วันเสาร์, 26 ตุลาคม 2567

ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ประวัติและปฏิปทา
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล
วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ครูบาเจ้าพระครูรัตนถิราจาร (ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล) พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตา แห่งวัดบ้านศรีดอนมูล ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ครูบาเจ้าพระครูรัตนถิราจาร (ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล) เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๙ ตรงกับเดือนเกี๋ยง เหนือแรม ๘ ค่ำ วันศุกร์ ปีวอก เวลาใกล้เที่ยง ร.ศ.๑๑๕ จ.ศ. ๑๒๕๘ เดิมเกิดที่บ้านย่าปาย ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนแรกของ โยมพ่อแปง โยมแม่แซว จันทาพูน ในจำนวน ๖ คน ด้วยกันคือ
๑.ครูบาเจ้าพระรัตนถิราจาร (ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล)
๒.แม่นางเอ้ย จันทาพูน (ถึงแก่กรรม)
๓.พ่อปัน จันทาพูน (ถึงแก่กรรม)
๔.พ่อสม จันทาพูน (ถึงแก่กรรม)
๕.แม่ผา จันทาพูน (ถึงแก่กรรม)
๖.น.ส.มอย จันทาพูน (ถึงแก่กรรม)

เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมพ่อแปง ได้นำไปฝากไว้กับครูบากันธะ วัดร้อยพร้อม เพื่อให้การศึกษาตั๋วเมืองในสมัยนั้นซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมพ่อ พออยู่ได้ ๘ เดือน โยมพ่อแปงก็ถึงอนิจกรรมไปอย่างไม่มีวันกลับ สร้างความโศกเศร้าอาลัย อาวรณ์ โศกา อาดูร ให้แก่ภรรยาและลูกน้อยทั้ง ๖ เป็นอย่างน่าเวทนา ให้ผจญภัยชีวิตไปตามยะถากรรม ครูบาเจ้า ท่านเป็นผู้มีความโอบอ้อมอารีย์กตัญญูกตเวทีตาธรรม เมื่อยังเด็กคิดจะออกจากวัดมาช่วยแม่เลี้ยงน้อง แต่ถูกครูบากันธะ เจ้าอาวาสวัดร้อยพร้อมคัดค้านละได้ทำการบรรพชาให้เป็นสามเณร เพราะเห็นว่าเรียนหนังสือได้รวดเร็วแม่นยำ มีสติปัญญากว่าเพื่อนฝูง จึงทำการบรรพชาเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี และให้จำพรรษาอยู่ที่วัดร้อยพร้อมตลอดมา เพื่อศึกษาธรรมต่อไป อยู่มาได้ประมาณ ๒-๓ ปี สามเณรอิ่นแก้วเห็นว่าแม่ได้ตกระกำลำบากมาก ด้วยการเลี้ยงน้องทั้ง ๕ สามเณรอิ่นแก้ว ซึ่งเป็นผู้มีความรักความเอ็นดูแม่และน้อง จึงไปขอลาสิกขาเพื่อมาช่วยแม่ แต่ก็ถูกครูบากันธะห้ามไว้เสมอ วันหนึ่งครูบาได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตอนนั้นทางเชียงใหม่เกิดวิกฤตกาลฟ้าฝนไม่ตกตลอดปี ชาวบ้านไม่ได้ทำนากัน ญาติพี่น้องก็อดๆ อยากๆ ไปตามๆ กัน โยมแม่แซว พร้อมด้วยลูกน้อยทั้ง ๕ พลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วย จนไม่มีข้าวอันจะกินและเลี้ยงลูกน้อยทั้ง ๕ ของแม่แซว ส.ณ.อิ่นแก้ว(ครูบาอิ่นแก้ว)มีความสงสารแม่เป็นอย่างยิ่งจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบมิได้ มีโยมผู้ชายคนหนึ่งซึ่งรู้จักกัน และคุ้นเคยกันมา ได้แนะนำให้ว่า “เราไปโปรดเมตตาหาข้าวมาเลี้ยงแม่ และน้องเล็กๆ ของท่านเณรเถิด” เณรอิ่นแก้ว ทีแรกก็ไม่อยากไปเพราะอาย อีกอย่างก็ไม่เคย และทั้งเด็กยังเล็ก การพูดจาปราศรัยโยมผู้ชายคนนั้นอาสาพูดเอง เณรอิ่นแก้วจึงยอมตกลงว่าต้องไปให้ไกลหน่อย ฝ่ายโยมคนนั้นก็ได้พาเณรอิ่นแก้วไปขอเมตตาข้าว จะไปที่ไหนนั้นครูบาบอกกับผู้เขียนก็จำไม่ได้ รู้แต่ว่าบ้านนั้นอยู่ริมเวียงเชียงใหม่ เมื่อไปถึงทั้งกลัว ทั้งสั่น ทั้งอาย จนในที่สุดก็ได้ไปพบบ้านหลังหนึ่งใหญ่โตมาก อยู่ริมเวียงเชียงใหม่ บ้านหลังนี้เจ้าของบ้านมีลูกเป็นสามเณรอยู่หนึ่งองค์ วันนั้นสามเณรมาบ้านพอดี อายุจะแก่กว่าเณรอิ่นแก้วสักเล็กน้อย เมื่อสามเณรมาพบกันด้วยเหตุการณ์อย่างนี้ ความอายก็บังเกิดขึ้นทันที เณรน้อยอิ่นแก้วแทบจะวิ่งหนีเอาตัวรอดไปให้ไกล เพราะอายแต่ก็จำใจยอมรับขอเมตตาเพราะเรามันจน สามเณรนั้นก็ประกอบด้วยความกรุณาปราณี เลยนิมนต์ให้ฉันภัตตาหารเพลที่บ้านของสามเณรนั้น สามเณรองค์นั้นก็ได้ถวายข้าวของ จตุปัจจัยแก่สามเณรอิ่นแก้วเป็นอันมาก สร้างคามยินดีปรีดาแก่สามเณรอิ่นแก้วเป็นอันมาก นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามสามเณรอิ่นแก้วก็ได้ไปเมตตาข้าวมาเลี้ยงแม่และน้องเรื่อยมา จนในที่สุดญาติพี่น้องทางแม่ ที่อยู่ทางดอยยาว ได้รับข่าวลูกหลานตกระกำลำบาก จึงได้มาชวนเอาไปอยู่ด้วยที่ดอยยาว พร้อมกับตัวครูบาด้วย จากนั้นครูบาเจ้า (สามเณรอิ่นแก้ว) ก็ไปๆ มาๆ ระหว่างดอยยาว-ร้อยพร้อม

จนอายุได้ ๑๘ ปี ญาติพี่น้องทางเชียงแสน เชียงราย ได้ชวนกันมาเอาท่านพร้อมแม่ ญาติพี่ น้อง หลายๆ คน อพยพไปอยู่ที่เชียงแสน คือวัดบ้านดง ต.หนองร่อง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในสมัยนั้นพอมาอยู่เชียงแสน หรือที่บ้านดงได้ประมาณ ๑ ปี โยมแม่ครูบาก็ได้พบบุพเพสันนิวาสกับผู้ชายคนหนึ่งหรือชายคนรักอยู่ที่เวียงเก่า เมื่อได้อยู่คู่เคียงเรียงหมอนแล้ว ก็ได้หอบหิ้วเอาลูกทั้ง ๖ ของแม่แซว พร้อมเณรอิ่นแก้ว มาอยู่ที่วัดล้านทอง ให้ครูบาอยู่ในอุปการะของครูบาโปธิ โยมแม่แซวได้ใช้ชิวิตอยู่กับพ่อใหม่ คือพ่อนวล จนมีลูกด้วยกัน ๒ คน คนที่ ๑ ชื่อ พุฒ คนที่ ๒ เป็นผู้หญิงจำชื่อไม่ได้ ถึงแก่กรรมหมดแล้ว อยู่เวียงเก่าหรือเชียงแสน ปัจจุบันนี้ได้ ๕ ปี โยมแม่พร้อมครอบครัวได้อพยพกลับมาอยู่ที่บ้านดงอีกครั้ง เป็นครั้งที่ ๒ เพราะโยมพ่อใหม่ได้หย่าขาดจากโยมแม่ไปตอนนั้นครูบาอายุได้ ๒๓ ปี ก็ได้ทำการอุปสมบท ณ ที่พัทธสีมาวัดต้นยาง ต.หนองร่อง แขวงแม่จัน มีพระสิริยาเป็นพระอุปฌายะ พระอินไช วัดห้วยน้ำราก เป็นพระกรรมวาจา จำวัดอยู่วัดบ้านดง พระอ้ายซึ่งเป็นน้า เป็นเจ้าอาวาส ครูบาเมื่ออุปสมบทก็ได้ช่วยน้าซึ่งเป็นเจ้าอาวาส สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา ในที่สุดท่านครูบาอุปสมบทได้ ๓ พรรษา พระอ้ายได้ลาสิกขา ท่านครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านดง ตั้งแต่นั้นมา จนถึงอายุ ๕๐ ปี ได้พาเอาน้องและหลานทุกๆ คน มาอยู่ที่วัดบ้านแม่คำป่าถ่อน เมื่อพ.ศ.๒๔๘๕ ตอนนั้นทางวัดแม่คำป่าถ่อนมีเจ้าอาวาสอยู่องค์หนึ่ง ชื่อว่าพระดวงตา สนตาโน เป็นเจ้าอาวาสเมื่อมาอยู่วัดป่าถ่อน ทางเจ้าอาวาสก็ได้ยกขึ้นเป็นพระผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นที่ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการสร้างวัด บูรณะวัด ท่านครูบาก็ได้เป็นประธานการสร้างหลายๆ อย่าง เช่น พระวิหาร-กุฏิ-โรงครัว-ศาลาบาต-ศาลาการเปรียญ-เจดีย์-ปลูกต้นมหาโพธิ์-กำแพง-ห้องน้ำ-ห้องส้วม ตราบเท่าทุกวันนี้

ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

◉ งานที่สำคัญในด้านพุทธศาสนาและจริยาวัตร

  • ได้อบรมผู้เฒ่า ผู้แก่ ให้มาปฏิบัติธรรม นอนวัด
  • ได้จัดตั้งมูลนิธิสงฆ์ เพื่อการศึกษาธรรม บาลี ของพระภิกษุ สามเณร
  • ได้จัดตั้งโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมเป็นแห่งแรก
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการหล่อ พระพุทธรูป ระฆัง ปั้นก่อรูปพระ เจดีย์
  • เป็นพระธานสงฆ์จัดเข้าปริสวาสกรรม และรุกขะมูล ทุกครั้งเป็นลำดับมา
  • ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าถ่อน เมื่อพ.ศ.๒๕๐๒
  • ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน อ.ป.ต. เมื่อพ.ศ.๒๕๐๗
  • ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปฌายะ เมื่อพ.ศ.๒๕๐๙
  • ได้รับสัญญาบัตรพัดยศชั้นประทวน เมื่อพ.ศ.๒๕๑๖
  • ได้รับสัญญาบัตรพัดยศชั้นตรี เมื่อพ.ศ.๒๕๒๘

ครูบาเจ้าพระครูรัตนถิราจาร (ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปรุงยาแผนโบราณ พร้อมยันต์เทียนทุกชนิด ท่านครูบาเป็นผู้ที่เทศธรรมได้ไพเราะน่าฟังเช่น มัทรี นคร พุทธาภิเศก กถา-พัน สวดเบิก แข่งกลองแอว และท่านเป็นผู้บำเพ็ญสมณธรรมสม่ำเสมอ สมดังท่านได้เป็นครูบาพระเถระผู้อายุสูง เป็นที่เคารพสักการะแก่บรรพชิต คฤหัสถ์ ทั่วไปจนท่านสิ้นอายุไขยโดยอาการสงบในวิหารวัดป่าถ่อน เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๗.๑๐ น. ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๓ ค่ำ สร้างความโศกเศร้าอาลัย แก่ศิษยานุศิษย์ ลูกหลาน คณะศรัทธา พระสงฆ์ องค์เณร ในอำเภอเชียงแสน และใกล้เคียง เป็นอย่างมาก สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี พรรษา ๗๔

ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล วัดบ้านศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

◉ ด้านวัตถุมงคล
เหรียญรุ่นแรกของครูบาเจ้า อิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ปลุกเสกเดี่ยวโดยปลุกเสกเดี่ยวโดย ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล หลายวันหลายคืน จากนั้นจึงได้มีพิธี ปลุกเสกใหญ่ ในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๒๔โดยมีเกจิอาจารย์ร่วมกันปลุกเสก (ไม่รวมครูบาเจ้าท่าน) มีอยู่ ๘ รูป

เหรียญรุ่นแรก ครูบาเจ้า อิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล
เหรียญรุ่นแรก ครูบาเจ้า อิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล

จำนวนการสร้างเหรียญรุ่นแรกนั้นจำนวน ๑,๕๐๐ เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำทั้งหมด ได้ทำการตอกที่ด้านหลังเหรียญ จุดประสงค์ในการตอกนั้นก็เพราะว่า กลัวว่าจะมีของปลอมเกิดขึ้นในอณาคตจำนวนการตอกนั้นคณะกรรมการวัดได้ทำการตอกอยู่ ๕๐๐ เหรียญ เหลือเหรียญที่ยังไม่ได้ตอก ๑,๐๐๐ เหรียญ ในการสร้างเหรียญรุ่นแรกนี้ มีเพียงบล็อกเดียวส่วนพิมพ์ต่างๆนั้นแยกตามสภาพการปั๋มของเหรียญ

เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่ ครูบาเจ้านั้น ทันปลุกเสก เพียงเหรียญเดียวและก็ พระรอดอุดเกศา ของท่านนอกนั้น ครูบาเจ้าท่านไม่ทันปลุกเสก*

แต่ถ้าพูดถึงพุทธคุณนั้น ไม่ว่าจะพระเครื่อง-วัตถุมงคลของท่านครูบาเจ้าท่าน รุ่นไหนๆ ก็ตาม ล้วนมีพุทธคุณสูง เพราะจากประสบการณ์ของผู้ที่นำไปบูชานั้น ล้วนแต่ยอมรับในพุทธคุณของพระเครื่อง-วัตถุมงคลของท่านครูบาเจ้าท่าน

เหรียญรุ่น 2 ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล
เหรียญรุ่น 2 ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล

เหรียญรุ่น ๒ ความเป็นมาในการสร้าง เหรียญ รุ่น ๒ ของครูบาเจ้า อิ่นแก้ว กาวิโล ในตอนแรกนั้นทาง ครูบาเจ้าท่าน ได้สั่งให้จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นเพื่อที่จะให้เหรียญรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ๒ ของท่าน และเพราะว่าเหรียญรุ่นแรกนั้น เหลือน้อยแล้ว

ท่านครูบาเจ้าเลยสั่งให้คณะกรรมการวัด จัดสร้างเหรียญรุ่น ๒ ขึ้น ปี พ.ศ.ที่สั่งทำบล็อกและปั้มเหรียญนั้น อยู่ราวๆ ปี พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๓ โดยท่านครูบาเจ้าท่าน ได้สั่งให้ทำบล็อกที่หลังเหรียญเป็นวันที่ ๒๒มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖

ตอนนั้นไม่มีใครคิดหรือสงสัยอะไรว่าทำไมต้องเป็นปี พ.ศ.๒๕๓๖ คณะกรรมการวัดก็ทำตามคำสั่งครูบาเจ้าท่านทำบล็อกและปั้มเหรียญออกมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูบาเจ้าก็เกิดป่วยขึ้น โดยท่านไม่มีอาการบอกเหตุล่วงหน้าเลย อยู่ๆท่านก็ป่วยขึ้นมา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาพยายามพาท่านไปรักษา แต่อาการก็ไม่หายจนวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๗.๑๐ น. ท่านก็ได้สิ้นอายุไขยโดยอาการสงบในวิหารวัดป่าถ่อน(วัดศรีดอนมูล ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในปัจจุบัน)
สร้างความโศกเศร้าอาลัยให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและทุกคนในหมู่บ้าน รวมไปถึงทั้งตำบลศรีดอนมูล

หลังจากที่ท่านได้มรณะภาพไปแล้ว คณะกรรมการวัดเลยมานั่งจับเข่าคุยกันว่า เหตุผลที่ครูบาเจ้าท่านสั่งทำบล็อกข้างหลังให้เป็นวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ ๒๕๓๖ นั้น คงเป็นเพราะว่า ท่านครูบาเจ้า ท่านคงนิมิตเห็นวันที่ท่านจะสิ้นอายุไขยและวันที่พระราชทานเพลิงศพของครูบาเจ้าท่านในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ก่อนแล้วเลยอยากจะสร้างเหรียญรุ่นนี้ให้เป็น ที่ระลึกแก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยมและชาวบ้านเป็นครั้งสุดท้าย และเพื่อจะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่อผู้ที่มีไว้บูชา

จำนวนการสร้างเหรียญรุ่น ๒ นั้นได้จัดสร้างขึ้นเป็นจำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ
มีบล็อกในการสร้างเพียงบล็อกเดียวเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟทั้งหมด

ตะกรุด ๙ กุ่ม (แตกกุ่ม) ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล
ตะกรุด ๙ กุ่ม (แตกกุ่ม) ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล

ตะกรุด ๙ กุ่ม (แตกกุ่ม) ครูบาเจ้าอิ่นแก้ว กาวิโล วัดศรีดอนมูล ถือได้ว่าเป็นวัตถุมงคลที่ครูบาเจ้าท่านสร้างขึ้นเป็นตะกรุดเพียงรุ่นเดียว และหายากมาก ปัจจุบันตะกรุดที่เป็น ๙ กุ่มที่สมบูรณ์อยู่กับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในพื้นที่ ซึ่งท่านไม่มีทางปล่อยให้บูชา หนานโต้เสาะแสวงหาอยากได้มาครอบครองตั้งแต่เด็ก เหตุผลที่หายากอาจเนื่องด้วย สร้างน้อย และตะกรุด มีลักษณะคล้ายกับตะกรุด ๙ กุ่มของครูบาล้านนาทั่วไป ซึ่งถ้ามองภายนอกก็จะไร้จุดสังเกตต้องแกะตระกรุดออกดูยันต์ภายใน จึงจะสามารถยืนยันได้ว่าเป็นของครูบาเจ้าท่านจริง ในเรื่องของความเชื่อนั้น ตะกรุดรุ่นนี้ครูบาเจ้าท่านได้สร้างขึ้นก็เพื่อกันสิ่งไม่ดี ของ คุณไสย หรือกันภูตผี เนื่องจากในสมัยก่อนในหมู่บ้าน มีความเชื่อเรื่องผีกะ

บันทึกทำประวัติโดย สทธาธิโก (คำแก้ว แอ่นฟ้า) รองเจ้าอาวาสวัดป่าถ่อน จ.ต.ศรีดอนมูล เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าพระครูรัตนถิราจาร(ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโล)