วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อเฉื่อย
จนฺทสาโร

วัดราษฎร์ศรัทธาทำ
อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคมแห่งเมืองแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อเฉื่อย วัดราษฎร์ศรัทธาทำ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๑๙ ที่บ้านเมืองแปดริ้ว บิดาชื่ “นายปลอด ยงพฤกษา” และมารดาชื่อ นางเผื่อน “ยงพฤกษา

พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

◉ อุปสมบท
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดปากแยก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ โดยมี พระครูญาณรังษีมุนีวงษา (ทำ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวน (นอก) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา อดีตเจ้าคณะจังหวัด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดิส พฺรหฺมสร วัดสายชล ณ รังษี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกามาก ธมฺมสโร วัดเจดีย์ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺทสาโร

อุปสมบทแล้วได้ศึกษาวิชาอยู่กับพระอาจารยทัด ๓ พรรษา ก่อนจะไปศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดจักวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) กรุงเทพมหานคร

จนต่อมาเมื่อวัดปากแยกว่างตำแหน่งเจ้าอาวาส ชาวบ้านได้เดินทางไปนิมนต์ท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากแยก

เมื่อ พระครุพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแล้ว ระหว่างนั้นได้มีพระธุดงค์นาม ‘หลวงพ่อน้อย’ ธุดงค์มาพำนักที่วัดปากแยกเห็นว่ามีความสงบ จึงได้จำพรรษาอยู่ถึง ๘ ปี ก่อนจะธุดงค์ต่อไปโดยไม่เคยกลับมายังวัดปากแยกแห่งนี้อีกเลย ซึ่ง พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) ท่านได้ศึกษาวิชาคาถาอาคม ตลอดจนการทำตะกรุดจากหลวงพ่อน้อย

อาจกล่าวได้ว่าวิชาการทำตะกรุดที่พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) ร่ำเรียนมานั้น อาจเป็นสายเดียวกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ด้วยการทำตะกรุดของ พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) นั้น ต้องดำลงไปใต้น้ำเพื่อจารอักขระบนแผ่นตะกรุด และปลุกเสกแล้วจึงปล่อยให้ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ

รูปหล่อบูชา พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
รูปหล่อบูชา พระครูพจนสุนทร ( หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

◉ มรณภาพ
พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑

และเป็นที่กล่าวขานกันในพื้นที่ว่า พระครูพจนสุนทร (เฉื่อย) วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม หรือ ‘วัดปากแยก’ ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นี้มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระเกจิอาจารย์รูปอื่นที่มีชื่อเสียงของเมืองแปดริ้ว แม้กระทั่งพระครูสุวรรณศีลาจารย์ (ทอง คงฺครตโน) แห่งวัดก้อนแก้ว ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังให้ความเคารพและยกย่องหลวงพ่อเฉื่อย หรือแม้กระทั่งพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (ดิ่ง คงฺคสุวณฺโณ) แห่งวัดบางวัว ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็ให้ความเคารพนับถือ ทั้งยังนิมนต์หลวงพ่อเฉื่อยไปร่วมปลุกเสกเหรียญของท่าน

◉ ประวัติวัดวัดราษฎร์ศรัทธาทำ
ชื่อวัดที่ซ้ำกันอย่าง ‘วัดราษฎร์ศรัทธาทำ’ หากนับรวมกันแล้วก็ประมาณ ๒๐ วัด หนึ่งในนั้นเป็นวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม ตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีประวัติความเป็นมากล่าวไว้ว่า

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ นายใจ ซึ่งต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลแล้ว ผู้สืบสกุลของท่านได้ใช้สกุลว่า ‘สุวรรณเมือง’ ได้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา มอบที่ดินเพื่อสร้างวัดขึ้นมา ซึ่งวัดที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า ‘วัดปากแยก โดยเหตุที่ตรงบริเวณที่ตั้งวัดมีคลองเอวตะเข้ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติกับคลองบ้านใหม่ มาบรรจบกันตรงหน้าวัดพอดี และได้นิมนต์หลวงพ่อทัดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก

เมื่อหลวงพ่อทัด มาเป็นเจ้าอาวาสวัดแล้ว ได้สร้างอุโบสถ และกุฏิ โดยใช้ไม้จากเรือนโบราณยอดแหลมที่มีผู้บริจาคให้ อย่างไรก็ตามต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ เมื่อครั้งที่พระครูพจนสุนทร (เฉื่อย) เป็นเจ้าอาวาส อุโบสถหลังเก่านี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก จึงได้จัดสร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ หากยังไม่ได้ทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ด้วยขณะนั้นอยู่ในห้วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาทำการผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐
ซึ่งได้มีการจัดสร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือน พระครูพจนสุนทร (เฉื่อย) ขึ้นมาเป็นที่ระลึก

สิ่งก่อสร้างในวัดในอดีตนั้น ศาลาการเปรียญสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ เป็นเรือนไม้ปั้นหยา เสากลมไม้แก่น หลังคามุงกระเบื้องสี่เหลี่ยมชั้นเดียว กว้าง ๗ วา ยาว ๑๐ วา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่แทนเรือนไม้ปั้นหยาที่ชำรุดทรุมโทรม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ ๒ ชั้น กว้าง ๙ วา ยาว ๑๙ วา

วัดปากแยก’ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ‘วัดราษฎร์ศรัทธาทำ’ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๘๐ ครั้งนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้วัดและโรงเรียนที่มีชื่อเป็นภาษาจีนหรือภาษาต่างชาติ ซึ่งไม่เหมาะสม ให้เปลี่ยนมาใช้คำไทยหรือภาษาไทย พระครูพจนสุนทร (เฉื่อย) จึงได้ถือเป็นโอกาสเปลี่ยนชื่อวัดจาก ‘วัดปากแยก’ มาเป็น ‘วัดราษฎร์ศรัทธาทำ’

เหรียญรุ่นแรก พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ จ.ฉะเชิงเทรา ปี ๒๔๙๐
เหรียญรุ่นแรก พระครูพจนสุนทร (หลวงพ่อเฉื่อย จนฺทสาโร) วัดราษฎร์ศรัทธาทำ จ.ฉะเชิงเทรา ปี ๒๔๙๐

◉ ด้านวัตถุมงคล
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเฉื่อย วัดราษฎร์ศรัทธาทำ สร้างปี พ.ศ.๒๔๙๐ สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ.๒๔๘๒ พระอุโบสถหลังเก่า วัดราษฎร์ศรัทธาทำ (วัดปากแยก) ได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก หลวงพ่อเฉื่อย จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกับชาวบ้านจัดสร้างขึ้นใหม่ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ หากยังไม่ได้ทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ด้วยขณะนั้นอยู่ในห้วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาทำการผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ จึงได้มีการจัดสร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ขึ้นมาเป็นที่ระลึกแจกในงานผูกพัทธสีมา เป็นทรงเสมา ลักษณะพุทธศิลป์คล้ายกับเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อหิน วัดหนองสนม จ.ระยอง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นช่างแกะและโรงงานปั้มที่เดียวกัน จำนวนการสร้างน่าจะราวๆ ๑,๐๐๐ หรียญ เป็นเหรียญที่ได้รับการยกย่องจากชาวแปดริ้วว่าสุดยอดแห่งความเหนียวคงกระพันชาตรี ชนิดกลับร้ายกลายเป็นดี