วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” หรือที่เรียกติดปากว่า “หลวงปู่ใหญ่” เป็นพระบรรเสระสานพระป่ากรรมฐาน เป็นพระผู้มากด้วยเมตตา ที่ได้รับความเสื่อมใสศรัทมา เป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุส่ง, สามเณร และประชาชนชาวอีสาน ด้วยปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่ จึงเป็นครูของชีวิต ที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจ

หลวงปู่จันทร์ศรี นามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๔ ก็รงกับวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน ณ บ้านโนนทัน โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นบุตรคนเดียวของ “พ่อบุญสาร” และ “แม่หลุน แสนมงคล

อายุให้เพียง ๘ ขวบ พ่อบุญสารเสียชีวิต จนอายุได้ ๑๐ ขวบ แม่หลุนพาไปฝากไว้กับ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี เจ้าคณะตำบลโนนทัน และได้รับไว้นำเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา เห็นว่ามีความสนใจในทางธรรม จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

ซ้าย “พระอุดมญาณโมลี” หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป

สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง ๓ ปี จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” และ “พระอาจารย์ลี สิรินัธโร” ออกแสวงหาความสงัดวิเวก ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ปธ. ๓) (สมณศักดิ์ขณะนั้น) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “จันททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ

อุปสมบทให้เพียง ๗ วัน ได้ติดตาม “พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี” แห่งวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย จนกระทั่งมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ กราบลาหลวงปู่เทสก์ ขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ต่อในกรุงเทพมหานคร ท่านได้ให้โอวาทว่า

“ผู้จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น ความจริงต้องเรียนรู้แผนที่จะเดินทาง เสียก่อน จึงปฏิบัติได้ถูกต้อง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อเรียนให้เป็นมหาเปรียญแล้วให้กลับมาปฏิบัติอีก”

พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป)

ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ สอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จากนั้น “เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์” (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตโต) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ สํานักเรียนวัดป่าสุทธาวาส ต.พระธาติเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ทําให้ ได้พบกับ “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ได้ไปพํานักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ๑๕ วัน ทําให้ใกล้ชิด และให้ศึกษา “ภาวนากรรมฐาน” กับพระอาจารย์มั่น โดยตรงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทําให้หลวงปู่เปลี่ยนใจไม่ลาสิกขาบท

ให้มีฉันทะ มีความพอใจ วิริยะ ให้พากเพียรเดินจงกรมนั่งภาวนา จิตตะ ให้เอาใจฝักใฝ่อยู่เสมอ วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาในร่างกายของตนอยู่เสมอๆ

ท่านอาจารย์มั่นสอน

พ.ศ.๒๔๘๖ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญ ธรรม ๓-๔ ประโยค ณ สํานักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว ด้วย

ต่อมาวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เพื่อทําศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจาก “พระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) ชราภาพมากแล้ว โดยแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาส และเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี

ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ พระธรรมเจดีย์ อาพาธด้วยโรคนิ่วในถุงน้ําดี และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๑กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ณ โรง พยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ หลวงปู่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ วัดราษฎร์ จน พ.ศ.๒๕๐๗ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และในปีเดียวกันทํานก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี สืบต่อจากพระธรรมเจดีย์ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชเมธาจารย์

พ.ศ.๒๕๐๕ ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระเทพเมธาจารย์

พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์

พ.ศ.๒๕๓๓ ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมบัณฑิต

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระอุดมญาณโมลี เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙(ธรรมยุต) และเป็นที่ปรึกษากรรมการมหาเถรสมาคม

หลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๒๐.๐๐ น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สิริอายุ ๑๐๕ ปี ๒ เดือน ๔ วัน พรรษา ๘๕

พระอุดมญาณโมลี หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์
อัฐิธาตุของท่าน หลวงปู่จันทร์ศรี คล้ายเกล็ดเพชร
อัฐิธาตุของท่าน หลวงปู่จันทร์ศรี คล้ายเกล็ดเพชร

ทั้งนี้ หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป หรือ พระอุดมญาณโมลี เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิตที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจยิ่ง

ธรรมโอวาท

“คนดีพวกน้อย แพ้คนชั่วพวกมาก

ทําดีไม่ได้ เพราะยังทำไม่ถึงดี หรือทําเกินพอดี

ที่คนทําดีแล้วมักบ่นว่าไม่ได้ดี เพราะดีนั้นมีโทษ

เก่งคนเดียวเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ เก่งหลายคน สุขกายสุขใจ คนเก่งต้องมีไว้คนดีต้องมีพร้อม

ความทุกข์ของคนประการหนึ่ง คือ ต้องการให้คนอื่นเป็นอย่างที่ตนเองคิด ขณะที่ตนก็เป็นอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็นไม่ได้

คนส่วนใหญ่แสวงหาทรัพย์สินสมบัติ ยศศักดิ์ บริวาร เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิต กระทั่งลืมความมั่นคงของจิตใจ เศรษฐกิจ จิตใจ ต้องเดินไปคู่กัน”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง