วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค

วัดบางน้อย
อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

พระอุปัชฌาย์อยู่ ปุญฺญโค อดีตเจ้าอาวาสวัดบางน้อย ต.จอมปลวก อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย ท่านเป็นพระคณาจารย์ยุคเก่าของลุ่มน้ำแม่กลองร่วมยุคสมัยกับ หลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก, หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง, หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย แม้แต่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ยังให้ความเคารพนับถือยิ่ง

หลวงพ่ออยู่ วัดบางน้อย ท่านเชี่ยวชาญทั้งวิปัสนากรรมฐานและวิชาอาคมที่เก่งกาจ ในสมัยก่อนได้เกิดเหตุไฟไหม้วัดบางน้อย ท่านบริกรรมคาถาเรียกฝนตกดับไฟได้ท้าให้วัด ไม่เสียหายหนัก เป็นที่ประจักษ์แก่พระ เณรและชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นจ้านวนมาก น่าเสียดายที่ประวัติอย่าชัดเจนของท่านไม่มีการจด บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ท้าให้ไม่สามารถสืบค้นได้ในปัจจุบัน

หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

◉ ด้านวัตถุมงคล
เหรียญหลวงพ่ออยู่ วัดบางน้อย รุ่นแรก จัดสร้างขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๔๕๙ โดยบรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายของหลวงพ่ออยู่ ได้ขออนุญาตหลวงพ่ออยู่ท่าน หล่อรูปเหมือน และสร้างเหรียญปั้มรูป เหมือนรุ่นแรกขึ้น เพื่อไว้เป็นที่ระลึกในงานท้าบุญอายุ ๗๐ ปี ของหลวงพ่ออยู่

ในการสร้างเหรียญปั้มรูปเหมือนในครั้งนี ได้จัดสร้างขึ้นมา ๒ เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ลักษณะเป็น เหรียญรูปไข่ ปั้มขอบข้างกระบอก หูเชื่อม ลักษณะของเนื้อทองแดง จะออกไปทางสัมฤทธิ์เล็กน้อย ด้วยมีส่วนผสมของฝาบาตรและเหรียญสตางค์ มาหล่อหลอมรวมกัน ด้านหน้าเหรียญ แกะเป็นรูปหลวงพ่ออยู่นั่งเต็มองค์ในท่ามารวิชัย มีผ้ารองนั่งเป็นฐานบัวชั้นเดียว ใต้ฐานเป็นเลขไทยระบุปีที่สร้าง คือ “๒๔๕๙” ด้านบนเป็นอักขระขอมอ่านว่า “อุทธัง อโธ

หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่ออยู่ ปุญฺญโค วัดบางน้อย อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม

ด้านหลังของเหรียญแกะเป็นอักขระยันต์โดยมี “ยันต์มหาอุด” และอักขระยันต์ “นะ” ขนาบทั้งด้านซ้าย และด้านขวา ส่วนด้านบนเป็นอักขระยันต์ “อุ” มีอักษรไทยว่า “วัดน้อย” ด้านล่างเป็นอักขระขอมอ่านว่า “มะ อะ อุ

ในพิธีปลุกเสกเป็นไปอย่างเข้มขลังในอุโบสถวัดบ้างน้อย มีการบวงสรวงประกอบด้วย บายศรี หัวหมู ราชวัติฉัตรธง มีพระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกด้วยกันหลายรูป เช่นในคืนแรกของพิธี หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม (อาจารย์ของหลวงพ่อเงิน) ปลุกเสก คืนที่สอง หลวงพ่อแท่น วัดป่าแป้น ปลุกเสก และคืนที่สามหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อมปลุกเสก นับเป็นพิธีเข้มขลังมาก

หลวงพ่ออยู่ ท่านเป็นอาจารย์ ของพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคต่อมาอีกหลายรูปเช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อมและเป็นอาจารย์ ที่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เคารพนับถือมาก ในตอนสร้างเหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อคง ท่านลงมือตอกปั้ม เหรียญเองกับมือท่านทีเดียว (ในยุคนั้น สร้างเป็นแม่พิมพ์ ๒ ตัว ด้านหน้า ด้านหลัง แล้วใส่แผ่นทองแดงไว้ตรงกลาง แล้วจึงใช้ ค้อนตอกทีละเหรียญ) อีกทั้งหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ยังนำเหรียญนี้ ติดตัวโดยกลัดติดไว้ในย่ามตลอด