วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี

ประวัติ หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

ประวัติ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ตำบลกุดชมภู อำภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีพระเกจิอาจารย์ผู้มี ความเข้มขลังมีพลังจิตสูง 

ชาติภูมิ
หลวงปู่คำบุ ถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ตรงกับ  วันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสา และนางหอม คำงาม  ครอบครัวทำนาทำสวน

หลวงปู่คำบุ มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตร คนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๖ คน 

กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวชท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง 

 อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่รอดจวบจนท่านได้มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม 

 ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็น มีเหตุมีผลเหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็น พระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับฉายาว่า “คุตตจิตโต” มี พระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชา เวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียน วิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความชำนาญด้านพระคาถาอาคมหลายรูปจนวิชา แกร่งกล้าจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมพู จนถึงปัจจุบัน 

 พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำราจนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์ เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวินไซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา นอกจากการศึกษาวิชาทาง ด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความช านาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ 

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุก วันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา 

 การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง  “ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ” ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท  ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง ๗ ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูก และถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง

พระครูพิบูลนวกิจ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มรภาพด้วยอาการสงบ ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๕๑ นาที ณ.โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้91ปี คณะศิษยานุศิษย์จะเคลื่อนสรีระสังขารหลวงปู่ออกจากโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ไปยังวัดวิหารเจดีย์ศรีชมพู (วัดกุดชมภู) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี