วันศุกร์, 25 ตุลาคม 2567

หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ วัดศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ

วัดศรีเมือง
อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย

พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง
พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง

หลวงปู่เกตุ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่เคร่งครัดปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เจริญศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นแนวทางของ ท่านพุทธสราจารย์ (เพา พุทธสโร) แห่งวัด เขาวงกฏ หรือที่เรารู้จักกันมากในนาม หลวงพ่อเพา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี นี้เอง

หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ ท่านเป็นศิษย์ผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนธรรมปฏิบัติ เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่เกตุ ได้น้อมนําปฏิ ปทาข้อวัตรนั้น มาประพฤติปฏิบัติตาม ตราบกระทั่งมรณภาพ นับเป็นครูบาอาจารย์ ที่น่ากราบไหว้บูชา ศิษย์หลวงพ่อเพานั้น ถ้าจะนับลําดับ พอมีหลักฐานยืนยันได้ ก็ได้แก่ หลวงพ่อชา สุภัทโท และ หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ

พระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง
พระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง

หลักปฏิบัติสมาธิภาวนา ที่ หลวงปู่เกตุ ถือเป็นสติได้แก่ พุทโธ จึงเชื่อได้ว่า ธรรมะที่หลวงปู่เกตุนํามาอบรมสั่งสอนตนเอง และบรรดาศิษย์พุทธบริษัท ย่อมเป็นแนวทางตรงคือ ความพ้นทุกข์อย่างแน่นอน เพราะหลวงพ่อเพา แห่งวัดถ้ำตะโก องค์นี้ ได้รับคํายกย่องจาก หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งที่ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง เดินทางไปนมัสการ พร้อมทั้งเล่าปฏิปทาของ หลวงพ่อเพา ให้ท่านฟังหลวงปู่มั่น ท่านกล่าวว่า…

“ดี…ท่านอาจารย์เพาก็เป็นพระแท้องค์หนึ่ง ในประเทศไทย”

หลวงปู่เภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก
หลวงปู่เภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก

หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ ท่านมีนามเดิมว่า เกตุ บู่อินทร์ เกิด ณ ตําบลไกรกลาง อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตรงกับปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ (ในสมัย
รัชกาลที่ ๕) บิดาชื่อ นายเรือง มารดาชื่อ นางอ้น บู่อินทร์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ในจํานวน ๑๕ คน

หลวงปู่เกตุ ได้เล่าให้ฟังว่า..
“เมื่ออายุพอจําความได้เท่านั้น ท่านต้องแยกออกจากอ้อมอกบิดามารดา ตั้งแต่เล็กแต่น้อยเลย ท่านได้ถูกนํามาฝากวัด เป็นเด็กวัด ซึ่งท่านมีปู่ที่เป็นเจ้า อาวาสปกครองอยู่

ครั้นพอเติบโตขึ้นมาอีกหน่อย ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนโดยเดินทางไปอยู่เรียนหนังสือกับท่านพระมหาพัน จบเปรียญธรรม ๓ ประโยค

ท่านได้สอนหนังสือขอมบ้าง ไทยบ้าง บาลีบ้าง วัดนั้นอยู่ในเขตอําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จนมีความสามารถอ่าน ออกเขียนได้
ต่อมาอายุได้ ๑๖ ปี (หลวงปู่เกตุ) สมัยเป็นเด็กหนุ่มท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่จังหวัดสิงห์บุรี

ภายหลังจากเป็นสามเณร แล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย พอเป็นเครื่องดําเนินในเพศสมณะ

แต่ขณะเป็นสามเณรนั้น สมาธิได้เกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างน่าอัศจรรย์ หลวงปู่ท่านเล่าว่า..
“สมาธิเกิดขึ้นในครั้งแรก ก็เพราะเป็นโรค “ตะมอย” มันปวดแสบปวดร้อนที่ปลายนิ้วมือ จึงเอานิ้วมือเทินไว้บนศีรษะ หลับตาเฉย ตามรู้อาการเจ็บปวดนั้น
ขณะเดียวกัน จิตของเราก็เดินลึกลงสู่ภวังค์ แต่สติรู้ชัดอยู่ นิ่งเฉย อาการเจ็บปวดไม่บังเกิดขึ้นมาเลย

ทําให้รู้ชัดว่า สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะดําเนินชีวิต ไปพบกับความสุขแน่นอน

แต่การเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานจะสําเร็จได้นั้น จะต้องอบรมศีลของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน ถ้าศีลยังบกพร่อง แม้จะเจริญสมถะและวิปัสสนาก็ไม่ มั่นคงถาวร ดุจไม้ที่ไร้แก่นฉะนั้น

หนทางแห่งความสิ้นทุกข์ ทางที่ถูกต้องทางหนึ่งคือ การเจริญอานาปาณสติกําหนดลม หายใจเข้าออก ระลึกถึงความตายอยู่ทุกขณะจิต นี่ต้องทําอย่างนี้

ต่อมาอายุได้ ๒๓ ปี (เป็นเณรอยู่ถึงอายุ ๒๓ ปี) ท่านได้อุปสมบทที่วัดถ้ำตะโก จังหวัดลพบุรี เพราะท่านได้ออกแสวงหาครูบาอาจารย์ผู้ชํานาญสอน พระกรรมฐาน จนได้พบกับ หลวงพ่อเพา แห่งวัดถ้ำตะโก จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน และได้อุปสมบทกับท่านด้วย โดยมี ท่านพระอาจารย์คง เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้รับฉายาว่า “จันทสุวัณโณ

ภายหลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านได้อยู่จําพรรษากับ หลวงพ่อเพา หรือ พุงเพา พุทธสโร โดยท่านเล่าว่า….
“พระอาจารย์องค์แรกของอาตมา ที่สอนพระกรรมฐานให้ คือหลวงพ่อเพานี้แหละ ท่านสอนพระกรรมฐาน ๔๐ ให้ได้รู้ แล้วถือหลักปฏิบัติข้อธุดงควัตร อย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัย

ข้อปฏิบัติตนของคณะพระสงฆ์ ท่านก็วางกฏไว้อย่างเข้มงวด ถึงกระนั้นก็มีพระภิกษุสามเณร เดินทางมาอยู่อบรมธรรมภาวนา ปีหนึ่ง ๆ จํานวนเป็นพัน ๆ องค์ เลยทีเดียว

การปฏิบัติธรรม ท่านให้พิจารณาให้แจ้งในเรื่อง พระอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะการบวชเป็นพระสงฆ์นั้น ต้องดําเนินตามคําสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ถ้าแม้ทําไม่ได้ ก็เสียที่ไปชาติหนึ่ง

ทั้งนี้มีจิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านให้ฝึกฝนด้วยวิริยะอุตสาหะ พยายาม เมื่อกําลังสติ กําลังจิตแก่กล้าแล้ว ความจริงจะปรากฏ เด่นชัดนะ นี่ท่านสอน”

แนวทางการปฏิบัติ หลวงปู่เกตุ ท่านสอนว่า…

ให้ตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นหนึ่ง เพราะศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อย่อลงมาแล้ว จะเหลือเพียงหนึ่งเท่านั้น ถ้าเป็นหนึ่งเมื่อใด เมื่อนั้นแหละ เราจะรู้ที่มาที่ไป อย่างสมบูรณ์ จําไว้นะ

การเดินธุดงคกรรมฐาน ของหลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ ท่านได้เที่ยวบําเพ็ญเพียรไปในหลาย ๆ แห่งแต่ไม่สามารถกําหนด จดจําได้

ครั้นเมื่อ หลวงพ่อเพา หรือ พระพุทธสราจารย์ ได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว ท่านจึงได้กลับมาถิ่นกําเนิด และได้อยู่จําพรรษาที่วัด ศรีเมือง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ตราบกระทั่งมรณภาพ

พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) ท่านได้มรณภาพลง อย่างสงบ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ สิริอายุได้ ๙๙ ปี

พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง
มณฑป พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง
พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง
รูปเหมือนบูชา พระครูเนกขัมมวิสุทธ์ (หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ) วัดศรีเมือง ภายในมณฑป

◎ โอวาทธรรม หลวงปู่เกตุ จันทสุวัณโณ

“ผู้ปฏิบัติ ให้พิจารณาให้แจ้งเรื่องพระอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะการบวชเป็นพระสงฆ์นั้นต้อง ดําเนินตามคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าถ้าแม้ทําไม่ได้ก็เสียที่ไป ชาติหนึ่ง ทั้งนี้มีจิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านให้ฝึกฝน ด้วยวิริยะ อุตสาหะพยายาม เมื่อกําลังสติ กําลังจิต แก่กล้าแล้ว ความจริง จะปรากฏเด่นชัดนะ

ฉะนั้น ให้ตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นหนึ่ง! เพราะศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อย่อลงมาแล้ว จะเหลือเพียงหนึ่งเท่านั้น ถ้า เป็นหนึ่งเมื่อใด เมื่อนั้นแหละเราจะรู้ที่มาที่ไปอย่างสมบูรณ์ จําไว้นะ!”

“จงพิจารณากายเรานี้ สภาพสังขารที่มีอยู่ เป็นอยู่ มันแสดงอาการอยู่ทุกขณะจิต มันค่อย ๆ ตายไปทีละน้อย ๆ

มันไม่มีอะไรในโลกนี้เลยจะยั่งยืน มันเป็นอนัตตา มันอยู่กับเราไม่ได้ เราอยู่กับมันไม่ได้..อย่าหลงมันนะ

นะบุญมี มีบุญมา นะสัมมา สัมมามี ถึงวิมุตติเลย!”