ประวัติ และปฏิปทา
หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
วัดสระประสานสุข
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) นามเดิม บุญมี นามสกุล กุศลคุณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๒ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่่า เดือน ๓ ปีระกา ซึงตรงกับวันส่าคัญทาง พุทธศาสนาคือ วันมาฆบูชา ณ บ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ ต่าบลไร่น้อย อ่าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โยม บิดาชื่อนายกุ โยมมารดาชื่อนางเลื่อน กุศลคุณ
หลวงปู่บุญมี ท่านเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่ชื่อว่า บุญมีนั้น มีอยู่ว่า ก่อนที่โยมมารดาของท่านจะตั้งครรภ์ ได้ฝันว่าหลวงปู่สีทา ชยเสโน ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของหลวงพ่อได้เอาพร้ามาให้ แต่พร้าด้ามนั้นเป็นสนิม ไปหมด ในนิมิตนั้นโยมมารดาท่านได้ถามหลวงปู่สีทาว่า “เอาพร้าที่เต็มไปด้วยสนิมนี้มาให้ทำไมใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้” หลวงปู่สีทาได้บอกว่า “ก็เอากลับไปเสียก่อนแล้วจะใช้การได้”
ครั้นเมื่อหลวงปู่เกิดโยมมารดาท่านได้เจ็บท้องเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ยังไม่คลอด ความทราบถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สีทา ชย เสโน พระองค์ได้เสด็จมาดูพร้อมด้วยหลวงปู่สีทา ชยเสโน ว่าเป็นเพราะอะไรจึงคลอดยากเย็นหนักหนา ครั้นถึงเวลาเที่ยงตรงในสมัยนั้นไม่มีเครื่องบอกเวลาเหมือนในปัจจุบัน มีการบอกเวลา โดยการยิงปืนใหญ่เป็นสัญญาณ พอสิ้นเสียงปืนใหญ่โยมมารดาก็คลอดทารกเพศชายออกมาเป็นเวลาเที่ยงพอดี และเสด็จในกรมทรงมีรับสั่งว่า “เด็กชายคนนี้ชะรอยจะเป็นผู้มีบารมีมาเกิดจะดีจะชั่วเพียงใดไม่อาจรู้ได้ ขอให้ชื่อว่า บุญมีนะ” และมีรับสั่งให้โยมบิดาของหลวงพ่อพันตัวแล้วนำไปลอดใต้ท้องช้างกลับไปกลับมาสามครั้ง หลวงพ่อจึงได้ชื่อว่า บุญมี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่บุญมีในวัยเด็กนั้นร่างกายของท่านบอบบางมากเป็น เด็กที่เลี้ยงยาก แม้โยมมารดาได้ประคับประคองเลี้ยงดูเป็นอย่างดี แต่ก็ยังเป็นห่วงลูกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นคน ไม่ค่อยแข็งแรง และไม่อยากให้ไปท่ามาหากินจึงบอกหลวงพ่อว่า “ลูกเอ๋ยบวชแล้วอย่าสึกนะ” จากคำพูดนี่เอง ทำให้หลวงพ่อบุญมีร่าลึกอยู่เสมอว่า จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่
การศึกษา
หลวงปู่บุญมี เข้าเรียนและจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อย อ่าเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ และสอบได้นักธรรมเอก (น.ธ.) จากส่านักเรียนวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ด้านการศึกษาพิเศษ หลวงพ่อบุญมี ได้ศึกษาอักษรขอมจนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ และยังมีความชำนาญในการอ่านหนังสือธรรมสมัยโบราณ นอกจากนั้นหลวงพ่อยังมีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาผญา ภาษิตอีสาน เป็นอย่างดี สามารถนำเอามาใช้ในการเทศนาธรรม และค่าสอนของหลวงพ่อ จนเป็นที่ประทับใจ และศรัทธาแก่ลูกศิษย์ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกคน
การบรรพชา และการอุปสมบท
โยมมารดาได้พาหลวงพ่อบุญมีไปฝากกับหลวงปู่สีทา ชยเสโน ท่าให้ท่านได้มีโอกาสกราบ นมัสการหลวงปู่เสาร์ กนฺตสิโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นอาจารย์ ทั้งสองได้แวะเวียนมา กราบหลวงปู่สีทา ชยเสโน ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาเถระในสมัยนั้น
เมื่อสิ้นหลวงปู่สีทา ชยเสโน โยมมารดาได้พาหลวงปู่บุญมีไปบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ต่าบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และในระหว่างที่บรรพชาเป็น สามเณรนั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เมตตานำสามเณรบุญมีไปจำพรรษากับท่านที่จังหวัดสกลนคร
เมื่ออายุครบ ๒๐ หลวงพ่อบุญมี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่่า เดือน ๖ ปีมะแม ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๗๔ ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา โดยมีพระเดชพระคุณ พระศาสนดิลก (เสน ชยเสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์พระมหาสว่างเป็นพระกรรมวาจารย์และพระอาจารย์เพ็ง เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “โชติปาโล” อันมีความหมายว่า “ผู้มีแสงสว่างในธรรม”
ด้านการปกครอง
หลังจากอุปสมบท หลวงพ่อบุญมี ได้มีโอกาส กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ผู้มีคุณูปการต่อกิจการคณะสงฆ์ภาคอีสาน ซึ่งท่านได้เมตตาต่อ หลวงพ่อบุญมี โดยอนุญาตให้ติดตามท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส และที่วัดเขาพระงาม จังหวัด ลพบุรี อีกด้วย
ช่วงชีวิตสมณเพศหลวงพ่อบุญมี ท่านได้ออกจารึกไปในที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งท่านได้ออกจารึกไปพร้อม กับท่านอาจารย์มหาสว่าง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน โดยจารึกไปในประเทศพม่า ลาว เขมร เวียดนาม เลย ไปถึงประเทศจีน เมื่อกลับมาจากประเทศจีนหลวงพ่อบุญมีท่านได้ช่วยพระอาจารย์ สร้างวัดป่าสาละวัน อ่าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อีกวัดหนึ่ง
นอกจากนี้หลวงพ่อบุญมี ท่านยังได้มีศรัทธาร่วมสร้างวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ หลวงพ่อลี เพื่อเป็นศูนย์วิปัสสานากรรมฐาน แก่พุทธศาสนิกชนและยังได้ร่วมกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สร้างวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ รวมทั้งได้ร่วมกับ พระอาจารย์ดี ฉันโน สร้างวัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อีกวัดหนึ่งด้วย
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ หลวงพ่อบุญมีได้กลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข สืบต่อจากพระศาสนดิลก ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน และได้เริ่มพัฒนา วัดสระประสานสุข (บ้านนาเมือง) ที่เป็นวัดบ้านเกิดของท่านจนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงทั่วไป ทางวัดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตทหารอากาศ กองบิน ๒๑ ข้าราชการทหารอากาศได้มีศรัทธามาร่วมอุปสมบทและจำพรรษาตลอดมา
สมณศักดิ์
หลวงพ่อบุญมี ได้รับสมณศักดิ์พระครูไพโรจน์รัตโนบล เป็นครั้งแรก ซึ่งสมณศักดิ์พระครูรัตโนบล นั้นเป็นของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้รับเพียง ๓ วัน จากนั้นได้มอบคืนให้พระธรรมเจดีย์ (เจ้าคุณจูม พันธุโล) วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีพระสงฆ์องใดได้รับ แต่งตั้งในสมณศักดิ์นี้อีกเลย
จนกระทั่งปี ๒๕๒๔ สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิตรได้รับสั่งกับหลวงพ่อว่าไม่มีใครเหมาะที่จะได้รับสมณศักดิ์ พระครูไพโรจน์รัตโนบลนี้เท่ากับหลวงบุญมีอีกแล้ว จึงได้มอบตำแหน่งพระครูไพโรจน์รัต
โนบลให้กับหลวงพ่อบุญมี ได้รับจากสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่รู้ตัวมาก่อน จากนั้นได้เลื่อนมาจนถึงชั้น พิเศษ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ หลวงพ่อบุญมีได้รับแต่งตั้งในสมณศักดิ์ ต่าแหน่งพระภาวนาวิศาลเถร
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ เป็นพระครูสัญญบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ที่พระครูไพโรจน์รัตโนบล
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ เป็นพระครูสัญญบัตรเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้รับแต่งตั้งในสมณศักดิ์ เป็นพระภาวนาวิศาลเถร
ผลงานด้านการปกครอง
วัดสระประสานสุข (บ้านนาเมือง) เป็นวัดที่ พระศาสนดิลก (เสน) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของ หลวงพ่อได้เป็นผู้บุกเบิกและวางรากฐานก่อสร้างมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งหลวงพ่อบุญมีได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุข เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ท่านได้เริ่มวางแผนและด่าเนินการพัฒนาวัดสระ ประสานสุขโดยความร่วมมือและเลื่อมใสศรัทธาของญาติโยม และพุทธศาสนิกชน จนมีความรุ่งเรืองเป็นที่ เคารพนับถือแก่ญาติโยมโดยทั่วไป
ด้านการปกครอง หลวงปู่บุญมี มีระเบียบในการปกครองพระสงฆ์ในวัดสอดคล้องกับกฎของ พระเถระสมาคมอย่างเคร่งครัด โดยมีกฎกติกาของวัดโดย มติของคณะสงฆ์ภายในวัดเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเอง และเป็นกิจวัตรสำคัญที่หลวงพ่อได้ริเริ่มและให้ปฏิบัติเป็นประจำ คือจัดให้มีการปฏิบัติธรรมและเจริญ สมาธิภาวนาทุกวัน โดยเฉพาะวันพฤหัสบดีที่ศาลาการเปรียญ วัดสระประสานสุข ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
ผลงานด้านการพัฒนาวัดที่หลวงพ่อได้ริเริ่มและด่าเนินการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ภายในวัดให้เป็น ศาสนสถานที่เป็นแหล่งร่วมใจของชาวพุทธ โดยทั่วไป ดังนี้
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ หลวงพ่อได้เป็นผู้น่าศรัทธาชาวบ้านก่อสร้างการเปรียญขนาดใหญ่ใน ลักษณะทรงปั้นหยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดใหญ่ ที่หลวงพ่อเป็นผู้นำศรัทธา หล่อไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ หลวงพ่อได้ออกแบบและเป็นประธานในการก่อสร้างเป็นอุโบสถบนเรือสุพรรณหงส์ อันมีความหมายว่า จะเป็นพาหนะที่จะพาบรรดาพุทธศาสนิกชน ข้ามมหาสมุทรแห่งวัฏสงสาร สู่ดินแดนมหานิพพาน ซึ่งพระอุโบสถที่หลวงพ่อสร้างนี้มีความสวยงามตั้งเด่นเป็นสง่าก่อให้เกิดความ ศรัทธาต่อญาติโยมที่มาท่าบุญที่วัดสระประสานสุข
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ หลวงพ่อบุญมี ได้นำศิษย์ สร้างพระพุทธรูปปางประทานพร สูง ๗ เมตร ๗๗ เซนติเมตร และได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธโชติปาละชนะมาร” สร้างพระสังกัจจายเป็นปูนปั้น สูง ๓ เมตร ๗๗ เซนติเมตร ถวายพระนามว่า “พระสังกัจจายโชติปาโล” และสร้างพระศิวลีโชติปาโล ณ วัดสังกัดรัตนคีรี บนยอดเขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
นอกจากนี้และหลวงพ่อบุญมียังได้สร้างศาสนสถานต่างๆ ภายในวัดสระประสานสุข คือ วิหาร โชติปาโล สร้างกุฏิโชติปาโลนุสรณ์ ลักษณะทรงไทย สร้างกุฏิโสติธรรมลักษณะทรงไทย สร้างหอสวดมนต์ ในลักษณะทรงไทย ที่สระน้ำใหญ่ก่อสร้างศาลากลางน้ำที่อยู่ในเรือสุพรรณหงส์ เช่นเดียวกันและที่ถือเป็น สิ่งส่าคัญอย่างหนึ่งของวัดที่เป็นที่ประทับใจแก่ญาติโยมที่มาวัดสระประสานสุขคือ ประตูทางเข้าด้านหน้าวัด ท่านสร้างเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ๓ เศียร ที่ใหญ่โตมากมองเห็นเด่นสง่ามาแต่ไกล สร้างและปรับปรุงห้องน้ำ ห้องสุขาให้เพียงพอกับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญ ในงานเทศกาลต่างๆ นอกจากนี้ยังได้สร้าง กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบบริเวณวัด รวมไปถึงการปรับสภาพแวดล้อมและพื้นที่ภายในวัดทั้งหมด ให้เหมาะสม สวยงาม สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม และมาร่วมทำบุญแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป
ผลงานด้านการเผยแพร่
หลวงพ่อบุญมี เป็นอริยสงฆ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะเห็นได้จากเวลา ที่หลวงพ่อฉันภัตตาหารเช้า จะมีผู้น่าอาหารมาถวายเป็นจำนวนมาก เมื่อฉันท์หลวงพ่อจะแบ่งปันอาหาร ที่เหลือนั้นให้กับทุกคนๆ ให้นำกลับไปเลี้ยงดูบุตรหลาน และพ่อแม่ที่อยู่ทางบ้านโดยทั่วถึงกัน ญาติโยมที่นำอาหารไปถวายหลวงพ่อต่างก็มีความอิ่มเอิบใจ เพราะนอกจากเป็นการถวายทานแก่หลวงพ่อแล้วยังได้ ทำทานกับคนทั่วไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งการให้อาหารนี้ หลวงพ่อให้โดยการโยนและขว้างอาหารหรือสิ่งของ ให้กับคนที่ท่านต้องการให้ จนเคยมีลูกศิษย์เคยนมัสการถามหลวงพ่อว่า “ทำไมจึงโยนและขว้างสิ่งของให้” หลวงพ่อบอกว่า “เป็นการเตือนสติสัมปชัญญะประจำตัวอยู่ตลอดเวลา”
นอกจากการอบรมสั่งสอนแก่ญาติโยมที่มากราบไหว้ และทำบุญที่วัดสระประสานสุขแล้ว หลวงพ่อยังได้ออกเทศนาปาฐกถาอธิบายธรรม และสนทนาธรรมแก่ประชาชนทั่วไปตามสถานที่ราชการ โรงเรียน หมู่บ้านต่างๆ มาโดยตลอด
ทางด้านหลักธรรมและคำสอน หลวงพ่อบุญมี ท่านมีอริยสงฆ์ที่ประกอบด้วยจริยวัตรอันชอบธรรม เดินทางสายกลางอันเป็นข้อปฏิบัติธุดงควัตรสายกรรมฐานเจริญรอยตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ และท่านเจ้าคุณศาสนดิลก ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านมาโดยตลอด คำสอนของหลวงพ่อจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง และมีภาษิตอีสานแทรกอยู่ ทุกครั้งทำให้เข้าใจง่าย รู้ถึงคุณค่าของธรรมและค่าสอนขอพระพุทธองค์
หลักคำสอนของหลวงพ่อบุญมีท่านเน้นการอบรมสั่งสอนให้รู้คุณของพระแก้ว ๒ องค์ คือ บิดา มารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในบ้านที่ทุกคนควรกราบไหว้บูชาตลอดกาล สอนให้ทุกคนบ่าเพ็ญตนตามหลัก กุศลสมาทาน สอนให้รู้จักศาสนากับสังคมไทย การประหยัดและอดออมตามหลักพระพุทธศาสนาและใน การปฏิบัติธรรม ท่านสอนให้ปฏิบัติธรรมเป็นกิจประจ่าวัน โดยการนั่งสมาธิภาวนาทุครั้งในเทศกาลต่างๆ ให้บำเพ็ญทานบารมี สมาทานศีล ปฏิบัติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทุกครั้ง
ผลงานด้านสาธารณประโยชน์
หลวงพ่อบุญมี นอกจากมีภารกิจการบริหารและจัดการ วัดสระประสานสุข และวัดวาอารามต่างๆ แล้วหลวงพ่อยังมีจิตเมตตาบริจาคเงินทุน สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันแก่โรงเรียนที่ขาดแคลนและ มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน ปีละ ๒๐ ทุน บริจาควัสดุต่อเติมและก่อสร้างอาคารเรียน ให้กับโรงเรียน และสร้างรั้วก่าแพงให้กับโรงเรียนบ้านนาเมือง ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าแก่ของบ้านนาเมือง ให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาต่อไป
นอกจากนั้นหลวงพ่อบุญมี ยังได้นำญาติโยมชาวบ้านนาเมือง ตัดถนนจากบ้านนาเมืองเชื่อมต่อไปยังบ้านดงหนองแสน ต่าบลไร่น้อย ระยะทาง ๓ กิโลเมตร โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ เพื่อท่า ให้การสัญจรไป-มาของชาวบ้านในละแวกนั้นสะดวกยิ่งขึ้น และกิจกรรมส่าคัญประการหนึ่งที่หลวงพ่อได้ ปฏิบัติ คือการไถ่ชีวิตโค กระบือ โดยซื้อมาก่อนที่จะถูกน่าไปยังโรงฆ่าสัตว์ มาบริจาคให้กับชาบ้านที่ยากจน ได้ไปเลี้ยง เพื่อใช้แรงงานประกอบอาชีพต่อไป
ผลงานด้านสังคมสงเคราะห์
หลวงพ่อบุญมี เป็นพระสงฆ์ที่มีจิตเมตตาแก่ญาติโยมและประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงทั่วไป หลวงพ่อเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือคนไข้ที่ขาดแคลนตามโรงพยาบาล จึงได้ บริจาคอุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ เช่นเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องดูดเสมหะ เครื่องตรวจเลือด ให้กับ โรงพยาบาลต่างๆ เช่น
๑. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลทุกอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี
๒. โรงพยาบาลทุกอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ
๓. โรงพยาบาลจังหวัดเชียงใหม่
๔. โรงพยาบาลสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
๕. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
๖. โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
๗. โรงพยาบาลดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
๘. โรงพยาบาลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนั้นในวันทำบุญคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อบุญมี ท่านได้มอบทุนการศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การศึกษาและให้ทานแก่เด็กพิการในจังหวัดอุบลราชธานี ให้ทานวัวที่ไถ่ ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์ ให้กับชาวบ้านที่ยากจนเป็นประจ่าทุกปี บริจาคเสื้อผ้า อาหารแห้งให้กับศูนย์ ชาวเขา แม่ฟ้าหลวง ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ ให้กับชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้าราชการ ศูนย์หม่อนไหมจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาสถานที่ต่างๆ และยังจัดหาแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้ ให้กับหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ผลงานด้านทำนุบำรุงศาสนา
หลวงปู่บุญมี ไม่เพียงพัฒนาและก่อสร้างศาสนสถานในบริเวณวัดสระประสานสุข ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหลวงพ่อเท่านั้น ท่านยังได้มีจิตเมตตาในการมอบทุนทรัพย์ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ สนับสนุนการก่อสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ และวิหารภายในวัดต่างๆ ทั้งในและนอก ประเทศ เช่น
๑. สร้างพระใหญ่ที่เขาพระงาม ร่วมกับเจ้าคุณอุบาลี คุณุปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) โดยใช้ ไหกระเทียมในสมัยนั้นเป็นมวยผม (พระเกศ)
๒. ร่วมสร้างพระนาคปรก ที่วัดอโศการาม ในฐานะที่ท่านเป็นสหธรรมมิก กับหลวงพ่อลี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอโศการาม และหลวงพ่อลีท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี
๓. บูรณะมณฑป รอยพระพุทธบาท
๔. บูรณะศาลารัชมังคลาภิเษก เขาสระแกกรัง
๕. สร้างพระพุทธรูปเนื้อโลหะ หน้าตักกว้าง ๓ เมตร ประดิษฐานที่ศาลารัชมังคลาภิเษก
๖. สร้างพระสังกัจจายนะโชติปาโล หน้าตักกว้า ๓ เมตร ที่จังหวัดอุทัยธานี
๗. สร้างพระสิวลี ที่จังหวัดอุบลราชธานี
๘. สร้างพระพุทธรูปสูง ๗ เมตร ๙๗ เซนติเมตร ปางประทานพร โชติปาละชนะมาร เนื้อโลหะทองเหลืองบนยอดเขาสังกัดรัตนคีรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานตักบาตรเทโวโลหะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
๙. ให้อุปกรณ์ก่อสร้างพระอุโบสถ วัดบ้านกุดมะฮง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
๑๐. สร้างพระเจ้าใหญ่ และบูรณะหอระฆัง ที่วัดบ้านบ่อ
๑๑. สร้างพระพุทธรูปสูง ๓ เมตร ที่วัดถ้่ากองเพล จังหวัดอุดรธานี
๑๒. สร้างพระพุทธรูปสูง ๓ เมตร ๒ องค์ ที่เชียงรุ้ง
๑๓. สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิสูง ๓ เมตร ๒ องค์ ที่ประเทศจีน
๑๔. ให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างวัดภูถ้ำพระ
๑๕. ให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างวัดคอนสวรรค์ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
๑๖. ให้การอุปถัมภ์และช่วยเหลือวัดต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ วัดบ้านก้านเหลือง วัดบ้านต่าแย วัดบ้านหนองหว้า วัดบ้านหนองมุก วัดส่าราญนิเวศน์ วัดบ้านระเว วัดบ้านนาจาน วัดบ้านดอนจืด วัดบ้านด้ามพร้า วัดบ้านปลาดุกน้อย วัดบ้านยางลุ่ม วัดป่าอำเภอม่วงสามสิบ วัดบ้านกุดลาด วัดบ้านกระโสบ และวัดบ้านหมากมี่ (บ้านขนุน)
นอกจากนั้นหลวงพ่อบุญมี ยังรับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติเป็นกิจวัตรที่หลวงพ่อได้ปฏิบัติเป็นประจำจนทำให้ญาติโยมและประชาชนเลื่อมใสศรัทธา และ มาร่วมท่าบุญจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ผลงานดีเด่นที่สมควรได้รับการยกย่อง
หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล ประธานสงฆ์ วัดสระประสานสุข (บ้านนาเมือง) ต่าบลไร่น้อย อ่าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หรือหลวงปู่บุญมี ของศิษยานุศิษย์ ของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและชาว ไทยทั่วประเทศ ถือเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีจริยวัตรงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และเคารพบูชาของญาติโยม และประชาชนทั่วไป ตลอดระยะเวลาที่หลวงพ่อบุญมี บรรพชาและอุปสมบทจนถึงปัจจุบันถือว่าการปฏิบัติ
และการเผยแพร่หลักคำสอนของหลวงพ่อ เป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศสมควรยกย่องเชิดชู เป็นพระสงฆ์ที่มีผลงานดีเด่นด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ ดังนี้
การเป็นบุคคลตัวอย่างของจังหวัดอุบลราชธานี
หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล ท่านเป็นคนจังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านนาเมือง ตำบล ไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อบรรพชาและอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ ได้อุทิศตนเป็นสาวกของ พระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำหน้าที่สืบทอดและเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระพุทธองค์ ตลอดชีวิตในสมณเพศ หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล ท่านได้ทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี ที่บ้านเกิดเมืองนอนของหลวงพ่อ เห็นได้จากการเริ่มต้นพัฒนาวัดสระประสานสุข บ้านนาเมือง จากวัดป่าธรรมดาให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ จนเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมีญาติโยม ประชาชนจาก ทั่วประเทศมีจิตเลื่อมใสศรัทธา มากราบไหว้และนมัสการหลวงพ่อจนถึงปัจจุบัน
เมื่อครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงามสมโภชเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีครบ ๒๐๐ ปี มีการจัดท่าหนังสือระลึก ๒๐๐ ปี ได้มีการคัดเลือกและรวบรวมประวัติและผลงานบุคคลสำคัญที่เป็น คนอุบลราชธานีโดยกำเนิดและได้ทำประโยชน์และนำความเจริญมาสู่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพระครูไพโรจน์รัตโนบล (หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล) ได้รับคัดเลือกและยกย่องเป็นพระสงฆ์ที่น่ารู้จักในด้าน พระเถระสายวิปัสสนาธุระของจังหวัดอุบลราชธานี
หลวงพ่อบุญมีจึงได้ถือว่าเป็นพระสงฆ์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีสมควรยกย่อง
ให้เป็น “พระดีศรีอุบล” ที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและ “พระดีศรีแผ่นดิน” ที่ชาวไทยทั่วประเทศสมควรเอาเป็นตัวอย่างตลอดไป
การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล เป็นพระสงฆ์ที่อุทิศตนเพื่อสืบทอดและท่านุบ่ารุงพระพุทธศาสนา มาโดยตลอด โดยการบำเพ็ญตนปฏิบัติกิจวัตรของพระสงฆ์ในกิจการด้านต่างๆ เช่นด้านการปกครองสงฆ์ การเผยแพร่พระพุทธศาสนา การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม การสนับสนุนและให้ ทานเพื่อช่วยเหลือญาติโยมและสงเคราะห์ประชาชนที่ยากจนในด้านต่างๆ และที่สำคัญคือ หลวงพ่อได้ เสียสละและเป็นผู้นำในการหาทุนทรัพย์สนับสนุนและก่อสร้างศาสนาในวัดต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมและที่ พึ่งพาทางจิตใจให้กับประชาชนโดยทั่วไปทั้งในส่วนของวัดสระประสานสุขและวัดวาอารามต่างๆ ทั้งใน และนอกประเทศหลวงพ่อบุญมี จึงถือเป็นพระสงฆ์ที่เป็นพระนักพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นพระที่เป็นตัวอย่างในการบำเพ็ญทานเพื่อการศาสนาอย่างแท้จริง
การเป็นพระอริยสงฆ์
หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล ถือเป็นพระอริยสงฆ์ ที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของญาติโยมและประชาชนทั่วไปแล้ว ด้วยจริยวัตรปฏิบัติอันงดงาม ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งเป็นอานิสงส์ที่หลวงปู่บุญมีสอนศิษยานุศิษย์ทุกครั้งในการทำสมาธิภาวนา นอกจากคุณบิดามารดา และครูบาอาจารย์แล้ว ให้อุทิศส่วนกุศลให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทุกครั้งตลอดมา โดยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารที่ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในกิจวัตรปฏิบัติอันงดงามของหลวงพ่อบุญมี ได้เสด็จมานมัสการหลวงพ่อบุญมี ที่วัดสระประสานสุข เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ และทรงเสด็จครั้ง ที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. นอกจากประชาชนชาวไทยทั่วไปแล้ว หลวงพ่อ บุญมียังเป็นที่เคารพเลื่อมใสกับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่หลายคน
หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล จึงถือเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานี และคนไทยทั้งแผ่นดินเลื่อมใส เคารพศรัทธาและกราบไหว้บูชาได้อย่างสนิทใจ ตลอดไป