Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

วันอาทิตย์, 6 เมษายน 2568

หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่าบ้านนาสีดา ทายาทธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่าบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่าบ้านนาสีดา

ณ หมู่บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏนามพระสงฆ์ผู้เลืองลือในเมตตาธรรมและปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติธรรมมาตลอดระยะเวลาทั้งชีวิตที่ครองเพศบรรพชิตรับใช้พระพุทธองค์ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา จนได้รับการกล่าวขานและเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาไปในทุกสารทิศด้วยความมีเมตตาของพระคุณเจ้าที่ขจรขจายเป็นที่ประจักษ์ชัดในจิตที่เปี่ยมไปด้วยธรรมะ ซึ่งได้โปรดญาติโยมอยู่เป็นเนืองนิตย์ไม่ว่างานราษฏร์หรืองานหลวง และศรัทธาที่หลายท่านได้ประสบการณ์จากท่านโดยตรง ท่านเป็นพระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมและบารมีธรรมที่สมบูรณ์


จังหวัดอุดรธานี คือศูนย์กลางแห่งรัศมีธรรมที่แผ่รังสีเมตตาไปกว้างไกลสุดไพศาลพระสงฆ์รูปที่กล่าวถึงก็คือ หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่าบ้านนาสีดา หมู่บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

(ซ้าย) หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร (ขวา) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

หลวงปู่จันทร์โสม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๕ ตรงกับวันจันทร์แรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ บิดาชื่อ กรม มารดาชื่อ อาน นามสกุล ปราบพลพาล มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๕ มีชื่อตามลำดับดังนี้

๑. นางบุญชม ใจหาญ
๒. ด.ญ.คำ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๓. ด.ญ.อ่ำ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๔. ด.ญ.ไอ่ ปราบพลพาล (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
๕. หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร
๖. นายกองแก้ว ปราบพลพาล


ด้วยเหตุที่โยมบิดาเป็นมัคนายกวัดบ้านนาสีดา สมัยเป็นเด็กโยมพ่อจึงได้พาไปวัดด้วยบ่อยๆ จนกระทั่งอายุได้ ๑๐ ขวบ ในปีพ.ศ.๒๔๗๕ ก็ถูกเกณฑ์เข้ารับการศึกษาประชาบาลที่วัดบ้านกลางใหญ่ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในระยะแรกที่ไปเรียนหนังสือนั้นก็ไปๆมาๆ ระหว่างวัดกับบ้าน ผลที่สุดได้ไปอยู่วัดเป็นประจำ จนกระทั่งออกจากโรงเรียนเมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ อายุได้ ๑๔ ปี
หลังจากออกจากโรงเรียนแล้วก็ได้กลับมาอยู่บ้าน ด้วยเหตุที่วัดไม่มีพระอยู่ประจำและเมื่อมีพระโดยเฉพาะพระกรรมฐานเดินรุกขมูลมาพัก ท่านและโยมพ่อก็จะเข้าไปปฏิบัติรับใช้พระอยู่ที่วัดเป็นประจำ จนกว่าพระที่มานั้นจะออกเดินทางหาวิเวกไปที่อื่นต่อไป เมื่อพระธุดงค์จะลาไปปลีกวิเวกที่อื่นโยมพ่อก็จะสะพายบาตรบริขารของพระเดินทางไปส่งยังที่ท่ีท่านต้องการจะไปพักต่อแล้วจึงเดินทางกลับบ้านปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นนิจ มีพระบางองค์ก็ชักชวนให้ท่านเดินทางไปด้วย โดยเหตุที่ท่านเมตตาเอ็นดูรักใคร่ในตัวหลวงปู่นั่นเอง

ครั้งเมื่อหลวงปู่จันทร์โสมอายุได้ ๑๕ ปี ท่านพระอาจารย์เกตุ ขนติโก ซึ่งเป็นพี่ชายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้บวชเป็นพระ และท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสาระวารี บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านได้มาชวนให้หลวงปู่จันทร์โสม ไปอยู่ด้วยในกลางพรรษาปีนั้น ซึ่งท่านก็ได้ตกลงไปอยู่กับท่าน ในขณะนั้นท่านสอนให้หลวงปู่จันทร์โสมเขียนหนังสือขอม เมื่อเขียนแล้วท่านก็ให้ท่านอ่านตรวจดู เมื่อเขียนยังไม่ถูกไม่สวย ก็ให้เขียนใหม่แล้วอ่านให้ฟังด้วย ท่านให้เขียนอยู่เรื่อยๆจนกว่าจะดีใช้ได้ ในพรรษานั้นเองโยมพ่อที่อยู่ทางบ้านเกิดล้มป่วย จึงได้กลับมาเยี่ยมโยมพ่อที่บ้าน พอพ่อหาย หลวงปู่จันทร์โสมก็เกิดป่วยขึ้นมาอีกจนกระทั่งวันออกพรรษา อาจารย์เกตุท่านได้มาเยี่ยมที่บ้าน หลังจากหายป่วยแล้วก็เลยไม่ได้กลับไปอยู่กับอาจารย์เกตุอีก

