วันเสาร์, 26 ตุลาคม 2567

หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่ออุตตมะ

วัดวังก์วิเวการาม
อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

หลวงพ่ออุตตมะ เป็นชื่อ หรือฉายาในพระบวรพระพุทธศาสนาของท่าน คือ อุตตมะ หรือ อุตตโม เราทั้งหลายจึงมักนิยม เรียกนามท่านตามฉายาสงฆ์ดัง ที่กล่าวมานี้..

หลวงพ่ออุตตมะ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ชอบเดินธุดงค์อยู่ป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาวาส ท่านถือแนวทางการประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่ได้กระทํามาแล้ว พร้อมกับเป็นขวัญใจของชาวไทยและชาวรามัญองค์หนึ่ง

ชาติภูมิของท่าน เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ขึ้น ๖ ค่ํา เดือน ๔ ปีกุน เวลา ๖.๐๐ น. ตรงกับพ.ศ.๒๔๔๒

ณ หมู่บ้านโมกกะเนียง ตําบลเกลาสะ อําเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า

โยมบิดาชื่อ นายโง โยม มารดาชื่อ นางทองสุก มีอาชีพ ทํานา-สวน และนามเดิมของท่านนั้นบิดามารดาตั้งไว้ว่า “เอหม่อง

กาลต่อมาท่านเจริญวัยมากแล้ว บิดามารดาได้นําท่านมา อยู่วัด (เป็นเด็กวัด) เพื่อศึกษาอบรมบ่มนิสัย ให้ประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป

เมื่ออายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโมกกะเนียง ประเทศพม่า อันเป็นวัดใกล้บ้าน โดยมีพระเกตุมาลา เป็นพระอุปัชฌาย์

การดําเนินเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์นี้ เป็นไปด้วยใจรักและเคารพ สามเณรเอหม่อง ท่านมีความปีติยินดียิ่งนัก เพราะตนเองมีความเข้าใจว่า

ได้เข้ามาอยู่ในโลกใหม่ เป็นโลกของศีลธรรม เป็นโลกที่องค์พระศาสดาเจ้าตรัสสรรเสริญ คือเป็นโลกที่ละบาปกรรมทําชั่วแล้วทั้งปวง

ภายหลังจากบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้มานะอบรมศึกษาเล่าเรียนธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมโท

อายุครบที่จะอุปสมบทได้ โยมบิดามารดาจึงขออนุโมทนาให้อุปสมบทต่อไป พิธีจึงจัดขึ้น ณ วัดโมกกะเนียง ต.เกลาสะ อ.เย จ.มะละแหม่ง โดยมี พระเกตุมาลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวิสารท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อุตตโมภิกขุ

หลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว หลวงพ่ออุตตมะ มีความพยายามศึกษาพระปริยัติธรรม จนสําเร็จเปรียญ ๙ ประโยค

หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

เมื่อสอบเปรียญจนรู้ผลไปหมดสิ้นแล้ว ท่านได้หันจิตใจออกประพฤติปฏิบัติธรรม ด้วยการเที่ยววิเวกไปตามป่าเขา หยุดพักปักกลดในป่าในเขา เจริญตามเยี่ยงอย่าง กุลบุตรพุทธชิโนรสเจ้า ไม่อาลัยกับชีวิตและความเหน็ดเหนื่อย ท่านถือการปฏิบัติธรรมเป็นใหญ่ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง เสี่ยงตายเพื่อแลกมาซึ่งความดีงาม

จากประเทศพม่าดั้นด้นย่นป่า เข้ามาประเทศไทยไปทางภาคเหนือ พักอยู่วัดสวนดอกชั่วคราว จากนั้นเดินธุดงค์ต่อไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วย้อนกลับมาทาง เชียงใหม่

หลวงพ่ออุตตมะ ได้สนทนาธรรมกับ ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ นอกจากนั้นแล้วท่านยังได้เข้านมัสการและปรารภธรรมกับ หลวงปู่คําแสน อินทจักโก จ.เชียงใหม่ เป็นต้น

หลวงพ่ออุตตมะ ท่านได้ผจญกับความเจ็บป่วยไข้ป่าที่ร้ายแรง และบรรดาสัตว์ป่าที่ดุร้ายมาหลายแห่งหลายถิ่น แต่ท่านมิได้ไปสู้รบตบมือกับพวกนั้น

ท่านมีอาวุธธรรม เป็นเครื่องป้องกัน อาศัยจิตใจอันแน่วแน่ มั่นคง เชื่อมั่นในหลักธรรมคําสอน ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แล้วดําเนินตามอันเป็นที่สุดแห่งการปฏิบัติคือ “พระนิพพาน

หลวงพ่ออุตตมะ ท่านได้ละถิ่นกําเนิดในประเทศพม่า มาอยู่เป็นร่มโพธิ์ทองให้แก่ มวลมนุษย์ผู้ใคร่ในธรรม และจะเป็นแดนชีวิตของท่าน คือ ประเทศไทย

ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น ท่านไม่ได้ถือเหล่าเผ่าพันธุ์ ท่านไม่ถือชาติถือตระกูล ท่านมีแต่ธรรมะคําสั่งสอนเป็นที่อาศัยให้จิตใจชื่นบาน ท่านไม่อาลัยแม้ชีวิตจะเป็นไป ถือความดีงามนั้นเท่านั้น เป็นที่อยู่และที่ไป

หลวงพ่อุตตมะ ท่านเป็นพระนักเดินธุดงคกรรมฐาน เป็นนักต่อสู้กิเลสภายในชั้นยอดองค์หนึ่ง

ขณะที่ท่านดําเนินชีวิตในเพศสมณะ ท่ามกลางป่าเขาอยู่นั้น ท่านได้น้อมระลึกอยู่เสมอในคําสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้ว่า

“ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใด ล่วงพ้นไปแล้ว สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว

อนึ่ง สิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่า สิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง

เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงไม่ควรให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรม เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น เฉพาะหน้า แจ้งชัดอยู่ในที่นั้น ๆ ใครจะพึงรู้ว่า ความตายจักไม่มีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความ ผูกพันด้วยมฤตยู ความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นมิได้เลย

ฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทําเสีย ๆ ในวันนี้เลยทีเดียว ไม่มีความเกียจ ะ คร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวัน และกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแลเป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้”

หลวงพ่ออุตตมะ ได้อาศัย การเดินธุดงค์ ไปอยู่บําเพ็ญธรรม บนเขาหมู่บ้านชาวเขาก็หลายครั้ง และเป็นเวลานาน ๆ ทางที่ท่านได้ มุ่งหมายไปนั้น เป็นทางตรงที่ บริสุทธิ์ ไม่มีโค้ง หรือมีซอยเล็ก ๆ ต่อไป

ท่านหลวงพ่ออุตตมะ ท่าน เป็นนักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ที่แท้จริง ท่านได้ออกเที่ยววิเวก ไปในเขตเมืองทวาย และได้ผ่าน เข้ามาทางประเทศไทย

หลวงพ่ออุตตมะต้องผจญ กับภัยอันตรายจากโจรป่า สัตว์ป่า ไข้ป่าต่าง ๆ มากมาย จนสามารถ ฟันฝ่ากับอุปสรรคนั้นได้ ก็ด้วย พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธ เจ้าเท่านั้น – 2 แม้ปัจจุบันนี้ หลวงพ่ออุตตมะ ก็มีความชราภาพลงไปมากแล้ว หลวงพ่ออุตตมะ ก็ไม่เคยทอดทิ้ง องค์แห่งการปฏิบัติเลย

ทั้งนี้ พระราชอุดมมงคล หรือหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชาวไทยเชื้อสายมอญในอำเภอสังขละบุรี และเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงพ่ออุตตมะ ได้อาพาธจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากภาวะปอดอักเสบมาก่อน ที่โรงพยาบาลศิริราช อยู่ในความดูแลของคณะแพทย์และในฐานะคนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จนกระทั่งเมื่อกลางเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีอาการติดเชื้อทำให้ทรุดหนัก และไม่สามารถยื้ออาการไข้ไว้ได้ จึงได้มรณภาพจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เวลา ๐๗.๒๒ น. ท่ามกลาวความเศร้าสลดของบรรดาศิษยานุศิษย์