วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ

วัดวงษ์ฆ้อง
อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ยอดพระสักแห่งเมืองกรุงเก่า พระอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทางโหราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์โบราณ ท่่านสามารถทำนายทายทักผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องนำคนไข้มาหาท่าน แต่สามารถให้ญาติมาจดชื่อยาไปซื้อตามร้านขายยาได้

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ท่านเกิดในตระกูลชาวนา เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๔๐๖ ณ บ้านสวนพริก แขวงรอบกรุง เมืองกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา) บิดาชื่อ “นายหอม ภักดีวงศ์” และมารดาชื่อ “นางห่อ ภักดีวงศ์” ท่านเกิดในตระกูลชาวนา มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายนิ่ม ภักดีวงศ์
๒. นางเชื่อม สุคันธกุล
๓. หลวงพ่ออ่ำ ภักดีวงศ์
๔. นางปี ( ไม่ทราบนามสกุลใหม่ )
๕. นางขำ ธารีศรี
๖. นายไว ภักดีวงศ์
๗. นายวอน ภักดีวงศ์

ส่วนเรื่องราวในช่วงเยาว์วัยไม่ปรากฏชัด เพราะเป็นที่รู้ในหมู่ญาติรุ่นหลังๆ เพียงว่า ท่านเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่กับ หลวงพ่อฟัก หรือ พระครูธรรมิกาจารคุณ วัดธรรมิกราช (หน้าพระราชวังโบราณ) ตั้งแต่อายุประมาณ ๑๐ ปีเศษ และต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนี้กระทั่งบวชพระ ไม่เคยสึกหาลาเพศไปเป็นฆราวาส แต่ไม่อาจยืนยันเกี่ยวเรื่องพระอุปัชฌาย์และคู่สวดตอนที่อุปสมบทได้ เพราะบางกระแสก็ว่า “หลวงพ่อฟัก” เป็นอุปัชฌาย์ แต่บางกระแสก็ว่าเป็น “หลวงพ่อศรี ” วัดประดู่ทรงธรรม จึงทำให้ยังเคลือบแคลงสับสนมาจนบัดนี้ คงมีที่จำได้แม่นยำก็คือฉายาของท่าน ที่ได้รับการขนานเป็นภาษามคธว่า “อินฺทปญฺโญ

กิตติศัพท์ของท่านได้ทราบกันทั่วไปในสมัยนั้น ดังตัวอย่างก็คือ คุณวิลาศ โอสถานนท์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ในสมัยนั้นเรียก กรมโฆษณาการ) ไปขี่ม้า บังเอิญตกจากหลังม้ากระดูกสันหลังหัก ได้เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งโดยนอนเข้าเฝือกลำตัวไว้ ต่อมาญาติของท่านได้ทราบถึงความสามารถของหลวงพ่อ จึงขึ้นรถไฟไปหาท่าน (สมัยนั้นไม่มีทางรถยนต์ มีแต่ทางรถไฟทางเดียว)

หลวงพ่อบอกว่า เดี๋ยวก่อนไม่ต้องบอกว่าป่วยเป็นอะไร ว่าแล้วท่านก็จุดเทียนขึ้นเล่มหนึ่ง ตั้งเทียนไว้ที่ปากบาตร ที่สำหรับทำน้ำมนต์ พอท่านนั่งหลับตาอยู่ครู่เดียว ท่านก็บอกว่า คนไข้ กระดูกสันหลังหักเสียแล้วให้เอาใส่เรือมาจอดที่หน้าวัดเลย จะรักษาให้ ญาติๆ ถึงกับตะลึงเพราะไม่ได้มีใครบอกท่านก่อนเลยว่า จะพาใครมาหาท่าน มาเรื่องอะไร

เมื่อ พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ นอนในเรือมาถึงหน้าวัด (ท่านได้รับยศพันตรีในระหว่างสงคราม พร้อมๆ กับ คุณควง อภัยวงศ์) หลวงพ่อก็สั่งให้เอาเฝือกที่เข้าไว้ตั้งแต่บั้นเอวจนถึงหัวเข้าทั้งสองออก แล้วก็ทำการรักษาตามวิธีที่ได้ร่ำเรียนมา เนื่องจากกระดูกสันหลังหักและเคลื่อนไปจากที่เดิม หลวงพ่อจึงต้องทำการรักษาอยู่ ๓ ครั้ง คือ ๓ วัน พอครบ ๓ วัน กระดูกที่หักของคุณวิลาศ ก็ติดเป็นปกติ หลวงพ่อจึงสั่งให้ผู้ป่วยยืนขึ้น และเดินมาหาท่านผู้ป่วยก็ปฏิบัติตามด้วยอาการปกติ เหมือนกับไม่เคยมีอาการหัก ณ ที่ใดมาก่อนเลย

หลักจากนั้น คุณวิลาศก็ลากลับและไปตรวจเอกซเรย์อีกครั้งที่โรงพยาบาลที่ท่านเคยเข้าไปรับการรักษาในครั้งแรกที่กระดูกหักใหม่ๆ แต่ปรากฏว่ากระดูกไม่มีรอยหัก ณ ที่ใด ยังความประหลาดใจแก่แพทย์ผู้ทำการรักษาทุกท่านเป็นอย่างมาก ตอนนี้จึงทำให้กิตติศัพท์ของหลวงพ่อยิ่งกระฉ่อนไปอย่างไม่มีใครยั้งได้

◉ มรณภาพ
หลวงพ่ออ่ำ ท่านมรณภาพถึงแก่มรณภาพลง ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๘ เมื่ออายุของท่านประมาณ ๙๐ ปี โดยสภาพที่นั่งหลับทำสมาธิในกุฏิ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๘ ขณะนั้นยังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนที่จะถึงมรณภาพ ท่านได้บอกลูกศิษย์ที่รับใช้ท่านอยู่ว่า “พรุ่งนี้ไม่ฉันเช้า ไม่ฉันเพล ไม่ต้องปลุก เพลแล้วจึงค่อยเข้าไปหาในกุฏิ ก่อนจะไปหาในห้อง ให้หาอาหารนก ให้ไก่ ให้แมว ให้สุนัข และสัตว์ที่ซื้อชีวิตเขามาเลื้ยงไว้ในถุนกุฏิ ให้อิ่มเสียก่อนด้วย

วันรุ่งขึ้น ลูกศิษย์ก็ปฏิบัติตามที่ท่านสั่งอย่างเรียบร้อย เหมือนกับที่ปฏิบัติมาทุกวัน แต่ก็นึกแปลกใจว่า “วันนี้ทำไมหลวงพ่อไม่ตื่นออกมาฉันเช้าและฉันเพล” ทั้งๆ ที่อยากรู้ แต่ก็ไม่กล้าถามท่าน พอได้เวลาเลยไปแล้ว ลูกศิษย์ก็เปิดประตูกุฏิเข้าไปหาท่านตามสั่ง จึงพบว่า ท่านได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว ในลักษณะนั่งสมาธิบนเบาะพิงหมอนขวาน มือทั้งสองของท่านวางที่หน้าตัก ศีรษะเอียงไปข้างหนึ่ง จากนั้น ข่าวก็กระจายไปทั่วอยุธยาและทั่วประเทศ ลูกศิษย์ลูกหาผู้เคารพนับถือศรัทธาต่างก็หลั่งไหลไปที่วัดเพื่อกราบ นมัสการด้วยความเคารพและอาลัยยิ่ง

รูปเหมือนบูชา หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา
รูปเหมือนบูชา หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

เมื่อท่านมรณะภาพ ชาวบ้านต่างมากันทั่วทุกสารทิศ เพื่อกราบนมัสการด้วยความเคารพและอาลัย วัดวงษ์ฆ้องในระยะนั้นแน่นขนัดไปด้วยสาธุชนที่เคารพในตัวท่าน บุคคลที่เคยได้รับอนุเคราะห์จากท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่ไปขอความเมตตาจากท่านนับด้วยสิบๆ ปี เพราะท่านได้แผ่เมตตาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ไม่เลือกว่ายากดีมีจน ร่ำรวยหรือยาจกเข็ญใจ

แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน จะเห็นได้ว่า ทั้งเป็ด ทั้งไก่ ทั้งหนู เต็มไปทั้งใต้ถุนกุฏิ รวมทั้งวัว ควาย ที่เขาจะฆ่า พอท่านทราบเข้า ท่านก็จะขอบิณฑบาตชีวิตไว้ ถึงจะต้องเสียปัจจัยในการซื้อชีวิตนี้เท่าใดก็ตาม

เวลาฉันจึงเห็นจะมีแมวและสุนัข นอนหมอบอยู่ แล้วก็มีจิ้งจกคลานมาขอเม็ดข้าวจากท่าน
พอฉันเสร็จลูกศิษย์ก็ยกอาหารใส่ถาดมาวางข้างนอก ตอนนี้จะมีแมว สุนัข นก มารุมกันกินอาหารที่เหลือจากหลวงพ่อมากมายหลายตัวมากจริงๆ แต่ละตัวต่างก็นั่งกิน นอนกินกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งวิวาทกันเลย ตอนนี้หลวงพ่อมักจะออกมานั่งพิงบานประตูดูสัตว์กินอาหารกันด้วยความเมตตา เศษอาหารที่เหลือจากคนกิน ก็เป็นของหมูใต้ถุนกุฏิที่ท่านขอซื้อชีวิตมา วัวควายกินหญ้า กินผัก ที่มีคนมาให้ นี่ก็เป็นกิจวัตรของท่าน

ลักษณะรูปร่างหลวงพ่อ ท่านไม่สูงใหญ่ ไม่เจ้าเนื้อ ครองผ้าธรรมดา ไม่ใช่สีกรัก ไม่ใช่สีเหลืองแจ้ด ไม่มีลูกประคำห้อยที่คอ ครองผ้าครองจีวรอยู่เสมอ ไม่ใช่นั่งรับแขกด้วยอังสะพาดไหล่นุ่งสบงเพียงแค่นั้น ท่านไม่ฉันหมาก ไม่สูบบุหรี่ อาหารฉันน้อยมาก ฉันเช้าแต่เช้า แล้วมาเพล ฉันน้อยจริงๆ ของหวานที่รู้สึกว่าจะฉันบ่อยก็คือ ทองหยิบ ฝอยทอง

◉ ด้านวัตถุมงคล
สำหรับวัตถุมงคลเหรียญรุ่นแรกที่สร้าง ไม่ได้สร้างเป็นรูปเหมือนของท่าน หากแต่สร้างเป็นเหรียญฝาบาตรพระพุทธชินราช ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ขอบเหรียญเหมือนกับขอบสตางค์ เหตุเพราะโรงกษาปณ์ในสมัยนั้นเป็นผู้ผลิต คณะลูกศิษย์ซี่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญดังกล่าวขึ้นเป็นเนื้อฝาบาตรห่วงเชื่อมขอบสตางค์

เหรียญกลมพระพุทธชินราช หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา
เหรียญกลมพระพุทธชินราช หลวงพ่ออ่ำ อินฺทปญฺโญ วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

นับว่าเป็นเหรียญพระพุทธเหรียญเก่าเหรียญหนึ่งที่น่าเก็บสะสมมากเหรียญหนึ่งเพราะใน สมัยนั้นมีพระเกจิอาจารย์ที่เป็นสหธรรมิกของท่าน ได้ร่วมปลุกเสกโดยเล่ากันว่าท่านนิมนต์ทางจิต ได้แก่ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อยิ้ม วัดหนองบัว, หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ,หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ,หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง และอีกหลายคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสก เหรียญรุ่นนี้ สร้างจำนวนน้อย มีพุทธคุณเหรียญนี้เด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย คงกะพันชาตรี เสน่ห์เมตามหานิยม โชคลาภวาสนา กลับร้ายกลายเป็นดี ส่วนเหรียญรูปเหมือนของท่านรุ่นแรกสร้างแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