พ.ศ.๒๔๘๑ อายุ ๑๖ ปี ได้ไปอยู่ที่ถ้ำพระนาผักหอม อ.บ้านผือ กับอาจารย์วารี เรี่ยวแรง ซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระอาจารย์วารี มีแต่พระอยู่ไม่มีเณรรับใช้จึงจำเป็นต้องไปอยู่รับใช้เป็นเวลา ๓ เดือน จึงได้กลับบ้าน

จนกระทั่งอายุได้ ๑๗ ปี โยมพ่อก็ได้เสียชีวิตลง ทางบ้านไม่มีใครช่วยทำนาทำไร่ มีแต่โยมแม่ พี่สาวและพี่เขยเท่านั้น หลวงปู่จันทร์โสมจึงจำเป็นต้องอยู่บ้านช่วยพี่สาวและพี่เขยทำนาทำไร่เลี้ยงครอบครัว เพราะน้องชายก็ยังเด็กทำงานอะไรไม่ได้ ได้อยู่ช่วยครอบครัวทำนาอยู่จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์

หลวงปู่จันทร์โสม วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา) ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

และช่วงนี้ได้พิจารณาถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนากับระลึกถึงกุศลเจตนาของโยมบิดา เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านก็ปรารถนาจะให้ท่านบวช อีกทั้งโยมมารดาก็ปรารถนาเช่นนั้น จึงได้ตัดสินใจกราบลาโยมมารดา พี่สาว พี่เขยและเครือญาติ เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร โดยการอุปสมบท ณ วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) เมื่อคร้ั้งยังดำรงค์สมณศักดิ์เป็นที่พระครูวิชัยสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กิตฺติกาโร” และในพรรษานั้นก็ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดอรัญญวาสีนั่นเอง

หลังจากออกพรรษาแล้วได้หาที่วิเวกไปตามที่ต่างๆ ได้ทราบข่าวว่า อาจารย์เกตุ ขนฺติโก ไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านน้ำอ้อม อ.วังสะพุง จ.เลย จึงคิดจะเดินทางติดตามไปหาท่าน ชักชวนกับเพื่อนสององค์ออกเดินทางไปด้วยกัน ในสมัยนั้นมีแต่ทางเดินเท้ากับทางเกวียนเท่านั้น ต้องอดทนต่อสู้กับความยากลำบากระยะทางระหว่างหมู่บ้านก็อยู่ห่างกันต้องใช้เวลาเป็นวันจึงจะเดินทางถึงกันได้ บางคร้ังหลงเพราะทางไม่ค่อยดีนัก บางครั้งเดินไปก็เห็นรอยช้างป่ามันชนเสาโทรเลขล้มอยู่ก็มี รวมใช้เวลา ๔ วัน จึงเดินทางไปถึงบ้านน้ำอ้อม อ.วังสะพุง จ.เลย
เมื่อไปถึงหล่มสักก็ถามข่าวท่านอาจารย์เกตุ ได้ความว่าท่านไปพักอยู่วัดหนองขาม บ้านติ้ว จึงได้เดินทางไปพบท่านที่นั่น พักอยู่กับท่านที่วัดหนองขามเป็นเวลานานพอสมควร อาจารย์เกตุได้พาออกหาที่วิเวกตามที่ต่างๆ ในละแวกนั้นหลายแห่ง พอดีในปีนั้นอายุครบกำหนดต้องเกณฑ์ทหารจึงจำเป็นต้องกลับมาบ้านผือเพื่อเกณฑ์ทหาร จึงกลับมาพักอยู่ที่วัดป่าบ้านนาสีดาจนถึงวันคัดเลือกทหาร ไปทำการคัดเลือก ถูกอันดับสองผลัดสอง เสร็จแล้วจึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร

ในปีพ.ศ.๒๔๘๖ จำพรรษาที่วัดอรัญวาสี เข้าเรียนนักธรรมชั้นตรีปรากฏว่าสอบได้ ทางการเขาจึงยกเว้นให้ไม่ต้องไปเป็นทหารเกณฑ์ ออกพรรษาแล้วเดินทางหาที่ปลีกวิเวกไปตามที่ต่างๆได้ไปพักอยู่กับท่านอาจารย์เกตุ ที่วัดป่าช้าบ้านสว่าง ตำบลนายูง


ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี เรียนนักธรรมโท สอบได้นักธรรมโท แล้วจึงได้ออกหาที่วิเวกไปพักอยู่ที่วัดป่าช้าบ้านสว่างแห่งเดิมอีกครั้งอยู่กับท่านอาจารย์กง และสามเณรรูปหนึ่ง พักอยู่พอสมควรแล้วจึงออกเดินรุกขมูลมาทางริมแม่น้ำโขง จากบ้านปากโสม อ.สังคม เดินลัดเลาะเรื่อยมาตามริมแม่น้ำโขงมาจนถึงวัดพระพุทธบาท คอแก้ง พักภาวนาอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง จวนเข้าพรรษาแล้วจึงได้เดินทางลงไปจำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี

ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ออกพรรษาแล้วกลับไปบ้านนาสีดา มีเพื่อนสหธรรมิกรูปหนึ่งชื่อพิมพ์ ชวนไปเที่ยวเมืองเวียงจันทร์ ตกลงกันแล้วจึงออกเดินจากบ้านนาสีดามาพักที่วัดพระพุทธบาทคอแก้ง แล้วลงเรือจากบ้านพระพุทธบาทไปขึ้นที่บ้านใหม่ พักอยู่ที่ในป่าบ้านใหม่หนึ่งคืน แล้วออกเดินทางผ่านลงไปบ้านนาซาย พักอยู่ที่บ้านนาซายหนึ่งคืน รุ่งขึ้นเดินทางต่อไปบ้านห้วยน้ำเย็น แต่ต้องผ่านบ้านอิสัยก่อน ขณะนั้นเป็นเวลาสงครามระหว่างลาวกับฝรั่งเศส บ้านเรือนราษฏร์คนญวณที่อยู่บ้านอิสัยถูกไฟเผาวอดวายหมด และเดินทางต่อไปจนถึงบ้านห้วยน้ำเย็นแล้วเดินลัดเลาะเที่ยวไปตามลำน้ำงึม กลับมาพักบ้านห้วยน้ำเย็น แต่เพื่อนที่ไปด้วยกันไม่ยอมกลับมาด้วย จึงได้เดินทางกลับมาองค์เดียวมาอยู่ที่บ้านนาซายหนึ่งคืนมีคนญวณหนึ่งคนตกค้างอยู่ที่บ้านนาซายชื่อ นวย เขาจึงขอร่วมเดินทางติดตามกลับมาด้วย

(จากซ้าย) พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร), หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, หลวงปู่พวง สุวีโร, หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร และหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้จำพรรษาอยู่ที่บ้านนาสีดาที่วัดศรีชมชื่น(วัดป่านาสีดา) หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่นพอดีกับหลวงปู่เทศก์ จะเดิินทางไปเยี่ยมนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่ถามว่า

“อยากจะไปอยู่กับหลวงปู่มั่นที่บ้านหนองผือหรือไม่ ถ้าไปก็ไปด้วยกัน จะนำไปฝากท่านให้”

ซึ่งหลวงปู่ก็รับปากกับท่านว่าไป จึงได้เดินทางไปถึงบ้านหนองผือ ได้กราบนมัสการหลวงปู่มั่น และหลวงปู่ได้ฝากให้อยู่กับหลวงปู่มั่น
เมื่อได้อยู่กับหลวงปู่มั่น แรกๆไม่ค่อยได้ใกล้ชิดเท่าไหร่นัก เพราะมีอาจารย์วัน อุตฺตโม และพระอาจารย์ทองคำ อยู่ปรนนิบัติท่านเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต่อมาอาจารย์วันได้ให้ไปช่วยรับภาระธุระในการทำกิจวัตรอาจาริยวัตรประจำวันกับหลวงปู่มั่นจนกว่าหลวงปู่จะเข้าพัก ในขณะที่หลวงปู่จันทร์โสม มีโอกาสได้เข้าไปปฏิบัติอาจาริยาวัตรอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ก็ได้พยายามระวังจิตมิให้คิดส่งส่ายไปในสิ่งอื่น มีแต่น้อมนอบเข้าไปหาพระคุณของท่านเสมอๆ บางวันท่านก็ปรารภว่า

“วันนี้ท่านโสมทำไม่ถูก”

เมื่อได้ยินเช่นนั้นก็หยุดทำแล้วนั่งเฉย ให้เพื่อนปฏิบัติแทนในวันนั้น วันต่อมาก็เข้าไปปฏิบัติกับท่านใหม่ตามปกติ ท่านก็จะปรารภใหม่ว่า

