วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม
วัดสิงห์ทอง บ้านตูม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

พระครูวชิรธรรมาภรณ์ (หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม) วัดสิงห์ทอง บ้านตูม อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุนอีกองค์หนึ่ง

● ชาติภูมิ
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม นามเดิมชื่อ “เพชร แดงกัณหา” เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ซ.๒๔๕๘ ณ บ้านตูม หมู่ที่ ๖ ตำบลม่วงใหญ่ กิ่งอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ “นายหมี” และมารดาชื่อ “นางคำบาง แดงกัณหา” ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องด้วยกัน ๔ คน หลวงปู่เพชร เป็นบุตรคนที่ ๓

● ปฐมวัย
เมื่อสมัยเด็กๆ ท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาล ประจำหมู่บ้าน จนจบชั้นประถม ๔ จากนั้นท่านจึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ ท่านจึงชาชินกับความลำบากมาตั้งแต่เล็ก และรู้ถึงความลำบากของผู้อื่น จึงเป็นเหตุให้ท่านมีจิตคิดช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบากกว่าตน

● อุปสมบท
เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ที่วัดโพธิ์พฤกษาราม ในหมู่บ้านเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ห่างไกลจากบ้านตูม ประมาณ ๓ กิโลเมตร เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๘ โดยมี พระอาจารย์ผึ้ง พันธสาโร เจ้าอาวาสวัดสิงห์ทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เคน ญาณกโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บุศร์ ไม่ทราบฉายา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานธมฺโม

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

หลังอุปสมบทได้ศึกษาวิชามูลกัจจายน์ จากพระอาจารย์ ที่วัดนาขนำ ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาวิชาอาคมและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อเกตุ ซึ่งเป็นพระชาวเขมรที่มีวิชาอาคมสูงยิ่งในถิ่นนั้น เมื่อชำนาญแล้วจึงกราบลาหลวงพ่อเกตุ เดินทางข้ามไปยังฝั่งลาว เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะในยุคนั้นฝั่งประเทศลาวนั้น มีพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคม ตลอดจนการปฏิบัติที่ถือเคร่งมาก

สำนักแรกที่ หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม ได้ไปศึกษาคือ สำนักวัดบ้านละหาน้ำ แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว หลวงปู่เพชรตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะวิชาด้านเมตตามหานิยม

หลังจากนั้นท่านก็ธุดงค์ไปยังนครเวียงจันทน์ อันเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม ท่านเล่าว่าที่เวียงจันทน์ มีภิกษุสามเณรชาวไทยไปเรียนหนังสือกันมาก เพราะเป็นต้นตำรับของภาษาบาลีที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก่อน โดยหลวงปู่ได้เรียนภาษาบาลีที่วัดสระเกศ นครหลวงเวียงจันทน์

เมื่อถึงเวลาสอบก็เกิดสงครามอินโดจีนขึ้นก่อน ท่านจึงไม่ได้สอบ พระเณรชาวไทยต่างก็หนีข้ามมายังฝั่งไทยกันโกลาหล ซึ่งท่านเองก็นั่งรถจากเวียงจันทน์มายังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน แล้วต่อมาที่สะหวันนะเขต ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทยของเรา เมื่อถึงฝั่งท่านก็พำนักอยู่ที่วัดนาดี ในตัวเมืองมุกดาหาร แล้วเดินทางโดยรถยนต์มายังอำนาจเจริญ แล้วตัดไปยังอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งถึงบ้านตูม อันเป็นบ้านเกิดของท่านอีกครั้งหนึ่ง

“นับเป็นการผจญภัยที่ร้ายแรงมากในชีวิตของอาตมา ที่ได้ผ่านมาอย่างทุลักทุเลแทบเอาชีวิตไปทิ้งที่ประเทศลาวเสียแล้ว” หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม ท่านกล่าว..

หลังจากข่าวคราว หลวงปู่เพชร เดินทางกลับมายังวัดสิงห์ทอง บ้านตูม ประชาชนจากทุกสารทิศต่างก็เดินทางมาถามข่าวคราวจากท่านมิได้ขาด เพราะความห่วงใยและเลื่อมใสในตัวท่าน บางคนเดินทางมาจากอำเภอเขมราฐ และอำเภอโขงเจียม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากกิ่งอำเภอโพธิ์ไทรมาก จากนั้นหลวงปู่เพชร ก็ถูกญาติโยมขอร้องไม่ให้ไปไหนอีก เพราะชาวบ้านเห็นว่ามีเพียงท่านที่เป็นที่พึ่งของพวกเขาทุกคน

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสิงห์ทองไม่นาน ได้มีประชาชนมาหาท่านมิได้ขาด บ้างก็มาเป็นทัวร์จากกรุงเทพฯ ทำให้ท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ทำให้ท่านคิดที่จะหนีไปอยู่ป่าเขา และต่อมาท่านก็ได้หนีไปหาความวิเวกอยู่ที่ภูเขาควาย (ไม่ใช่ภูเขาควายที่อยู่ฝั่งลาว) เป็นภูเขาเล็กๆ อยู่ในเขตกิ่งอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นป่าดงดิบสงบสงัด และมีสิ่งอาถรรพ์ลี้ลับอยู่มาก จนพระธุดงค์หลายรูปต้องมามรณภาพที่ป่าแห่งนี้ มีสัตว์ป่าดุร้าย และที่สำคัญคืองูเห่า ซึ่งมีจำนวนมากกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ

หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
เจดีย์ หลวงปู่เพชร วัดสิงห์ทอง
เจดีย์ หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง (บ้านตูม) อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
รูปเหมือนบูชา หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม
รูปเหมือนบูชา หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง (บ้านตูม) อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

● ด้านวัตถุมงคล
ในด้านวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง (บ้านตูม) อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ พระปิดตา ล็อกเก็ต ตะกรุด ซึ่งทุกอย่างล้วนแต่มีประสบการณ์ทั้งสิ้น เป็นที่เสาะแสวงหาแก่ผู้ศรัทธา โดยเฉพาะเหรียญลายเซ็นต์ รุ่นแรก หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘

วัตถุมงคล หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง (บ้านตูม) อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
วัตถุมงคล หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง (บ้านตูม) อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

○ เหรียญรุ่น ๑ ลายเซ็น สร้าง พ.ศ.๒๕๑๘ จำนวนการสร้างมีดังนี้
๑. เนื้อทองคำ ๔ เหรียญ
๒. เนื้อเงิน ๙๙ เหรียญ
๓. เนื้อทองแดง ๑,๙๙๙ เหรียญ (รมมันปู)

เหรียญ ลายเซ็นต์ หลวงปู่เพชร วัดสิงห์ทอง รุ่นแรก ปี 2518
เหรียญ ลายเซ็นต์ หลวงปู่เพชร วัดสิงห์ทอง รุ่นแรก ปี 2518
เหรียญ รุ่น๑ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง จ.อุบลราชธานี
เหรียญ รุ่น๑ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง จ.อุบลราชธานี

ปลุกเสกเดี่ยว และนำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม โดยมี ๑๑๙ พระเกจิอาจารย์นั่งบริกรรม

เหรียญหลวงปู่เพชร วัดสิงห์ทอง รุ่นแรก ปี 2519
เหรียญหลวงปู่เพชร วัดสิงห์ทอง รุ่นแรก ปี 2519

พระสมเด็จจำปาสัก
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒,๕๐๐ องค์
ไม่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒,๕๐๐ องค์ (เข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกหลายแห่ง)

พระสมเด็จจำปาสัก หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง จ.อุบลราชธานี ปี 2520
พระสมเด็จจำปาสัก หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง จ.อุบลราชธานี ปี 2520
เหรียญ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง ปี2520
เหรียญ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง ปี2520

○ พระปิดตามหาลาภ สร้าง พ.ศ.๒๕๒๐
เนื้อรากต้นหิ่งหาย ๑,๙๙๙ องค์ (ปลุกเสกเดี่ยวจนเคลื่อนไหวได้ ตามตำราโบราณาจารย์ ผู้ศรัทธาบูชาหมดภายใน ๓ วัน)
๑. พระนางพญาประทานพร สร้าง พ.ศ.๒๕๒๐ (ปลายปี)
๒. นางพญาปิดทอง ๕๐๐ องค์
๓. นางพญาไม่ปิดทอง ๒,๕๐๐ องค์ (ศิษย์บูชาหมดภายในปีนั้น)
๓. เหรียญทองแดง สร้าง พ.ศ.๒๕๒๑

จัดสร้างโดยนายอำนาจ ส่งเสริม นายอำเภอเขมราฐ เนื้อทองแดงอย่างเดียว ไม่ทราบจำนวน (แจกจ่ายหมดภายในปีนั้น)

เหรียญหล่อใบโพธิ์ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง
เหรียญหล่อใบโพธิ์ หลวงพ่อเพชร ฐานธัมโม วัดสิงห์ทอง

○ เหรียญรูปใบโพธิ์ สร้าง พ.ศ.๒๕๒๘
๑. เนื้อเงิน ๓,๐๐๐ องค์
๒. เนื้อนวะโลหะ ๓,๐๐๐ องค์
๓. เนื้อผง ๓,๐๐๐ องค์
(สร้างเนื่องในโอกาสฉลองอายุ ๗๐ ปี หลวงปู่ปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส)

○ พระสังกัจจายน์ สร้างพร้อมกับเหรียญรูปใบโพธิ์
๑. เนื้อผง ๓,๐๐๐ องค์

○ เหรียญเสมา สร้าง พ.ศ.๒๕๔๒
๑. เนื้อทองคำ ๙ เหรียญ
๒. เนื้อเงิน ๘๔ เหรียญ
๓. เนื้อทองแดง (รมมันปู) ๕,๐๐๐ เหรียญ
(สร้างเนื่องในโอกาสฉลองอายุ ๘๔ ปี ๗ รอบ) พร้อมด้วยกุมารทองอุ้มทรัพย์เนื้อผง จำนวน ๒,๕๔๒ องค์ เพื่อมอบแก่ศิษย์ที่ไปกราบนมัสการหลวงปู่