วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน
วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

๏ ชาติภูมิ
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) นามเดิมชื่อ “เอนก อยู่สุข” เกิดเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ ที่บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ “นายเคน” และมารดาชื่อ “นางสี อยู่สุข” เป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวนพี่น้อง ๙ คน ครอบครัวมีฐานะปานกลางมีพออยู่พอกินไม่ขัดสน ต่อมา บิดาได้พาครอบครัวย้ายไปทำมาหากินที่บ้านเวียงเกษม ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

๏ การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท
พ.ศ.๒๕๐๐ จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านแขมเจริญ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ.๒๕๑๐ อายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบทที่วัดแสงเกษม ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูวิบูลย์ธรรมธาดา อดีตเจ้าคณะอำเภอเดชอุดม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ปีนี้สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.๒๕๑๑ มีความคิดว่าการเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้จิตใจสงบเยือกเย็น และเข้าถึงพุทธธรรมได้ จึงขออนุญาตกราบลาพระอาจารย์ไปศึกษาที่วัดหนองป่าพง ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (พระอาจารย์ชา สุภทฺโท) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาทั้งสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานและพระปริยัติธรรม ปีนี้สอบได้นักธรรมชั้นโท เนื่องจากวัดหนองป่าพงอยู่ในระหว่างการพัฒนา พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) จึงได้ช่วยครูบาอาจารย์พัฒนาวัดอย่างไม่ยอมเหน็ดเหนื่อย ขณะเดียวกันก็ฝึกปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานไปด้วย แต่ก็ยังไม่ทิ้งการเรียนพระปริยัติธรรม

พ.ศ.๒๕๑๓ สอบได้นักธรรมชั้นเอก

๏ หน้าที่การงาน
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เมื่อไดฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระโพธิญาณเถรแล้ว ก็ตั้งใจถือวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัยตามแบบอย่างครูอาจารย์ จนได้ชื่อว่าเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่ง ที่พระโพธิญาณเถร มีความเมตตาให้ร่วมเดินธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติขัดเกลาตนเอง พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เป็นศิษย์ที่กตัญญู ให้ความเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระ โพธิญาณเถรอย่างเสมอต้นแสมอปลาย มีความเพียรเป็นเลิศ มีวัตรปฏิบัติที่งดงามจนพระโพธิญาณเถรให้ ความไว้วางใจ

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

๏ ด้านการปกครอง
พ.ศ.๒๕๑๖ พระโพธิญาณเถรได้มอบหมายให้ไปดูแลวัดป่าไทรงาม ซึ่งเป็นวัดสาขาวัดหนองป่าพงที ๑๐ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าไทรงาม

นอกจากนี้ ยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ปกครองวัดสาขาอีกหลายๆ วัด ดูแลการจัดการบริหารในการพัฒนาวัดอย่างมุ่งมั่นจริงจัง จนเป็นหลักอีกวัดหนึ่ง ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ในทางสร้างสรรค์ ของการพัฒนา สนับสนุนการปลูกป่า สงเคราะห์การศึกษาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดูแลรับ ใช้คณะสงฆ์ จัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อบำเพ็ญประโยชน์อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) นอกจากนะเป็นพระภิกษุผู้มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ตามแบบอย่างของพระโพธิญาณแล้ว ยังเป็นพระนักพัฒนา นักสังคมสงเคราะห์นักอนุรักษ์ และนักศิลปะด้วยดังปรากฏผลงานที่สำคัญดังนี้

เป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งที่ประโพธิญารเถรให้ความเมตตาและไว้วางใจในความเสมอต้นเสมอปลาย สามารถเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์รูปอื่นๆ ได้ จึงส่งท่านไปดูแลวัดป่าไทรงาม ปกครองคณะสงฆ์และดูแลวัดสาขาอีกหลายวัดได้ปกครองพระภิกษุสามเณรตามแนวทางของพระโพธิญาณเถร คือ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย สอนคนด้วยการทำให้ดูโดยการปฏิบัติจริง ทำตนเป็นผู้เลี้ยงง่าย กินน้อย นอน น้อย พูดน้อย ปฏิบัติให้มาก ไม่ว่ากิจการงานใดๆ ในการพัฒนาวัดและชุมชน จะลงมือพาทำด้วยตนเอง ทำด้วยความเสียสละ ขยันและอดทนต่องานหนัก ถือว่าการปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม ทำให้พระภิกษุ สามเณรลูกวัดไม่อาจนิ่งดูดายได้ จึงทำให้กิจของสงฆ์ทุกอย่างลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย

เพราะความเป็นผู้เอาจริงในการปฏิบัติงานและปฏิบัติธรรม นอกจากจะได้รับความเคารพเชื่อฟัง จากพระภิกษุสามเณรลูกวัดแล้ว แม้ศิษย์ของพระโพธิญาณเถรรูปอื่นๆ ก็ให้ความเคารพศรัทธามาก จะเห็นได้จากงานสำคัญของวัดหนองป่าพง เช่น งานพระราชทานเพลิงศพของพระโพธิญาณเถร พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) ก็ได้รับความไว้วางในจากคณะสงฆ์ให้เป็นผู้ทำหน้าที่สำคัญคือเป็นผู้นำในการเก็บอัฐิธาตุบรรจุไว้ ในเจดีย์ เป็นต้น

๏ ด้านการศึกษา
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เป็นผู้เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงให้การสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
๑) ฝึกอบรมปฏิบัติธรรมแก่นักเรียน นักศึกษา และคณะครูอาจารย์จากโรงเรียนเดชอุดม วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร ฯลฯ ที่ลานปฏิบัติธรรมวัดป่าไทรงาม เป็นประจำทุกปี

๒) สร้างห้องจริยธรรมและลานปฏิบัติธรรมให้โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ๒๒๕ โรงเรียนเดชอุดม และวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

๓) จัดตั้งมูลนิธิหลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

๔) จัดตั้งกองทุนธรรมรักษ์ เพื่อส่งเคราะห์เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ กู้ยืม ไปใช้ในการศึกษาของบุตร

๕) แจกเสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน และรถจักรยานให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต ๕ จำนวน ๓๐ โรงเรียน

๖) ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมให้ดูร่มรื่นสวยงาม

๗) สร้างพระพุทธโพธิธรรมาภรณ์ พระพุทธรูปประจำวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม สำหรับให้นักศึกษา ครูอาจารย์ กราบไหว้ และทำพิธีทางพุทธศาสนา

๘) สร้างบ้านพักครูและหอกระจายข่าวให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

๏ ด้านการเผยแผ่
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่วัดหนองป่าพง และครูบาอาจารย์คือพระโพธิญาณเถรยึดถืออย่างเคร่งครัด ไม่สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างวัตถุมงคล การเสกน้ำมนต์ พ่นน้ำหมาก สั่งสอนให้เชื่อในหลักอิทัปปัจจยตา คือความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ให้เชื่อและหลงงมงายในเรื่องไสยศาสตร์และเดรัจฉานวิชา มุ่งพัฒนาพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านด้วยการใช้ธรรมเป็นเครื่องนำชีวิตและประเทืองปัญญา เพื่อให้เกิด ความสุข สงบอย่างยั่งยืน นอกจากจะได้แสดงธรรมตามวาระโอกาสต่างๆ ตลอดจนวันพระและวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาแล้ว พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) ยังได้เผยแผ่ธรรมดังนี้
๑) พ.ศ.๒๕๓๗ เดินทางไปเผยแผ่ธรรมที่ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ และ ประเทศสก๊อตแลนด์

๒) พ.ศ.๒๕๔๒ เดินทางไปเผยแผ่ธรรมและจำพรรษาที่วัดป่าสันตจิตตาราม (สาขาวัดหนองป่าพง) ประเทศอิตาลี

๓) ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติงานศพจะไม่สวดพระอภิธรรม แต่จะแสดงธรรมเตือนสติ และชี้แนวทางด าเนินชีวิตแก่ญาติผู้ยังมีชีวิตอยู่ให้คลายทุกข์เข้าใจในอนิจจัง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังขาร

๔) ในเทศกาลงานทอดกฐินวัดป่าไทรงาม จะงดมหรสพทุกประเภท แต่จะใช้การแสดงธรรมแทน พระภิกษุที่แสดงธรรม นอกจากพระครูนิโครธธรรมาภรณ์แล้วยังได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดสาขา วัดหนองป่าพงมาแสดงธรรมตลอดคืน

๕) จัดอบรมปฏิบัติธรรมระหว่างวันที่ ๒๗ ธันวาคม ถึง วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรมจะให้ทาน รักษาอุโบสถศีล เดินจงกรม นั่งสมาธิ บำเพ็ญเพียรภาวนา เป็นการ ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง การจัดอบรมปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ นอกจากเป็นการชี้นำแนวทางในการดำเนินชีวิต ให้มีสาระมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อต้านกระแสวัตถุนิยมของชาวบ้าน ที่เอาแต่สนุกสนานทางกาย มัวเมาลุ่มหลงอบายมุขในช่วงเทศกาลปีใหม่อีกด้วย

๖) ตั้งกองทุนพัฒนาการปฏิบัติธรรมของเยาวชน มุ่งเน้นความกตัญญู ขยัน ประหยัด เสียสละ ฯลฯ โดยเปิดบัญชีเงินฝากให้ผู้ได้รับทุนทุกคน

๏ ด้านสาธารณูปการ
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เป็นพระภิกษุผู้มีความเสียสละ และมีความเมตตากรุณา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข ดังหลักธรรมที่ยึดถือปฏิบัติตลอดมาว่า..

“…เรายอมหนักเพื่อให้ท่านเบา
เรายอมร้อนเพื่อให้ท่านเย็น
เรายอมหิวเพื่อให้ท่านอิ่ม…”

ดังนั้นตลอดชีวิตท่านจึงเป็นผู้ให้ตลอดมา ดังผลงานที่ปรากฏดังนี้

๑) เมื่อแรกที่พระโพธิญาณเถรให้มาอยู่ดูแลวัดป่าไทรงาม พื้นที่วัดมีเพียง ๑๘ ไร่ ต่อมาได้พัฒนาวัดตามหลักธรรมคำสอนของพระโพธิญาณเถร ผู้เป็นอาจารย์ที่ว่า “ให้พัฒนาคนก่อน แล้วคนจะสร้างวัดให้เอง” ดังนั้นทางวัดจึงไม่เคยเรี่ยไรหรือบอกบุญ มุ่งแต่ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมอย่างเดียว การพัฒนาวัดก็ใช้แต่กำลังพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่ จนชาวบ้าน และหน่วยงานราชการอื่นๆ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้ปวารณาตัวเข้าช่วยเหลือ จนกระทั่งพื้นที่ของวัดในปัจจุบันก็ขยับขยายออกไปถึง ๑๓๐ ไร่

๒) เดิมพื้นที่บริเวณที่ตั้งวัดเป็นทุ่งนา มีเพียงป่าละเมาะที่ขึ้นตามพื้นหินและดินทราบที่แห้งแล้งกันดาร ต้นไม้ใหญ่ไม่มี แต่ด้วยเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกล พระครูนิโครธธรรมาภรณ์ใช้ความเพียร ขยัน อดทน ปลูกไม้ป่านานาพันธุ์จนเต็มพื้นที่ เช่น ตะเคียนทอง พะยอม มะค่าแต้ มะค่าโมง ประดู่ แดง เต็ง รัง นนทรี ยางนา และที่มากที่สุดคือ ต้นไทร ท่านสามารถเพาะไทรด้วยเมล็ดได้เองซึ่งเป็นเรื่องที่คนอื่นทำได้ ยาก นำไปปลูกเป็นร่มเงา ประดับตกแต่งให้ร่มรื่น สวยงาม สมกับชื่อ “วัดป่าไทรงาม

๓) พ.ศ.๒๕๔๔ ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองราชย์ ครบ ๕๐ ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ ได้รับโล่และเข็มทองคำ พระราชทานจากสมเด็จ พระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๔) ปลูกป่าถาวรบนพื้นที่ ๑,๐๙๕ ไร่ในวัดสาขา ๑๔ วัดดังนี้
พื้นที่ในอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
(๑) วัดป่านาแก ๑๒๐ ไร่
(๒) วัดป่ารัตนโพธิ์ศรี ๓๐ ไร่
(๓) วัดป่าสุธรรมรังษี บ้านนานวล ๓๐ ไร่
(๔) วัดป่าห่องเตย ๒๐ ไร่
(๕) วัดป่าหนองน้ำขุ่น ๓๐๐ ไร่
(๖) วัดป่าบ้านหนองยาง ๗๐ ไร่
(๗) วัดป่าอัมพวัน บ้านนาเกษม ๓๐ ไร่
(๘) วัดป่าตะเคียนทอง ๑๐๐ ไร่
(๙) วัดบ้านไผ่ ๑๕ ไร่
(๑๐) วัดบ้านโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม ๑๓๕ ไร่
(๑๑) วัดป่าหนองกุง อำเภอตาลสุม ๘๐ ไร่
(๑๒) วัดป่าห้วยยาง อำเภอน้ำขุ่น ๑๕ ไร่
(๑๓) วัดป่าวังน้ำเย็น บ้านป่าไม้ อำเภอบุณฑริก ๕๐ ไร่
(๑๔) วัดป่าแสงธรรม บ้านหนองมะนาว อำเภอเมือง ๑๐๐ ไร่

๕) สร้างเสนาสนะเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติธรรมและกิจของสงฆ์ เช่นกุฎี ศาลา การเปรียญ ศาลาโรงทาน เมรุ ฯลฯ แต่ละแห่งจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ประหยัด เรียบง่าย คงทน ถาวร กุฎีบาง หลังปลูกสร้างด้วยตอไม้ ออกแบบได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ

๖) สร้างลานปฏิบัติธรรม สำหรับในอบรมธรรมะแก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตกแต่งด้วยต้นไทรอันร่มรื่น แกะสลักหินทรายหนักมากกว่า ๘ ตัน เป็นเสมาธรรมจักร แจกัน ดอกบัว พระพุทธรูป และแกะสลักหินศิลาแลงเป็นอาสนะสงฆ์ที่ ๖๐

๗) ขุดคลองรอบวัด ขนาดกว้าง ๘ เมตร ลึก ๔ เมตร เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สอยและเลี้ยงปลาหลากหลายชนิด นำดินที่ขุดขึ้นมากั้นเป็นคูโดยรอบแล้วปลูกไม้ยืนต้นอย่างแน่นหนา ให้เป็นที่อยู่อาศัยของนก ไก่ป่า กระรอก กระแต บ่าง ฯลฯ ใช้แนวต้นไม้ป้องกันฝุ่นและเสียงรบกวนจากภายนอก

๘) อนุรักษ์ขอนไม้ตะเคียนทองโบราณขนาดใหญ่หลายคนโอบ อายุหลายร้อยปี ซึ่งล้มนอนแช่ในลำน้ำโดมมากหลายชั่วอายุคน มาจัดแสดงไว้ที่ลานวัด พร้อมกันนี้ได้ชักลากขอนไม้และตอไม้ขนาดต่างๆ มาเก็บสะสมและตกแต่งได้อย่างสวยงาม จัดเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่ สนใจทั่วไป

๙) ตั้งกองทุนโคกระบือ เพื่อไถ่ถอนชีวิตโค-กระบือจากโรงฆ่าสัตว์ไปให้เกษตรกรผู้ยากไร้แต่มีคุณธรรมนำไปเลี้ยง ลูกโค-กระบือที่เกิดใหม่ส่วนหนึ่งให้ผู้เลี้ยง ส่วนหนึ่งนำมาคืนกองทุนเพื่อนำไปให้ เกษตรกรรายอื่น ขณะนี้กองทุนมีโค-กระบือ จำนวน ๗๖๕ ตัว

๑๐) กองทุนข้าวเมตตาธรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากไร้ และช่วยเหลือชาวบ้านเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ เมื่อเริ่มตั้งกองทุนมีเงิน ๓๓๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันมีข้าวจำนวน ๒๐๐ ตัน
๑๑)จัดทำโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียง ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเน้นการปลูกพืชปลอดสารพิษและใช้ปุ๋ยชีวภาพ

๑๒) ตั้งกองทุนสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรอาพาธ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรในวัดเครือข่ายที่ขาดแคลนค่ารักษาพยาบาล

๑๓) ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ไม่มีค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

๑๔) บริจาคเครื่องนุ่งห่มแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

๑๕) สร้างฐานปฏิบัติการให้แก่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ จำนวน ๒ แห่งคือ ฐานปฏิบัติการช่องนาง และช่องตาอู ในพื้นที่อำเภอบุณฑริก

๑๖) มอบสังกะสี จำนวน ๑๐๐ แผ่น ให้แก่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ เพื่อใช้ใน การก่อสร้างฐานปฏิบัติการบ้านแก้งเรืองและช่องโปร่งแดง อำเภอนาจะหลวยและมอบสังกะสีเพื่อใช้ในการ สร้างฐานปฏิบัติการในพื้นที่อำเภอบุณฑริกอีก จำนวน ๔๗๐ แผ่น

๑๗) มอบโอ่งน้ำขนาดบรรจุ ๑,๐๐๐ ลิตร ให้ฐานปฏิบัติการกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ จำนวน ๘ ใบ
๑๘) มอบปัจจัยในการเจาะบ่อบาดาลให้แก่ฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก้งเรือง มอบหอกระจายข่าวพร้อมชุดเครื่องขยายเสียงให้แก่ ฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

๏ เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ.๒๕๔๕ รางวัลชนะเลิศโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ได้รับโล่และเข็มทองคำ พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ.๒๕๔๖ รางวัลชนะเลิศโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติของวัดสาขาคือวัดป่าหนองขี้เห็นใหญ่ ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับโล่และเข็มทองคำพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

๏ สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิโครธธรรมาภรณ์

วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมศักดิ์

พระครูนิโครธธรรมาภรณ์” เป็น “พระราชภาวนาวัชรมุนี ศรีวิปัสสนาธุราทร มหาคณิสสรบวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดป่าไทรงาม จังหวัดอุบลราชธานี”

มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

๏ ธรรมโอวาท แนวคิดบางตอนที่เผยแผ่
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีความเพียรในการปฏิบัติ จึงเป็นผู้เข้าถึงธรรมอย่างลึกซึ้ง เผยแผ่ธรรมตรงไปตรงมาตามพุทธพจน์และคำสั่งสอนของครูบา อาจารย์ หลักธรรมและแนวคิดที่ได้เผยแผ่ ขอยกมาบางตอน เช่น

๑) พลังไฟส่องตา พลังปัญญาส่องใจ แสงสว่างเกิดจากดวงไฟ หากกระทบดวงตาของคน ทำให้ดวงตามืดมัวชั่วขณะ คิดอะไรไม่ออก การแก้ปัญหาที่ใช้อารมณ์จะขาดสติ ทำให้ไม่เห็นต้นเหตุของ ปัญหา จึงแก้ปัญหาได้ยาก แต่ถ้ารู้จักใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการแก้ปัญหา มีสติ รอบคอบ พิจารณา ใคร่ครวญสาเหตุของปัญหา แล้วค่อยแก้ไขไปทีละขั้นทีละตอน ในที่สุดก็จะแก้ไขปัญหานั้นได้สำเร็จ

๒) เรายอมหนักเพื่อให้ท่านเ บา เรายอมร้อนเพื่อให้ท่านเย็น เรายอมหิวเพื่อให้ท่านอิ่ม เป็นหลักธรรมที่สอนให้รู้จักเสียสละ การทำความดีต่อผู้อื่น การยอมลำบากเพื่อผู้อื่นได้ประโยชน์ เป็นการให้ ทานเพื่อลดละกิเลสของตนให้เบาบางลง
๓) ควายเป็นสัตว์ที่มีพระคุณต่อมนุษย์ การเลี้ยงควายตัวหนึ่ง จะได้ทั้งกำลังงานและปุ๋ยธรรมชาติ ใช้แรงควายจะประหยัดเงิน ไม่ต้องซื้อน้ำมันให้สิ้นเปลืองสิ่งแวดล้อมในไร่นาก็จะดีขึ้น ทุ่งนาจะอุมดสมบูรณ์ด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียว อาหารการกินไม่อดอยาก มีเหลือกินเหลือใช้ได้เผื่อแผ่แบ่งปัน อยู่ร่วมกันฉันพี่น้องอย่างเป็นสุข ในปัจจุบันชาวนาขายควายให้โรงฆ่าสัตว์ เพื่อเอาเงินไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ จ่ายค่าเล่าเรียนบุตร เพื่อใช้หนี้สินที่ไม่มีวันหมดสิ้นจึงยากจนตลอดชีวิต

๔) เรามีความผูกพันธ์กับต้นไม้และป่าไม้มาตั้งแต่เกิด ต้นไม้ให้ปัจจัยสี่แก่เรา ไม่ว่าอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยากรักษาโรค แม้ตายไปก็ยังอาศัยฟืน และถ่านเผาร่างกาย ดังนั้นเราต้องร่วมมือกันปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนทนตลอดไป

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

พระราชภาวนาวัชรมุนี (หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน) เป็นพระภิกษุผู้มีศีลจารวัตรและวัตรปฏิบัติที่งดงามยิ่ง เป็นศิษย์ของพระโพธิญารเถร (ชา สุภทฺโท) ผู้สืบทอดหลักธรรมคำสอนอย่างตรงไปตรงมา ยึดมั่นในคุณธรรมของความถูกต้อง ดีงามตามพุทธพจน์ มุ่งส่งเสริมและพัฒนาพุทธศาสนิกชนให้เป็นผู้รู้แจ้งด้วยปัญญา ไม่หลงงมงายในเดรัจฉานวิชา และไสยศาสตร์ ได้เผยแผ่ธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก เป็นพระนักพัฒนาและนักสังคมสงเคราะห์พร้อมกับการเผยแผ่ธรรม พัฒนาวัดป่าไทรงามให้ดูร่มรื่น ประดับด้วยก้อนหินใหญ่น้อยหนักหลายร้อยตัน ร่มเย็นด้วยคูน้ำและแมกไม้รายรอบเป็นผืนป่าขนาด ๑๓๐ ไร่ เป็นพระนักอนุรักษ์และปลูกป่าจนได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยาม บรมราชกุมารีให้ความเมตตาสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ ให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ตลอดจน หน่วยงานราชการต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพระนักศิลปะ แกะสลักพระพุทธรูปหินได้สวยงาม ต้องตาม ลักษณะพุทธศิลป์ ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ ด้วยผลงานที่ปรากฏและคุณลักษณะดังกล่าว จึงขอยกย่องเชิดชูเกียรติ พระครูนิโครธธรรมาภรณ์ เป็น “ปราชญ์เมืองอุบลราชธานี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/monkubon/wp-content/uploads/2022/10/MO09.pdf
มยุรี ทับทิมหิน. การวิเคราะห์ผลงานปราชญ์ท้องถิ่น พระเอนก ยสทินฺโน.สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, ๒๕๔๓. อัดสำเนา
อนันท์ งามสะอาด. ประวัติและธรรมวัจนะ หลวงพ่อเอนก ยสทินฺโน. งานเอกสารการพิมพ์ วิทยาลัยเทคนิค เดชอุดม. ๒๕๕๐.
สวงนศักดิ์ ไชยโพธิ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ นายบุญน้อย มุ่งงาม ผู้สัมภาษณ์ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ บ้านเลขที่ ๙๗ หมู่ที่ ๖ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี