ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต
วัดโนนสว่าง
อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) ท่านเป็นที่เคารพนับถือและยอมรับในวงการมาก เพราะเป็นผู้หนึ่งที่ผู้ศึกษา และสืบสานตําราวิทยาคมโบราณ เช่น เทียนพันน้ํามันหมื่น เป็นต้น จึงได้รับนิมนต์ ให้เป็นเจ้าพิธีสําคัญๆ ที่เน้นพิธีอีสานโบราณเสมอ รวมทั้งเป็นเจ้าพิธีในพิธีเถราภิเษกฮดสรงและสืบชะตา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ หนึ่งในคณะผู้ปฏิบัติ หน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ นั้นด้วย
นอกจากเป็นเจ้าพิธีดังกล่าว ยังเป็นเจ้าพิธีในพิธีพุทธาภิเษก แบบอีสาน โบราณอีกด้วย
หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต นั้นนามเดิมชื่อ เจริญ นามสกุล สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือน มิ.ย. พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ จ.อุดรธานี บิดาเดิม เป็นชาวอุบลราชธานี ชื่อ นายสงวน สารักษ์ มารดาเป็นชาวบ้านเขียงหวาง อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ชื่อ นางฮวด สารักษ์ เชื้อสายทางบิดาเป็นชาวอุบลราชธานี โดยกําเนิด เกี่ยวพันเป็นลูกหลาน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.หนองบัวลําภู
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน เป็นชาย ๘ คน หญิง ๒ คน เป็น โดย หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต คนที่ ๖
บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบุญญานุสรณ์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี โดยมี พระครูประสิทธิ์คณานุการ อดีตเจ้าคณะอําเภอหนองวัวซอ ธรรมยุต เป็น พระอุปัชฌาย์ ขณะเป็นสามเณรได้สนใจศึกษาหัดอ่านเขียนคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมอีสานกับพ่อใหญ่มั่น ผู้เฒ่าที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งสามารถอ่านเขียน และจารอักษรธรรมอีสานได้ และท่านผู้นี้เป็นฆราวาสที่มีอาคมด้วย จึงได้เรียนอักษรธรรม และอาคมบ้างพอประมาณ ต่อมาจึงสามารถอ่านเขียนอักษรธรรมล้านนา และอักษรไทยน้อยได้จนแตกฉาน และสามารถจารหนังสือใบลานได้ตั้งแต่บรรพชาไม่ถึง ๒ พรรษา
เรียนพุทธาคม
ความที่ไม่เข้าใจว่าทําไมชาวบ้านจึงนับถือภูตผีปีศาจ จึงศึกษาถึงที่มาที่ไปจน ผ่านไปหลายปี จึงทราบได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงให้เลิกนับถือสิ่งเหล่านั้นและให้ถือพระรัตนตรัยแทน จึงเริ่มสนใจในวิชาพุทธาคมและเริ่มศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาข้อความในคัมภีร์ ซึ่งต่อมาทําให้เป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระคัมภีร์อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระสูตร เรื่องราวในทางธรรมะต่างๆ ตํารายาแผน ไทยโบราณ ตําราดวงชะตา ตําราลง อักขระปลุกเสกต่างๆ ซึ่งได้ศึกษาพอประมาณ ต่อมาจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์สมพงษ์ หรือ พระธรรมสังวร วัดพระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เรียนวิชาลงตะกรุดโทนและวิชารักษาคนผู้ถูกมนตร์ทําร้าย เป็นต้น
และอาศัยอยู่กับ หลวงปู่โถน พระครูสถิตธรรมรัตน์ วัดโสกแจ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี ได้เรียนวิชาลง ตะกรุดหกกษัตริย์ และ ตะกรุดกบตายคารู และลงนะหน้าทอง และอีกหลายอย่าง
เป็นสามเณรอุปัฏฐากอยู่กับ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ํากลองเพล จ.หนองบัว ลําภู เป็นต้น
เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่เชียงคาน ณ วัดป่าสามัคคีอุปถัมภ์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย โดย พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ (พระครูสิริธรรมวัฒน์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยกิตติโสภณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุนทรนวกิจ วัดอรุณรังษี เป็น พระอนุสวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ฐานยุตโต” ในคณะธรรมยุต
เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปจําพรรษาอยู่กับ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่เมตตา หลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หลวงปู่ให้เรียน เอาวิชาเมตตาหลวง ตําราเลขยันต์ คาถา ลงตะกรุดโทน แคล้วคลาด ยันต์ตรีนิสิงเห และสอนให้บริกรรมธาตุ ดิน น้ํา ลม ไฟ นะ มะ พะ ทะ หลายปี
ต่อมาขณะจําพรรษาอยู่วัดป่าพรรณานิคม ได้พบ หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
เมื่อ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.หนองบัวลําภู มรณภาพลง ได้ มางานพระราชทานเพลิงศพท่าน และได้รับนิมนต์ให้อยู่ต่อ
ซึ่งต่อมา พระครูทธศาสโนวาท (ชาลี) เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง (ชื่อวัดในขณะนั้น) ถึงแก่มรณภาพลง จึงได้อยู่ช่วยงานศพจน ๆ แล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงอาราธนาให้จําพรรษาที่วัดนั้น และขอให้ช่วยพัฒนาวัดด้วย
เพราะเป็นวัดในอําเภอบ้านเกิด จนกระทั่งได้รับแต่งให้ดํารง ตําแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดศรีสว่าง เป็น วัดโนนสว่าง และจําพรรษาอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ตั้งแต่มาช่วยพัฒนาอารามแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลําดับ
เนื่องด้วยได้ศึกษาด้านพุทธาคมจนแตกฉาน เมื่อวันที่ ๕ ธ.ค. ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรในชื่อ “พระครูพิพัฒน์วิทยาคม”
พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) ก็ได้ใช้สรรพวิชาพุทธาคมที่ได้เล่าเรียนมาตั้งแต่ เป็นสามเณรช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปตามกําลังที่มี ส่วน การสร้างวัตถุมงคลและปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นได้ทําตามตํารับวิชาเทียนพันน้ำมันหมื่น จนทําให้วัตถุมงคลเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การนําไปสักการบูชา
สืบสานอาคมอีสานโบราณ
ในการปลุกเสกวัตถุมงคลของ พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) ในขณะปลุกเสกนั้น จะต้องนั่งบนอาสนะที่หล่อด้วยขี้ผึ้งแท้หนัก ๔ หมื่น หรือ ๔๘ กิโลกรัม และบริกรรมธาตุและพระคาถาด้วยลูกประคํางาช้างจํานวน ๒๑๖ ลูก และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้คือ ครุภัณฑ์ ซึ่งก็คือเครื่องบูชาพระรัตนตรัยชุดใหญ่ อันประกอบ ด้วยเครื่องบูชาตามตํารับโบราณหลาย ชนิด เช่น เครื่องพัน หมายถึงจํานวนละพันชิ้นและน้ํามันหมื่น อันได้แก่ น้ํามันหลายชนิด เช่น น้ํามันงา หรือน้ํามันยาง แบบโบราณแท้ ซึ่งทั้งหมดทั้งนั้นก็คือ เครื่องบูชาพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยโบราณ
กล่าวกันสืบๆ มาว่า ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงวิทยาคมสายอีสานโบราณจนถึง ผู้ทรงวิทยาคมทางฝั่งลาว หากจะเรียนสรรพวิทยาคมต่างๆ หรือจะลงประจุคาถาอาคมลงในวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นนั้น ต้องแต่งเครื่องบูชาด้วยเครื่องบูชาที่เรียกว่า เทียนพันน้ำมันหมื่น เมื่อแต่งเครื่องบูชาแล้ว จึงเริ่มทําพิธีมหาพุทธาภิเษกและลงประจุ อาคม ที่สําคัญต้องกระทําการในวันบุญมหาชาติเท่านั้น จึงจะได้วัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังมีอานุภาพเต็มเปี่ยมไปด้วย พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ
เทียนพันน้ำมันหมื่น
เทียนพัน ประกอบด้วยเทียนขี้ผึ้งแท้หนึ่งพันเล่ม ธูปพันดอก เมี่ยงหมากพันชุด บุหรี่พันมวน ดอกไม้ประกอบด้วย ดอกผักตบ ดอกบัวหลวง ดอกอัญชัน ดอกปีบ (ดอกก้านของ) ดอกโสน (ใช้ลําโสนมา แต่งเป็นดอกไม้) ดอกคัดเค้า ขันบายศรี ข้าวเหนียวปั้นพันก้อน กรวยกระทงใบฝรั่งพันกรวย เงินพันบาท ธงช่อ ธงหาง ข้าวคั่วตอกแตก จัดให้ได้อย่างละพัน และมีอีกหลายชนิดที่ไม่ขอกล่าวถึง
น้ํามันหมื่น โบราณใช้น้ํามันยาง หรือ น้ํามันงา หนักหนึ่งหมื่นใส่กระปุกหรือ ขวดแก้ว ทุกอย่างที่กล่าวใส่ลงในภาชนะ พานโตก หรือภาชนะจักสานขนาดใหญ่ ส่วนเทียนขี้ผึ้งห่อรวมกันไว้ด้วยผ้าขาวแล้ว พันด้วยด้ายฝ้ายดิบสีขาว ทุกอย่างรวม เรียกว่า ครุภัณฑ์ เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า นี่คือที่มาของคําว่า เทียนพันน้ำมันหมื่น ที่พระครูพิพัฒน์วิทยาคมใช้เป็นเครื่องบูชาพระธรรมในการพิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
พิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่างนั้น จะมีตําราสวดพุทธาภิเษกเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของ พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) เป็นสมุดไทย ๑ ชุด มีจํานวน ๔ เล่มใหญ่ มีชุดที่เป็นอักษรธรรมเขียนด้วยลายมือท่านเอง และชุดที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วยพระคาถามากมาย เป็นเอกลักษณะเฉพาะ
จึงสรุปได้ว่าพิธีพุทธาภิเษกจะต้องดําเนินไปด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และถูกต้องตามระเบียบแบบแผนตามแนวทางของผู้ทรงวิทยาคมอีสานโบราณ
ปัจจุบัน พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต) ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง อายุวัฒนมงคลครบ ๕ รอบ ๖๐ ปี (ในปี พ.ศ.๒๕๖๓)