วันศุกร์, 25 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อสาย อัคควังโส

วัดท่าขนุน
อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (หลวงพ่อสาย อัคควังโส) วัดท่าขนุน พระเกจิชื่อดังกาญจนบุรี ศิษย์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน นามเดิมชื่อ “สาย ไกวัลศิลป์” เกิดวันอาทิตย์แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ที่ ต.หลานหลวง เขตนางเลิ้ง กรุงเทพฯ บิดาชื่อ “นายเพิ่ม” และมารดาชื่อ “นางจันทร์ ไกวัลศิลป์

◉ ปฐมวัย
ช่วงวัยเยาว์ บิดา-มารดาส่งเสียให้เรียนจนจบชั้น ม.๘ และเข้ารับราชการในการรถไฟ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ขณะนั้นอายุย่าง ๓๒ ปี ขณะที่ยังรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ป่วยเป็นฝีประคำขึ้นรอบคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่หาย

จึงเข้ากราบมอบตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ท่านเมตตารักษาจนหายขาด อันเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา จึงขอบวชเป็นพระภิกษุ

◉ อุปสมบท
เข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๘กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดเขาทอง ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยมี พระครูนิรันตสีลคุณ เจ้าอาวาสวัดเขาทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์น้อย วัดหนองโพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ไชย วัดเขาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อัคควังโส

พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) วัดหนองโพธิ์
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) วัดหนองโพธิ์

จากนั้นย้ายมาจำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมจากหลวงพ่อเดิม ที่วัดหนองบัว เป็นเวลา ๕ พรรษา จนเมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงออกเดินธุดงค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สำหรับวัดท่าขนุน ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในสมัยนั้นมีหลวงปู่พุก อุตตมปาโล ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาวมอญ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี บุกเบิกสร้างวัดและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ของวัดท่าขนุน จนท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๔๗๒

หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

ต่อมาหลวงปู่เต๊อะเน็ง โอภาโส พื้นเพเป็นชาวพม่า ได้รับเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดท่าขนุน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๔ ก่อนเดินทางกลับไปพม่า โดยไม่ได้กลับมาอีก

คณะสงฆ์ส่งพระภิกษุจากในเมืองกาญจน์มาช่วยดูแลวัดให้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็หนีกลับไป เพราะทนไข้ป่าไม่ไหว วัดท่าขนุนจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง

กระทั่งวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๕ หลวงพ่อสาย เดินธุดงค์มาจากนครสวรรค์ ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวณวัดท่าขนุน ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส จึงให้การอุปัฏฐากเป็นอย่างดี จนถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ จึงได้ลาชาวบ้าน เดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า

ครั้นวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๖ เดินธุดงค์กลับจากพม่ามาถึงวัดท่าขนุน และอยู่จำพรรษาอยู่จนถึงวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๖ ชาวบ้านซึ่งนำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก นิมนต์ให้อยู่ต่อเป็นเจ้าอาวาส

จึงแนะให้นายบุญธรรมนำคณะชาวบ้านไปกราบขอกับหลวงปู่น้อย เตชปุญโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์และเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแล จากนั้นจึงลาชาวบ้านเดินทางกลับไปที่วัดหนองโพธิ์

หลังออกพรรษา พ.ศ.๒๔๙๗ นายบุญธรรมจึงนำศรัทธาชาวบ้านเดินทางไปนครสวรรค์กราบหลวงปู่น้อย เพื่อขอตัวหลวงปู่สายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๗ และเริ่มบูรณะวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติ) วัดเหนือ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ตามหนังสือแต่งตั้งเลขที่ ๑/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๘

◉ ลำดับงานปกครอง
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับเเต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะตำบล
ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ

◉ ลำดับสมณศักดิ์
ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูสุวรรณเสลาภรณ์

ท่านร่วมกับชาวบ้านที่ศรัทธา ช่วยกันพัฒนาวัดท่าขนุนเรื่อยมาจนกลับมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกวาระหนึ่ง จนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ.๒๕๑๖ อีกด้วย

หลวงปู่สายปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งเด็ดขาด พระภิกษุสามเณรที่อยู่ใต้การปกครองของท่าน จะต้องปฏิบัติตามสีลาจารวัตรของพระเณรอย่างแท้จริง ผู้ใดบกพร่อง ท่านสั่งให้สึกหาลาเพศออกไปชนิดไม่ไว้หน้าใคร จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าท่าน “ดุอย่างกับเสือ

แม้ว่าหลวงพ่อสาย จะได้รับความไว้วางใจจากเจ้าคณะปกครองแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งถึงเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ แต่ท่านก็มิได้ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นทางโลก ยังคงใฝ่ใจปฏิบัติในทางธรรมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสก็ออกเดินธุดงค์ฝึกฝนกำลังใจตามความชอบเฉพาะตน จนภาระหน้าที่มีมากขึ้น จึงต้องหยุดการธุดงค์ไปโดยปริยายแต่กระนั้นก็ตาม เมื่อความเบื่อในทางโลกเกิดขึ้นจนถึงที่สุด หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิได้ไม่นาน หลวงพ่อสายก็ทิ้งภาระทุกอย่างออกเดินธุดงค์เข้าป่าไป ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๔ นานถึง ๗ ปีเต็ม กว่าที่ญาติโยมจะได้ข่าวและตามไปกราบอ้อนวอน หลวงพ่อจึงยอมกลับมายังวัดท่าขนุนอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลับมาแล้วหลวงปู่สายก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิของตนเอง และช่วยทำหน้าที่เจ้าคณะอำเภอสังขละบุรีแทน หลวงพ่อเพิ่ม ชินวํโส (พระครูสังขบุรารักษ์) วัดวังปะโท่ ที่สุขภาพไม่ดี และหลวงพ่อเพิ่มท่านใช้คำว่า “ไม่เก่งงาน” จึงต้องขอให้หลวงพ่อสาย ช่วยดูแลการปกครองคณะสงฆ์อำเภอสังขละบุรีให้ด้วยจากการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง จนขาดการพักผ่อนที่พอเพียง ทำให้สุขภาพของหลวงพ่อทรุดลง โรคภัยต่างๆ จึงรุมเร้าสังขารร่างกายของท่าน จนต้องรักษาพยาบาลเพื่อประทังเอาไว้ แต่ท้ายที่สุดสังขารร่างกายก็ไม่อาจจะฝืนทนอยู่ได้

หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อสาย อัคควังโส วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

◉ มรณภาพ
หลังจาก หลวงพ่อสาย ท่านประสบอุบัติเหตุลื่นล้มภายในวัดท่าขนุน วันหนึ่งในปีประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ จากผู้ที่อยู่ในวัยชราอยู่แล้ว ทำให้หลวงพ่อร่างกายไม่แข็งแรง มีอาการข้างเคียงตามมาอยู่หลายอาการ และจากที่ฉันน้อยพอประมาณอยู่แล้ว กลับฉันไม่ได้เลย ลูกศิษย์ลูกหาจึงถวายอาหารอ่อน และโสมเกาหลีและผลไม้ให้หลวงพ่อฉัน แต่อาการท่านทรุดลงเรื่อยๆ และงดรับกิจนิมนต์ ภายนอกวัด

ในต้นเดือนกันยายน พศ.๒๕๓๕ หลวงพ่อมีอาการไม่สู้ดี นายสมใจ มาโนช(มัคทายกในสมัยนั้น) จึงนำหลวงปู่สาย อัคควังโส เข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลเดชา พญาไท กรุงเทพฯ และหลวงพ่อสาย ได้มรณะภาพจากไปด้วยอาการแซกซ้อนและโรคชรา ในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษา ๔๗

นับเป็นเรื่องโศกเศร้าเสียใจยิ่ง และเป็นเรื่องใหญ่ในสมัยนั้น เพราะหลวงพ่อสายเป็นพระเถระที่ชาวอำเภอทองผาภูมิ และชาวจังหวัดกาญจนบุรี ให้ความเคารพเและพีธีสวดอภิธรรม หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน ในวันที่๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕

สรีระสังขาร หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน
สรีระสังขาร หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน
สรีระสังขาร หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน
สรีระสังขาร หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน

คณะศิษย์ได้ร่วมกันทำบุญถวายแก่หลวงพ่อสาย จนกระทั่งครบปีจึงเปิดโลง เพื่อจะนำสังขารของท่านมาเผาตามประเพณี แต่ปรากฏว่าสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อยแต่ประการใด เพียงแต่แห้งไปเฉยๆ จึงพร้อมใจกันเก็บสังขารของท่านเอาไว้เป็นมิ่งขวัญแก่ศิษยานุศิษย์สืบมาพระครูวิลาศกาญจนธรรมได้ทำการเปลี่ยนผ้าครองถวายแก่หลวงปู่สาย ตั้งแต่ปีแรกมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้เปลี่ยนโลงแก้วธรรมดา เป็นโลงแก้วประดับมุกถวายแก่หลวงพ่อ จึงได้พบลายมือของหลวงพ่อที่เขียนติดข้างฝากุฏิไว้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๕ ว่า “ลำพองอย่าลืมโลงกระจก” แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หลวงปู่ท่านทราบวาระสุดท้ายของท่านล่วงหน้ามานานแล้ว ถึงได้สั่งให้เตรียมโลงแก้วไว้บรรจุศพของท่านด้วยอุบาสิกาชื่น ศรีสองแคว หัวหน้าแม่ชีวัดท่าขนุนเล่าว่า ช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ.๒๕๓๕ เมื่อพระภิกษุสามเณรทั้งอำเภอมากราบทำวัตร หลวงพ่อสายได้นำเอาเหรียญของท่านมาแจกให้ทุกรูป พร้อมกับบอกว่า “แจกเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งสุดท้าย” แต่ทุกรูปก็ไม่ได้เอะใจว่า หลวงปู่ท่านได้บอกเป็นนัยว่า ท่านหมดอายุขัยแล้วทุกวันนี้สังขารร่างกายของหลวงพ่อสาย ยังอยู่เป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ลูกศิษย์ทั้งหลาย ณ วัดท่าขนุน คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดให้มีการทำบุญถวายแก่หลวงพ่อทุกวันที่ ๑๔ ของเดือน และทำบุญใหญ่ประจำปีถวาย ทุกวันที่ ๑๔ กันยายน ติดต่อกันมาทุกปีมิได้ขาด

◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์

เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน ปี ๒๕๑๓ (คุณเกมส์ เพิ่มทรัพย์ เจ้าของพระ)
เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน ปี ๒๕๑๓ (คุณเกมส์ เพิ่มทรัพย์ เจ้าของพระ)

ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัว สร้างเป็นเนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยม และบล็อกเสริม สร้างประมาณ ๑,๐๐๐ เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อสายครึ่งองค์ห่มจีวรคลุมไหล่ มีอักขระภาษาไทย เขียนคำว่า “ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (สาย)”

ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ และมีอักขระภาษาไทย เขียนว่า “วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓”