ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่หา สุภโร
วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) มีนามเดิมว่า หา เกิดในสกุล ภูบุตตะ เมื่อขึ้น ๑๐ ค่ําเดือน ๘ ปีฉลู ตรงกับ วัน ศุกร์ ที่ ๒ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่บ้านนาเชือก ตําบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตําบลนาเชือก) อําเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอําเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดาชื่อ คุณปู่สอ ภูบุตตะ โยมมารดาชื่อ คุณย่า บัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวม กัน ๗ ท่าน
ตระกูลของท่านเป็นตระกูลคหบดีแห่งหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวกว่า ๒๐๐ ตัว มีที่นา กว่า ๓๐๐ ไร่ โยมแม่เลี้ยงหม่อนกว่า ๙๐๐ กระด้ง จัดว่ารวยที่สุด ในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านช่วยพ่อแม่ทํางานทุกอย่าง และที่สําคัญ ท่านเป็น “นักมวย” แต่ด้วยโยมบิดา ท่านไม่ชอบ ให้ท่านเป็นนักมวย จึงยื่นคําขาดให้ท่านเลิกเสีย ท่านจึงเบื่อหน่าย การครองเพศฆราวาส แล้วออกบรรพชา
ท่านบรรพชา เมื่ออายุ ๑๙ ปี ที่วัดสุวรรณชัยศรี (ปัจจุบันนี้เป็นท่านาชาวบ้าน ในตําบลท่าเรือ อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์) โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อ มาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านจึงได้อุปสมบท ที่อุโบสถหลังเดิม และพระอุปัชฌาย์องค์เดิม แต่เนื่องจากสมัยนั้นคณะธรรมยุต กับคณะมหานิกายยังไม่แยกจากกันอย่างเป็นทางการ และ คณะสงฆ์ยังทําสังฆกรรมร่วมกันอยู่ การอุปสมบทของท่านจึง เป็นการรวมทั้งสองนิกาย คือ พระอุปัชฌาย์เป็นคณะมหานิกาย
ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์เป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อท่านอุปสมบทแล้วจึงมีคําสั่งให้แยกคณะกันชัดเจน และแยกกันทําสังฆกรรม จึงเป็นปัญหาที่หลวงปู่ เพราะพระอาจารย์ท่าน (พระครูประสิทธิ์สมณญาณ) เป็นคณะธรรมยุต แต่พระอุปัชฌาย์ท่าน (หลวงปู่ลือ) เป็นคณะมหานิกายท่านจึงต้องญัตติ (คือ การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจร่วมกัน, บอกแจ้งให้รู้) เป็นคณะธรรมยุต อีกครั้งหนึ่งโดยชัดแจ้ง
ท่านญัตติเป็นคณะธรรมยุตที่พัทธสีมาวัดสุวรรณชัยศรี ตําบลเว่อ อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน จักกธมฺโม (พระราชธรรมานุวัตร อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สุข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”
เมื่อท่านยังเป็นนวกะ (ผู้บวชใหม่) ได้จําพรรษา ที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบไล่ได้นักธรรมตรี โท เอก และได้มีโอกาสศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม ได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่าน เจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนทปชุโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ท่านจะเรียนบาลีประจําทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่า เพื่อไปเรียนกรรมฐานจาก พระครูญาณวิริยะ วัดป่าสะแก เขตพระโขนง ปัจจุบันคือ พระธรรมมงคลญาณ (หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และ พระสุทธิธรรมรังสี (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ท่านเริ่มมีอาการดีซ่าน การเรียนการสอนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ถูกยับยั้งไว้จากท่านเจ้าประคุณ เมื่ออาการหนักมากขึ้นจนถึงขั้นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ถึง ๓ เดือน โดยไม่มีท่าทางว่าจะหาย หรือดีขึ้นเลย ท่านจึง ทอดอาลัยในชีวิต แล้วตั้งความปรารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือในการรับ ใช้พระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก โดยท่านได้ตั้ง สัตยาธิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) ว่า “หากข้าพเจ้าจะมีชีวิตในการบวช ขอให้โรคหาย ถ้าหากจะไม่มีชีวิตแล้ว ขอให้ตายกับผ้าเหลือง” ท่านมีความคิดว่า หากได้บวชอยู่นานๆ จะได้ทําประโยชน์ในพระศาสนาให้สมกับที่เป็น ผู้อุทิศตนต่อชาวโลก จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิด เพื่อตั้งต้นดําเนินภารกิจดังที่ตั้งปณิธานไว้ และได้ตั้งสัตยาธิษฐาน อีกครั้งหนึ่งว่า “ขอให้ได้อยู่ป่า ทําความสงบสบายทางจิต”
ด้วยอานิสงส์แห่งการอุทิศตนเพื่อพระศาสนา ในขณะนั้นท่านก็ได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้าน และการอบรมทาง ใจจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเข้าช่วยเหลือ จึงเป็นผลให้ อาการของโรคทุเลาลงจนหายขาดในที่สุด เมื่อหายเป็นปกติแล้ว ท่านจึงออกเที่ยวปฏิบัติรุกขมูล หาความวิเวกทางกายและใจออกธุดงค์ไปยังภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยแทบทุกจังหวัด ไปทุกมุมเมืองในภาคอีสานและข้ามไปยังฝั่งลาว ไปถึงนครเวียงจันทน์ ถึงสองครั้ง เข้ากัมพูชา จนเห็นผลทางจิตอันแน่นอนแล้ว ท่านจึง กลับมาช่วยงานการพระศาสนาดังปฐมปณิธาน
ในขณะที่ท่านออกธุดงค์กรรมฐานนั้น ท่านได้ไปฝากตัวเป็น ศิษย์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์พอจะประมวลได้ ดังนี้
๑. หลวงปู่พระครูประสิทธิสมณญาณ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ศิษย์อุปัฏฐาก หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจําพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่
๒. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมฺมรกฺขิโต) ผู้ก่อตั้งวัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยก่อนที่ท่านจะเดินทางไปเชียงใหม่ เป็นศิษย์ ร่วมสมัยหลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว
๓. พระสุทธิธรรมรังสี (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
๔. หลวงพ่อพระธรรมมงคลญาณ (หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล จังหวัดกรุงเทพมหานคร
๕. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ํากลองเพล จังหวัดหนองบัวลําภู
๖. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ําขาม จังหวัดสกลนคร
๗. หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี จังหวัดร้อยเอ็ด
๘. พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์
ตําแหน่งทางการพระศาสนา
๑. ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี
๒. กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงในคณะธรรมยุตภาคอีสาน
๓. พระฐานานุกรมในพระสุธรรมคณาจารย์ที่ พระสมุห์หา สุภโร
๔. เจ้าคณะอําเภอสหัสขันธ์ – ท่าคันโท – กุฉินารายณ์
๕. พระครูชั้นตรีที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
5. รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต)
๗. พระราชาคณะชั้นสามัญวิปัสสนาที่ พระญาณวิสาลเถร
๘. ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) จากการแต่ง
ตั้งโดยมหาเถรสมาคมเมื่อวาระท่านมีอายุครบ ๘๐ ปี
ประวัติการสร้างวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่ไดโนเสาร์) กลับมาจําพรรษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ อันเป็นมาตุภูมิ ของหลวงปู่เอง ขณะนั้นท่านก็ได้ช่วยงานพระครูประสิทธิ์สมณญาณ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการเผยแผ่พระศาสนาและคณะธรรม ยุติกนิกาย ด้วยแนวคิด “สร้างวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง” โดยการที่เมื่อมี วัดร้างจากพระ ชาวบ้านจะมาขอพระไปจําพรรษา เพื่อให้เป็นการเผยแผ่คณะธรรมยุติกนิกายโดยไม่ต้องสร้างวัดใหม่ โดยก่อนที่จะส่งพระออกไปต้องมีการอบรมทางปริยัติและปฏิบัติโดยพระเดชพระคุณ หลวงปู่ ต้องทําหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรม ทําให้ท่านได้รู้จักกับ พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่แดง ธมมรกุขิโต) ซึ่งขณะนั้นกําลังสร้างวัดประชานิยม ในเมืองกาฬสินธุ์ ท่านจึงเข้าไปช่วยก่อสร้างและดูแลวัดแทนท่านเจ้า คุณสุธรรมคณาจารย์ในขณะที่ท่านเจ้าคุณเดินทางมาจําพรรษาที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
เมื่อท่านเจ้าคุณสุธรรมคณาจารย์เดินทางกลับจังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านจึงเห็นถึงความวิริยะ และความซื่อสัตย์ต่อครูบาอาจารย์ ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่สามารถฝากฝังวัดวาอารามไว้ได้ ท่านจึงชักชวนให้พระเดชพระคุณหลวงปู่ออกรุกขมูล วิเวกธุดงค์หาความสงบทางจิต จากจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านสกลนคร เข้าหนองคาย ไปพักที่วัดหินหมากเป้ง ที่วัดหินหมากเป้งนี้เอง หลวงปู่เทสก์ เทสร์สี (พระราชนิโรธรังสี) ได้ปลูกต้นสักทอง ไว้มากมาย ท่านเจ้าคุณจึงสั่งให้หลวงปู่เก็บเอาลูกสักทองใส่ย่าม ไว้จํานวนมาก โดยที่ท่านให้เหตุผลว่า “เก็บไว้เถิด ต่อไปจะได้ใช้ประโยชน์” เมื่อท่านพํานักที่วัดหินหมากเป้งได้ระยะเวลาพอสมควร จึงเดินทางต่อไปที่ประเทศลาว แล้วเที่ยวธุดงค์อยู่จนใกล้พรรษา กาลจึงเดินทางกลับจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อใกล้เข้าพรรษาไม่กี่วันได้รับ การอาราธนาให้ไปสร้างวัดใหม่ ที่บ้านคําคา อําเภอสหัสขันธ์ ซึ่งขณะนั้นมักเรียกกันว่า อําเภอใหม่ และให้ชื่อวัดใหม่โดย ถือเอานิมิตลูกสักทอง ที่เก็บใส่ย่ามมาตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาปลูกแล้วตั้งชื่อวัดว่า “วัดป่าสักกะวัน”
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางราชการได้มีโครงการกั้น แม่น้ําลําปาวทําเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าและใช้ประโยชน์จากน้ํา จึงได้ มีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่อําเภอเมืองและชาวอําเภอสหัสขันธ์ ซึ่งเป็นเขตเขื่อนที่น้ําจะท่วมถึง ได้อพยพขึ้นบนที่สูง เพื่อจับจองพื้นที่ใหม่ ซึ่งวัดป่าสักกะวันก็อยู่ในเขตน้ําท่วมนั้นด้วย จึงได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่ทางนิคมสร้างตนเองลําปาวจัดสรรให้ แต่ปรากฏว่าพื้นที่ที่ทางราชการจัดสรรให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นที่ใกล้ชุมชนในอนาคต ใกล้ทางสัญจร จึงขอเปลี่ยนที่ใหม่เพราะ พื้นที่ดังกล่าวไม่สัปปายะ เป็นที่พลุกพล่านของผู้คนไม่เหมาะ แก่การบําเพ็ญสมณธรรม นายอําเภอสหัสขันธ์ในสมัยนั้นจึงนิมนต์ ให้หลวงปู่ขึ้นรถส่วนตัวของท่านเพื่อเลือกหาสถานที่เพื่อสร้างวัด
เมื่อนั่งรถผ่านภูกุ้มข้าวพระเดชพระคุณหลวงปู่จึงขอลงสํารวจพื้นที่และตกลงเลือกสถานที่นี้เพื่อสร้างวัดทั้งๆ ที่ภูกุ้มข้าว ไม่มีสายน้ําหรือตาน้ําเพื่อใช้สอยเลย อีกทั้งเป็นสถานที่กันดารลําบาก (ในสมัยก่อนคนกาฬสินธุ์ เรียกอําเภอสหัสขันธ์ ว่า อําเภอสาหัสสากรรจ์) ไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีเพียงต้นไผ่ขนาดเล็กที่ชื่อว่า “ต้นเล็ก” เท่านั้นเอง แต่หลวงปู่ท่านก็เลือกสถานที่แห่งนี้ โดยให้เหตุผลว่า ห่างไกลผู้คน นายอําเภอจึงได้อนุโมทนา ที่หลวงปู่จะพัฒนาสถานที่นี้และกล่าวคําถวายสถานที่ให้หลวงปู่ดูแลภูเขาทั้งลูก หลวงปู่ก็รับไว้ด้วยความยินดี ท่านจึงได้มาพัฒนาที่ภูกุ้มข้าว และได้เปลี่ยนชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในที่แห่งนี้จาก “วัดป่าสักกะวัน” เป็น “วัดสักกะวัน” แล้วท่านก็เริ่มปลูกต้นไม้ เจาะหาน้ําบาดาล และขุดสระ สร้างเสนาสนะ มีศาลาการเปรียญ และอุโบสถ เป็นต้น จนได้เจริญรุ่งเรืองสืบมายังปัจจุบัน และ วัดสักกะวันก็มีชื่อเรียกที่ติดปากชาวบ้านว่า “วัดภูกุ้มข้าว” นับ ตั้งแต่นั้นมา