ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่เคน ญาณวโร
วัดสว่างจิต อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด
หลวงปู่พระอุปัชฌาย์เคน ญาณวโร วัดสว่างจิต พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแห่งเมืองร้อยเอ็ด
๏ ชาติภูมิ
พระครูประโชติวรธรรม (หลวงปู่เคน ญาณวโร) อดีตเจ้าคณะตําบลขี้เหล็ก เจ้าอาวาสวัดสว่างจิต (บ้านจิก) นามเดิมชื่อ “เคน เสนานาม” บิดาชื่อ “นายบุญมี” และมารดาชื่อ “นางเสาร์ เสนานาม” กําเนิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ ปีขาล ณ คุ้มป่าโพธิ์ บ้านจิก หมู่ที่ ๑ ตําบลขี้เหล็ก อํา เภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียว กันรวม ๗ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๔ คน คือ
๑. พระครูประโชติวรธรรม (หลวงปู่เคน ญาณวโร)
๒. นางหนูนาง เสนานาม (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๓. นายอ่าง เสนานาม
๔. นางสายทอง เสนานาม
๕. นางสมศรี เสนานาม (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๖. นางน้อย จิตไพศาล
๗. นายแก่น เสนานาม
๏ บรรพชาอุปสมบท
บรรพชา-อุปสมบทครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ ขณะ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ที่วัดสว่างจิต (บ้านจิก) ตําบลขี้เหล็ก อําเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด และต่อมาได้ลาสิกขา เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ รวมเวลาอุปสมบท ๑ พรรษา
๏ ชีวิตครองเรือน
พ.ศ.๒๔๙๓ เริ่มชีวิตครอบครัวโดยแต่งงานกับนางสาวจันทร์ เดชพละ เจ้าสาวในหมู่บ้านเดียวกัน ต่อมาภรรยา คลอดบุตรเป็นหญิง ถึงแก่กรรมทั้งแม่และลูก พร้อมกันเมื่อคลอดนั้นเอง
พ.ศ.๒๔๙๔ แต่งงานครั้งที่ ๒ กับนางสาวใส วิเศษการ บุตรีพ่อเล่ห์ แม่สี บ้านโนนตังหมอง ตําบลเขวาทุ่ง อําเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งต่อมาภรรยาคนที่ ๒ ก็คลอดบุตรออกมาเป็นหญิงและถึงแก่กรรมพร้อมกันเมื่อคลอดเช่นเดียวกัน
เมื่อนายเคน เสนานาม ได้ประสบเคราะห์กรรมเพราะการที่ภรรยาและลูกได้ถึงแก่กรรมในลักษณะเดียวกันเช่นนี้ถึงสองครั้ง ซึ่งก็ยังความวิปโยคโศกสลดให้เกิดแก่นายเคน ผู้เป็นปุถุชนคนสามัญธรรมดายิ่งนักเหลือที่จะคณนานับได้ จึงตัดสินใจตกลงอุปสมบทเป็นครั้งที่ ๒ ในพระพุทธศาสนาโดยตั้งปณิธานปรารถนาจะบวชในพระศาสนาตลอดชีวิต
บรรพชา-อุปสมบทครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ณ พัทธสีมาวัดบูรพา บ้านหนองบัว ตําบลหนองบัว อําเภอ อาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี พระครูบูรพาภิวัฒน์ (พระอุปัชฌาย์สุข ยโสธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งได้ดํารงอยู่ในสมณเพศตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ
๏ หน้าที่รับผิดชอบด้านการปกครอง
พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตําบลขี้เหล็ก
พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌาย์ในเขตปกครอง
พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมเป็นพระปลัด
๏ สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระ ครูสัญญาบัตร ที่ “พระครูประโชติวรธรรม”
๏ งานบูรณะปฏิสังขรณ์
พ.ศ.๒๔๙๙ ก่อสร้างศาลาการเปรียญใหม่ และขอ ตั้งโรงเรียนวัดบ้านจิกเป็นครั้งแรก
พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๑๒ ก่อสร้างกําแพงรอบวัดจนสําเร็จ
พ.ศ.๒๕๑๓ เริ่มก่อสร้างอุโบสถวัดสว่างจิตสําเร็จ
เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เป็นวันตัดลูกนิมิต ใช้เวลาก่อสร้างเสร็จนาน ๙ ปีเศษ
พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๕ ก่อสร้างกุฏิหลังปัจจุบัน สําเร็จ และฉลองเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕
ขยายพื้นที่วัดโดยขอซื้อที่ดินจากนายทองหนา สามาลา กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๑๖๐ เมตร เป็นพื้นที่ ๒๕๖๐ ตารางเมตร
พ.ศ.๒๕๒๕ ออกแบบก่อสร้างอุโบสถวัดกลาง ขี้เหล็ก และควบคุมการก่อสร้าง
๏ การศึกษาทางคดีโลก คดีธรรม
พ.ศ.๒๔๘๐ สําเร็จชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านขี้เหล็ก
พ.ศ.๒๔๙๐ สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ.๒๔๙๙ สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ.๒๕๐๐ สอบได้นักธรรมเอก
๏ เป็นพระเถระนักพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
๑. เป็นผู้นํา เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและยังผลสําเร็จอันดีมาสู่ท้องถิ่นตําบลขี้เหล็กทุกๆ ด้าน อาทิ ถนนหนทางในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้าน ในเขต ตําบลทุกหมู่บ้าน เดิมเป็นทางเกวียน ร่วมกับสภาตําบลทุกสมัย มาจนเป็นผลสําเร็จอย่างที่ปรากฏในปัจจุบันนี้
๒. เป็นแกนนําร่วมขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมตําบล คือ โรงเรียนบ้านขี้เหล็กพิทยาคม ตั้งแต่เริ่มแรกจนสําเร็จเรียบร้อยด้วยดี
๓. เป็นแกนนําในการจัดตั้งโรงเรียนบ้านจิก ตั้งแต่ศาลาวัดจนถึงเป็นเอกเทศถาวร ร่วมกับคณะครู กรรมการหมู่บ้านและประชาชน
๔. จัดตั้งศูนย์อบรมศีลธรรมประชาชนตําบลขี้เหล็ก โดยตนเองเป็นผู้ดําเนินการอบรมจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร และประชาชนด้วยตนเองโดยมีประสิทธิภาพประสิทธิผลดีมาก ๕. เป็นผู้จัดเข้าปริวาสกรรม ณ ดงเจ้าปู่ บ้านขี้เหล็กทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบัน
๏ อาพาธและมรณภาพ
ตามปกติท่านพระครูประโชติวรธรรม (พระอุปัชฌาย์เคน ญาณวโร) มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย เนื่องจากท่านเป็นพระนักก่อสร้าง และนักพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้วัดวาอารามเจริญก้าวหน้า ไม่อยู่นิ่งเฉยอยู่กับที่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ร่างกายทรุดโทรมและอาพาธหนัก ญาติโยมจึงได้พาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลจังหวัดยโสธร ปรากฏว่าแพทย์ไม่อาจวินิจฉัยโรคได้แน่นอนว่าเป็นโรคอะไร ท่านพระครูประโชติวรธรรมจึงตัดสินใจเด็ดเดี่ยวกลับวัดสว่างจิต (บ้านจิก) ตามเดิม
อาการมีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดการสูญเสียและความเสียใจเป็นสิ่งมิได้คาดฝันก็เกิดขึ้นแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนญาติโยมชาวตําบลขี้เหล็ก ตลอดจนพระสงฆ์องค์สามเณรทุกหมู่เหล่าและศิษยานุศิษย์ เมื่ออาการเลวลงทุกขณะ ในที่สุดพระครูประโชติวรธรรม (พระอุปัชฌาย์เคน ญาณวโร) อดีตเจ้าคณะตําบลขี้เหล็ก เจ้าอาวาสวัดสว่างจิต ก็มรณภาพด้วย อาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๑ ณ วัดสว่างจิต (บ้านจิก) ด้วยโรคมะเร็งอันเป็นโรคที่แพทย์เหลือวิสัยที่จะ เยียวยารักษาได้ รวมสิริอายุ ๖๓ ปี รวมบวชในพระพุทธศาสนา ๓๕ พรรษา
การมรณภาพของท่านได้สร้างความอาลัยอาวรณ์ เศร้าโศก รําพัน มาให้แก่คณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ ญาติโยมชาวตําบลขี้เหล็ก และท่านที่เคารพนับถือในท่านพระครูประโชติวรธรรม เป็นอย่างยิ่ง
งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูประโชติวรธรรม (เคน ญาณวโร) อดีตเจ้าคณะตําบลขี้เหล็ก เจ้าอาวาสวัดสว่างจิต ณ เมรุวัดสว่างจิต (บ้านจิก) ตําบลขี้เหล็ก อําเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด วันจันทร์ ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๒
๏ ประวัติย่อวัดสว่างจิต
เดิมเป็นวัดสว่างจิก แต่ก่อนได้ตั้งอยู่ที่บ้านจิกเก่า มีกํานันขุนมูลเหล็กอารีย์ ได้ย้ายจากบ้านขี้เหล็ก มาตั้งอยู่ที่ทางทิศเหนือบ้านขี้เหล็ก ห่างจากบ้านขี้เหล็ก ประมาณ ๒ กิโลเมตร (๕๐ เส้น) ได้ตั้งบ้านจิกนั้นเป็น หมู่ที่ ๑ ตําบลขี้เหล็ก อยู่มาปี พ.ศ.๒๔๗๗ กํานัน ขนมูลเหล็กอารีย์ ได้มรณภาพลงอยู่ได้ ๒ ปี เกิดบ้านจิกนั้นเดือดประชาชนตายมากขึ้น จึงได้อพยพออกจากบ้านจิก มาตั้งอยู่ที่บ้านอยู่ปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ.๒๔๘๐ พระเณรก็อยู่ไม่ได้ จึงได้ติดต่อพ่อออกแม่ออกมาอยู่ด้วย แต่มาอยู่ที่หนองกวยน้อย ซึ่งเป็นที่นาพ่อสิงห์ วิเศษการ ว่าจะตั้งวัดที่นั้นเจ้าของที่ดินเขาไม่มอบให้ จึงมีผู้มีศรัทธา คือพ่อใหญ่เอี้ยง แม่ใหญ่มี สมมาตย์ ได้ยกที่ดินที่นาของตนให้ฟรี ถวายเป็นวัดในปี พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ให้เป็นวัดที่สํานักสงฆ์ แต่นั้นมา มีเจ้าอาวาสหลายองค์
จนมาถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ ข้าพเจ้า จึงได้เข้ามาอุปสมบท ได้มาสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๔๙๙ ไปสําเร็จลงปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้ขอโรงเรียนประชาบาลมาตั้งแต่ปีนั้นมา
จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๑ จึงได้ โรงเรียนเอกเทศออกไปจากวัด ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตําบลขี้เหล็ก
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับเป็นอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.๒๕๑๓ ได้ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา มาจนถึง ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ผูกพัทธสีมา ได้พร้อมกันกับพระเณรและประชาชนชาวบ้าน และตําบลใกล้เคียง มีศรัทธาร่วมกําลังกาย กําลังใจ กําลังทรัพย์สร้างอุโบสถหลังนี้สําเร็จลงด้วยดี เป็นจํานวนเงินพร้อมทั้งคณะผ้าป่าลูกหลานไปอยู่กรุงเทพฯ จึงได้จัดการผูกพัทธสีมา พร้อมทั้งตัดลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๗-๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