ประวัติและปฏิปทา
ครูบาเจ้าศรีวิชัย
วัดบ้านปาง
อ.ลี้ จ.ลำพูน
ครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นคนมีบุญบารมีหรือคนดีมาเกิดโดยแท้ เมื่อเกิดมาแล้วได้สร้างคุณงามความดีต่อไปอีกอย่างไม่ลดละ แม้จะอุปมา ก็เป็นดังพระโพธิสัตว์เจ้า อุบัติมาเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวง เพื่อสั่งสมบารมีต่อไป
ถ้าเป็นการสั่งสมบารมีในชาติ นั่นย่อมหมายถึงว่าท่านต้องเตรียมตัวเตรียมใจมารับทุกข์จาก มารผจญ คือต้องอาศัยจิตใจที่ หลากล้นด้วย “ขันติบารมี” อันยอด เยี่ยม ไม่มีความโกรธ ความโลภ ความหลง เจือปนอยู่เลยในจิตใจท่าน
ขณะเป็นฆราวาส ตั้งแต่จําความได้ ท่านก็ได้ยกเหตุยกผลของกรรมให้แก่บิดามารดาผู้ใกล้ชิดเสียก่อน มิให้บิดามารดาหมู่ญาติพี่น้องต้องกระทําลงไป ด้วยจะเป็นผลของกรรมอันต่อเนื่อง อย่างไม่มีจบสิ้น
ครูบาศรีวิชัย เป็นบุตรของ ครอบครัวยากจน เป็นคนป่าคนดงคนหนึ่งเท่านั้น เมื่อได้บวชเข้ามาแล้ว ท่านก็เป็นพระป่าพระคงองค์หนึ่งเหมือนกัน
ในชีวิตของท่านที่เป็นสมณะ ท่านไม่เคยปรารถนาในยศถาบรรดาศักดิ์ นอกเหนือไปจากความเป็นสมณเพศ นักบวชปฏิบัติ ธรรมภาวนา เจริญพรหมวิหาร ธรรม และเผยแพร่ธรรมเท่านั้น
ท่านครูบาศรีวิชัย ท่านได้ฝากผลงานอันยิ่งใหญ่ในการบูรณะซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างไว้หลายแห่ง เช่น พระธาตุหริภุญชัย โบสถ์วิหาร วัดวาอารามเก่าแก่โบราณ และถนนหนทางสาธารณประโยชน์ ถ้าจะคิดเป็นมูลค่าในสมัยนี้ก็นับเป็นร้อยล้านเลยทีเดียว
ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ใต้) ขึ้น ๑๑ ค่ํา ปีขาล หรือวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ อันเป็นปีที่ ๑๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)
บิดาชื่อ นายควาย มารดาชื่อ นางอุสาห์
“ควาย” เป็นชื่อเรียกเด็กผู้ชายในสมัยนั้น อันเป็นคําชาวบ้านเรียกขานกันเหมือนชาว สุพรรณบุรีเรียกเด็กผู้ชายว่า “อ้ายหมา” “อีหมา” ส่วนทางภาคตะวัน ออกเรียกเด็กผู้ชายว่า “อ้ายทอก” “อีท่อน” แต่ว่ายังมีชื่อจริงอยู่นั่น เป็นคําเรียกของผู้ใหญ่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป
ครอบครัวของ ครูบาศรีวิชัย เป็นชาวป่าชาวดอย ลําบากยากจน ท่านเกิดมาท่ามกลางความอัศจรรย์แปรปรวนของโลก คือ ทั้งลมทั้งฝน ฟ้าร้องก้องคํารน แผ่นดินก็ไหวสั่นสะเทือน เมื่อคลอดมาแล้ว ทั้งลมฝนฟ้าฟาดคํารนนั้นกลับเงียบหายสนิท ท่านจึง ได้ชื่อว่า “อ้ายฟ้าฮ้อง หรือ “ฟ้าร้อง”
สมัยเป็นเด็กอายุ ๗-๑๘ ปี ท่านมีความดีงามโดยตลอดคือ ไม่เคยฆ่าสัตว์หรือเบียดเบียนสัตว์ให้ เป็นบาปกรรมเลย ตรงกันข้ามท่านมีจิตใจที่ประกอบด้วยบุญกุศลมากที่สุด
ท่านสามารถชักนําบิดา มารดาตลอดจนถึงญาติพี่น้องเว้น จากการฆ่าสัตว์ เลิกอาชีพพรานป่าได้อย่างสิ้นเชิง
อายุได้ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร โดย ท่านครูบาขัติ ณ วัดบ้านปาง สมความปรารถนาของสามเณรฟ้าฮ้องแล้วในชาตินี้ และ บัดนี้ท่านได้ปิดทางโลกเสียแล้วอย่างสิ้นเชิง ดําเนินชีวิตในเพศอันบริสุทธิ์ในพระศาสนา
บวชเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้เริ่มฝึกสอนสมถะและวิปัสสนา กรรมฐานกับพระอาจารย์เลยทันที ถ้าแม้มีเวลาว่างจากภารกิจใด ๆ ท่านจะขึ้นไปบนยอดเขา ฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพียงลําพัง
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ สามเณรฟ้าฮ้องมีอายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดบ้านปาง อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน โดยมี ครูบาสมณะ แห่งวัดบ้านโฮ่ง หลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับ ฉายาว่า “ศิริวิชโย ภิกขุ”
ขณะบวชเป็นพระอายุได้ ๒๑ ปีเต็ม อยู่จําพรรษาที่วัดบ้านปาง เมื่อบวชแล้ว ท่านได้ถือเคร่งตามพระวินัยธรรมทุกประการ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก ครูบาอาจารย์มากมายในช่วงนั้น
ต่อมาครูบาขัติ คิดส่งเสริมลูกศิษย์ให้ไปร่ําเรียนวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาต่าง ๆ กับ ครูบาอุปละ แห่งวัดดอยแต อําเภอแม่ทา จังหวัดลําพูน
ครูบาศรีวิชัย ได้มาอยู่จําพรรษากับท่านพระครูบาอุปละ ได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ เช่น การเจริญจิตภาวนากรรมฐาน วิชาเวทมนตร์คาถา ด้วยความขยันหมั่นเพียร ศึกษาร่ําเรียนอย่างเอาใจใส่ และสามารถจําได้อย่างรวดเร็ว
เจ้าสํานัก ครูบาอุปละ ก็มีความรักใคร่ถ่ายทอดวิชาให้อย่างเต็มที่ เป็นระยะเวลาปีเศษ ก็สิ้นความรู้ของพระอาจารย์
ต้นปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ครูบาศรีวิชัย ได้เดินทางกลับถิ่นกําเนิด คือ ที่วัดบ้านปาง แล้วท่านได้กระทําตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างดีงาม สร้างความศรัทธาแก่ชาวบ้าน และพระภิกษุสามเณรเป็นอันมาก ต่างก็มีความเคารพเลื่อมใสในองค์ท่าน
ครูบาศรีวิชัย ได้กลับมาบูรณะซ่อมแซมวัดบ้านปางขึ้นสมสง่าเชิดชูตาแก่ชาวบ้านเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังมีวัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรือง ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่ตั้งขึ้น บนยอดเขาบ้านปางนั้นเอง
ต่อมาความดีเด่นของท่านนี้ เกิดภัยด้วยการถูกกล่าวหาในความผิดต่าง ๆ จนต้องอธิกรณ์หลายครั้งหลายหน และถูกขับไล่ออกจากวัดบ้านปางอีกด้วย
ความเป็นพระบ้านนอกที่ไม่รู้ระเบียบ แต่ทางด้านพระวินัย และคุณธรรมความดีท่านนี้เป็นแบบอย่างอันดีในกาลต่อมา เมื่อพ้นข้อกล่าวหาแล้วท่านก็ได้เดิน ทางกลับถิ่นกําเนิด
ในการนี้ ครูบาศรีวิชัย ได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงพระเมตตาได้พระราชทาน เงิน ๖๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับลําพูนของท่าน นับ เป็นความพระเมตตาอย่างยิ่ง ที่ สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีต่อท่าน ครูบาศรีวิชัย แห่งวัดบ้านปางนี้
และการเดินทางมายังกรุงเทพฯ ในครั้งที่สองของ ท่านครูบาศรีวิชัย เพื่อน้อมระลึกคุณ สมเด็จพระสังฆราชทรงพระราชทานเหรียญมหาสมณุตสมาภิเษก แก่ครูบาศรีวิชัยอีกด้วย
วาระสุดท้ายของ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ด้วยท่านมุมานะสร้างคุณงามความดี ซึ่งมีภาคปฏิบัติและการพัฒนาปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม จะหาเวลาพักผ่อนไม่มีเลย ฉันก็ไม่ตรงเวลาและแทบไม่มีเวลาจะสรงน้ํา จนเป็นเหตุให้อาพาธลง ด้วยโรคริดสีดวงทวาร อันเป็นโรคที่แสนจะทรมาน จนถึงวาระ สุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน
ครูบาศรีวิชัย ได้ชนะใจคณะญาติโยม สิ่งสําคัญท่านชนะใจ ของท่านด้วย
ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถึงแก่มรณภาพในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ (นับตามปฏิทินระบบเดิม หากนับแบบปัจจุบันคือปี ๒๔๘๒) หรือตรงกับวันอังคาร เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีขาล สิริรวมอายุได้ ๖๐ ปี ๘ เดือน ๑๐ วัน หรือมีอายุย่าง ๖๑ ปี
และวันที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพ มีชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านได้ยินเสียงฟ้าคำรามเบาๆ แต่ญาติโยมที่เฝ้าครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ได้ยินเพราะมัวแต่ร้องไห้