ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่โส ธัมมปาโล
วัดราศรีไศล (บ้านฟ้าเลื่อม) อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด
หลวงปู่โส ธัมมปาโล วัดราศรีไศล (บ้านฟ้าเลื่อม) พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมแห่งเมืองสาเกตุนคร จ.ร้อยเอ็ด
● ชาติภูมิ
หลวงปู่โส ธมฺมปาโล นามเดิมชื่อ “โส” เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ วันพฤหัสบดี บิดาชื่อ “นายแย้ม” และมารดาชื่อ “นางตู้” เป็นบุตรเป็นคนโต มีน้อง ๓ คน เป็นผู้หญิงหมด
อุปนิสัยเดิมเป็นคนใจนักเลงชอบชกต่อยกับเพื่อนฝูงอยู่เสมอ เมื่ออายุได้ ๑๖-๑๗ ปี ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์เหม ที่เมืองอุบลราชธานี เพื่อเรียนมนต์คาถาอาคม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดทุกแขนงจากพระอาจารย์เหม เมื่อกลับจากเรียนวิชากับพระอาจารย์เหม ก็เริ่มออกตัวเป็นนักเลง เก่งกาจไม่กลัวใคร และไม่กลัวอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปืน มีด หอก ประเภทอาวุธ ท่านไม่กลัวทั้งนั้น
เมื่อสิ้นฤดูการทำไร่ ทำนาไม่มีงาน ท่านก็เที่ยวเตร่ไปตามงานบุญ บ้านนั้น บ้านนี้ อยู่อย่างนั้นเสมอ ทำตัวเป็นนักเลงกับพวกหนุ่มๆ ด้วยกัน เมื่อไปเที่ยวตามงานบุญ บางวันก็กลับ บางวันก็ไม่กลับเป็นอย่างนี้อยู่ประจำ ถึงพ่อแม่แนะนำในทางที่ดีก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
● อุปสมบท
เมื่ออายุจวนจะครบ ๒๐ ปี ท่านได้ยินกิติศัพท์ พระอาจารย์สนธิ์ ว่าเป็นผู้เก่งกาจในด้านเวทมนตร์เหมือนกับพระอาจารย์เหม แต่พระอาจารย์สนธิ์นั้นท่านอยู่ทาง โกสุมพิพิสัย เมืองมหาสารคาม เมื่อท่านรู้ชัดอย่างนั้นแล้ว ท่านก็มุ่งหน้าไป ทางเมืองโกสุมพิสัย เมื่อไปถึงพระอาจารย์สนธิ์แล้ว ท่านก็ขอเรียนเวทมนตร์ คาถาอาคม แต่อาจารย์สนธิ์ไม่สอนให้ เมื่อจะเรียนต้องบวชก่อนจึงจะได้เรียน
เมื่อจะบวชก็ต้องไปขออนุญาติพ่อ-แม่ก่อนท่านจึงจะบวชให้ เมื่อบวชแล้วท่านจึงจะสอนคาถาอาคมให้ พระอาจารย์สนธิ์นั้นท่านแนะนำ ในด้านศีลธรรมด้วยเมื่อได้ฟังเช่นนั้น ท่านก็สนใจเป็นพิเศษจึงกลับมาขออนุญาติบวช จากพ่อแม่ของท่าน และก็ได้รับอนุญาตตามความประสงค์ แล้วท่านก็ได้กลับไปหา พระอาจารย์สนธิ์ และเล่าความเป็นจริงให้พระอาจารย์สนธิ์ฟัง พระอาจารย์สนธิ์ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์อยู่แล้ว ท่านจึงจัดหาเครื่องอัฎฐบริขารบวชให้ใน ปี พ.ศ.๒๔๒๕
เมื่อบวชแล้วก็ได้ร่ำเรียนเจ็ดตำนาน และเรียนเวทมนต์คาถา อาคม ต่างๆ ไปพร้อมกัน เมื่อเรียน เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนจบ โดยได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์สนธิ์ ๓ ปี
ต่อมาท่านรำลึกถึงอาจารย์องค์แรก จึงเดินทางไปหา พระอาจารย์เหม ที่เมืองอุบลฯ เมื่อมาถึงแล้วท่านพระอาจารเหม ก็แนะนำให้ไปเรียนมูลกัจจายน์ ในสำนัก พระอาจารย์นิ่ว ชึ่งอยู่ที่ บ้านไผ่สร้างช้าง ม่วงสามสิบ เมืองอุบลราชธานี โดยใด้เรียนมูลกัจจายน์ และพระคำภีร์ทั้ง ๕ จบ จากนั้น ท่านได้กราบลาพระอาจารย์นิ่ว เพื่อจะมาอยู่จำพรรษาที่ บ้านฟ้าเลื่อม เพราะนานหลายปีนับตั้งแต่วันที่ท่านได้ออกจากบ้านไป
เมื่อมาถึงยโสธร ชาวเมืองยโสธร ก็ขอนิมนต์อยู่จำพรรษา อยู่ที่วัดสร่างโศก ๑ ปี ในระยะนั้นในระยะนั้นทางบ้านฟ้าเลื่อม ก็ไม่มีพระอยู่จำพรรษาจึงได้พร้อมใจกันไปนิมนต์ ท่านมาอยู่จำพรรษาที่
วัดบ้านฟ้าเลื่อม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นต้นมา ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และเป็นพระที่ถือคันถธุระเป็นส่วนใหญ่ เป็นผู้มีความรู้และวิชาอาคมเวทมนต์เก่งกาจมาก จำพวกไสยศาสตร์นั้น เป็นอันว่าท่านไม่หวาดกลัวอะไร หรือจำพวก ปืนผาหน้าไม้ หอก ดาบ ท่านไม่หวั่นเสียเลย คนเฒ่าคนแก่ เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านปัสสาวะใส่ตอไม้ไว้ แล้วบอกให้คนเอาปืนไปยิง ปืนนั้นก็ ไม่ติดไม่ออกเสียงเลย
อีกประการหนึ่งมีความว่า ท่านเอามีดดาบ ยาวประมาณ ๑ เมตร เอามือพับให้เหลือแค่ ๑ ฟุต เมื่อท่านจะให้ดาบตรงเช่นเดิมก็เอาปากคาบตัวดาบ แล้วเอามือดึงด้ามดาบแล้วดาบนั้น ก็จะเหยียดตรงเหมือนเดิม นี้ก็เป็นความเก่งกาจของท่านตามที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง
● ตำแหน่งในคณะสงฆ์
ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ในปี พ.ศ.๒๔๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระครูธรรมโสภิต”
● ด้านการพัฒนา
ได้พาญาติโยมสร้าง กุฎิสามมุข ศาลาแบบหลังคา ๓ ชั้น วิหารประดิษฐ์-รอยพระพุทธบาทจำลอง พระธาตุเพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ไว้เป็นถาวร วัตถุในวัด ครั้งสุดท้าย ท่านได้สร้างสะพานข้ามห้วยใส้ไก่ ระหว่าง บ้านฟ้าเลื่อม ไป บ้านจ้อก้อ ความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร นอกจากการก่อสร้าง แล้วท่านยังเป็นผู้แตกฉานในสรรพวิชาในด้านต่างๆ มากมาย และ ท่านได้จารหนังสือ พระคัมภีร์ วรรณคดีต่างๆ และตำรับตำราต่างๆ ไว้มากมาย ด้วยตัวอักษร ขอม, อักษรลาว, ไทยน้อย, ไทยสือ
นับว่า หลวงปู่โส ธัมมปาโล ท่านมีความรู้แตกฉานในด้านอักขระต่างๆ
หลวงปู่โส ธัมมปาโล ท่านเป็นพระที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ที่ต่อมาเป็นครูบาอาจารย์หลักให้พระลูกพระหลาน และศรัทธาญาติโยมเป็นที่พึ่งที่ระลึก ในเวลาต่อมามากมายหลายรูป อาทิ
๑. พระครูอุเทศธรรมวินัย (หลวงพ่อชม) วัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
๒. หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ วัดโพธิ์ศรี บ้านเอียด อ.เมือง จ.มหาสารคาม
๓. หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ (ธมฺมโชโต สิงห์ สิมมาโครต) วัดใต้โกสุม อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
๔. หลวงปู่วรพรตวิธาน (พระครูวรพรตวิธาน) วัดจุมพล อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น
๕. หลวงปู่ธีร์ เขมจารี (พระมงคลวราจารย์) วัดมิ่งเมื่องพัฒนาราม อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
๖. หลวงปู่สุข ยโสธโร (พระครูบูรพาภิวัฒน์) วัดบูรพาหนองบัว อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด
๗. พระครูรังษิสุทธิคุณ (พระอุปัชฌาย์จำปา) วัดราศรีไสล อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด
และยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าว
ส่วนพระครูรังษีสุทธิคุณนั้น ท่านไม่ได้ไปไหนเหมือนองค์อื่นๆ ท่านนั้นอยู่เพื่อคอยดูแลปรนนิบัติหลวงปู่อยู่เสมอ และหลวงปู่เองก็ไม่ให้ท่านหนีไปด้วย คือ ท่านเอาไว้เป็นพระกรรมาวาจารย์ เมื่อมีการอุปสมบท และในเวลาต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ แทนท่าน และเป็นผู้ลงคาถา-ตะกรุด ประหรอด ผ้ายันต์ และเสื้อยันต์ ทุกอย่าง ท่านให้ทำช่วยอยู่เสมอ
● มรณภาพ
ลุถึงปี พ.ศ.๒๔๘๐ หลวงปู่โส ธัมมปาโล นั้นท่านก็ได้ป่วยด้วยโรคชรา โดยในระยะนี้ หลวงปู่ท่านได้ก่อสร้างวิหารประดิษฐ์ลอยพระพุทธบาท และเจดีย์บรรจุอัฐิของท่าน เมื่อ แล้วเสร็จ ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพใน พ.ศ.๒๔๘๕
หลวงปู่โส บ้านฟ้าเลื่อม ผู้สืบทอดตำราจาก พระราชครูโพนเสม็ด หรือญาครูขี้หอม และมีความเกี่ยวข้องกับอำเภอ สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
นับตั้งแต่งเมื่อครั้งแห่งแห่งนครกาละจำปากนาคบุรีศรี หรือปัจจุบันเรียกว่า เมืองจำปาสัก ซึ่งมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ด (ญาครูขี้หอม) ซึ้งเป็นผู้เรียงเดชอำนาจทางด้านบรรดาสัพวิชาคาถาอาคม และมีบทบาทสำคัญในการปกครองบ้านเมืองในสมัยนั้น ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๑๘๖
ซึ่งเจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งมีราชทินนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูล ซึ่งเป็นศิษย์คนสำคัญของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ซึ่งได้เรียนวิชาธรรมมูลและดาพระคาถาตลอดจนกลวิธีการใช้ดาบใช้ง้าวศาสตราวุธจนดีเยี่ยม และเป็นที่เกรงกลัวต่ออริราชศรัตตรูทั้งหลาย
ท่านพระครูหลวงท่านนี้มีความเก่งกาจนักจนขนาดปราบช่างป่าตกมัน และเสือป่าจนอยู่มือ ด้วยพระเวทย์มนต์ตราพระคาถาต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งต่อมาเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูล ได้แบ่งแยกราชวงค์ อุปฮาด ให้ใบต้องถินฐานยุนะเเดนต่างๆ ๑ ในนั้คือ จารย์แก้ว บุรมย์ โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ได้ให้จารย์แก้ว อพยพไพร่พลได้ ๓,๐๐๐ คน มาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองขึ้นมีนามว่า ทุ่งศรีเมือง เมืองทุ่ง (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ) และได้มอบสรรพวิชาบรรดาคาถาพระคาทั้งหมดให้กับจารย์แก้ว บุรมย์ สืบทอดมาชั่วลูกหลาน จารย์แก้ว บุรมย์ หรือ เจ้าแก้ว มงคงคล ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของเมืองสุวรรณภูมิจวบจนถึงปัจจุบัน
คาถาวิชาอาคมต่างๆ ตกสืบทอดมาจนถึงท้าวท้าวธน และท้าวมืด ซึ้งทั้ง ๒ เป็นบุตรของจารย์แก้ว ท้าวธนเกิดมามีฟันติดมาด้วยจึงให้ชื่อท้าวธน (ธนแปลว่าฟัน) ส่วนท้าวมืดเกิดมาเกิดสุริยุปราคา ท้องฟ้ามืด เลยให้ชื่อว่ามืด ท้าวธนแลพท้าวมืดเป็นำน้องกัน ท้าวมืด มีบุตรสองคนนามว่า ท้าวเซียง และ ท้าวสูนย์ ก็ได้สืบทอดตำรามาจนถึงรุ่นลูกหลาย จนถึงยุคสมัยของนาย หาญ ธนะ ซึ้งนายหาญชนะมีความสัมพันธมิตรกับหลวงปู่โส ธมฺมปาโล และจึงได้นำเอาหนังสือตำราพระคาถาพระเวสต่างๆมาถวายแด่องค์หลวงปู่โส ธมฺมปาโล บ้านฟ้าเลื่อม แห่งเมืองสาบุตร (คืออำเภออาจสามารถในปัจจุบัน)
บางพระคาถาจะลงท้ายด้วยคำว่าหลวงเพราะบรรดาสรรพวิชาเหล่านี้สืบสายมาแต่ของพระมหาบูรพกษัตริย์ของลาวในอดีต
ต้นพระคาถามีดังนี้
ธรรมมูล (มูลกันจายน์)
ฟ้าแมบเมือง
ควงซาวห้า
สมประมาท
เทียมประมาท
ยอดเทียมประมาท
หิริโอตเก้าชั้น
หริโอตตัปปังเก้าชั้น
ปัฏมึนน้อย
มหาปัฏมึนหลวง
ปัฏมึนฆ้อนค้าง
แก้ว 7 ประการ
กระทู้หลวง
กระทู้เจ็ดแบก
ฝนแสนห่า
พญาปุริสาตร์หลวง
กำเลิศเหล็กหลา
เวียงแก้วยอดเหล็กทบ
พระเเสล่งเเง่ง
ฟ้าสนั่นฟ้าเสนียง
ฟ้าสนั่นหลวง
พญาอะวะหัง(พญาหมูเผือก)
เสน่ห์หลวง
ทิพย์พญาธรหลวง
พญาสาริกาโทน
ไก่แก้วไก่คำ
พญากาคำ
พญากาเผือก
จินดามณีมนต์
มหาจุงคุลีหลวง
มหาเย็น
น้ำใต้หิน
อุปคุตน้อย
อุปตุตหลวง
นางยักษ์ขินีสีเอกไท้
กาตอมเห่ว
อ้อสนธิจิต
เสน่ห์นกกาเหว่า
ธรรมวิชา
ไตรจักแก้ว
พระเจ้าล้างมาร
ปัฏวิงหลวง
ยอดคำตัน
มหาตันหลวง
เทวดาหลงห้อง
หรูมานจ้อก้อ
นางอกแตก
คาถามัททรี
หมูโทนคาบแก้ว
สายรกพระพุทธเจ้า
มึ๊ตตะกึ๊ดหลวง
พระเจ้า ๑๐ พระองค์
ยอดเทียน ๔ พญา
● ประวัติความเป็นมา วัดราศรีไสล (วัดบ้านฟ้าเลื่อม)
วัดราศรีไสล ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๕ ชาวบ้านเรียกว่าวัดบ้านฟ้าเลื่อม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร
สิมวัดวัดราศรีไสล เป็นสิมเก่าแก่ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายกับสิม วัดขอนแก่นเหนือ, สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์, สิมวัดหนองหมื่นถ่าน, วัดเสมาท่าค้อ ใน อ.อาจสามารถ ลักษณะเป็นสิมทึบ เป็นสิมอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปภัมภ์
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระอธิการคำ
รูปที่ ๒ พระอธิการโส
รูปที่ ๓ พระอธิการเหล็ก
รูปที่ ๔ พระอธิการรังษี
รูปที่ ๕ พระอธิการสมัย
รูปที่ ๖ พระอธิการประเสริฐ
รูปที่ ๗ พระอธิการอีถิระธัมโม