วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

พระอาจารย์คำตู้ อินทะวง วัดดงกะโลง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์คำตู้ อินทะวง

วัดดงกะโลง
เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

พระอาจารย์คำตู้ อินทะวงส์
พระอาจารย์คำตู้ อินทะวง

จำปาสัก เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่ตั้งของนครจำปาสัก จึงมีมรดกทางวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่อย่างมากมาย ในอตีตกาล หากจะเอ่ยถึงพระบูรพาจารย์เรืองอาคม เข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แห่งนครจำปาสัก หากเอ่ยชื่อแล้ว คนส่วนใหญ่ต่างคงจะรู้จักกันดี ซึ่งนั่นก็คือ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ พระราชครูโพนสะเม็ด หรืออีกนามหนึ่ง (ยาคูขี้หอม) , ญาท่านสมเด็จลุน หรือหลวงปู่สมเด็จลุน แห่งวัดเวินไช และสุดท้ายพระอาจารย์ซาคำแดง ยานะวุดโท ตามลำดับ

ปัจจุบันนี้ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป แต่ก็ยังมีพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามฮีตคองโบราณ ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของคนปากเซ และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ความเขมขลังศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการกล่าวขานอยู่ปัจจุบันนี้ นั้นก็คือ พระอาจารย์คำตู้ อินทะวง แห่งวัดดงกะโลง เมืองปากเซนั่นเอง

ท่านพระอาจารย์คำตู้ ถือเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงมากในยุคนี้ ของ สปป.ลาว เมื่อมีพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆแล้ว เป็นต้องมีรายชื่อของท่านเข้าร่วมอยู่ในพิธีด้วยทั้งสิ้น

วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ต่างเป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสมพระเครื่องทั้งฝั่งไทยและลาว ด้วยความโดดเด่นทางด้านพุทธคุณ ที่ลูกศิษย์ลูกหาต่างได้เห็นประจักษ์กันมาแล้ว

พระอาจารย์คำตู้ อินทะวงส์

เหรียญรุ่นแรกของท่าน เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า เป็นรูปพระอาจารย์คำตู้ นั่งเต็มองค์ ด้านล่างมีตัวหนังสือภาษาลาวว่า พระอาจารย์ สมเด็ด คำตู้ อินทะวงส์ วัดแก้งเกีง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก รุ่น 1

ด้านหลังเหรียญเป็นอักขระธรรมลาว บริเวณกึ่งกลางของเหรียญลักษณะเป็นยันต์สามมีอักขระล้อมรอบ ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่าน ใต้อักขระธรรมลาวลงไป ระบุเป็นภาษาลาวว่า พระมหาเสถี พ.ศ. 2553

เหรียญรุ่นนี้ จัดทำขึ้นมี เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดง และไม่มีการทำเสริมขึ้นในภายหลัง พุทธคุณของเหรียญโดดเด้นทางด้านมหาอุด แคล้วคลาด มหาลาภ ลูกศิษย์ลูกหาที่นำไปใช้ต่างได้รับประสบการณ์ มีเรื่องเล่าว่า พ่อค้าไม้เมืองเมืองลาว ขณะกำลังลำเลียงไม้เพื่อส่งมอบให้ลูกค้า ระหว่างทางเจอโจรดักปล้น ซึ่งโจรได้ใช้อาวุธสงครามเข้ากระหน่ำยิง ปรากฏว่าพ่อค้ารายนี้ มิได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าใช้วัตถุมงคลของท่านสามารถเดินทางไปได้ทุกหนทุกแห่งอย่างปลอดภัย

และอีกหนึ่งรุ่นที่ถือว่ามีความนิยมไม่แพ้กับเหรียญรุ่นแรก นั่นคือ พระสมเด็จ ที่มีมวลสารทำมาจากต้นไม้มณีโคตร หรือ ต้นแก้วมะนีโคด ซึ่งต้นไม้มณีโคตรนี้ เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์มีเพียงต้นเดียวในโลก ที่เกิดขึ้นอยู่บนแง่งหิน กลางน้ำตกคอนพระเพ็ง ที่เชี่ยวกราก ซึ่งน้ำโขงไหลผ่านตลอดวันตลอดปี ว่ากันว่าต้นไม้มณีโคตรนี้มีอายุนับร้อยนับพันปี จากตำนานโบราณที่เล่าขานสืบต่อกันมา ว่ากันว่าเป็นต้นไม้วิเศษ ในสมัยสงครามล่าอาณานิคม ทหารฝรั่งเศสเคยคิดจะระเบิดแก่งคอนพระเพ็งแห่งนี้ เพื่อให้เรือสินค้าผ่านขึ้นไปถึงเวียงจันท์ได้ เคยเอาเรือมาฉุดเพื่อโค่นให้ต้นไม้มณีโคตรนี้ล้ม และเพื่อที่จะทำลายความเชื่อภูตผีและตำนานของคนลาว แต่แล้วก็ทำไม่สำเร็จ

เมื่อกาลเวลาผ่านไป หลังจากที่ต้นไม้มณีโคตรได้ยืนต้นตาย รัฐบาลลาวได้พยายามหลายครั้ง ที่จะไปกอบกู้เอาต้นไม้มณีโคตรมาเก็บไว้ที่พิพิภัณฑ์เมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ ก่อนหน้านี้ทางการลาวได้ใช้เฮลิคอปเตอร์หย่อนคนลงมา เพื่อนำเชือกมามัดต้นไม้ไว้กับแก่งหินเพื่อไม่ให้ลอยไปกับกระแสน้ำโขงที่ไหลตลอดเวลา แต่ไม่สามารถนำต้นขึ้นมาบนฝั่งได้เนื่องจากต้นไม้มีขนาดใหญ่และกระแสน้ำรุนแรง หลังจากนั้นจึงได้นิมนต์พระอาจารย์คำตู้ อินทะวง แห่งวัดดงกะโลง มาเป็นผู้นำพาเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อกอบกู้ไม้ไม้มณีโคตรขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ ไม้มณีโคตรส่วนหนึ่งได้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโขง และส่วนหนึ่งพระอาจารย์ได้นำมาเป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ สำหรับสร้างเป็นพระผง สมเด็จไม้มณีโคตร ซึ่งตอนนี้เป็นที่เสาะแสวงหาแก่ลูกศิษย์ทั้งฝั่งลาวและไทย และถือเป็นของหายาก เพราะต่างคนต่างห่วงแหนนั่นเอง ดังนั้นมวลสารที่ผสมอยู่ในพระสมเด็จ ของพระอาจารย์คำตู้ จึงถือว่าสุดยอด

ปัจจุบันพระอาจารย์คำตู้ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดดงเกาะโลง ห่างจากตัวเมืองปากเซ ราวๆ 3-5 กิโลเมตร ถ้าหากเดินทาง ตามทางหลวง หมายเลข 13 ใต้ มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองปากเซ วัดของท่านจะอยู่ซ้ายมือ ก่อนถึงปั๊ม ปตท. จากถนน13 ใต้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 300 เมตร ถึงก่อนเข้าเมืองปากเซ สามารถเข้าไปกราบนสมัสการ รถน้ำมนต์ ผูกข้อมือ จากท่านได้ทุกวัน (แนะคำควรเข้าไปในวันอังคาร) ท่านพระอาจารย์มีความเมตตาต่อศิษย์ทุกคนโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณเล่ ปากเซ

เรียบเรียงข้อมูลโดย ข้อยบ่แม่นเซียน