วันศุกร์, 25 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อเภา พุทธสโร

วัดถ้ำตะโก
อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

พระครูพุทธสราจารย์ หรือ “หลวงพ่อเภา พุทธสโร” ท่านเป็นพระอริยะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งแห่งยุค ท่านทั้งหลายคงจะเคยอ่านพบคําชมเชยของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ท่านได้พูดกับ พระอาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ ว่า…
“ดี… ท่านอาจารย์เภา ก็เป็น พระแท้องค์หนึ่งในประเทศไทย”

หลวงพ่อเภา พุทธสโร ท่านเกิดเมื่อวันอังคารเดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่บ้านใต้วัดอินทาราม (บ้านพยุเด่น) อําเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์
บิดาท่านชื่อ ขำ และมารดาท่านชื่อ แสง มีบุตรด้วยกัน ๔ คน หลวงพ่อเภา เป็นบุตรคนที่ ๒

แต่เดิมท่านชื่อว่า “พุงเภา” อาชีพของบิดามารดาทํานาเป็น หลัก

อายุของท่านได้ ๖ ขวบ บิดาได้นําไปฝากให้อยู่วัดเพื่อการศึกษา กับท่านพระอธิการคง วัดอินทาราม จ.นครสวรค์

วันเวลาผ่านไปอายุของท่าน ได้ ๑๑ ปี โกนผมจุก บิดาของท่านก็ถือโอกาสให้บรรพชาเป็นสามเณร แต่บัดนั้นและได้อยู่จําพรรษาที่ วัดอินทาราม กับท่านพระอธิการคง

ขณะเป็นสามเณรนั้น พระอาจารย์เคยพาเดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อว่างเว้นจากการเดินธุดงค์ ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยภายในวัดนั้นเอง

เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี พระอาจารย์ได้เมตตาอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕
โดยมีท่านพระอุปัชฌาย์ชื่อ “เทศ” พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ “คง” พระอนุสาวนาจารย์ชื่อ “รับ

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ หลวงพ่อเภา ได้กราบลาพระอธิการคง ผู้เป็นพระอาจารย์ออกแสวงวิเวกธรรม โดยมีเพื่อนพระภิกษุสงฆ์ ๔ องค์ ออกเดินธุดงค์ไปทางภาคเหนือ แล้วเดินออกเขตประเทศไทย เข้าประเทศพม่า มุ่งตรงไปนมัสการพระบรมธาตุ ณ เขาสิงคูดร เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า

ภายหลังจากเดินธุดงค์กลับมาจากประเทศพม่า ก็จวนเวลาเข้าพรรษา ท่านหลวงพ่อเภา จึงแวะจําพรรษาที่วัดชนะสงคราม จ.ตาก

ออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์มาทางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนมัสการ “พระแท่นศิลาอาสน์” ก็พอดีได้พบพระอาจารย์ฝ่ายสมถะและวิปัสสนา ซึ่งท่านเป็นพระที่ เคร่งครัดรักษาพระวินัยเป็นเยี่ยม

หลวงพ่อเภา จึงมีความศรัทธา ในปฏิปทานมาก ถึงกับเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ฝึกอบรม และขอติดตามไปด้วย แต่พระธุดงค์รูปนั้น ไม่ยอมให้ติดตามไป เหตุผลมีอยู่ ว่า “หลวงพ่อเภาไม่มีที่กรองน้ำ เวลาฉัน แม้ท่านจะใช้จีวรกรองน้ำ ทุกครั้งที่ฉันก็ตาม”

อุบายธรรมนี้เป็นข้อคิดสําหรับท่านว่า “อันการที่จะเจริญ สมถะและวิปัสสนากรรมฐานนั้น จําต้องอบรมศีลของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน ถ้าศีลยังบกพร่อง แม้จะเจริญวิปัสสนาก็ไม่มั่นคงถาวร ดุจไม้ที่ไร้แก่นฉันนั้น”

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

หลวงพ่อเภา พุทธสโร ท่านคิดได้ดังนั้นแล้ว ก็คลายความคิดเก่าก่อนสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพียงผ้า ๓ ผืน บาตร ๑ ในจํานวนที่ เป็นสมบัติมุ่งมั่นออกค้นคว้าสัจธรรมต่อไปอย่างไม่ละลด เพิ่มความเพียรอันแก่กล้าต่อไป

