วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)

วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ท่านเจ้าคุณพระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระเถระที่ออกประกอบกิจในทางพุทธศาสนายังภาคอีสานร่วมสมัยเดียวกันกับท่าน เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เว้นแต่ตําแหน่งและ หน้าที่ต่างกัน

ท่านเจ้าคุณพระอริยกวี (อ่อน) กําเนิดเกิดที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๘๘ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงราชย์ได้เป็น ปีที่ ๒๒

บิดาของท่านเป็นกรมการ ตําแหน่งนา ชื่อ “พันนา” เดิมมีนิวาสถานอยู่หนองไหล เมื่อได้ เข้ามาทําราชการก็ได้โยกย้ายเข้ามาในเมืองอุบลราชธานี

ท่านเจ้าคุณพระอริยกวี (อ่อน) มีรูปร่างสันทัด ผิวขาว กิริยามารยาทเรียบร้อย นิสัยชอบสันโดษเก็บตัวเงียบ ๆ

เมื่ออายุครบบวชก็ได้บรรพชาอุปสมบท โดยท่านพระอุปัชฌาย์เทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ธัมมรักขิโต ภิกขุ

เมื่อบวชได้สามพรรษา อายุ ได้ ๒๔ ปี ท่านเทวธัมมี (ม้าว) ก็ได้ส่งเข้าไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ

ต่อมาได้ตําแหน่งพระครูฐานานุกรม ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และได้เป็นเจ้าอาวาส วัดเขมาภิรตาราม

การศึกษา ท่านเจ้าคุณพระ อริยกวี (อ่อน) ก็ได้เปรียญ ๔ ประโยค

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านได้รับตําแหน่งพระอริยกวี เป็นสมณศักดิ์ที่ราชาคณะ

ในปีต่อมาท่านพระอริยกวี (อ่อน) ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้ออกไปเป็นเจ้าคณะใหญ่ เมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพระรูปแรกที่สํานัก ณ วัดศรีทอง (ต่อมา เปลี่ยนเป็นวัดศรีอุบลรัตนาราม)

ท่านพระอริยกวี (อ่อน) ได้กระทํากิจในพระศาสนาอย่างแข็งขัน มีความมานะอดทนเป็นเยี่ยมยอด ท่านได้ดําเนินงานตามแบบอย่างของพระอุปัชฌาย์ทุก ประการ

ในยุคของท่านพระอริยกวี มาเผยแพร่การคณะสงฆ์นั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิต ปรีชากร แต่ยังดํารงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอได้รับตําแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จออกไปประทับอยู่ ณ เมืองอุบลราชธานี

ได้ทรงเห็นผลงานของคณะพระธรรมยุตและพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ได้กระทํากิจอันน่านิยมเลื่อมใส ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

จึงทรงพระศรัทธา ได้ทรงถวายปัจจัยเป็นค่าภัตตาหารแก่ พระภิกษุคณะพระธรรมยุตทุกรูป (เฉพาะที่อยู่ในเมืองอุบลราชธานี) รูปละ ๑ บาท (สมัยนั้น) ทุกเดือน

ต่อมา ภายหลังจากพระองค์ เสด็จกลับพระนครแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ได้เสด็จมารับตําแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปประทับ แทน ก็ยังได้จ่ายค่าภัตตาหารถวายแด่พระสงฆ์ตลอดมา

ท่านอริยกวี (อ่อน) ท่านเป็นพระสงฆ์ผู้มีความคิดริเริ่มไม่ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า

ตลอดเวลาที่ท่านดํารงตําแหน่งหน้าที่ในกิจอันควรคณะสงฆ์นี้ ท่านไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จะต้องเดินทางไปในต่างถิ่นต่างอําเภออยู่เสมอ นับเป็นความอุตสาหะอันดียิ่ง

ในยุคของท่านพระอริยกวี (อ่อน ธัมมรักขิโต) นั้น หัวเมืองมณฑลภาคอีสานในเวลานั้นยัง ไม่มีเจ้าคณะมณฑล ท่านจําต้องให้ความดูแลคณะสงฆ์อยู่ตลอด เวลา

และยังได้วางระเบียบการปกครอง โดยการจัดเป็นหมวดหมู่ และทําบัญชีพระสงฆ์ทั้งสิ้นส่งกระทรวง

การศึกษาท่านก็ได้ตั้งการสั่งสอนกุลบุตรเข้ามาศึกษาเล่า เรียนจํานวนมาก การศึกษาพระปริยัติธรรมก็ได้ขยายออกไปไม่น้อย เพราะได้ขยายการศึกษา เล่าเรียนตามวัดได้กว้างขวางขึ้น

ท่านพระอริยกวี (อ่อน ธัมม รักขิโต) ท่านได้สั่งห้ามลัทธิธรรมเนียมบางประเพณีออกเสียบางประการ เพราะเป็นการขัดต่อระเบียบวินัยสงฆ์ เช่น

๑. ห้ามมิให้พระสงฆ์เกี่ยวข้องกับการทําบั้งไฟ

๒. ห้ามมิให้พระสงฆ์เกี่ยวข้องกับพิธีเส็งกลอง

๓. ห้ามมิให้เกี่ยวข้องกับการแข่งเรือ

๔. ห้ามมิให้พระภิกษุเลี้ยงม้า เพราะจะนํามาซึ่งอาบัติ และขัดต่อระเบียบวินัยสงฆ์ ดังนี้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหลักใหญ่ที่ท่านประพฤติวัตรปฏิบัติอยู่เสมอๆ นั้น ได้แก่การนั่งกรรมฐาน เพราะเป็นส่วนการสัมมาปฏิบัติโดยแท้

ท่านได้หลีกเลี่ยงผู้คนเป็นบางครั้ง เพื่อทําความสงบทางใจ นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม ทั้งยังขยันในการทําวัตรสวดมนต์ ไม่เคยขาด

นับได้ว่าเป็นศิษย์ผู้เจริญรอยตามพระอุปัชฌาย์ของท่าน ทุกอย่างทุกประการ

การตรากตรําการงานทั้งหลายนั้น ทําให้สุขภาพของท่าน ทรุดถอยจนเกิดโรคาพยาธิขึ้นได้

ในปีสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านพระอริยกวี (อ่อน) ท่านล้มป่วยเป็นไข้ป่า สุดความสามารถที่ แพทย์จะเยียวยา

ท่านถึงกาลมรณภาพ ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) เมืองอุบลราชธานี ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ ปีเถาะ รวมสิริอายุได้ ๕๘ ปี พรรษา ๓๓