วันเสาร์, 26 ตุลาคม 2567

พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย

พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย

พระธาตุบังพวน

พระธาตุบังพวน อยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน ตําบลพระธาตุบังพวน อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เป็นพระธาตุที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนไทย – ลาว มาช้านาน มีชื่อปรากฏในตํานานอุรังคธาตุว่าเป็นที่บรรจุพระธาตุหัวเหน่าของพระพุทธเจ้า กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙ งานนมัสการพระธาตุบังพวน จัดในวันขึ้น ๑๑ ค่ํา เดือนยี่ (ประมาณเดือนมกราคม) เป็นประจําทุกปี

ลักษณะของพระธาตุเป็นเจดีย์ฐาน กว้าง ๑๗.๒๐ เมตร สูงถึงยอดฉัตร ๓๔.๒๕ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม เรือนธาตุทรง ปราสาทสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง ๔ ด้าน เครื่องบนเป็นทรงบัวเหลี่ยมซ้อนชั้น ศิลปะอยุธยาผสมล้านข้าง (ลาว)

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์พระธาตุได้พังทลายลง ต่อมากรมศิลปากรจึงบูรณะให้อยู่ ในสภาพเดิม และพบว่าพระธาตุบังพวน มีการก่อสร้างเพิ่มเติมมาแล้ว ๓ สมัย สมัยแรก เป็นเจดีย์ฐานศิลาแลง ไม่สามารถกําหนดอายุการสร้างได้ ต่อมาในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง (ลาว) ประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ มีการ สร้างเจดีย์ก่ออิฐถือปูนครอบเจดีย์องค์เดิมอีกสองครั้ง โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏในพงศาวดารล้านช้าง (ลาว) ว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสร้างพระธาตุบังพวนขึ้น พร้อมสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ภายในวัด

วัดพระธาตุบังพวน

นอกจากพระธาตุบังพวนแล้ว ภายในวัดพระธาตุบังพวนยังมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น สัตมหาสถาน เป็นสถานที่สําคัญ ๗ แห่ง ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเสวยวิมุตติสุข หรือความสุขจากความหลุดพ้นซึ่งกิเลส ภายหลังตรัสรู้ เป็น การจําลองสถานที่ดังกล่าวจากประเทศอินเดีย นับเป็นสัตมหาสถานจําลองที่สมบูรณ์ที่สุด คือมีครบทั้ง ๗ แห่ง ทั้งนี้ ในประเทศไทย มีสัตมหาสถานจําลองอีกแห่งหนึ่งคือที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์พระธาตุบังพวน อยู่ใกล้กับพระธาตุ ภายในจัดแสดงประวัติองค์พระธาตุ ซากเศษหิน เสมา ศิลาจารึก ตลอดจนโบราณวัตถุที่พบอยู่ในพระธาตุองค์เก่า

สระพญานาค อยู่ใกล้กับพระธาตุ สมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง จะนําน้ํา จากสระนี้ไปประกอบพิธีเพื่อเป็นสิริมงคล

จากการบูรณะพระธาตุบังพวนของกรมศิลปากร พบพระพุทธรูปบุเงินและทอง หลายองค์ภายในเจดีย์ มีจารึกที่ฐานพระ พุทธรูประบุศักราชตรงกับ พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๑๕๐ พ.ศ. ๒๑๕๘ และ พ.ศ. ๒๑๖๗ ทําให้สันนิษฐานได้ว่าคงได้รับการบูรณะ ต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นระยะ และน่าจะถูกทิ้งร้าง ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ องค์สุดท้าย ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๗๑