วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล พระอริยเจ้าผู้งามดั่งดอกบัว

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล

วัดป่าสันติกาวาส
ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส

กิ่งก้านสาขาของ ต้นธรรมแห่งวิปัสนากรรมฐาน” พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ทอดร่างละสังขารไปตามกาลเวลา ล้วนเชื่อได้ในความสงบร่มเย็นแห่งธรรมะอันเป็นมงคลยิ่ง

ในสาย จ.อุดรธานี ปัจจุบันที่ยังดํารงตนสืบทอดเจตนารมณ์ของบุรพาจารย์อยู่ก็คือ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด

พระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล)
วัดป่าสันติกาวาส ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

โดยเมื่อครั้งอดีตมี “หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล” วัดป่าสันติกาวาส อยู่เคียงบ่าเคียงไหลเป็นร่มธรรมอันอบอุ่นของชาวเมือง

เป็นพระคณาจารย์ผู้เลื่องชื่อในด้านธุดงควัตร เลื่องลือในคติธรรมคําสอน มีลูกศิษย์ลูกหานับหน้าถือตาทั่วภาคอีสาน

เมือ ๑๐๔ ปีที่แล้ว ท่านถือกําเนิดที่บ้านค์พระ (กุดโอ) ต.คําไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ตรงกับวันศุกร์ ที่ ๑๕ ก.ย. ๒๔๕๙ บุตรของนายคําเภา และนางมุม กัมปันโน มีพี่น้องรวม ๕ คน

เยาว์วัยเรียนหนังสือที่วัดบ้านคําพระ (วัดสว่างอารมณ์ในปัจจุบัน) จบแค่ชั้น ข.

จากนั้นโยมแม่อพยพครอบครัวไปอยู่ จ.ขอนแก่น และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านท่าเดื่อ อ.น้ําพอง จ.ขอนแก่น พระอาจารย์อุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์

เป็นสามเณรอยู่หนึ่งปีเกิดป่วยเป็นโรคไข้รากสาดจนต้องลาสิกขา พอหายป่วยมารดาก็ย้ายถิ่นฐานกลับมาอยู่บ้านคําพระ จ.ร้อยเอ็ด ที่นี่ท่านฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้ พระอาจารย์คําดี พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น-หลวงปู่เสาร์

แล้วบวชเณรอีกครั้งที่วัดฟ้าหยาด อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด มีพระครูวิจิตร (จันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดฝ่ายมหานิกาย แล้วออกธุดงค์ไปอยู่กับหลวงพ่อสิ้ว ที่วัดโดนช้างเผือก (วัดประชาธรรมรักษ์)

หลวงพ่อสิ้วพาท่านธุดงค์ไปนมัสการพระธาตุพนม แล้วเข้าจ.สกลนครกราบนมัสการหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่วัดป่าสุทธาวาส และต่อไปยังเขาพระวิหาร

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส

ถึงพ.ศ. ๒๔๗๙ เดินทางเข้า จ.ร้อยเอ็ด ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์สีโห เขมโก วัดป่าศรีไพรวัลย์ และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตที่วัดเหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด พระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาบุญถึง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พรรษาแรกท่านอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ โดยออกธุดงค์ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติและฟังธรรมกับหลวงปู่เสาร์ ก่อนไปจําพรรษาที่วัดป่าบ้านวังถ้ํา จ.อุบลราชธานี ในพรรษาที่ ๒

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล กับ หลวงปู่บุญ ชินวํโส
ในงานพิธีฌาปนกิจศพ “พระอาจารย์บุญยัง ผลญาโณ”
ณ วัดป่าบ้านบาก ต.หนองอึ่ง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

และมีโอกาสได้กราบนมัสการสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ที่นี่

ช่วงพรรษาที่ ๓-๕ จําพรรษาที่วัดป่าสามัคคีธรรม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

พรรษาที่ ๖ อยู่วัดป่าบ้านโนนแห้ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

พรรษาที่ ๗ อยู่วัดประชาบํารุง (วัดป่าพูนไพบูลย์) อ.เมือง จ.มหาสารคาม ก่อนกลับมาจําพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ ในพรรษาที่ ๙-๑๓

พรรษาที่ ๑๔ เข้าจําพรรษาที่สํานักป่าหนองเม้า บ้านจําปา อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

จากนั้นได้มาอยู่ที่ป่าช้าบ้านไชยวาน จ.อุดรธานี และสร้างวัดป่าขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๙๓

พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุมโล) วัดโพธิสมภรณ์ เจ้าคณะ จ.อุดรธานี ฝ่ายธรรมยุต ได้ให้นามว่า “วัดป่าสันติกาวาส

ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๕ ท่านจําพรรษาที่วัดป่าสันติกาวาส จนถึงพรรษาที่ ๕๙ อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ตรงกับ วันที่ ๑๘ มิ.ย. 2๒๕๓๘

สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี ๙ เดือน ๓ วัน

หลวงปู่จันทร์เป็นพระเถระที่สหธรรมิกรุ่นพี่ และ รุ่นน้องในกองทัพธรรมของพระอาจารย์มั่น ให้การยอมรับนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา

โดยเฉพาะในเรื่องของการธุดงควัตรที่เคร่งครัด และ พิถีพิถัน

ตลอดการธุดงค์ ท่านสัมผัสกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายต่อหลายรูป อาทิ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภา โส, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่คําดี ปภาโส, หลวงปู่บัว สิริปุญโญ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตโม, พระอาจารย์ลี ธัมมธโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ฯลฯ

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส

การได้สนทนาธรรม และรับคําสั่งสอนจากพระคณาจารย์เหล่านี้ จึงทําให้มีความรู้เชี่ยวชาญในเชิงธรรมอย่างฉกาจ

ผนวกกับอุปนิสัยเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทใน การทําความดีมาแต่เด็ก รักความสงบ พูดจริงทําจริง พูดน้อยแต่ทํามาก และมีนิสัยชอบภาวนา มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์

ทุกอิริยาบถของท่านเต็มไปด้วยความสํารวมระมัดระวัง พยายามไม่ให้ต่างพร้อยในศีล

แม้จะพูดน้อย แต่ทุกคําเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ เปี่ยมเหตุผล มีความหมายอย่างลุ่มลึก

เว้นเสียแต่ผู้มีหูหนาปัญญาทึบเท่านั้นจึงจะฟังธรรมของท่านไม่รู้เรื่อง

ธรรมเทศนาที่แสดงนั้น ล้วนมีใจความที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระอันลึกซึ่งแยบคาย โดยจะเน้นไปในเรื่องการพิจารณากายและใจเป็นสําคัญ

ทุกวันยามเช้า เมื่อพระเณรออกไปบิณฑบาต ท่านจะออกจากกุฏิมานั่งที่ศาลาฉัน เพื่อรอบิณฑบาตในศาลา เวลาพระเณรกลับมาจนครบ

ระหว่างนั้นท่านจะเขียนธรรมะพุทธภาษิตสั้นๆ ลง ในกระดาษที่พระอุปัฏฐากจัดวางถวายไว้ เช่น ปฏิทินเก่า หรือจดหมายที่พุทธศาสนิกชนส่งมาถึงบ้าน

อาทิ

น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ. กําจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้

น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน. คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์

โกธํ ฆตฺวา สุขํ น โสจติ. ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก

ณาทานํ ทุกฺขํ โลเก. การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

สพฺพญฺเจ ปฐวี ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย..ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญให้จงรักไม่ได้

ฯลฯ

ในการแสดงธรรม ท่านมักจะยกนิทานหรือชาดก หรือเรื่องของครูบาอาจารย์มาเป็นตัวอย่างในการสอน

แลจะทําให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่เพียงแต่พูดให้ฟัง

เวลาท่านไปโปรดญาติโยมในสถานที่ต่างๆ จะมีผู้สนใจมากราบนมัสการและสนทนาธรรมกับท่านเป็นจํานวนมาก ทั้งผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจปฏิบัติภาวนาและผู้ที่ปฏิบัติมาบ้างแล้ว

คําตอบที่ท่านให้แก่ผู้ที่มีปัญหาอยู่ในใจแต่ละคน ล้วนมีความชัดเจน และอธิบายได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง สามารถนํามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติภาวนาได้

ในยามว่าง ท่านมักใช้เวลาให้หมดไปกับการบันทึกธรรมะต่างๆ และตํารายาบางชนิด โดยสาระธรรมเหล่านั้นมักพบได้ตามแผ่นกระดาษต่างๆ แม้แต่เศษกระดาษ

ถึงแม้ทุกวันนี้วัดป่าสันติกาวาสจะไร้ซึ่งสังขารของ หลวงปู่บุญจันทร์เป็นมิ่งขวัญทว่า วัดป่าแห่งนี้ยังคงโดดเด่นด้วยถาวร วัตถุอันเกิดจากน้ําพักน้ําแรงของท่านให้เห็นเป็นอนุสรณ์

และยังคงเป็นสถานที่อันสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยป่าไผ่ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม สมดังเจตนารมณ์แต่ครั้งริเริ่ม สร้างอารามแห่งนี้

สอดคล้องกับคําสอนที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า

“สิ่งที่เราทําลงไปแล้ว มันภูมิใจ ดีใจ เต็มใจอยู่อย่างนั้น มีความยิ้มแย้มแจ่มใสเบิกบานนั้น จึงได้ ชื่อว่า บุญ

เมื่อได้ให้ได้ทําแล้วมันก็เป็นความสุข สุขทางกาย สุขทางใจ”

หลวงปู่บุญจันทร์ จึงอุปมาดั่งผู้ที่หลุดพ้นแล้วจาก อาสวะทั้งปวง เสมือนบัวที่หลุดพ้นแล้วจากโคลนตม สมฉายานาม “กมโล

ไม่ว่าจะอยู่หรือจากไป ก็เป็นชั่วธรรมงดงาม!

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส
พระธาตุเจดีย์หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล “พระธาตุไตรรัตนกมโลเจติยานุสรณ์”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง