วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

พระธาตุโผ่น (โพ่น) เมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

ประวัติพระธาตุโผ่น หรือพระธาตุโพ่น เมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

พระธาตุโผ่น (ພຣະທາຕຸໂຜ່ນ) เมืองไซพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

พระธาตุโพ่นนี้ ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุ เมืองจําพอน แขวงสะหวันนะเขต เป็นปูชนียสถานสําคัญแห่งหนึ่งในพระราชอาณาจักรลาว ตั้งอยู่ทางทิศใต้กําแพงนครสุวรรณเขต หรือสะหวันนะเขต ประมาณ 45 กิโลเมตร มีลักษณะเหมือนพระธาตุศรีโคตบอง แขวงคําม่วน พระธาตุองค์นี้กล่าวกันว่า สร้างคร่อมหลักหินรูปสี่เหลี่ยมถึง 7 หลัก ชุมนุมของหลักหินเหล่านี้เชื่อกันว่า สร้างเป็นที่ระลึกเร็จกุฎีของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ หลักหินทั้ง 7 นี้ เข้าใจว่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกับพระธาตุศรีโคตบอง

เนื้อความในตํานานได้กล่าวพาดพิงไปถึงพระโคดมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ได้เสด็จจากเมืองเวสาลี (เมืองหล้าน้ำ) มายังเนินช้างสารนี้ ได้ทรงโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายตลอด 7 วัน พระยานาคผู้รักษาสถานที่นี้ มีจิตใจศรัทธาได้สร้างเว็จกุฎีถวาย พระองค์พระธาตุนี้จึงมีชื่อว่า พระธาตุโพน ซึ่งท้าวคัทนามได้สร้างขึ้นตามคําแนะนําของพระมารดา

พอสันนิษฐานได้ว่า แต่เดิมพระธาตุองค์นี้เป็นเสาหิน แต่พอมาถึงสมัยเขมรโบราณมีอํานาจ เจ้าผู้ครองดินแดนเขมรแถบนี้ จึงได้พาไพร่พลมาสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นที่นี่

สมัยประวัติศาสตร์

เมื่อจุลศักราช 901 (ค.ศ. 1539) สมเด็จพระโพธิสารราช พระเจ้าแผ่นดินล้าน ช้าง ได้พาไพร่พลพร้อมด้วยพระยากะบองลงมาสร้างต่อเติมอีก และได้มีพระราช อาชญากําหนดเขตพระธาตุไว้ดังนี้

“ตั้งแต่ภูมิหลังพระนคร ได้แบ่งนาแพงสี 102 วา ตั้งแต่ห้วยลึก แต่นาใต้มา ฃหนองหูหนามได้ 560 วา, ตกไปหนองก่านไปจนสุดโพนนาจาน, ตกไปโพนแก่วดง เกลือไปหนองเม็ก ไปจอมปลวกสูง, ตกไปวังพุหนองไผ่ ไปธรณีนอง ไปดงชนหนองปลาฝา ตัดไปหนองสองห้อง ก้ามปูดําเพ็ดโจด ไปริมหนองใกล้ภูกระแต ตัดไปหนองผักระ หนองกุง ตัดไปดงซีดงควาน หนองขอนแก่น หนองหญ้าม้า หินรูปธาตุตัดมานาหลัก นาหัวแรด ตัดมานาโพน ทะลุห้วยสะโยง เลาะล่องทะลุขึ้นมาปากร่องเสี้ยว ตัดมาบรรจบที่โพนต้นคูนม ต้นม่วง ตัดมาโพนงิ้ว หนองบัวขี้แบ้ ทะลุออกห้วยเลา เลาะล่วงไปตามคดตามตรงทะลุหูมาน”

นอกจากนี้ พระองค์ได้มอบบ้านส่วยให้แก่พระธาตุเป็นจํานวน 166 คน พร้อมทั้งไร่นา เรียกว่า “ข้าโอกาส” หรือข้าวัดให้บํารุงรักษาพระธาตุแล้วได้ปลง พระอาชญาไว้ว่า

“ผู้ใดได้กินนาพระมหาธาตุ เอาคนฝูงนั้นไปเป็นข้าสะพายสายดาบ ให้ความพินาศฉิบหายตกถึงมันผู้นั้น อนึ่ง ใครหากมาแย่งชิงเอาข้าวัดไปใช้ในเรือน ให้ความดับความวายวอดตกถึงมันผู้นั้น อนึ่ง ใครกินนาพระมหาธาตุ ไม่มาอุปฐากให้บาปกินมัน ชั่วมันอย่าฮีปีมันอย่ากว้าง แข้งมันตกคันนา ขามันตกตากล้า เฮ็ดเพียงตาให้ ลงเพียงตื่น ให้พอยชีวิต พระพุทธเจ้าอุบัติมาเท่าเม็ดดินเม็ดทราย อย่าให้เขาเกิด พร้อมพระพุทธเจ้าอริยเมตไตรย ใครไม่เชื่อให้บาปกินมันผู้นั้น พระราชาองค์ใดก็ตาม หากปฏิบัติสืบๆกันมาทุกๆพระองค์

ในรัชกาลของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช จนถึงสมเด็จพระเจ้าอนุ พระธาตุองค์นี้ได้รับการอุปถัมภ์บํารุงให้มั่นคงดีเหมือนเดิม พระเจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้ปฏิบัติตามอย่างราชประเพณีสืบๆ กันมา จนถึงสมัยที่ราชอาณาจักรลาวล้านช้างเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ พระธาตุก็เศร้าหมอง ปราศจากกาบํารุงรักษา เช่นเดียวกับปูชนียสถานแห่งอื่นในพระราชอาณาจักร จนถึงสมัยที่เมืองลาวได้รับเอกราชแล้ว รัฐบาลโดยการสันบสนุนของสมเด็จเจ้ามหาชีวิตก็ได้หันมาเอาใจใส่ บํารุงรักษาปูชนียสถานทั้งหลาย

ในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493 จุลศักราช 1305 เดือน 7 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง วันเสาร์)1 ประชาชนทั้งหลายในเขตตาแสงนาคํา โดยการนําของท่านพระครูเหลื่อม พระราชาคณะแขวงสุวรรณเขต โดยการสนับสนุนจากพระยาโพธิสัตว์เจ้าเมืองคันธ บุรี ได้ซ่อมแซมพระธาตุองค์นี้เพิ่มเติม สิ้นเงินไป 1000 เหรียญ ได้เอาเงินตีขันและ ฉัตรกัน 109 เหรียญ ประดับยอดพระธาตุและได้ใช้เงินอีก 37 เหรียญ สร้างใบเสมา ประดับพระธาตุอีก