ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ
วัดประดู่ฉิมพลี
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นพระของประชาชน เป็นพระผู้มีจิตเมตตาเยือกเย็นเป็นที่สุด ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า
ท่านไม่เคยปริปากพูดคําว่า “เจ็บป่วย ลําบาก เหน็ดเหนื่อย หรือยากแค้น”
ท่านจะยิ้มรับทุกคนที่เดินทางไปหา และจะอุเบกขานิ่งเฉย เมื่อถึงคราวจําเป็น ใครไม่ถามก็ไม่ตอบ ไม่พูด ไม่เพ้อเจ้อไหวหวั่น
บางคราวท่านถูกศิษย์จัดโปรแกรมให้โดยที่ท่านเองก็ไม่รู้ตัวมาก่อน แม้ท่านจะกระทําในสิ่งที่ตนเองตั้งใจปรารถนาก็ต้อง งดอดใจตนเอง
คือขัดใจตนเอง ดีกว่าไปขัดใจคนอื่น เพราะการขัดใจคนอื่น อาจเสียผลทางใจของเขาแล้วเป็น บาป (ไม่สบายใจ)
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ ท่านมีความสนใจทุ่มเทกายใจ มุ่งปฏิบัติพระกรรมฐานตั้งแต่อายุ ได้ ๑๗ ปี คือตอนเป็นสามเณร
จิตใจที่แก่กล้าอาจหาญของท่านมีอานุภาพอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ จึงมักได้รับนิมนต์ให้ท่านเข้าพิธี การต่าง ๆ ปีหนึ่ง ๆ นับไม่ถ้วน
หลวงปู่โต๊ะเอง ท่านก็รู้และเข้าใจดีเป็นที่สุดว่า บางเรื่องก็เป็นความบริสุทธิ์ มีเจตนาดี หวังแต่ผลโดยส่วนรวม บางเรื่องก็เป็นเรื่องของกิเลส มีเจตนาโดยส่วนตน ในทํานองที่ว่า “วัวใครก็เข้าคอกใคร”
หลวงปู่โต๊ะ ท่านไม่เพ่งโทษ หรือติเตียนผู้ใด ท่านมีแต่เมตตากรุณาเป็นเบื้องบท ใครจะคดใครจะตรง ก็เป็นส่วนของบุคคล ท่านวางอุเบกขาได้เสมอ
ความจริงหลวงปู่โต๊ะท่านมิใช่พระที่มีหน้าที่ปลุกเสก หรือนั่งปรกให้แก่ใคร ๆ ใจของท่านนั้นรักในการ ปฏิบัติเจริญธรรมกรรมฐานมากกว่าสิ่งใด ๆ ทั้งหมด นี่เป็นความ จริงที่ท่านตั้งใจและปรารถนา
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ปีจอ ขึ้น ๘ ค่ํา เดือน ๕
บ้านเกิดคือที่บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นาย ลอย รัตนกร มีเชื้อสายจีน (เคยใช้แซ่)
มารดาชื่อ นางทับ รัตนกร มีอาชีพเพาะปลูกรับจ้างโดยทั่วไป
อายุแต่เยาว์วัยท่านมาอยู่กับญาติที่มีบ้านใกล้วัดประดู่ฉิมพลี ฝั่งธนบุรี และได้ศึกษาเล่าเรียน ณ ที่แห่งนี้ อายุได้ ๑๗ ปี ก็เข้า บรรพชาเป็นสามเณร
ช่วงแรกของชีวิต ท่านได้ฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนากับ ท่านพระอาจารย์พรหม ซึ่งท่านเป็นพระกรรมฐานที่ชํานาญมาก
นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาเล่าเรียนหลักพระปริยัติธรรมอีกด้วย
อายุครบบวช ก็ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดย พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุชิต เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูธรรมวิรัตน์ (เชย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาในพระพุทธ ศาสนาว่า “อินทสุวัณโณ ภิกขุ”
หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นพระนักปฏิบัติอย่างเต็มตัว (ส่วนวิชาอาคมนั้น เป็นเรื่องธรรมดาๆ ของบุคคลสมัยก่อนและครูบาอาจารย์สมัยก่อนเท่านั้น)
ปฏิปทาที่หลวงปู่โต๊ะท่าน ปฏิบัติมาคือหลักสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเป็น พระนักปฏิบัติเดินธุดงค์ ราย
ท่านเคยออกเดินธุดงคกรรมฐานท่องเที่ยวไปในป่าดงพงไพร โดยการมุ่งสู่ภาคเหนือ เพื่อนมัสการรอยพระบาท ๔ รอยในจัง หวัดเชียงใหม่
ชีวิตพระป่าผู้รักความสงบ มีความสันโดษมักน้อยแห่งชีวิต แม้จะลําบากยากแค้นสักเพียงใด ก็ถือเอาตรงจิตใจสําคัญกว่าสิ่งใดทั้งหมด
ท่านสละความสุขของท่านเอง เพื่อวิชาอันจะพาดวงใจของท่านได้พบแดนเกษม
หลวงปู่โต๊ะ ท่านเคยกล่าว ไว้ท่ามกลางคณะลูกศิษย์ว่า
“การอยู่การกินลําบาก หนทางทุรกันดาร และการนอนอยู่กลางป่าดงดิบด้วยกลดเล็ก ๆ พอกาย ตลอดถึงเสียงร้องข่มขู่ คํารามของสัตว์ป่า แม้จะมีพระสหธรรมิกร่วมคณะหลายคน ก็หาได้มีความอบอุ่นช่วยเหลือต่อกันได้
นี้เป็นข้อคิดพิจารณาและ เป็นการเตือนจิต เตือนสติของตนเองได้ดี
เดินธุดงค์ขึ้นไปบนป่าสูง ได้พบกับภาพอันน่าสลดใจของเพื่อนสมณะ ที่เหลือแต่เศษจีวร และคราบเลือดตกกระจัดกระจายตามพื้นดิน ก็ยิ่งให้เป็นอุทาหรณ์ สอนใจ ให้มีการสํารวมศีล มีสมาธิ ยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นชาย-หญิงเกิดมาแล้วประเสริฐทั้งสิ้น เพราะเป็นมนุษย์ แต่จะให้ดีประเสริฐยิ่งขึ้น ก็ควรมีศีลมีธรรมบําเพ็ญบารมีจึง จะได้ชื่อว่ามีที่หมายจริง ๆ”
หลวงปู่โต๊ะ ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔ และก่อนมรณภาพได้เพียง ๗ วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เวลา ๐๙.๕๕ น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๓ ปี ๗๓ พรรษา