี้ วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านทุกประเภท ก็ล้วนทรงพุทธาคมเข้มขลังเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตสืบมาถึงปัจจุบัน แต่ก็หายากยิ่งนัก ว่ากันว่า มีดหมอประจำพระองค์กรมหลวงชุมพรฯ ก็เป็นของท่านด้วย

◉ ชาติภูมิ
หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ท่านเป็นชาวบ้านวังด้ง ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เกิดวันอังคาร เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๘๗ โยมบิดามีชื่อ นายยิ่ง ชูชันยะ โยมมารดามีชื่อ นางเปี่ยม ชูชันยะ โดยทั้งสองท่านประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ โดยจะล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

◉ ปฐมวัย
ในวัยเด็กหลวงปู่ยิ้ม ท่านมีอุปนิสัยใจคอเป็นคนเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ เป็นนักเลง พูดจริงทำจริง เด็กรุ่นเดียวกันหรือแก่กว่ายอมยกให้เป็นลูกพี่ ท่านได้เป็นกำลังช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายทางปากอ่าว จนคุ้นเคยกับชาวแม่กลองเป็นอันดี

◉ อุปสมบท
ในปี พ.ศ.๒๔๐๗ หลวงปู่ยิ้ม ท่านมีอายุครบบวช จึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายาว่า “จันทโชติ” โดยมี พระอธิการรอด วัดทุ่งสมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ เป็นพระกรรมมาวาจาจารย์ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชเรียนหลวงปู่ยิ้ม ได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งสมอ เพื่อเรียนอักษรขอม ภาษาบาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระมาลัย พระเจ้าสิบชาติ ท่องสูตรสนธิจนช่ำชอง สามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์สวดได้แต่พรรษาที่ ๒ จนพระอุปัชฌาย์หมดภูมิที่จะสอน

พระอธิการรอด จึงได้แนะนำให้ไปศึกษาวิทยาคมกับพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญวิทยาคมหลายท่านในเขตพื้นที่เมืองแม่กลอง อาทิ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางนางลี่น้อย เพื่อเรียนวิชาน้ำมนต์โภคทรัพย์และวิชาโหราศาสตร์, หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทรสุดคงคา เรียนวิชาทำธงกันอสุนิบาตรสายฟ้าฟาดและคลื่นลมในทะเลและวิชาลงอักขระหวาย นอกจากนี้ยังร่ำเรียนวิชามนต์จินดามณี เรียกเนื้อเรียกปลาอีกด้วย ,หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม อัมพวา เรียนวิชาทางมหาอุตย์ อยู่ยงคงกระพันและทำผ้าเช็ดหน้าเมตตามหานิยม ,หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ เรียนวิชาทำน้ำมนต์ปราบผี และวิชาแพทย์แผนโบราณ

หลังจากได้เล่าเรียนวิชาต่างๆ จนเจนจบแล้วได้ข่าวว่า สำนักสงฆ์แห่งวัดหนองบัว มีปรมาจารย์ผู้เก่งกล้าคือ ท่านหลวงพ่อกลิ่น ซึ่งหลวงปู่กลิ่นท่านนี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดัง ท่านได้บำเพ็ญวิปัสนา ธุระภายในถ้ำพุพระ (ถ้ำขุนแผน) ซึ่งอยู่ในเขตบ้านหนองบัว จนท่านสำเร็จวิชาต่างๆ มากมาย อาทิ วิชากำบังกายหายตัว วิชาแหวกน้ำดำดิน วิชาล่วงรู้การล่วงหน้า วิชาย่นระยะทาง วิชาทำของหนักให้เบา ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จดุจผู้วิเศษทีเดียว พระคณาจารย์จากทั่วสารทิศให้ความเคารพและเดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์กันอย่างมากมาย ที่พอบันทึกได้เท่าที่ทราบคือ

หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐม, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม, หลวงปู่พ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี

โดยหลวงปู่ยิ้ม ได้มาถวายตัวเป็นศิษย์องค์สุดท้าย ในปลายปี พ.ศ.๒๔๑๖ ได้ศึกษาวิชาไสยเวทย์ต่างๆ จวบจนปี พ.ศ.๒๔๑๘ หลวงพ่อปู่กลิ่น ได้มรณะภาพลงขณะมีอายุได้ ๑๑๗ ปี วัดหนองบัวจึงว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ในปี พ.ศ.๒๔๒๐ ซึ่งหลวงปู่ยิ้มหลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

เกียรติคุณของหลวงปู่ยิ้มเป็นที่เลื่องลือไปหลายหัวเมือง ทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ให้ความเลื่อมใสนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชา แม้กระทั่ง หลวงปู่ศุข แห่งวัดมะขามเฒ่า ยังเคยธุดงค์มาอยู่จำพรรษาที่วัดหนองบัว เพื่อแลกเปลี่ยนสรรพวิชากัน

หลวงปู่ยิ้ม มีอุปนิสัยสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ มีคนบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญท่านได้ถ่ายทอดไสยเวทวิทยาคมให้กับลูกศิษย์ในยุคต่อมา จนกลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เป็นต้น

(นั่งกลาง) หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
(นั่งกลาง) หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

◉ มรณภาพ
หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ สิริอายุรวมได้ ๖๖ ปี พรรษา ๔๖

หลังจากนั้นตำรับตำราต่างๆ ของท่านก็เป็นมรดกตกทอดมาถึง เจ้าคุณพระโสภณสมาจาร (หลวงปู่เหรียญ) วัดหนองบัว และสานุศิษย์ที่สืบทอดวิชาได้สร้างเครื่องราง เจริญรอยตามสืบมาจนถึงปัจจุบัน