“วันนี้ทำถูกแล้ววันนี้ท่านโสมทำถูกแล้ว”

ท่านพูดกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายคราด้วยกัน แต่หลวงปู่จันทร์โสมก็มิได้ท้อถอยในกิจวัตรอาจาริยวัตรดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นบุญกุศลอย่างใหญ่หลวงและเป็นที่ภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้าใกล้ชิดปฏิบัติท่าน หลวงปู่จันทร์โสมได้อยู่รับใช้หลวงปู่มั่นเป็นเวลา ๒ พรรษา คือ ในปี พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ หลังจากออกพรรษา ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ แล้วได้กราบลาหลวงปู่มั่นไปเที่ยววิเวกที่บ้านห้วยหวายกับอาจารย์อุ่น ชาคโร


หลังจากออกพรรษาก็ได้ทราบว่าท่านอาจารย์หลวงปู่มั่นมรณภาพ จึงได้เดินทางกลับมาจังหวัดสกลนคร เพื่อมาร่วมงานและอยู่ช่วยงานจนเสร็จการถวายเพลิงศพ หลังจากนั้นก็ได้ออกปลีกวิเวกตามที่ต่างๆแล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีชมชื่นจนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๕๑๔ ก็ได้ย้ายออกจากวัดศรีชมชื่น บ้านนาสีดา มาอยู่ที่ป่าช้าดงบ้านเลา เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่กว้างขวางป่าไม้ร่มรื่น สงบเงียบ อยู่ใหม่ๆ ก็ค่อยๆพัฒนาก่อสร้าง กุฏิ เสนาสนะ ศาลาการเปรียญ บ้านพักชี โดยลำดับและเมื่อพิจารณาเห็นว่าสถานที่แห่งนี้สมควรที่จะเป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่ถาวรวัฒนาสืบไป จึงได้ดำเนินการยื่นเรื่องขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และเรียกสถานที่นี้ว่าวัดป่าบ้านสีดาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


สัจธรรม แห่งชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีได้พ้น หลวงปู่จันทร์โสม ในวัยชราเริ่มอาการเจ็บป่วยเข้ามาแผ้วพาน วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ผ่านมา หลวงปู่จันทร์โสม ได้มีอาการปวดท้องเจ็บหน้าอก คณะศิษยานุศิษย์ได้รีบนำตัวส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

กระทั่ง เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ หลวงปู่มีอาการกำเริบหนักขึ้น ปวดท้องแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก คณะแพทย์ได้รีบช่วยกันปั๊มหัวใจรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้ออาการไว้ได้

ในที่สุด หลวงปู่จันทร์โสม ได้ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริรวมอายุ ๘๔ พรรษา ๖๓ ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ และคณะสงฆ์ เป็นยิ่งนัก

หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี

โอวาทธรรม หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร

“การภาวนา นอกจากให้ผลทางจิตใจแล้วความเอ็นดู เมตตาสงสาร คนอื่นก็เกิดขึ้นที่เราโกรธเกลียดพยาบาทก็หายไป เห็นโทษก็หายไป เห็นโทษก็สงสารเขา มีธรรมะในใจความอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนก็ไม่เกิดขึ้น อยู่หมู่คณะใดก็ไม่เกิดขึ้น”

“วัตถุมงคลก็มีประโยชน์ก็อยู่ที่ความเชื่อนั่นแหละ บางคนเกิดอุบัติเหตุไม่เป็นอะไรมันก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธา ที่สอนให้รู้ว่าสิ่งใดชั่วไม่ควรทำ จงทำในสิ่งที่ดี ไม่เบียดเบียนใคร ส่วนความเชื่อที่ว่ารอดตายเพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยช่วยเหลือนั่น อาตมาอยากให้ลองคิดกันดู การรอดตายนั้น มันเกิดจากอะไร จริงๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านั้น มันก็เกิดจากกรรมของเรานั่นแหละ”

“เมื่อคนเราเกิดมามีวาสนาไม่เหมือนกัน วาสนาที่ว่าก็เกิดจากบุญกุศลที่เราได้ทำกันมา คนที่ยากจนในชาตินี้ก็เพราะชาติที่แล้วทำบุญมาน้อย ลงทุนน้อย พอเกิดมาชาตินี้ทุนก็เลยน้อยตามมา แต่ถ้าใครยากจนในชาตินี้ก็ต้องลงทุน ตั้งใจทำงานอย่างทุ่มเทให้มากโดยไม่ไปโกงใคร ในวันหนึ่งก็จะรวยได้เอง”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง