ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่พิมพ์ พหุชาคโร
วัดไชยารามหนองสวรรค์
ต.เชียงพิณ อ.เมือง จ.อุดรธานี
◎ ชาติภูมิ
พระครูพิมลปรีชาญาณ (หลวงปู่พิมพ์ พหุชาคโร) เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๙ ณ บ้านหนองสวรรค์ ต.เชียงพิณ อ.เมือง จ.อุดรธานี โยมบิดาชื่อ นายนิง และโยมมารดา นางเพ็ง เศวตวงศ์
◎ การศึกษา
หลวงปู่พิมพ์ ได้ศึกษาระดับประถมศึกษา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองสวรรค์ ได้ชั้นประถมปีที่ ๓ (การศึกษาระดับสูงสุดสมัยนั้น)
◎ บรรพชา
บรรพชาเป็นสามเณร พ.ศ.๒๔๗๘ ณ วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ้ม จิตตาลโย เป็นอาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณรแล้วจำพรรษาที่ วัดป่าไชยารามหนองสวรรค์
◎ วิทยฐานะ
สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.๒๔๗๙
สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ.๒๔๘๒
สอบได้นักธรรมชั้นเอก พ.ศ.๒๔๘๕
พ.ศ.๒๔๘๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านช้าง ต.นาดี เมืองอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าไชยารามหนองสวรรค์ ต.เชียงพิณ เมืองอุดรธานี
พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นเจ้าคณะตำบลเชียงพิณ (ธ)
◎ สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นพรุครูสมุพิมพ์ ฐานานุกรมของพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) อ.เมืองอุดรธานี ชั้นตรีฝ่ายวิปัสสนาธุระ
พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นพระครูพิมลปรีชาญาณ (พิมพ์ พหุชาคโร) ชั้นโทฝ่ายวิปัสสนาธุระ
พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นพระครูพิมลปรีชาญาณ (พิมพ์ พหุชาคโร) ชั้นเอกฝ่ายวิปัสสนาธุระ
◎ การเผยแพร่
๑.สำนักงานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนานี้ องค์หลวงปู่ท่านได้ถือปฎิบัติมาตลอดชีพของการครองเพศสมณะ ท่านได้เป็นธุระเอาใจใส่ในการเผยแพร่คำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้แก่พุทธศาสนิกชน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ทั้งในเพศบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่มีโอกาสอันควร และเห็นเหมาะสม มีผู้เคารพนับถือศรัทธาเป็นจำนวนมาก ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดทั่วประเทศ
๒.เป็นครูสอนปริยัติธรรม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๙ จนถึงมรณภาพรวมเวลาเป็น ๖๓ พรรษา
๓.เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดต่างๆ เพื่อเป็นสาขา ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาดังนั้น
๓.๑.สร้างวัดป่าบ้านช้างรัตนมงคล ต.นาดี เมืองอุดรธานี
๓.๒.สร้างวัดป่าดอนอีไข ต.นาดี เมืองอุดรธานี
นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อให้เป็นที่ปฎิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชน เช่น
วัดป่าหนองหัวหมู
วัดป่าหนองอีดำ
วัดป่าศรีบุญเรืองวนาราม บ้านโนนคาม
วัดป่าสมณเจริญธรรม บ้านหนองตอ
วัดป่าศิลาธาวาส ต.นิคมสงเคราะห์
วัดป่าบ้านหนองไฮ ต.หนองไฮ
วัดป่าหนองแก ต.นาดี
วัดป่าหนองโอน เจฎิยานุสรณ์ บ้านหนองโอน
วัดป่าสีทน ต.นาดี
ทำให้วัดและสำนักสงฆ์ต่างๆ เหล่านี้ เจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพสักการะและปฎิบัติธรรมแก่ศิษย์ยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
◎ การอาพาธ
เนื่องจากองค์หลวงปู่พิมพ์ เป็นพระภิกษุที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมาโดยตลอด จนเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๔๐ ท่านได้รับนิมนต์ไปเป็นประธานในการฉลองพระพุทธรูปหยกใหญ่ ที่วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจกลับมาถึงวัด หลวงปู่ก็เริ่มมีอาการป่วยไม่สบาย ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี หมอตรวจพบว่า ท่านป่วยด้วยโรคไอหอบหืด ต้องอยู่รักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา ๒๐ วัน หลังจากนั้น เวลาที่เจ็บไข้ไม่สบายที่รุนแรงมาก ท่านก็จะใช้ขันติและสมาธิจิต บำบัดต่อสู้กับโรคภัยด้วยตัวเอง จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร หลวงปู่จึงเดินทางโดยพาหนะรถไฟทั้งไปและกลับ ทำให้อาการป่วยด้วยโรคหอบหืดกำเริบอีก ได้ให้แพทย์ตรวจทำการรักษา อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ อาการมีแต่ทรงกับทรุด หนักลงเรื่อยๆ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒ หมอจึงส่งเข้ารักษาตัวที่ห้อง ICU เป็นเวลา ๑๐ วัน ในระหว่างนี้หลวงปู่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่สะดวกในการพูดจา แต่ก็มีสติดีและรู้ตัวว่าจะมรณภาพแน่ จึงได้ฝากขอความเป็นลายลิขิตจากมือของท่านถึงญาติโยมไว้ดังนี้
◎ วาระสุดท้าย
รุ่งเช้าประมาณเวลา ๕ นาฬิกา ๓๐ นาที ของวันอังคารที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่ก็ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ ข่าวการมรณภาพของท่านจึงแผ่กระจายออกไปทั้งใกล้และไกล จากเสียงตามสายโทรศัพท์แจ้งข่าว ทำให้ญาติโยมลูกศิษย์ลูกหาที่มีความเคารพ นับถือ ต่างทยอยมารอที่จะคารวะสังขารหลวงปู่อยู่ที่วัดป่าไชยารามหนองสวรรค์อย่างเนืองแน่น จนเวลา ๐๙.๓๐ น. สังขารหลวงปู่จึงได้เคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี มายังวัด ทุกคนแสดงออกถึงความสูญเสีย ความเศร้าสลดใจอย่างหาครั้งใดเปรียบได้ และหลายคนมีความเป็นห่วงกังวลใจ ที่จะปฎิบัติภารกิจต่อจากที่หลวงปู่ได้ทำไว้ เพราะบัดนั้นท่านได้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง มอบภาระหน้าที่ให้พวกเราสืสานต่อไป นับวันเวลาตั้งแต่ถือ กำเนิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สิริรวมอายุ ๘๒ ปี ๙ เดือน พรรษา ๖๔
◎ บันทึกจากองค์หลวงปู่พิมพ์ พหุชาคโร
เมื่อ พ.ศ.๒๕๘๓ ได้ออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามภูเขา เช่นภูเงิน ภูผาแดง ภูกุ้มข้าว ภูถ้ำพระ การเดินธุดงค์ กัมมัฏฐาน เดินด้วยเท้าเพราะมีทางดิรน ทางน้ำ เดินไปตามป่าตามดง ค่ำไหน จำวัตรที่นั่น บิณฑบาตตามหมู่บ้านป่า ทางโคจรบิณฑบาต ๙ กิโล ครั้งหนึ่ง ออกเดินธุดงค์ไปพักถ้ำผึ้ง พักสถานที่นั้น อดน้ำ ต้องตักน้ำด้วยกาน้ำ ที่เป็นบริขาร สรงน้ำตามห้วยตามแอ่งหินที่พักอาศัยเป็นเพลิงหินปัดกวาดทำความสะอาดเสร็จแล้วก็ไปสรงน้ำ ไฟฉายไม่มีอาศัยโคมไฟเทียนเพลิงจุด เดินจงกรม ทำความเพียรบำเพ็ญภาวนา กลด มุ้ง เสื่อไม่ต้องปู เอาผ้าอาบน้ำปูแทนเสื่อ บำเพ็ญกัมมัฏฐาน รู้สึกว่าลมหายใจ เพราะสถานที่เงียบสงบ มีแต่เสียงสัตว์ป่า นาๆ ชนิดสัตว์ใหญ่ก็ได้ยินแต่เสียงเสือโคร่งร้องใหญ่ นั่งพักอยู่ในมุ้งกด สัมปะทนรู้สึกว่าได้ ทางวิเวกดี จิตวิเวกดี เพราะอยู่ พักอยู่ในป่าในดง ตามภูผา ในเวลาแล้ง ไม่ใช่หน้าฝน เดินวิเวกได้ดี
เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ เดินธุดงค์ไปทาง จ.สกลนคร ไปเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ ไปกราบขอฝากตัว ขอนิสัยจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ขอฝากตัวเป็นลูก ขอพึ่งพาอาศัย บุญญาบารมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านพักวัดป่าบ้านโคก อ.นาแก จ.สกลนคร พักอยู่กับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มแต่ เดือน ธันวาคม ถึงเดือน ๗ มิถุนายน การบำเพ็ญภาวนาสงบดี และมีปิติยินดีในข้อวัตรปฏิบัติเพราะว่า อำนาจคุณธรรมพระอรหันต์ ผู้พ้นทุกข์ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นพระบิดา พระลูกผู้ไปขอฟังธรรมปฎิบัติธรรม จะต้องยอมลงทิฏฐิ มานะ ยอมทุกสิ่ง ทุกอย่าง ยอมฟังธรรม และ ปฎิบัติธรรม เอาแบบอย่างของท่าน