วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่มี เขมธัมโม (พระครูเกษมคณาภิบาล) วัดมารวิชัย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่มี เขมธัมโม (พระครูเกษมคณาภิบาล) วัดมารวิชัย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ยอดเกจิอาจารย์แห่งกรุงเก่า

หลวงปู่มี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่มี เขมธัมโม หรือพระครูเกษมคณาภิบาล เป็นยอดเกจิอาจารย์แห่งยุคของชาวกรุงเก่า โดยเกิดที่ ตําบลบางนมโค อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวัยเด็กมีอุปนิสัยเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย และได้รับการแนะนําสั่งสอนในทางที่ดีเสมอมา จนกลายเป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาดและชอบมาอยู่คลุกคลีกับพระเณรในวัดมารวิชัย ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน จึงทําให้มีความสนิทสนมกับพระเณรในวัดและเป็นที่รักใคร่ เอ็นดูจากพระเณรเป็นพิเศษอีกด้วย

จนพระเณรที่มีความรู้ทางศิลปวิทยาการต่างๆ ได้สั่งสอนคอยแนะนํา ทางให้ได้รับความรู้อยู่เสมอ ทั้งภาษาไทย และวิชาธรรมะ จนมีความรู้อย่างกว้างขวางมากกว่าคนอื่นๆในวัยเดียวกัน

ครั้นเวลาล่วงเลยไป นายบุญมี ธนสนธิ์ ก็ได้เติบโตเป็นหนุ่มขึ้น และจะต้องไปช่วยงานพ่อแม่พี่น้อง ทํานา ทําไร่ตามฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเวลาว่างหนุ่มบุญมีก็ไม่เคยห่างวัด และแวะเวียนมาช่วยงานทางวัดเสมอมิได้ขาด

พอมีเวลาว่างก็หาตํารับตําราของพระเณรมาหัดอ่านหัดท่องอยู่เสมอ จนทําให้หนุ่มน้อยคนนี้มีความรอบรู้มากมาย จากความที่เป็นผู้มีนิสัยใจคอดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยงานผู้อื่นเสมอ มีความขยันอดทน ช่วยงานในไร่นาของพ่อแม่โดยไม่เกียจคร้าน และเข้ามาคลุกคลีอยู่ในวัดมารวิชัยเสมอ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พ่อแม่พี่น้องจึงอยากจะให้บวชเรียนตามประเพณี

ดังนั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง บุญมี ธนสนธิ์ จึงได้บวชเป็นพระภิกษุตอบแทนบุญคุณพ่อแม่สมความตั้งใจ โดยมีประธานในพิธีสงฆ์คือ พระครูอดุลวุฒิกร เจ้าอาวาสวัดช่างเหล็ก เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์เขียน (หลวงพ่อเขียน) วัดบ้านพร้าวนอก อําเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกลี้ยง วัดมารวิชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การอุปสมบทของพระบุญมี ธนสนธิ์ ได้กําหนดขึ้นในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ํา เดือน ๘ ตรงกับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย โดยมีฉายาว่า เขมธัมโมภิกขุ

ในความตั้งใจของผู้เป็นพ่อแม่ก็คิดว่าจะให้ลูกบวชอยู่ครองเพศพรหมจรรย์เพียงหนึ่งพรรษาเท่านั้น แต่ต่อมาพระบุญมี เขมธมุโม ได้เปลี่ยนใจเมื่อหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว เจ้าอาวาสวัดมารวิชัย มีนโยบายหรือแนวคิดที่จะให้พระเณรที่มาบวชจําพรรษาอยู่ในวัดมารวิชัยได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ปริยัติธรรม และทางด้านเวทวิทยาอาคมไปด้วย

พระเณรรูปใดสนใจทางด้านไหนเป็นพิเศษก็สามารถร่ําเรียนกันตาม แต่จริตนิสัยของแต่ละคนไป แต่ส่วนปริยัติธรรม เจ้าอาวาสจะเป็นผู้สนับสนุนให้พระทุกรูปร่ําเรียนกัน

ดังนั้น พระบุญมี เขมธมุโม ในฐานะที่เป็นพระภิกษุบวชใหม่จึง ฃรอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนทางด้านปริยัติธรรมและปฏิบัติอาจริยวัตร หรือการปฏิบัติในมูลกรรมฐานควบคู่กันไปด้วย ซึ่งพระหนุ่มหลายรูป ในขณะนั้นต่างก็ให้ความสนใจศึกษาวิชาคาถาอาคมกันเป็นอย่างมาก รวมทั้งพระบุญมี เขมธมุโมด้วย จนมีความรู้ทางเวทมนตร์คาถาอาคมและ เครื่องรางของขลังไว้ป้องกันตัวอย่างสมบูรณ์ และในพรรษาแรกก็สามารถสอบนักธรรมตรีได้ด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่านเปลี่ยนแนวคิดบวชเรียนอยู่ต่อไปอีก เพื่อศึกษาวิชาความรู้ที่ตนสนใจให้ได้ตามที่ตั้งใจเอาไว้

หลวงปู่มี เขมธัมโม แห่งวัดมารวิชัย ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

นับเป็นความโชคดีของพระบุญมี เขมธมุโม เป็นอย่างมากที่ได้บวชอยู่ในสมัยที่หลวงปู่คล้าย พลายแก้ว เป็นเจ้าอาวาส และมีครูบาอาจารย์หลายท่านที่รอบรู้ทั้งทางธรรมะและเวทวิทยา จึงทําให้ท่านมีโอกาสได้ร่ําเรียนวิชาความรู้หลายแขนง โดยมีหลวงปู่คล้ายเป็นผู้ถ่ายทอดและสนับสนุน จนกระทั่งเจนจบวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมหมดสิ้น ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค อันโด่งดังใน ยุคนั้น

ซึ่งต่อมาเมื่อท่านมีอายุมากขึ้น หลวงปู่มี เขมธมุโม ก็ได้เปิดเผยว่า แม้วิชาอาคมเหล่านี้จะไม่ตรงตามหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา ที่มุ่งเน้นให้ปล่อยวางจากการยึดมั่นถือมั่นก็ตาม แต่ในการเรียนเวทมนตร์ คาถาอาคมก็จะต้องเรียนและให้ความสําคัญต่อความเชื่อถือศรัทธาที่ต้องอาศัยความยึดถือหมายมั่น อันเป็นเหตุในการสร้างผลเป็นสําคัญเช่นกัน เพราะวิชาเหล่านี้อาจนําไปยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ญาติโยมได้เช่นกัน และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่หลักธรรมในเบื้องสูงขึ้นไปได้อีกทาง หนึ่งด้วย หรือช่วยเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้แผ่ขยาย กว้าง ออกไปในอนาคตกาลได้เช่นกัน

วัตถุมงคลของหลวงปู่มี เขมธมุโม ที่ท่านจัดสร้างและปลุกเสกตาม ตํารับโบราณ คือ รูปปั้นวัตถุมงคลรุ่นมีเงิน มีทอง พระพิมพ์ชุดฝังตะกรุด ทองคํา ชุดแช่น้ํามนตร์ ๓ ไตรมาส อันโด่งดังในทางแคล้วคลาดอยู่ยง คงกระพัน และผ้ายันต์เกราะเพชร เป็นต้น

วัตถุมงคลที่ได้กล่าวมานี้ ล้วนแต่เป็นของดีมีคุณค่าควรแก่การหา มาไว้ในครอบครอง จะเกิดสิริมงคลแก่ตนเองและปกป้องคุ้มครองให้ชีวิต แคล้วคลาดตลอดปลอดภัย สมเป็นวัตถุมงคลของยอดเกจิอาจารย์แห่ง ยุคของชาวกรุงเก่าเลยทีเดียว