ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อโชติ รุฬหผโล
วัดตะโน
ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
หลวงพ่อโชติ รุฬหผโล วัดตะโน พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิยาคมเข้มขลัง เจ้าของตำนานเชือกคาดเอวอันศักดิ์สิทธิ์
◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อโชติ วัดตะโน นามเดิมชื่อ โชติ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ปี พ.ศ.๒๔๑๗ บิดาชื่อ นายคง และมารดาชื่อ นางแสง ในวัยหนุ่ม ท่านมีนิสัยเป็นนักเลง ไม่เคยยอมใครง่ายๆ เลยเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นักเลงสมัยก่อนนั้น ต้องมีวิชาดีไม่อย่างนั้นเป็นนักเลงไม่ได้
◉ อุปสมบท
ครั้นเมื่อท่านมีอายุ ๓๔ ปี วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๑ ในขณะนั้นเกิดเบื่อหน่ายทางโลก ก็ได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดกระทุ่ม (ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์) และได้ศึกษาตำหรับตำราหลายแขนง อีกทั้งเมื่อออกพรรษา ก็ได้ธุดงค์ เพื่อหาโมคธรรม
หลวงพ่อโชติ ท่านเป็นพระร่วมสมัยกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักดี ท่านแก่พรรษากว่า หลวงปู่โต๊ะ ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงปู่โต๊ะ ท่านนับถือหลวงพ่อโชติมาก อีกทั้งยังได้ร่ำเรียนวิชาทำผงพุทธคุณกับหลวงพ่อโชติ จะเรียกง่ายๆ ว่า หลวงปู่โต๊ะ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อโชติ ก็น่าจะไม่ผิดอะไร หลวงพ่อโชติ เองท่านเคยเป็นนักเลงมาก่อนหลังจากที่ได้ได้ออกบวชก็ไม่สึกอีกเลย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นักเลงสมัยก่อนต้องมีวิชาดีไม่อย่างนั้นเป็นนักเลงไม่ได้
◉ มรณภาพ
หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ท่านถึงแก่มรณภาพลงเมื่อ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๑ สิริอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๕๐
◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลท่านสร้างเอาไว้หลายอย่าง ได้แก่ ตะกรุด เชือกคาดเอว พระเนื้อผง เหรียญ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเชือกคาดเอวของท่าน ซึ่งถือว่าเป็นเชือกคาดเอวที่มีความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีหลักเกณน์ในการพิจารณาที่ทำให้รู้ว่าเป็นของท่านแน่นอนไม่ผิดที่ผิดวัด
นอกจากนี้ยังมี เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อโชติ วัดตะโน สร้างปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นเหรียญรูปไข่ รูปเหมือนครึ่องค์ ด้านหน้าระบุชื่อหลวงพ่อและชื่อวัด ด้านหลังอักขระยันต์ เหรียญรุ่นสอง หลวงพ่อโชติ วัดตะโน สร้างปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นเหรียญเสมา รูปเหมือนเต็มองค์ ระบุชื่อ ชื่อวัด หลังยันต์ ระบุ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นเลขไทย
เชือกคาดเอวลายกระดูกงู หลวงพ่อโชติ ถือว่าเป็นเชือกคาดเอวที่มีความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ถักลายกระดูกงู หัวถักเป็นหัวตะกร้อ มีทั้งหัวเดียว และ ๒ หัว ซึ่งเชือกคาดเอวที่มีหัว ๒ หัวหายากมากๆ ท่านทำไว้น้อยมากนานๆ ถึงจะเจอสักเส้นนึง
○ กรรมวิธีการทำเชือกคาดเอว
ท่านจะนำเอาผ้าห่อศพ ที่ตายวันเสาร์ เผาวันอังคารกล่าวกันว่าเวลาเอาผ้าต้องใช้ปากคาบดึงมาจากศพ เมื่อได้มาแล้วจึงนำผ้ามาซักน้ำฝนกลางหาว แล้วนำผ้ามาฉีกเป็นริ้วๆ แล้วลงอักขระเลขยันต์ จนครบสูตร และทำการฝั้นเชือก แล้วถักขึ้นหัว จนถึงห่วง เป็นลายกระดูกงู ระหว่างถักนั้นหลวงพ่อโชติ จะบริกรรมคาถากำกับด้วย และเมื่อเสร็จแล้วท่านจะทำการปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง ตามประวัติที่ว่า ถึงขนาดปลุกเสกจนหัวเชือกเข้าไปในห่วงเองได้ หรือเชือกสามารถเคลือนไหวไปมาได้ บางครั้งนำเชือกไปใส่ในกองไฟ ถ้าไม่ไหม้ไฟถือว่าใช้ได้ได้ เสร็จแล้วท่านจึงมอบให้แก่บรรดาลูกศิษย์ไว้เพื่อป้องกันตัวเองในยามคับขัน
○ อิทธิคุณของเชือกคาดเอว
พุทธคุณเชือกคาดเอว ของท่านเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภูตผีปีศาจ กันงูเงี้ยวเขี้ยวขอและอสรพิษร้ายต่างได้วิเศษนัก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าถ้านำเชือกคาดเอวของท่านไปคล้องกับงู งูจะอ่อนแรงจนเลื้อยหนีไปไหนไม่ได้ บางท่านเล่าว่านำหัวเชือกคาดเอวของท่านมาใส่ในห่วงทำเป็นวงกลม แล้วนำไปครอบใส่ตะขาบ ตัวตะขาบจะไม่สามารถข้ามวงเชือกคาดเอวของท่านออกมาได้ จะเดินวนอยู่ในวงเชือกนั้น ยังมีเรื่องเล่าและประสบการณ์อีกมากมายที่ ลูกศิษย์ลูกหาของท่านเล่าให้ฟัง แต่ที่ห้ามนักห้ามหนาเป็นเสียงเดียวกันก็คือ ห้ามเอาเชือกคาดเอวของท่านไปตี ทำร้ายหรือเคาะหัวคนอื่น เพราะจะทำให้คนๆ นั้นเสียสติและเป็นคนวิกลจริตที่สำคัญรักษาให้หายยาก
ค่าครูของ หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ได้แก่ ดอกไม้ธูป เที่ยน บุหรี่ ไม้ขีดหนึ่งกล่อง หมากพลูสามคำ ค่าครู ๑ สลึง
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องค่าครูของท่านว่ามีหนุ่มชาวสวนคนหนึ่งยากจนมากไม่มีค่าครูแต่อยากได้เชือกคาดเอวของท่านมากจึงมาขอร้องให้ท่านทำให้ ซึ่งท่านก็เมตตาสงสารทำให้หนุ่มชาวสวนคนนั้นโดยไม่เอาค่าครู ทำให้ท่านผิดครูจนตาบอด แต่ลูกศิษย์บางท่านก็บอกว่าที่ท่านตาบอดก็เพราะว่า เมื่อตอนสมัยท่านเป็นหนุ่ม ท่านถูกคู่อริรุมตีแล้วใส่กระสอบฝังดินแต่ท่านก็สามารถใช้วิชาอาคมระเบิดดินออกมาได้ เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นต้นเหตุให้ตาท่านมาเสียในบั้นปลาย