วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ (หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญ) วัดบ้านกรวด ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

ประวัติ พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ (หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญ) วัดบ้านกรวด ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญ วัดบ้านกรวด

หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญ (พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์) เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ ได้รับการยกย่องว่า “เทพเจ้าแห่งบ้านกรวด

เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าอีกรูปของอีสานใต้

ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรม มีวัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม วัตถุมงคลและเครื่องรางที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกโด่งดังไปไกลทั่วประเทศ โดยเฉพาะตะกรุดมหาจักรพรรดิ

หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด บุรีรัมย์

อัตโนประวัติ ของหลวงปู่ผาด จากคำบอกเล่าของท่านว่า ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ เป็นชาวบ้าน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ครอบครัวมีอาชีพทํานา

ชีวิตในวัยเด็กค่อนข้างลําบาก ต้องช่ายเหลือครอบครัวทํางาน แต่ยังมีเวลาที่จะศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล จนจบชั้น ป.๔ แล้วออกมาช่วยครอบครัว

ครันอายุ ๒๒ ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทสีมา วัดบ้านกรวด ปฏิบัติกิจแห่งสงฆ์โดยครบถ้วน การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความตั้งใจ ขณะศึกษาธรรม ท่านได้มีโอกาสศึกษาการแพทย์แผนโบราณควบคู่ไปด้วย จนมี ความรู้ความชํานาญการใช้สมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

หันมาศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติม และเรียนวิทยาคมควบคู่กันไป ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาจากในตำราทั้งหมด จนมีความรู้ในวิทยาคมเป็นอย่างดี

ด้วยความเป็นพระหนุ่มไฟแรง ท่านได้ออกจาริกไปยังที่ต่างๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ทั้งด้านวิทยาคม วิชาแพทย์แผนโบราณ ในครั้งนั้น ได้ไปศึกษาวิทยาคมที่กัมพูชา จังหวัดอุดรมีชัย ถึง ๓ ปี

ก่อนจะจารึกไปศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่นครวัด นานกว่า ๘ ปี จนมีความรู้ในวิทยาคมสายเขมร

เมื่อได้เวลาอันเหมาะสม ท่านจึงเดินทางกลับ บ้านเกิด อาศัยจำพรรษาในวัดบ้านกรวดเป็นเพียงพระลูกวัดธรรมดา กระทั่งท่านเริ่มมีอายุมากขึ้น ท่าน ได้รับการถวายที่ดินจากชาวบ้าน เกิดความคิดริเริ่มในการพัฒนาบูรณะจากพื้นดินที่ว่างเปล่า ให้กลายเป็นศาสนสถาน คือ วัยตาอี, วัดบ้าน ปราสาท และวัดบ้านบึงเก่า

ในกาลต่อมา หลวงปู่หริ่ง เจ้าอาวาสวัดบ้านกรวด มรณภาพ ชาวอําเภอบ้านกรวดได้นิมนที่ให้ท่านรับตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ แม้ตอนแรกจะปฏิเสธ

แต่ในที่สุดท่านก็ทนแรงศรัทธาของญาติโยมไม่ได้จึงยอมรับ และ ดำรงอยู่มาจนถึงละสังขารในที่สุด

สําหรับวัดบ้านกรวด ถือเป็นวัดเก่าแก่ประจําอำเภอบ้านกรวด สร้างขึ้นในยุคปลายสมัยรัชกาล ที่ ๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๙ มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ

หลวงปู่ผาด สร้างคุณูปการ แก่วัดบ้านกรวด และวัดสาขาทั้ง ๓ แห่ง เป็นอันมาก เช่น ตั้งสํานัก อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน งานด้านการสงเคราะห์ญาติโยม งานสาธารณูปโภค การก่อสร้างถาวรวัตถุของวัด อาทิ สร้างพระอุโบสถ อุปถัมภ์โรงเรียน ศาลาการเปรียญ สร้างศาลาบําเพ็ญกุศล

ด้านเครื่องรางหรือวัตถุมงคล

ที่ท่านสร้าง เป็นที่เสาะแสวงหา ของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง อาทิ พระยอดขุนพลปฐมโพธิญาณ, พระกริ่งรุ่นแรกของหลวงปู่ผาด, พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ผาค พญาครุฑ และอื่นๆ

กล่าวเฉพาะพระยอดขุนพลปฐมโพธิญาณ หลวงปู่ผาด มีพุทธคุณเด่น เมตตามหานิยมเยี่ยม ท่านอฐิษฐานจิตปลูกเสกในกุฏิของท่านเพียงลําพังนานถึง ๗ สัปดาห์

หลวงปู่ผาด บอกว่า

“พระยอดขุนพลปฐมโพธิญาณ มีเทวดาปกปักรักษา ให้บูชาด้วยการสวดมนต์เป็นประจำ จะบังเกิดความเป็นสิริมงคลยิ่งนัก”

แต่ถึงแม้วัตถุมงก็มีของหลวงปู่ผาด จะมีพุทธคุณเข้ม แต่ท่านไม่เคยอวดโอ้ มีแต่พร่ำสอนให้ญาติโยม อย่าดำรงชีวิตด้วยความประมาท อย่ายึดมั่นถือมั่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น ขณะยังมีชีวิตขอให้ทุกคนหมั่นประกอบแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เพราะอายุคนนั้นสั้นนัก ถึงไม่แก่ไม่เฒ่าก็ตายได้เช่นกัน จงอย่าประมาท

หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด ท่านเป็นพระที่รักสันโดษ ไม่ยึดติดในลาภยศสรรเสริญ ท่านได้ปฏิเสธในการสร้างวัตถุมงคลมาโดยตลอด แต่บรรดาศิษยานุศิษย์ได้รบเร้าหลวงปู่ว่า มีผู้เลื่อมใสศรัธาในตัวหลวงปู่ประสงค์อยากจะได้พระเครื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่ผาดไว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลเป็นขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต หลวงปู่ท่านก็เลยอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ออกมาภายใต้ชื่อหลวงปู่ผาดจึงมีออกมาน้อยมาก ดังนั้นคนที่มีอยู่ต่างหวงแหน ไม่ค่อยหลุดออกมาให้เห็นกัน ทำให้วัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ของท่านหายากขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้วยหลวงปู่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนาโดยแท้ ทุกลมหายใจเข้าออกท่านกำหนดจิตด้วยกรรมฐานมีสติอยู่เสมอ วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิฐานจิตจากท่านจึงทรงความศักดิ์สิทธิ์ทั้งบุญญาฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ดุจมีแก้วสารพัดนึก ใครมีโอกาส ได้ครอบครองก็ขอให้เก็บไว้บูชาดีๆเพราะท่านเคยพูดกับศิษย์บ่อยๆว่า “อีกหน่อยพระของเราจะเป็นเพชร” จากอมตะวาจาของหลวงปู่ผาดอนาคตจึงไม่ต้องพูดถึงเพราะต่างทราบกันดีว่าหลวงปู่ท่าน “วาจาสิทธิ์” เป็นยิ่งนัก เอาเป็นว่าอนาคตอันใกล้คงต้องได้เห็นอย่างแน่นอน เดี๋ยวนี้ไม่ต้องรอนานเหมือนอดีต “ของดี” มีประการณ์ ประเดี๋ยวก็มีคนถามหากันเอง!

หลวงปู่ผาด ท่านเป็นพระแท้ที่กราบไหว้ได้สนิทใจสมกับ “พุทธบุตร” โดยแท้ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังพระภิกษุอย่างหลวงปู่ผาดไม่ควรจะเป็นของอำเภอบ้านกรวดเพียงอย่างเดียวควรเป็นของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเปรียบดังช้างเผือกในป่าน่าจะมาเป็นช้างคู่บ้านคู่เมืองจึงจะถูกต้องสมกับพระบารมีของท่านเป็นอย่างยิ่ง


กิตติคุณความเป็นผู้ทรงวิทยาพุทธาคม แม้แต่ “นักบุญแห่งภาคอีสาน” จ้าวตำรับ “กูมึง” ขนานแท้ (แม้แต่พระองค์อื่นจะใช้บ้างก็ไม่น่าพิสมัยเท่าท่าน) ยังกล่าวยกย่องเชิดชูกับคณะศรัทธาบุญจากอำเภอบ้านกรวดที่ได้เดินทางไปกราบนมัสการท่านที่วัด เมื่อท่านสอบถามรู้ความว่าเดินทางมาจากอำเภอบ้านกรวดท่านถึงกับออกปากพูดว่า

มึงจะมากราบมาเอาของกูทำไม มึงไปไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดบ้านกรวดโน่นของท่านศักดิ์สิทธิ์กว่าของกูตั้งเยอะ พวกมึงไม่จำเป็นต้องมาใช้ของกูเลยของดีอยู่กับท่านยังไม่รู้ค่าอีก” 

สำหรับประโยคคำพูดจากปากยอดพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนเคารพกราบไหว้ทั้ง ประเทศคงยืนยันคุณวิเศษ ในองค์หลวงปู่ผาดได้อย่างดีเป็นแน่แท้

หลวงปู่ผาด มรณภาพลงเมื่อช่วงเวลา ๑๑.๕๘ น.ของวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘ ด้วยสิริอายุ ๑๐๕ ปี  ๘ เดือน ๒ วัน พรรษา ๘๕ 

นับเป็น ๑ ใน ๑๐ เกจิอาจารย์ที่อายุยืนที่สุดในประเทศไทย ท่านได้รับฉายา นักบุญแห่งอีสานใต้