ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร
วัดป่าเเก้วเจริญธรรม
อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร วัดป่าเเก้วเจริญธรรม เป็นพระเถระที่ เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม อดีตเจ้าคณะตําบลโพนพิสัยเขต ๑ อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกอุดม (คําพระองค์) บ้าน อุดมพร ตําบลอุดมพร อําเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย สู่การจาริกธุดงค์ตามรอยธรรมปฏิปทาในพ่อเเม่ครูอาจารย์สายป่ากัมมัฏฐาน นับว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเเห่งวงการพระพุทธศาสนาจวบจนปัจจุบัน
◉ ชาติภูมิ
หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร ถือกําเนิดในสกุล “บุตรศรี” ณ บ้านนาเตียง ตําบลตาลเนิ้ง อําเภอสว่างเเดน ดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ บิดาชื่อนายเพีย บุตรศรี มารดาชื่อนางอ่อน
บุตรศรี ท่านเป็นบุตรลําดับที่ ๑๑ ของครอบครัวจากจํานวน วงศ์) เป็นหน่อเเก้วร่วมท้องเดียวกัน ๑๒ คนโดยมีหลวงปู่สี พุทธาจาโร (พุทธนาวงศ์) เป็นหน่อแก้วร่วมท้องเดียวกัน
๑. นางพลอย พุทธนาวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
๒. ถึงแก่กรรม
๓. ถึงแก่กรรม
๔. นายเภา พุทธนาวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
๕. หลวงปู่สี พุทธาจาโร (พุทธนาวงศ์) (มรณภาพแล้ว)
๖. นายประเสริฐ ทองโคตร (ถึงแก่กรรม)
๗. นางบุญเลิศ พรหมบุญ
๘. นางผง พันหนองบัว
๙. ถึงแก่กรรม
๑๐. ถึงแก่กรรม
๑๑. พระวงศ์ สุภาจาโร (ประธานสงฆ์วัดป่าแก้วเจริญธรรม)
๑๒. นางวาน บุตรศรี
◉ การศึกษาทางโลกและทางธรรม
หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร สําเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนดอนหญ้านาง อําเภอสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร พ.ศ.๒๕๑๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี จากสํานักเรียนวัดคามวาสี จังหวัดสกลนคร พ.ศ.๒๕๑๔ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท จากสํานักเรียนวัดคามวาสี จังหวัดสกลนคร พ.ศ.๒๕๑๕ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จากสํานักเรียนวัดคามวาสี จังหวัดสกลนคร
◉ ก้าวสู่ใต้ร่มกาสาวพัตร์บรรพชาอุปสมบท
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ ขณะมีอายุ ๑๘ ปี ณ พัทธสีมาวัดคามวาสี ตําบลตาลโกน อําเภอสว่างเเดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูพุฒิวราคม (พุฒิ ยโส) เจ้าคณะอําเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาโดยมี พระครูพุฒิวราคม เป็นพระอุปปัชฌาย์ และมีพระอุดมสังวรวิสุทธิเถร วิ. (วัน อุตตโม) เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ พระครูวิสารปัญญาคม (ประสาร ปัญญาพโล) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดคามวาสี ตําบลตาลโกน อําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
◉ ธุดงค์สืบปฏิปทาพระอริยเจ้าสายป่ากัมมัฏฐาน
ระหว่างที่อยู่กับพระอุดมมสังวรวิสุทธิเถร วิ. (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ในช่วงเริ่มเเรกของการก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์นั้น หลวงปู่วงศ์ ได้โอกาสบรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ขณะนั้นอายุ ๑๘ ปี หลังจากที่หลวงปู่ฯ ได้เดินทางไปงานศพหลวงพ่อศิลา เทวมิตโต ที่วัดหลวงปู่ศิลา แล้วได้ไปฝากตัวเป็นนาคกับหลวงปู่วัน อุตตโม
ต่อเมื่องานศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ติดตามหลวงปู่วัน อุตตโม กลับมายังวัดพุทธาราม บ้านคําตานา เพื่อมาซ้อมขานนาค จนกระทั่งได้เวลาบวชเป็นสามเณร โดยในเวลานั้น ท่านมีเพื่อนที่ร่วมบรรพชา – อุปสมบท ด้วยกัน ๕ รูป และหลังการบวชแล้ว ท่านได้ปรนนิบัติดูแลใกล้ชิดหลวงปู่วัน อยู่เป็นนิสัย โดยมีหน้าที่กวาดตาด สรงน้ํา เมื่อแล้วเสร็จจึงเดินจงกรมต่อไปตามลําดับ
หลวงปู่ฯ เมตตามเล่าให้ฟังด้วยความรู้สึกปลาบปลื้มมต่ออีกว่า “พระเดชพระคุณท่านหลวงปู่วัน อุตตโม พระผู้เคยใกล้ชิดอุปัฏฐากทั้งหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่วัง ฐิติสาโร
หลวงปู่วัน อุตตโม ท่านเป็นผู้ที่พูดน้อย แต่พูดจริงทําจริง อ่อนน้อมต่อผู้ที่มีอายุพรรษามากกว่า เป็น ผู้ที่หนักในคารวธรรม ชอบความเป็นระเบียบ ให้ความอนุเคราะห์แก่สหธรรมิกที่อ่อนกว่า
การวางตัวของหลวงปู่วัน เสมอต้นเสมอปลาย จึงได้รับคํายกย่องสรรเสริญจากพระเถระผู้ใหญ่ และ เป็นที่เคารพนับถือของพระผู้น้อย เป็นผู้ที่ฝึกตนได้ดี เรียบร้อยงดงามในทุกอิริยาบถ ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน เป็น ผู้ที่พอดี ไม่ช้า ไม่เร็ว พอเหมาะเสมอในทุกโอกาส ท่านชื่นชอบการอยู่ป่าดงลึกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ เทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นแดนแห่งธรรมที่ศิษย์หลวงปู่มั่นแทบทุกองค์ต้องได้เหยียบย่าง ท่านได้อยู่อาศัยจํา พรรษาที่ถ้ำอภัยดํารงธรรม ภูผาเหล็ก บนเทือกเขาภูพาน มาจนตลอดชีวิต ชื่อเสียงของท่านฯโด่งดังเป็นที่รู้จัก ของคนทั่วไป”
ต่อมาไม่นานช่วงพรรษาที่ ๗ หลวงปู่วงศ์ ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ประเสริฐ ปภัสสโร (พระ พี่ชาย) ไปจําพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านโพนทอง เเละเมื่อออกพรรษาเเล้ว ได้ธุดงค์ไปพักที่บ้านนาสีดากับหลวงปู่ จันทร์โสม พอสมควรแล้วก็ได้ไปพักบ้านกลาง เเละถ้ำพระ ตามลําดับ
กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ กลับมาอยู่กับหลวงปู่วัน อุตตโม ในขณะนั้น หลวงปู่วันได้ไปพักอยู่ที่วัดโชติการาม เพื่อแสวงหา สถานที่ก่อสร้างวัดถ้ำอภัยดํารงธรรม (ถ้ำพวง) เมื่อพบสถานที่แล้วก็ได้ย้ายขึ้นไปจัดทําสถานที่พักเพื่อ ดําเนินการจัดทําเคหะสถานเพื่อจําพรรษาต่อไป
วันหนึ่งตอนเย็นหลังสรงน้ําเสร็จหลวงปู่ฯ ได้เดินไปเจอขอนไม้ที่ขวางอยู่กระต๊อบของท่านอาจารย์ หอมและได้ไปยกปลายขอนไม้ที่ขวางอยู่นั้น จึงทําให้เกิดอาการเอวลั่น และกลับที่พักได้เดินจงกรม พอเดิน จงกรมนานพอสมควรก็มีความรู้สึกว่าพิจารณาเห็นจิตของเราเหมือฝูงโคกําลังเดินเข้าสู่แหล่ง (คอก) เมื่อรู้สึก เหนื่อยแล้วก็เข้ามานั่งในที่พักซึ่งมุงด้วยใบไม้แซมลําแถมลําเลา (วัสดุที่ใช้ทําไม้กวาด) เมื่อนั่งสมาธิต่อไป สักครู่หนึ่งจิตก็สงบลงเป็นสมาธิแล้วก็ไปเห็นหัวใจแดงฉาน ไม่นานก็ปรากฎเห็นพระพุทธรูปปรากฎขึ้น ข้างหน้านั่งเป็นแถวอยู่ ๕ รูป ท่านก็พิจารณาว่า อันนี้แสดงว่า จิตของเราออกไปสู่อารมณ์ภายนอกแล้ว จึง ย้อนจิตเข้ามาดูดวงใจที่เดิมนิมิตนั้นก็หายไปอีกไม่นานก็ปรากฎเห็นพระพุทธรูปขึ้นมาอีกครั้ง ก็ย้อนจิตเข้า มาสู่ความสงบอีกไม่นานก็ปรากฎเห็นบุรุษร่างดําใหญ่เดินมากับลูกกล่าวว่า จะมาขอนวดหลังให้แต่ก็ไม่ได้ให้ เขานวด ก็บอกเขาว่า “สังขารมันไม่เที่ยง มันก็เจ็บเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้แหละ” ต่อมาจิตถอนออกจาก สมาธิในเมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้วก็ภาวนาต่อพอสมควรไดเ้วลาพักผ่อนก็พักผ่อนตามปกติในวันรุ่งขึ้น ความปีติความทราบซึ้งในการปฏิบัติก็ยังปรากฎความปิติอยู่ทั้งวันแล้วจึงจางหายไป
ต่อมา เมื่อจะทําเสนาสนะก็อาศัยชาวบ้านปทุมวาปีเป็นผู้ช่วยจัดทําการก่อสร้างทั้งภิกษุสามเณรใน สถานที่นั้น ชาวบ้านได้เข้าถางป่าทําไร่ปลูกถั่วปลูกแตงปลูกฝ้าย เมื่อถึงฤดูผลิดอกออกผลในพรรษากาล ชาวบ้านได้ปวารณานําพืชผลที่ปลูกไว้เหล่านั้นมาใส่ถวายใส่บาตรครูบาอาจารย์ได้ตามความต้องการ และได้ดัดแปลงโขดหินที่ถ้ำอภัยดํารงธรรม (ถ้ำพวง) ให้เป็นที่นั่งประชุมสงฆ์ในเวลาตอนเย็นและได้ทําการก่อสร้างกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ จนไปถึงกุฏิหลวงปู่วัน หลวงปู่วันเลยตั้งชื่อว่า “วัดถ้ำอภัยดํารงธรรม” ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๐๗ ในพรรษากาลนั้น สามเณรหลอ (พระครูอุดมญาณโสภณ (หลวงปู่หลอ นาถกโร) เจ้าอาวาสวัดถ้ำอภัยดํารงธรรม (ถ้ำพวง) ในปัจจุบัน) ได้มาอยู่จําพรรษาร่วมงานก่อสร้างวัดถ้ำอภัยดํารงธรรม (ถ้ำพวง) ด้วยกัน พระครูอุดมญาณโสภณ (หลวงปู่หลอ นาถกโร) คอยช่วยเหลืองานด้านก่อสร้าง เป็นอย่างดี ท่านทั้งสองมีความสนิทสนมกันมากจนมาถึงทุกวันนี้ก็ยังไปมาหาสู่กัน เวลาศิษย์พี่ศิษย์น้องเจอกันท่านทั้งสองให้ความเคารพในธรรมซึ่งช่างดูเป็นที่งดงามเป็นอย่างมาก
◉ ติดตามหลวงปู่สมัยในงานเผยแผ่พระธรรมทูต
เมื่อช่วงก้าวเข้าสู่พรรษาที่ ๓ การจาริกธุดงค์ในช่วงระยะเวลานั้น หลวงปู่วงศ์ ได้ติดตามอุปัฏฐาก หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก (วัดป่าโนนเเสงทอง อําเภอสว่างเเดนดิน จังหวัดสกลนคร) ไปยังวัดบ้านโพนทอง ตําบล โพธิ์ตาก อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ฯ ได้เดินทางไปเผยแผ่พระธรรมทูตประจําสายอําเภอเชียงใหม่ ได้อบรมชาวบ้าน
หลวงปู่ฯ เมตตาเล่าว่า “หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง เป็นผู้เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ข้อวัตรปฏิบัติและธุดงควัตร เป็นผู้มีนิสัยสุขุม เยือกเย็น พูดน้อย พูดจริง ทําจริง ตรงไปตรงมา มักน้อย สันโดษ สมถะ มีเมตตาสูง ท่านชํานาญทั้งด้านช่างไม้ และช่างปูน สามารถสร้างและออกแบบเสนาสนะได้เป็น อย่างดี ท่านเคยได้อยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกับครูบาอาจารย์หลาย ๆ รูป เช่น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร , หลวงปู่แหวน สุจิณโณ , หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม และ หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
หลวงปู่สมัย ท่านมีหลวงปู่เคน เขมาสโย และ หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล หลวงปู่เกิ่ง ฐิตวิริโย ทั้งสี่รูปเป็นสหธรรมิก อุปสมบทวันเดียวกันทั้งหมด”
เมื่อผลัดช่วงเวลาหนึ่ง หลวงปู่สมัยได้รับมอบหมายจากหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (วัดอรัญบรรพต จังหวัดหนองคาย) ให้ช่วยงานพระธรรมทูตต่าง ๆ ตามหมู่บ้านในเขตอําเภอสังคม จังหวัดหนองคาย หลวงปู่วงศ์ จึงได้มีโอกาสเดินทางไปช่วยงานด้วย โดยท่านพานั่งเรือไปที่บ้านแก้งไก่ , บ้านเจื้อง , บ้านสังคม, บ้านโสกกล้า และบ้านนาโคก ครั้นงานพระธรรมทูตเสร็จเรียบร้อยได้พาเที่ยวธุดงค์ไปยังบ้านสว่างปากราง , บ้าน น้ําซึม , บ้านนาเก็น ได้พักอยู่บ้านนาเก็นพอสมควรหลวงปู่สมัยก็ได้พาเดินทางกลับสู่วัดป่าบ้านโพนทอง ได้เดินทางผ่านบ้านกลาง บ้านกรวด บ้านโพธิ์ จนถึงบ้านโพนทอง
ในวันที่เดินทางออกจากบ้านนาเคนมุ่งสู่วัดป่าบ้านโพนทองซึ่งเป็นระยะการเดินทางที่ไกลพอสมควร ได้รับความลําบากในการเดินทางกว่าจะถึงวัดป่าบ้านโพนทองก็รู้สึกว่าได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ซึ่งไม่เคยเจอความเหน็ดเหนื่อยมากแบบนี้มาก่อน เดินทางตามป่าเขาลํานาไพร เต็มไปด้วยความเหนื่อยล้าเเละท้อเเท้ต่อสังขารร่างกายอย่างถึงที่สุด เนื่องจากการเดินเท้าต้องใช้เวลายาวนาน อีกทั้งยังต้องสะพายสัมภาระที่ใส่ของเต็มและยังมีบาตร กลด กาน้ํา รวมทั้งสัมภาระของหลวงปู่สมัย โดยหลวงปู่วงศ์กล่าวอย่างจับใจถึงห้วง เวลานั้น
หลวงปู่ฯ เมตตารําลึกความหลังต่อไปอีกว่า การเดินทางในครั้งนั้นถ้าต้องมีการเดินทางต่ออีก คิดว่าชีวิตจะหาไม่เสียแล้ว แม้เหนื่อยถึงขนาดนั้น เมื่อมาถึงแล้วก็ยังไม่ได้พัก ต้องปัดกวาดเสนาสนะ จัดที่นอนเสร็จก็ ถวายน้ำสรงแก่หลวงปู่สมัย
ต่อจากนั้นถวายการนวดต่ออีก เมื่อถวายการนวดเส้นเวลาผ่านไปนานพอสมควร หลวงปู่สมัยจึงบอกเลิกนวดเส้นให้ไปจัดหาสถานที่พักของตัวเอง
ในคราวนั้นหลวงปู่ฯ ออกเที่ยวธุดงค์ไป ด้วยกัน ๖ รูป ทั้งพระอาจารย์ชาลี (วัดภูก้อน) , พระอาจารย์คําสี , สามเณรกอง หรือหลวงปู่กอง ในปัจจุบัน เเละยังมีสามเณรสมภารที่มรณภาพไปแล้ว ที่ร่วมติดตามไปกับหลวงปู่สมัย ได้อยู่กับหลวงปู่สมัยนานพอสมควรประมาณ ๑ ปี เมื่อสมควรแก่เวลาแห่งการเที่ยวธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆแล้ว หลวงปู่ฯ จึงได้ กราบลาหลวงปู่สมัยเพื่อกลับมายังวัดบูรพาราม อําเภอสว่างเเดนดิน เดินทางกลับไปที่บ้านหนองหว้าไดพักที่วัดบ้านหนองหว้าเพื่อเยี่ยมเยียนบิดามารดาซึ่งชราภาพแล้ว หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เดินทางไปอยู่กับหลวงปู่บุญ ชินวังโส ซึ่งเป็นพระน้องชายของหลวงปู่พร สุมโน ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
◉ พบหลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร
ในพรรษาที่ ๕ การเดินทางธุดงค์จึงเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง โดยไปกับพระอาจารย์ประเสริฐ ปภัสสโร (พระพี่ชาย) ยังวัดบ้านโพนทอง ตําบลโพธิ์ตาก อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เเล้วจึงเที่ยวธุดงค์ไปยัง บ้านผือ
ครั้งนั้นท่านได้พบกับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่วัดป่าบ้านผือ จึงได้เที่ยวธุดงค์ไปพร้อมท่าน และ ได้ไปพักที่วัดเลยหลง (วัดศรีสุทธาวาส) โดยปีนั้น สภาพอากาศหนาวเย็นเป็นอย่างมาก ต้องภาวนาสู้ความ หนาวเหน็บ เเม้ในยามที่ออกบิณฑบาตเดินข้ามสะพานไม้ที่มีน้ําแข็งเกาะ ตลอดทางก็ต้องเผชิญกับความหนาว เย็นสะท้านจนมือเท้าชา ความหนาวเย็นอย่างนี้เป็นไปตลอดทั้งวันทั้งคืน จนร่างกายรู้สึกชา ไม่รู้สึกถึงความ เจ็บปวด ท่านจําได้ตรึงใจไม่รู้ลืมว่า “ช่วงอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้มีมีสองตายายที่ชรามาก เดิน ข้ามห้วยมากราบหลวงปู่มหาบุญมีและได้นำผ้าห่มมาถวายหลวงปู่ฯ”
“หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร” วัดป่าวังเลิง อําเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพระกัมมัฏฐานอีกรูปแห่งภาคอีสาน ที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์
◉ อุปัฏฐากหลวงปู่พร สุมโน วาระสุดท้าย
ภายหลังจากที่ออกธุดงค์ต่อไปไม่นานนัก ข่าวน่าเศร้าโศกเสียใจก็มาถึง เมื่อมีโทรเลขแจ้งว่า หลวงปู่พร สุมโน มีอาการอาพาธทรุดหนัก ทันใดนั้นการธุดงค์ท่องเที่ยวตามรอยธรรมต้องปิดฉากลงกลางทางเพื่อย้อนกลับมายังวัดประชานิยม อําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครอีกครั้ง ในครั้งนี้หลวงปู่ฯ อยู่อุปัฏฐาก หลวงปู่พร สุมโน ที่มีอาการอาพาธอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งนาทีสุดท้ายแห่งพระสุปฏิปันโนก็มาหยุดอยู่เบื้องหน้าของ หลวงปู่ฯ ในที่สุด ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาเดือนยี่ เป็นพรรษาที่ ๗ (ปี พ.ศ. ๒๕๑๒)
หลังจากที่หลวงปู่ฯ ช่วยงานพ่อแม่ครูอาจารย์เสร็จสิ้นลง การแสวงวิเวกหมุนวนอีกครั้ง ครั้งนี้ท่าน ออกธุดงค์ไปกับสามเณรแดง ณ ถ้ำจันทร์ เพื่อไปกราบพระอาจารย์บัวพันธ์ และได้อยู่ช่วยสร้างกุฏิถาวรสองหลังให้หลวงปู่คําบุ จากนั้นออกเดินทางไปจําพรรษา ณ วัดป่าบ้านห้วยลึก โดยมีโยมบิดาและโยมมารดา หลวงตากล้วย และสามเณรแดง ตามไปปฏิบัติธรรมด้วย
พ.ศ.๒๕๑๓ วันคืนล่วงไป การปฏิบัติภาวนาก้าวเข้าสู่ช่วงวัยพรรษาที่ ๙ หลวงปู่ฯ จึงได้เดินทาง กลับมาจําพรรษายังวัดถ้ำอภัยดํารงธรรม กับหลวงปู่วัน อุตตโม ในช่วงเวลานั้นเป็นจังหวะที่มีงานก่อสร้างถนนที่เชื่อมไปถึงวัดถ้ำพวง อําเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้มีคณะศรัทธาญาติโยมต่างหลั่งไหลมา ช่วยกันสร้าง เมื่อออกพรรษางานก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ ทําให้การสัญจรไปมายังวัดถ้ำพวง มีความสะดวกสบาย มากยิ่งขึ้น
หลวงปู่ฯ บอกว่า ในช่วงพรรษาที่ ๑๐-๑๑ เป็นช่วงระยะเวลาที่ได้อยู่ช่วยจัดงานฉลองเส้นทางขึ้นวัด ถ้ำพวง และในปีนั้นก็ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่วัน โดยทางวัดได้มีการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านด้วย ซึ่งเป็นเหรียญที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างพากันหาเก็บเอาไว้
ช่วงจําพรรษที่วัดถ้ำพวง และอยู่กับหลวงปู่วัน หลวงปู่ฯ ได้ช่วยงานหลวงปู่วัน ร่วมกับพระและ สามเณรที่อยู่จําพรรษาอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนขึ้นวัดถ้ำพวง สร้างวิหารถ้ำพวง และการก่อสร้าง วิหารในครั้งนั้นไม่ใช่จะทํากันโดยง่ายเช่นสมัยนี้ เพราะวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ต้องทุบหินตามที่ต่าง ๆ ให้มีมากพอที่จะนํามาใช้ได้ พอทุบในเบื้องต้นแล้ว โยมชาวบ้านที่มาช่วยงานก่อสร้าง ก็จะนําไปย่อยสลายผสมปูนอีกทีหนึ่ง ในเวลานั้นจิตใจจดจ่ออยู่ที่การช่วยงานก่อสร้างวัดกับหลวงปู่วัน
◉ สถานที่เคยอยู่จําพรรษา
พ.ศ.๒๕๑๖(พรรษาที่๑๒) โยมมารดาป่วยเวลานั้นหลวงปู่ฯได้กราบลาหลวงปู่วันกลับมาจําพรรษาที่วัดป่าแก้วเจริญธรรม เพื่อมาดูอาการป่วยของโยมมารดา ตอนนั้นหลวงปู่ฯ ได้ตัดสินใจสร้างกุฏิถาวรวัตถุขึ้นจํานวน ๓ หลัง ท่ามกลางเสียงหลายเสียงที่มีข้อขัดข้อง แต่การก่อสร้างก็ดําเนินมาจนแล้วเสร็จ เพื่อหวังจะได้ใช้เป็นที่ดูแลโยมมารดาเพื่อตอบแทนพระคุณ กว่าจะสําเร็จได้ก็ต้องอาศัยแรงศรัทธาจากญาติโยมที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาช่วยก่อสร้าง
ภายหลังจากที่ย้ายมาสร้างวัดแห่งนี้ได้ประมาณ ๒-๓ ปี หลวงปู่พุทธ ฐิตปัญโญ อาพาธ บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ได้นิมนต์ท่านพักรักษาอาพาธที่วัดบ้านม่วงไข่ จ.สกลนคร แต่ไม่นานนักท่านได้ละสังขาร
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๖ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร ได้มาอยู่จําพรรษา กับหลวงปู่ชนะ อุตตมลาโภ
พ.ศ.๒๕๒๑ (พรรษาที่ ๑๗) หลวงปู่ฯ ได้ไปจําพรรษาที่วัดบ้านห้วยลึก จนกระทั่งออกพรรษา จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดป่าแก้วเจริญธรรมอีก
พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓ นิมนต์หลวงปู่วัน หลวงปู่จวนมาบรรจุพระบราสารีริกธาตุที่พระพุทธรูป ในศาลาการเปรียญ
พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงปู่จวนกับหลวงปู่วันได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก
พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๓๖ (พรรษา ๒๐-๓๒) จําพรรษา ณ วัดโคกอุดม
พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘ (พรรษา ๓๓-๓๔) จําพรรษา ณ วัดป่าสร้างฤาษี
พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๓ (พรรษา ๓๕-๓๙) จําพรรษา ณ วัดโคกอุดม
พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕ (พรรษา ๔๐-๔๑) จําพรรษา ณวัดป่าแก้วเจริญธรรม
พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๕๕ (พรรษา ๔๒-๕๑) กลับมาจําพรรษาที่วัดโคกอุดม
พ.ศ.๒๕๕๖ ฉลองอุโบสถโคกอุดม (สร้างอุโบสถใช้งบการสร้างประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท)
พ.ศ.๒๕๕๖ หลวงปู่ฯ ได้มาจําพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้วเจริญธรรม โดยในช่วงเวลานั้นได้ปรับปรุงกุฏิหลังเดิมของหลวงปู่สี (พระพี่ชาย) ขยายต่อเติมเป็นโรงครัว เพื่อให้เป็นที่พักของยายน้อย ซึ่งเป็นน้องสาวแท้ ๆ คนสุดท้องของหลวปู่ โดยยายน้อยจะคอยอุปัฎฐากเรื่องอาหารการขบฉันของหลวงปู่ฯ
พ.ศ.๒๕๕๗ ต่อเติมศาลาการเปรียญ ๓ ด้าน ๆ ละ ๕ เมตร ปูกระเบื้อง (งบประมาณ ๑.๔ ล้าน)
พ.ศ.๒๕๕๘ ก่อสร้างกุฏิที่พักของหลวงปู่ฯ ให้เป็นกุฏิ ๒ ชั้น มีขนาด ๘ x ๑๑.๕๐ เมตร (งบประมาณกว่า ๑.๒ ล้านบาท)
พ.ศ.๒๕๕๙ เริ่มสร้างพิพิธภัณฑ์สุภาจาโรนุสรณ์ใช้งบประมาณการสร้างประมาณ ๖ ล้านกว่าบาท
พ.ศ.๒๕๖๑ สร้างถนนเข้าวัด ระยะ ๑,๕๐๐ เมตร เริ่มจากปากทางเข้าวัด จนถึงเขตรั้วหน้าวัด ซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ที่ชาวบ้านได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมด้วย ใช้งบการสร้างไปประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ แสนบาท
พ.ศ.๒๕๖๒ ทําถนนเทคอนกรีตต่อเข้ามาในบริเวณวัดใช้งบไปประมาณ ๘๐๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๖๓ เทคอนกรีตรอบศาลาและพิพิธภัณฑ์
◉ งานปกครอง :
- พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกอุดม (คําพระองค์) บ้านอุดมพร ตําบลอุดมพร อําเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
- พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตําบลโพนพิสัยเขต ๑ (ธรรมยุต)
- พ.ศ.๒๕๖๕ ประธานสงฆ์วัดป่าแก้วเจริญธรรม
วัดป่าแก้วเจริญธรรม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำห้วยคํา ต่อมาทางราชการได้ทําชลประทานขึ้นที่วัดเดิมจนถูกน้ำท่วม จึงต้องย้ายขึ้นมาตั้งอยู่ริมฝั่งชลประทาน บริเวณโดยรอบจึงอยู่ติดกับรัศมีน้ําห้วยคําเช่นทุกวันนี้
◉ โอวาทธรรมหลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร
เหตุการณ์ครั้งหนึ่งสมัยที่หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร ต้องผจญกับหมู่มารสมัยอยู่ที่วัดป่าคําพระองค์ เเต่ด้วยบารมีธรรมคุ้มครองจึงชนะมารทั้งปวง
หลวงปู่กล่าวว่า..
“..เพราะความหลงจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความวิบัติ เเละสูญเสีย คนเรามักทําอะไร ทําไปด้วยความหลง ไม่รู้อนาคต เเม้เเต่ผู้ปฏิบัติภาวนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อ ปฏิบัติไปก็หลงไป ก็ยังมีความหลงอยู่ ในผู้ที่ทําการงานทางโลกก็ยังหลงอยู่ ผู้ปฏิธรรมทางธรรมก็ยังหลงอยู่ เช่น พระโสดาบัน ผู้ได้ชื่อว่าเข้าถึงกระแสธรรมเป็นเบื้องแรก ถือเป็นอริยบุคคลอันดับแรก ท่านก็ยังหลงอยู่ ท่านก็ยังรู้เเค่เฉพาะจุดที่ท่านรู้ พระสกทาคามี และพระอนาคามีผู้ถือเป็นอริยบุคคลลําดับถัดมาซึ่งก็ยังหลงอยู่ เพราะว่าท่านยังไม่ก้าวสู่พระอรหันตผล เมื่อเข้าสู่พระอรหันตผลเเล้ว ท่านจึงคือผู้ไม่หลงอีกแล้ว
ทุกคนล้วนอยู่ในโลกเเห่งความหลง ยังคงมีความหลงผิด เพราะเป็นผู้ไม่รู้ เพราะเป็นผู้ที่ยังเดินทางอยู่ หรืออยู่ในระหว่างการเดินทาง จิตตัวนี้อาศัยอวิชชาครอบอยู่ จึงมีความหลง
คนเรารู้โดยตํารากับรู้ด้วยการปฏิบัติเห็นจริงด้วยตนเองนั้นต่างกัน หากยังไม่เห็นความจริง ตนเองก็ยังนับว่าเป็นผู้ที่มีความหลงอยู่นั่นเอง เช่น เหตุการณ์ในคราวที่มีเจ้าคณะตําบล เจ้าคณะจังหวัดในเขต ๆ หนึ่งต้องหนีไปสึก ร้อนรนอยู่ไม่ได้ เพราะหลงผิดกระทําการชั่ว กฎเเห่งกรรมแสดงทันตาเห็น ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า “การทําดีให้ผลเป็นสุข การทําชั่วให้ผลเป็นทุกข์” นัยหนึ่งว่า “การสะสมบุญนํามาซึ่งความสุข การสะสมบาปนําทุกข์มาให้”
“ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว”
“ทําบาปเพราะหลงผิด ทุคติเป็นที่ไป”
“ให้ดูจิต หรือสิ่งที่เป็นเหตุแห่งเกิดทุกข์
หรือเหตุให้เกิดสุข แล้วเลือกสิ่งที่ดี
ส่วนสิ่งที่ไม่ดีให้เพียรกำจัดออกไปให้ได้
เราจึงจะมีความสุข”
ปัจจุบัน หลวงปู่วงศ์ สุภาจาโร เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ ปี (วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕) ท่านเป็นประธานสงฆ์วัดป่าแก้วเจริญธรรม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
รวบรวมและเรียบเรียงโดยนางจันทรา วงศ์มณี(จ๋า)
และ น.ส.นิษฐรัศมิ์ ธัญญโชติ(แบต)
แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระกิตติสารสุธี
ขออนุญาตและขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ สาธุ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน