วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่โชติ อาภคฺโค

วัดภูเขาแก้ว
อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่ดี ฉันโน ศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล องค์นี้ ท่านมีความสามารถในทางกสิณ ๑๐ อย่างเยี่ยมยอดที่สุด และทางด้านจิตภาวนากรรมฐานก็นับว่ายอดเยี่ยมอีกเช่นกัน พระอาจารย์ดี ฉันโน ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น ถ้าจะพูดว่าความเก่งแล้ว ท่านทําได้แสดงได้อย่างปุถุชนธรรมดา มองตาค้างเลยทีเดียว

หลวงปู่ดี ฉันโน
หลวงปู่ดี ฉันโน

ความมีชื่อเสียงของท่านพระอาจารย์ดีนี้ได้ยินเข้าหูของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งมีความรักชอบในเชิงเวทมนตร์อยู่มาก ชอบฤทธิ์อํานาจ ชอบความอัศจรรย์ที่มีอยู่ในโลกนี้ แม้ที่ใดท่านบอกว่า “นั้นลึกลับมีอาถรรพณ์เขาจะต้องเข้าไปพิสูจน์ด้วยตนเองจึงจะเชื่อ”

ท่านผู้นั้นต่อมาเรารู้จักในนาม หลวงปู่โชติ อาภัคโค แห่งวัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี ท่านหลวงปู่โชติ อาภัคโค ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่เคยพบพระกรรมฐานมาตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร และท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่นิยมชมชอบใน เรื่องประพฤติปฏิบัติธรรมมากกว่าสิ่งอื่น ในฐานะตําแหน่งหน้าที่ ท่านเคยดํารงตําแหน่งที่สําคัญในคณะสงฆ์ แต่สิ่งเหล่านี้ ท่านหลวงปู่โชติ ก็ได้สนองเจตนาอันดีของครูบาอาจารย์อยู่ระยะหนึ่ง

ต่อจากนั้นท่านได้ลาออกจากตําแหน่ง เพราะมีความประสงค์ที่จะออกเดินธุดงค์ ปฏิบัติธรรมตามเยี่ยงครูบาอาจารย์ผู้สําเร็จผลมาแล้ว ซึ่งท่านก็ได้รับผลที่น่าภาคภูมิใจในเวลาต่อมา

ท่านหลวงปู่โชติ อาภัคโค ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๓ ปีมะเมีย ท่านเป็นคนชาวอุบลราชธานี โดยกําเนิด บิดามารดาเป็นชาวนา ท่านพระอาจารย์โชติ เกิดมาคู่ หรือที่เรียกว่า “ฝาแฝด” นั้นเอง ฝาแฝดคู่นั้น ก็คือ โชติ ประเสริฐสิน และ ชาลี ประเสริฐสิน แต่ทั้งสองคนมีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน คือ ท่านหลวงปู่โชติ สมัยเป็นฆราวาส ท่านมีจิตใจฝักใฝ่ธรรม สนใจพระพุทธศาสนา
ส่วน นายชาลี ที่เป็นคู่แฝดเขาไม่ชอบทางบวชเรียน ชอบสร้างบ้านสร้างเรือน ทํามาหากินไปตามทางของโลก

พออายุของท่านได้ ๑๕ ปีเต็ม ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดสระแก้ว แก่งสะพือ โดยมีท่านพระครูพิบูลสมณกิจ เจ้าคณะอําเภอพิบูลมังสาหาร เป็นพระ อุปัชฌาย์

หลังจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ที่วัดสีนวล จ.อุบลราชธานี ณ ที่แห่งนี้ท่านได้อยู่ศึกษาถึง ๓ ปี ต่อจากนั้นท่านได้เดินทาง เข้ามาอยู่จําพรรษาที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ โดยได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน)

ต่อมาท่านได้ย้ายมาจําพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ไปอยู่ปรนนิบัติ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)

ในปีพ.ศ.๒๔๙๓ ท่านสามารถสอบผ่าน ได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค นับเป็นความวิริยะอดทนได้เป็นเยี่ยม

ท่านหลวงปู่โชติเป็นผู้มีวาสนาอยู่มาก เพราะท่านได้เข้ามารับสนอง พระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถึงสองท่านแต่ละท่านต่างก็มีคุณธรรมปราดเปรื่องด้วยคุณวุฒิทั้งวัยวุฒิ นับว่าท่านหลวงปู่โชติ ได้จดจําคุณธรรมทั้งหลายมา ด้วยดีตลอดขณะที่อยู่ใกล้ชิดท่าน

ต่อมาทางด้านการศึกษาต้องหยุดชะงักลงเพราะท่านป่วยด้วยโรคชนิดหนึ่ง คือ เล็บมือเป็นขุย ๆ ท่านจึงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช และที่โรงพยาบาลนี้ ท่านได้เข้าไปพิจารณาศพ ที่พิพิธภัณฑ์ซากศพ จนเกิดพระกรรมฐานขึ้นภายในจิตใจตั้งแต่บัดนั้นมา

ธรรมปีติเกิดขึ้นกับใจในครั้งนั้น ทําให้อิ่มเอิบรู้ซึ้งถึงความเป็นจริงแห่งชีวิต

ในปีต่อมาท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุสงฆ์ ได้รับฉายา ว่า “อาภัคโคภิกขุ” และได้เดิน ทางกลับบ้านเกิด ที่จังหวัดอุบลราชธานี มาอยู่จําพรรษาที่วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี และในขณะนั้น หลวงปู่ดี ฉันโน เป็นเจ้าอาวาส

เมื่อมาถึงถิ่นแล้วท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และได้ฝึกพระกรรมฐานอย่างจริงจังกับ หลวงปู่ดี ฉันโน จนมีสมาธิแก่กล้าแล้วท่านจึงได้กราบลาพระอาจารย์เดินธุดงคกรรมฐาน

พระครูวิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว

ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ท่านได้ เริ่มออกเดินธุดงค์ไปฝั่งประเทศลาว ซึ่งมีพระสหธรรมิกไปด้วยรูปหนึ่ง ท่านเป็นคนกล้า ไม่กลัวอะไรง่าย ๆ ท่านถือว่า “เอาความตายไปแลกกับธรรมะ ความดีงามนั้น คุ้มค่ากว่าอะไรทั้งหมด”

การบุกป่าฝ่าดงในครั้งกระนั้น ท่านหลวงปู่โชติ อาภัคโค ท่านได้อาศัยป่าเป็นบ้าน และเป็นเรือนตาย เพื่อค้นคว้าศึกษาธรรม ดินแดนประเทศลาว อันได้แก่ ภูหลวง หรือชาวบ้านเรียกว่า “ภูจําปาศักดิ์” นั้นสูงมากเป็นภูเขาที่กินเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาลบนยอดเขา มีวัดร้างปรางค์กู่เก่าแก่โบราณ และยังเห็นร่องรอยของเมืองโบราณอันรุ่งเรืองมาก่อน

ณ ที่นี้มีความอาถรรพณ์มาก สมบัติของเก่าแก่ก็มีมากเช่นเดียวกัน พระธุดงค์ที่มีจิตใจอ่อนไหวกับอาการของโลกไปเห็นสิ่งของเย้ายวนจิตใจเก็บมาเป็นสมบัติของตนเอง ก็ไปตายบนนั้นมากมายเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีภัยจากสัตว์ป่าอีกด้วย

ภาคปฏิบัติธรรมของพระธุดงคกรรมฐาน ท่านต้องสละกายและจิตใจทุ่มเทลงไปเพื่อธรรมะ หลวงปู่โชติ อาภัคโค ไม่เคยหวั่นไหว ท่านป่วยเป็นไข้ป่าก็ได้อาศัยธรรมะนี้รักษาจนหายขาด การเจ็บป่วยของท่าน ทําให้ท่านได้รู้จักความตายอย่างสิ้นเชิง ๔๘ ชั่วโมง ท่านบอกว่า “เกือบถูกปลงศพเผาทิ้งกลางป่าเสียแล้ว กลับฟื้นขึ้นมาอีก เลยต้องรีบเร่งสร้างความดีขนานใหญ่”

ความเด็ดเดี่ยวแห่งองค์ธรรมที่ท่านปฏิบัติอยู่ภายในถ้ำเสือโคร่งหัวเท่ากระบุงมานอนเฝ้าหน้าปากถ้ำทุกวัน งูจงอางดงตัวขนาดเสาเรือน ท่านมองไม่เห็น เลยไปเหยียบเข้า แต่มันก็ไม่ทําอันตราย ซึ่งผิดปกตินิสัยงู มักจะแว้งกัด ท่านจึงรู้ซึ้งถึงพระธรรมมาก และไม่ขอเลิกละแห่งการปฏิบัติพระกรรมฐาน

ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น เป็นความจริงที่มหัศจรรย์ เมื่อใครลงมือปฏิบัติแล้ว ย่อมรู้ และ เข้าใจเองโดยไม่ต้องถามใคร ๆ อีกต่อไป

จิตใจก็เช่นเดียวกัน ปกติปุถุชนธรรมดา มักจะไม่รู้ไม่เข้าใจ เป็นจิตใจที่ล้มเหลว รู้ไม่จริงทั้งนั้น ครั้นเมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ ก็จะพบกับความอัศจรรย์ของจิต ท่านหลวงปู่โชติ กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้อาตมายังไม่ตาย ใคร อยากปฏิบัติอาตมาก็จะแนะนําให้

พระครูวิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว

นับได้ว่าหลวงปู่โชติท่านเป็นพระสุฐิปันโนรูปหนึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน ท่านปฏิบัติได้ดี่เยี่ยมท่านเป็นสหธรรมิกหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

ปัจจุบัน หลวงปู่โชติ ท่านมรณภาพลง ​เมื่อวันที่​ ๒๖​ สิงหาคม​ ฑ.ศ.๒๕๖๑​ สิริอายุ​๘๘​ ปี​พรรษา​ ๖๓​