ในการเที่ยววิเวกครั้งนี้ หลวงพ่อเภา ได้มาพบกับสถานที่อันสงบแห่งหนึ่งต่อมาเรารู้จักในนาม “ถ้ำตะโก” เพราะบริเวณนี้มีต้นตะโกขึ้นอยู่มากมาย จนได้ ได้บริเวณนี้เห็นได้ชัดว่าเคย เป็นวัดเก่าแก่มาก่อน มีอิฐผุพัง เกลื่อนทั่วไปในบริเวณนั้น

ภายในถ้ำมีพระพุทธรูป “พุทธธรรมจักร” ที่ถูกมือมารขุดคุ้ยหาสมบัติจนอยู่ในสภาพ ที่น่าสลดใจ

หลวงพ่อเภา ได้มาก่อสร้างขึ้นเป็นสํานัก จนเลื่องลือไปไกล มีพระภิกษุสามเณรตลอดญาติ โยมมาปฏิบัติธรรมอยู่กับท่านเป็นจํานวนนับพันเลยทีเดียว

พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง
พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง

การปฏิบัติธรรมของ หลวงพ่อเภา พุทธสโร , หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ แห่งวัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ. สุโขทัย ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังดังนี้
“หลวงพ่อเภา ท่านมีจิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญมาก และ ท่านเคร่งครัดในทางพระธรรมวินัย แม้พระธุดงคกรรมฐานปีหนึ่ง ๆ มากันเป็นจํานวนมากก็จริง แต่ ข้อวัตรที่ท่านวางไว้นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์นัก ไม่เคยมีพระเณรองค์ใดละเมิดได้เลย

การเดินธุดงค์ อาตมาเคยไปกับหลวงพ่อเภาหลายๆ หน จิตใจกล้าหาญเดินฝ่าดงเสือเลยโยม ท่านเฉย ๆ ไม่กลัว ท่านว่า “ตายในธรรมะ มีคุณวิเศษกว่าตาย ในกองกิเลส”

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก

ที่นี้หลวงพ่อเภา ท่านถูกนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม ซึ่งสมัยนั้นมีการจับเบอร์ด้วย ถ้าถูกเบอร์ของใคร คนเจ้าของกัณฑ์เทศน์ จะเป็นผู้ถวายสิ่งของ
หลวงพ่อเภา ท่านว่ากลอนธรรมะ คนไม่มีนั่งหลับเลยโยม ถ้าพูดเป็นคําธรรมดาอย่างเรา พูดกันเดี๋ยวเดียวเท่านั้น กรนกันลั่นศาลา !

แต่หลวงพ่อเภา ท่านจับความนี้ได้ ว่าฆราวาสยังมีความต้องการอะไร ๆ อยู่ ท่านจึงเทศน์ เป็นคํากลอน โอ้…โฮ…ไม่รู้คนมาจากไหน มากันเต็มศาลา ต้องนั่งกลางวง มิเช่นนั้นคนจะไม่ได้ยิน ไปตั้งธรรมาสน์กลางวงเลย

ท่านสอนฆราวาสให้รักษาศีล ๕ และ ๘ ให้ได้ ส่วนทางลูกศิษย์ที่เป็นพระสงฆ์องค์เณร ท่านสอนให้พิจารณากายและจิต ให้ฆ่าเสียซึ่งกิเลสทั้งปวงคือ โลโภ โทโส โมโห เอาออกให้หมดใน จิตใจ เมื่อออกไปหมดสิ้นแล้ว จะไม่มี อวิชชา อีกต่อไป อวิชชา ๆ หมด ภพชาติก็หมด นี่ท่านว่าอย่างนี้ ทําให้ได้ ท่านว่า

พระพุทธศาสนาสอนมนุษย์ในโลกนี้ด้วย ธรรมะ เมื่อได้บวชเป็นพระเณร กินข้าวชาวบ้าน การงานไม่ได้ทํา เพียงให้นั่งภาวนา ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม เท่านั้น ก็ต้องให้สําเร็จ จะได้ชดใช้หนี้บุญคุณเขาหมด

เขาชาวบ้านนั้นก็ได้ยกย่องว่า พระสงฆ์เป็นนาย…พวกชาว บ้านเป็นทาสรับใช้เป็นทาสของ พระสงฆ์ ชาวบ้านวางใจถึงปานนี้ ต้องเอาดีให้ได้ท่านสอนอย่างนี้”

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงพ่อเภา พุทธสโร ได้เดินธุดงค์มาพบ “เขาวงกฏ” สมัยนั้นสงบเงียบเหมาะสมที่จะบําเพ็ญสมณธรรม หลวงพ่อเภาจึงตกลงใจที่จะสร้างเป็น วัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

ครั้นต่อมา พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ ได้เสด็จมายังอําเภอบ้านหมี่ ไปพบหลวงพ่อเภาเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทา จึงได้ถวายเงิน ๑,๐๐๐ บาท (สมัยนั้น) แก่หลวงพ่อเภาเพื่อก่อสร้างวัด

หลวงพ่อเภาจึงนําเงินนี้ สร้าง กุฏิขึ้นหนึ่งหลังนามว่า “ตึกบริพัตรและที่นี้เอง หลวงพ่อเภาได้อยู่จําพรรษา จนถึงวันมรณภาพ ของท่าน ด้วยอิริยาบถ “นั่งสมาธิ

หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

หลวงพ่อเภา พุทธสโร ได้มรณภาพ ณ วัดเขาวงกฏ ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ เวลา ๐๒.๐๐ น. สิริอายุ ๖๐ ปี พรรษา ๔๐

ภายหลังจากหลวงพ่อเภามรณภาพแล้ว ได้ประชุมเพลิงปรากฏว่าอัฐิธาตุของท่านได้แปรสภาพเป็นพระธาตุหลากหลายสีสันวรรณะอย่างน่าอัศจรรย์

◎ ด้านวัตถุมงคล
หลวงพ่อเภา พุทธสโร ท่านเป็นพระอริยเจ้าที่บรรลุคุณธรรมชั้นสูง มีอภิญญาแก่กล้ามาก ถึงขนาดที่ว่าท่านสามารถเพ่งปรอทเหลวๆ ให้แข็งตัวได้ในพริบตา เวลาท่านจะทำพระพิมพ์แจกให้กับผู้ใด ท่านจะหยิบก้อนตะกั่วดิบมาวางไว้บนฝ่ามือแล้วเพ่งให้ตะกั่วดิบนั้นเหลวคามือของท่าน เมื่อตะกั่วดิบเหลวเป็นน้ำแล้ว ท่านก็จะเทลงสู่แม่พิมพ์ เมื่อสำเร็จเสร็จเป็นองค์พระก็ยื่นให้กับผู้นั้นได้ในเดี๋ยวนั้นเลย

วิธีสร้างลูกอมของท่านก็พิสดารอยู่เช่นกัน กล่าวคือ ท่านจะหยิบก้อนดินสอพองมาบดขยี้ให้ป่นละเอียดบนฝ่ามือของท่าน แล้วท่านก็สามารถปั้นดินสอพองป่นๆ นั่นให้แข็งเป็นก้อนขึ้นมาได้ในฉับพลัน

หลวงพ่อเภาไม่ชอบสร้างวัตถุมงคล เหรียญที่ท่านปลุกเสก มีเพียง ๒ รุ่นเท่านั้น เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างสูง โดยเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเภาวัดถ้ำตะโก ลพบุรี สร้างที่วัดถ้ำตะโก ในราวปีพ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นเหรียญอาร์ม เนื้อทองแดง หูในตัวห่วงเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นอกเลา และอักขระ เนื้อทองแดงนั่งเต็มองค์ห่มคลุม รุ่น ๒ สร้างในปี ๒๔๗๐ มีประวัติการสร้างชัดเจนกว่ารุ่นแรก สร้างที่วัดเขาวงกฎ เป็นเหรียญรูปเสมา เนื้อเงินและเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกในสร้างพระไตรปิฎก เป็นเหรียญรูปพระพุทธโสภา และอีกด้านเป็นรูปพระพุทธธรรมจักร

เหรียญของท่านพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม