ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่มั่น ทัตโต
วัดโนนเจริญ
อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่มั่น ทัตโต เกิดที่บ้านจิกก่อ ในเขตอําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2420 จึงนับอายุได้ 101 ปี ในพ.ศ. 2521 นี้
หลวงปู่มั่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 8 คน หลวงปู่เป็นคนโต น้องชายคนที่ 4 ของ หลวงปู่ ซึ่งชื่อ บุญมา ขณะนี้ ก็บวชเป็นพระอยู่กับหลวงปู่ และได้ติดตามหลวงปู่ไปไหนมาไหนอยู่ตลอดเวลา ในขณะนี้ก็มีอายุนับได้ถึงปีนี้ 75 ปีแล้ว ส่วนน้องคนสุดท้องก็ยังมีชีวิตมี อายุกว่า 60 ปีแล้ว
หลวงปู่มั่น ทัตโต บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ครั้นอายุครบเกณฑ์ ก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารจึงต้องลาสิกบท เพื่อไปรับราชการทหาร รวม 2 ปี ครั้นเมื่อได้ปลดประจําการมาแล้ว ก็ได้อุปสมบท เมื่ออายุได้ 23 ปี จนถึงปัจจุบันนี้ นับได้นานเกือบ 80 พรรษาแล้ว นับได้ ว่าเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีอายุยืนยาว และพรรษากาลสูงมากยิ่งองค์หนึ่งในปัจจุบันนี้ และมีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือ มากมายทั่วประเทศไทย
หลวงปู่มั่น ทัตโต เคยบอกเล่าว่าตัวท่านกับท่าน ภูริทัตโตมหาเถระ หรือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นเป็นเพื่อนกันมาแต่เยาว์วัยแม้กระทั่งเมื่ออยู่ในสมณเพศ ก็ได้เคยธุดงค์มาพบกันบ่อยๆได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน บางตามธรรมดาของสหายทางธรรม ซึ่งหลวงปู่มั่น ทัต โต ก็ได้กล่าวชมเชยว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นท่านมีความรู้ความสามารถทางด้านการเผยแพร่ธรรมมะสูงยิ่ง ความสําเร็จทางด้านญาณสมาธิของท่านที่ยอดเยี่ยม
พระอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ทัตโต นั้นท่านได้เปิดเผยว่า คือ พระอาจารย์กอง วัดศรีจันทราราม อ.วารินชําราบ จ.อุบลราชธานี หลังจากที่ได้ศึกษาธรรมจนแตกฉานแล้ว ก็ได้ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน จนมีความชํานาญแล้ว ก็ได้ออกธุดงค์ พร้อมกันนั้นก็ศึกษาในด้านวิชาไสยศาสตร์ไปด้วย เมื่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของอาจารยไสยศาสตร์ ชื่อดังในยุคนั้น อาจารย์ได้ให้ ถือสัจจะขอหนึ่ง คือการไม่เป็นลอดสะพาน หรือลอดกอาคาร ที่สูงตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป รวมทั้งมีให้ขึ้นยานพาหนะที่มีหลังคาเป็นที่บันทุกของ หรือคนนั่งได้และหามแม้กระทั่งการเดินลอดสะพานที่มีโครงเหล็ก หรือ โครงไม้อยู่ข้างบนนั้นด้วย สัจจะข้อนี้ หลวงปู่มั่น ทัตโต บอกว่าได้เริ่มปฏิบัติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2435 มาจนถึงบัดนี้
หลวงปู่มั่น ทัตโต มีปฏิปทาเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใส ถือสันโดด และสมถะไม่สะสมทรัพย์สมบัติใด แต่ก็มิได้ละเลยต่องานพัฒนาวัดวาอาราม หรือเสนาสนะสงฆ์นั้น ท่านก็ได้สร้างมาแล้ว อย่างเช่นวัดบ้านบก ต.โนนโหนน อ.วารินชําราบ จ.อุบราชธานี นั้นท่านก็ได้ยพัฒนามา แต่ พ.ศ. 2460 จนเจริญรุ่งเรื่อง และมีเสนาสนะสงฆ์ที่สวยงาม โดยมิได้บอกบุญชาวบ้านเลย เพียงแต่ทานนั่งเป่ากระหม่อม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ผู้ที่ไปกราบไหว้ ขอศีลขอพรจากท่าน เพียงชั่วเวลาไม่กี่ปีก็มี ผู้ร่วมกันบริจาคปัจจัยให้เป็นเงินล้าน ในสมัยนั้นซึ่งนับว่า เป็นปาฏิหาริย์ที่น่าอัศจรรย์ ว่าการลงกระหม่อม หรือลงน้ำมันจากท่านนั้น จะปรากฏผลทางด้านแคล้วคลาด หรือยงคงกระพันชาตรี เป็นที่น่าพึ่งจริงๆ ทางด้านที่ว่า “เมตตา มหานิยม” นั้น หลวงปู่มั่น ทัตโต ก็ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ทางด้านนี้ เป็นหนึ่งในพุทธจักร แต่ท่านก็ สอนประดาศิษย์อยู่เสมอว่า อย่าถือว่าเป็นลูกศิษย์ท่านก็จะเก่งทุกคน คนจะเก่งไม่เก่งก็อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของตนเอง ประพฤติดี ปฏิบัติดี ที่ชื่อว่าเก่งและมีความดีความเจริญรุ่งเรือง ตรงกับข้าม ถ้าประพฤติชั่ว ปฏิบัติชั่ว ก็จะได้ชื่อว่า เป็นคนโฉด ที่เลวทราม จะได้รับแต่ความ ทุกข์ความทรมาน และต้องชดใช้กรรมทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งก็เท่ากับว่าท่านสอนว่า ทําดี ได้ดี ทําชั่วก็ได้ชั่ว ตรงตามพุทธวัจนะ นั่นเอง
ในสมัยที่ หหลวงปู่มั่น ทัตโต เดินธุดงค์อยูตามป่าตามเขานั้น หลวงปู่บอกว่าได้เคยผจญกับความยากลําบากและภยันตรายร้อยแปด แต่หลวงปู่มั่น ทัตโต ได้ผ่านพ้นนอุปสรรคและภยันตราย เหล่านั้น มาได้ด้วยสมาธิอันแน่วแน่ และอาคมอันศักดิ์สิทธิ์ พิชิตภูตผีปีศาจและมารร้ายต่างๆ
การเดินธุดงค์ในสมัยนั้น ต้องบุกป่าฝ่าดงดิบที่ไม่เห็นแสงเดือนแสงตะวัน และเต็มไปด้วยความขึ้นแฉะและสัตวที่ ดุร้ายมีอันตรายทั้งเล็กจิ๋ว อย่างตัวทาก ไปจนถึงใหญ่เท่า ช้าง แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจ ที่สัตว์เหล่านั้น มิได้มาทำร้ายกรายกีด หลวงปู่มั่น แม้แต่น้อย ตรงกันข้าม สัตวใหญ่ๆ ที่ ดุร้ายอย่างเสือ หรือช้าง กลับมาหมอบเฝ้า เหมือนหนึ่งจะคอยให้การอารักขาแก่หลวงปู่มั่น ทัตโตเสียด้วยซ้ำไป บางครั้งหลวงปู่ก็ต้องเสกใบไม้ฉันต่างอาหารเพราะธุดงค์อยูในป่าจะหาบ้านเรือนผู้คนไม่พบเลยสักหลังคากะต๊อปเดียว
เมื่อ พ.ศ. 2460 หลวงปู่มั่น ทัตโต ได้รับอาราธนามาจําพรรษาที่วัดบ้านบก ต.โนนโหนน อ.วารินชําราบ ที่มีหลวงปู่ได้พัฒนาถาวรวัตถุ ซึ่งเป็นเสนาสนะสงฆไว้มากจน เรียกได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ ครั้นได้พัฒนาวัดนี้ได้สําเร็จแล้ว หลวงปู่กออกธุดงค์ต่อไปอีกวัดหนึ่ง ที่หลวงปู่รับอาราธนาไปอยู่จําพรรษาในระยะหลังที่มีอายุเกิน 80 ปีแล้ว ก็คือวัดบ้านค้อ ต.ดงประดิษฐ์ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี แต่อยู่ได้ไม่นานท่านก็เบื่อชาวบ้านย่านนั้น มีจิตใจโหดร้ายต่อสัตว์ป่าท่านจึงมีความตั้งใจที่จะกลับไปอยู่วัดบ้านบก ก็พอดีมีชาวบ้านอีกแห่ง มานิมนต์ให้ท่านไปช่วยสร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่หลังคาเรือน ท่านก็รับอาราธนาด้วยดี ปรากฏว่าเมื่อได้ตั้งวัดขึ้นในหมู่บ้านนี้ ก็มีชาวบ้านหมู่อื่นๆ มาสมทบด้วยอีกมิ น้อย จนทําให้หมู่บ้าน “ทุ่งเต้น” เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมีบ้านเรือนหนาแน่น หลวงปู่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่เพื่อให้เป็นมงคลนามว่า บ้านโนนเจริญ วัดที่ท่านสร้างขึ้นจึงได้ ชื่อว่า วัดบ้านโนนเจริญ ปัจจุบันรอบๆ หมู่บ้านแห่งนี้มีผู้ก่อการร้ายอยู่มาก การเข้าออกไปมาหาสู่กับหลวงปู่เป็นไปได้ยากลําบาก แต่สําหรับหลวงปู่นั้น ผู้ก่อการร้ายต้องยอมจํานน เพราะไม่สามารถที่จะคิดร้ายต่อหลวงปู่ได้สําเร็จ