วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อหอม จันทโชโต

วัดซากหมาก
อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม จันทโชโต) วัดซากหมาก พระเกจิผู้ทรงคุณวิเศษแห่งทะเลตะวันออก จ.ระยอง

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค วัดซากหมาก นามเดิมชื่อ “หอม ทองสัมฤทธิ์” เกิดวันจันทร์ เดือน ๑๐ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๓๓ บิดาชื่อ “นายสัมฤทธิ์” และมารดาชื่อ “นางพุ่ม ทองสัมฤทธิ์

มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน หลวงพ่อหอม เป็นคนสุดท้อง พี่ทั้งสองคนเป็นหญิง คนโตชื่อ “นางวอน” คนรองชื่อ “นางเชื่อม” เมื่อเยาว์วัยอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่บ้านเกิดของท่านเอง ส่วนในการศึกษาเบื้องต้นนั้นเป็นน่าเสียดายที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านได้ศึกษากับใครที่ไหน เพราะในสมัยนั้นโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญ เช่นบ้านเกิดหลวงพ่อ คงยังไม่มีตั้งขึ้นแน่นอน

การดำรงชีพของ หลวงพ่อหอม ในสมัยนั้นก็เป็นการช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่และเก็บของป่าขายในตัวตลาด ซึ่งการเดินทางไปตลาดบ้านฉางหรือตลาดสัตหีบในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะยังไม่มีถนนอย่างเช่นในปัจจุบัน ต้องอาศัยทางเกวียน ซึ่งผ่านป่าดงดิบ แวดล้อมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ถ้าเป็นฤดูฝนด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากเป็นทวีคูณ และคงจะเป็นเพราะว่าหลวงพ่อเคยมีชีวิตจำเจอยู่แต่ในป่าดงดิบนี่เอง จึงทำให้ท่านพยายามพัฒนาป่าให้กลับกลายเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยท่านเห็นว่าหากมีถนนตัดจากจากที่เจริญเข้าสู่หมู่บ้านได้เมื่อใด ความเจริญนั้นก็ต้องขยายตัวของมันเองตามถนนไปด้วยอย่างแน่นอน จึงได้ร่วมกับ นายหยอย สุวรรณสวัสดิ์กำนันตำบลสำนักท้อนคนก่อน ชักนำชาวบ้านช่วยกันตัดถนนจากบ้านฉาง เข้าไปจนถึงบ้านซากหมากระยะทาง ๑๒ กิโลเมตรจนสำเร็จ และถนนสายนี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นถนนสายอเนกประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์

เมื่อหลวงพ่ออายุครบ ๒๑ ปี ก็โอกาสทำหน้าที่ของลูกชายไทยอย่างเต็มภาคภูมิด้วยการได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในกองทัพเรือ ในสมัยที่ฐานทัพเรือยังตั้งอยู่ที่บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสังกัดอยู่หน่วยไหนและใครบ้างที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน ทราบแต่เพียงว่าในขณะที่ท่านรับราชการอยู่นั้นไม่เคยถูกลงโทษฐานกระทำผิดวินัยเลย ทั้งไม่เคยมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับบรรดาเพื่อนๆ ด้วย ตรงกันข้ามกับเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงทุกคน เพราะปกติท่านเป็นคนมีนิสัยเยือกเย็น สุขุมและโอบอ้อมอารีต่อทุกคนอยู่แล้ว

เมื่อรับราชการทหารครบ ๒ ปีทางราชการก็ปลดออกจากประจำการ จึงกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพที่บ้านสำนักท้อนตามเดิม และในช่วงนี้เองก็ได้แต่งงานกับ นางเจียม ซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกันนั้น และมีบุตรด้วยกัน ๓ คนคือ นายพิน ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่ง ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่น ทองสัมฤทธิ์

การครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนของหลวงพ่อ ได้เป็นไปอย่างธรรมดาเรื่อยๆ มาโดยพร้อมกันนั้นก็ได้พยายามถ่ายทอดวิชารักษาโรคต่างๆ จากบิดาไปด้วยจนมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากบิดาของท่านแต่อย่างใด แล้วก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา

◉ อุปสมบท
หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ อายุ ๓๖ ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมี หลวงพ่อขาว วัดทับมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺทโชโต

หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

เมื่อ หลวงพ่อหอม อุปสมบทใหม่ๆ ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้ จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นในฐานะอันเตวาสิกของ หลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่า แต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้นหลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลิศยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้ แม้หลวงพ่อชื่นเองก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆ ฟังว่า “อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ” และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น

เมื่อ หลวงพ่อหอม ได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไปอยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆ บ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจังจนบังเกิดผลดังที่ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น

นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้วก็ยังได้สร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำและอีกหลายๆ อย่างที่ท่านได้สร้างไว้

ด้วยความที่ หลวงพ่อหอม เป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราชอาณาจักรมากมายนี่เองจึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เป็นพระครูภาวนานุโยค ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๗ นับเป็นเกียรติยศ อย่างยิ่งแก่องค์หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากัน และในโอกาสนี้เองที่ หลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน (ชนิดสั้น) รูปปั้นเหมือน องค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น กับได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่น ๒ หน้านูนครึ่งองค์ ด้านหลังเหมือนกับเหรียญรุ่นแรก พร้อมกับแหวนทองแดงรูป เหมือน และแบบเดียวกับที่สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๘

อิทธิสุทธิ์ปาฏิหาริย์จากกรรมานุภาพของ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ดัง ได้กล่าวมาทั้งหมดโดยย่อๆ นั้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้มี “คุณวิเศษ” ที่ยากแก่การที่พระภิกษุธรรมดาจะมีได้ แต่หลวงพ่อก็มิเคยได้ปริปากอวดอ้าง “คุณวิเศษ” ของท่านกับผู้ใดด้วยตนเอง ความมหัศจรรย์ในวัตถุมงคล ของท่านก็ดี พฤติกรรมอื่นๆ ที่แปลกประหลาดก็ดี ล้วนเกิดขึ้นมาจากบารมีโดย แท้ของท่านซึ่งผู้อื่นได้รู้ได้เห็นกันเอง จึงได้เล่าลือกันต่อๆ ไป จากปากต่อปาก คนแล้วคนเล่า จนกระทั่งรู้กันทั่วทุกสารทิศ จึงมีผู้เดินทางเข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์ มากมาย ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งที่มีฐานะอันต่ําต้อยและรัฐบุรุษ โดย หลวงพ่อก็มิได้เลือกฐานะที่จะรับไว้เป็นศิษย์ ซึ่งมีปฏิปทาราบเรียบแก่ทุกผู้ทุกนาม เสมอเหมือนกันหมด เมื่อผู้ใดมาหาอย่างมีทุกข์ร้อนก็ช่วยปัดเป่าทุกข์นั้นด้วย เมตตาถ้วนหน้ากัน

ผู้เรียบเรียงมิกล้าที่จะยืนยันด้วยตนเองได้ว่า หลวงพ่อบรรลุถึง “อริยภาวะ” ระดับในเนื่องจากมิได้บรรลุธรรมภาวะเสมอเหมือนท่าน นอกจากศรัทธาในพฤติกรรมความเป็น “เหนือธรรมดา” ที่มีอยู่ในตัวท่านเท่านั้น และคิดด้วยปัญญาที่มีอยู่เพียงน้อยนิดว่า หลวงพ่อจะต้องเป็นพระสาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาอีกรูปหนึ่งที่ศึกษา “สัจจธรรม” และนา “พุทธเวทย์” มาใช้ปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นแน่แท้ วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเศกด้วยพุทธ เวทย์ที่ศึกษามา จึงได้บังเกิดความ “ขลัง” ให้มีผู้ได้ประสบดังได้กล่าวมาแล้ว ฝากไว้สําหรับ “ท่านผู้รู้จริง” ทั้งหลาย ได้โปรดวินิจฉัยความถูกต้องต่อไปด้วย

หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

◉ มรณภาพ
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค ได้อาพาธด้วยโรค ชราและมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ของวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ (นับตามวันเวลาสากล) ณ โรงพยาบาลอาภากร เกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมอายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๕๑และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ หลังจากท่านมรณภาพแล้วได้ ๓๗๕ วัน ณ. วัดซากหมาก หมู่ที่ ๒ ตําบลสํานักท้อน กิ่งอําเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอดนั่นเองและนับต่อจากนี้ไปสิ่งที่ยังเหลืออยู่ก็คือ และความศักดิ์สิทธิ์ ของท่านเท่านั้น

ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ ปีกว่าๆ สัจจธรรมจากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆ กันมามิได้ขาดสาย ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้

หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า, หลวงพ่อทวด, หลวงพ่อท่านคล้าย, หลวงพ่ออี๋, หลวงพ่อโอภาสี, หลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย, หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต, หลวงพ่อทิม, หลวงพ่อครูบาอินโต, หลวงพ่อถิร, หลวงพ่อเต๋, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อชื่น, พระอาจารย์ฝั้น และอื่นๆ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้และในยุคดังกล่าวนี้มีที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือนเป็น “ช้างเผือก” ในพุทธอาจักร นั่นคือ หลวงพ่อหอม แห่งวัดซากหมากซึ่งเป็นวัดเล็กๆ ทางจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย แต่กลับมีชื่อเสียงโด่งดังในทางคุณวิเศษระบือลือลั่นไม่น้อยไปกว่าบรรดาท่านผู้ทรงคุณวิเศษที่ได้กล่าวนามมาแล้วนั้นเลย

ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีสามัญที่จัดให้มีขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย เว้นเสียแต่ หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก จะอาพาธหรือติดศาสนกิจอย่างอื่นอยู่ก่อนเท่านั้นจึงไม่มีรายชื่อของท่านรวมอยู่ในมณฑลพิธีนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะในหมู่ผู้นิยมวัตถุมงคลทุกระดับ น้อยคนนักที่คงไม่ได้ยินกิติศัพท์ความเป็นเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์อย่างยอดเยี่ยมของท่าน จากวัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น สิงห์งาช้าง สีผึ้ง นางกวักงาช้าง ไซมงคล พระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทองแดงรูปเหมือน ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลอกเกตหรือตะกรุด ที่ล้วนแต่ให้คุณวิเศษแก่ผู้ที่มีไว้บูชาทั้งสิ้น

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้จัดให้มีงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษขึ้น เป็นพิธีใหญ่ที่สุดในพุทธอาจักรของโลก โดยมีการจัดทำพระเครื่องพระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆ ขึ้นไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก หลวงพ่อหอม แห่งวัดซากหมากก็เป็น ๑ ในจำนวนพระเวทอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ๑๐๘ รูป ที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาราธนาไปเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในมณฑลพิธี ณ.ท้องสนามหลวง ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลกเพื่ออนุโมทนาในการประกอบพิธีอันเป็นมหามงคลครั้งนั้นอย่างมืดฟ้ามัวดิน และด้วยเกียรติคุณอันสูงยิ่งของท่าน เมื่อท่านสำเร็จกิจกรรมในพระราชพิธีนั้นออกไปพักเป็นการชั่วคราว ที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม ก็ยังปรากฏว่าได้มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หลั่งไหลติดตามไปขอพร และวัตถุมงคลจากท่านมิได้ขาดสายจนศิษย์ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องขอร้องให้หลวงพ่อได้มีเวลาจำวัดพักผ่อนบ้างแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะตัวหลวงพ่อกลับพูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างยิ่งว่า “ช่างเขาเถอะลูก” และคำพูดคำนี้ภายหลังหลวงพ่อก็ได้ใช้เรื่อยมากับทุกๆ คนจนตลอดอายุขัยของท่าน

หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

เมื่อท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี อดีตเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แห่งคณะ น.๑๘ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน) กรุงเทพฯ ดำริจะหาทุนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดชะอำคีรี อำเภอชะอำ เพชรบุรี และสร้างกุฏิเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กับสร้างอุโบสถวัดดอนตัน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จึงได้ร่วมกับพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำพระแก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวิสาขบูชา ผ้ายันต์ธงชัย เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน จ. น่าน โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ซึ่งเป็นพระภิกษุบ้านนอกจากชายฝั่งทะเลตะวันออกก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่คณะกรรมการผู้ดำเนินงาน อาราธนาไปร่วมเป็นพระเวทยาจารย์ด้วย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๘ โดยครั้งนั้นพระอาจารย์กัสสปมุนีแห่งสำนักปิปผลิวนาราม อำเภอบ้านค่าย ก็ได้อาราธนาไปร่วมพิธีด้วย

การได้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญๆ ของหลวงพ่อหอมนี้ หากจะนำมากล่าวทั้งหมดทุกๆ ครั้งก็ดูจะเป็นการลำบากเหลือเกินเพราะมิได้มีศิษย์ใกล้ชิดท่านใดจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเลย จะสอบถามค้นคว้านำมาเขียนในที่นี้ก็มีเวลาจำกัด และเห็นว่าไม่เป็นเรื่องสำคัญมากนัก อภินิหารจากเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า จึงได้ใช้ความพยายามสอบถามหาผู้ที่เคยได้ประสบเหตุการณ์ จากอภินิหารของหลวงพ่อมาเขียนไว้แทน ซึ่งก็ได้รับคำบอกเล่าจากทั้งที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่และจากผู้ประสบเหตุมาจากตนเองแต่ละรายดังนี้

ในสมัยที่หลวงพ่อหอมกำลังก่อสร้างวัดซากหมากฯอยู่นั้น ท่านได้เดินธุดงค์มาจากวัดมาบข่า เมื่อปี๒๔๗๑ มีพรรษาเพียงสองพรรษาเท่านั้นสันนิฐานว่าท่านคงประสงค์จะมาเยี่ยมบ้านเกิดของท่านที่บ้านสำนักท้อน แต่เมื่อผ่านบ้านซากหมาก ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าดงดิบซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดเช่น ช้าง เสือ หมูป่า ลิง ค่าง และงูพิษอาศัยอยู่มากมาย มีบ้านเรือนอยู่เพียงไม่กี่หลัง คือครอบครัวนายแผน นายมาน นายแหว นายจิ๊ด นางนก และนายไพร หลวงพ่อได้พบกับบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่สองหลังทรุดโทรมจนเกือบใช้การไม่ได้แล้ว สอบถามชาวบ้านก็ทราบว่าเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งพระอาจารย์ล้าเคยอยู่มาก่อน แต่ได้ปล่อยให้เป็นสำนักล้างมาประมาณ ๑๐ ปีเศษ หลวงพ่อจึงตกลงใจที่จะฟื้นฟูสำนักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นมาให้ได้ จึงได้เข้าป่าไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขานางหย่อง เพื่อแสวงหาไม้ที่จะนำไปปลูกสร้างถาวรวัตถุของวัดที่ตั้งใจไว้ และในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ในถ้ำนั้น ก็ปรากฏว่ามี ช้าง เสือ และสัตว์ร้ายอื่นๆ มาวนเวียนอยู่ใกล้ท่านตลอดเวลา แต่ก็เป็นที่น่ามหัศจรรย์ที่สัตว์ร้ายเหล่านั้นหาได้เข้าทำร้ายท่านไม่ ตรงกันข้ามเมื่อนานๆ เข้ากลับปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเชื่องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสามารถพูดกับช้างป่ารู้เรื่องกันเป็นอย่างดี ถึงขนาดทำอะไรๆ ตามคำสั่งท่านได้

เมื่อท่านคัดเลือกไม้ที่ต้องการได้แล้ว จึงได้นำชาวบ้านขึ้นไปตัดโค่นจนได้จำนวนพอแก่ความต้องการ แต่ก็เกิดมีปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะชักลากไม้เหล่านั้นลงมาแปรรูปข้างล่างได้ เพราะเป็นระยะทางไกลถึง ๗ กิโลเมตร จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่ขึ้นมาช่วยตัดโค่นต้นไม้กลับลงมาที่สำนักสงฆ์ซากหมากก่อน เพื่อที่จะหาวิธีขึ้นไปชักลากไม้ลงมาจากเขานางหย่องให้ได้ แต่เมื่อได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านเป็นเวลาหลายวันก็ยังไม่พบวิธีที่ต้องการหลวงพ่อจึงย้อนขึ้นไปบนเขาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสำรวจดูเส้นทางให้ละเอียดเสียก่อนอีกครั้งหนึ่งพอหลวงพ่อไปถึงเชิงเขาก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าที่เชิงเขานั้นมีไม้ที่ตัดไว้บนเขาได้ลงมากองอยู่จนครบทุกท่อน กับได้เห็นรอยเท้าช้างป่าขนาดใหญ่รอบๆ บริเวณกองไม้และทางขึ้นเขาเปรอะไปหมดซึ่งต่อมาหลวงพ่อก็ทราบว่าเป็นฝีมือช้างป่าที่คุ้นเคยกับท่านจำนวน ๗ เชือก ช่วยกันชักลากมาไว้นั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ชาวบ้านได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในอภินิหาริย์ของหลวงพ่อและเริ่มบังเกิดความศรัทธาอย่างสูงมาตั้งแต่นั้น

เมื่อหลวงพ่อสร้างอุโบสถได้มีชาวบ้านใกล้ๆ วัดเข้ามาหาหลวงพ่อบอกว่าช้างป่าเข้าไปในไร่เก็บกินพืชผลที่เขาปลูกเอาไว้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก เขาจะยิงก็เกรงใจหลวงพ่อขอให้หลวงพ่อช่วยเขาด้วยเถิดเมื่อหลวงพ่อได้ทราบเช่นนั้นก็รับปากว่าจะช่วย และลุกเดินไปยืนบริกรรมอยู่สักครู่หนึ่งหน้าโบสถ์แล้วร้องตะโกนขึ้นว่า “ลูกหลานพญาฉัททันต์ อย่าไปเหยียบย่ำไร่ของเขาเลย เจ้าของเขาจะยิงเอาของเรามีอยู่แล้วในแปลงขวามือไปกินได้” ซึ่งภายหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีช้างเข้าไปรบกวนชาวบ้านอีกต่อไปเลย แต่ตรงกันข้ามกับของหลวงพ่อที่มีอยู่ใกล้ๆ วัดกลับไม่มีพืชผลเหลืออยู่เลย เพราะฝีมือช้างป่านั้นเอง

อีกครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อสร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวบ้านเอาไว้คือเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๑ ตอนนั้นหลวงพ่อบวชได้ ๑๒ พรรษาแล้ววันหนึ่งได้มีนายพรานช้างมาขอพักที่วัดและตอบคำถามของหลวงพ่อว่าจะมาล่าช้างในป่าแถบๆ นี้แต่เวลาใกล้คร่ำจึงขอพักเอาแรงที่วัดสักคืนก่อน หลวงพ่อก็อนุญาตให้พรานเหล่านั้นพักตามประสงค์แล้วหลวงพ่อเดินไปยืนบริกรรมที่หน้าโบสถ์สักครู่ก็ตะโกนขึ้นว่า “ลูกหลานพญาฉัททันต์ทั้งหลายวันนี้อย่าออกไปหากินไกลวัดมีคนเขาจะมายิงให้หากินอยู่ในบริเวณวัดนี้” เมื่อนายพรานออกป่าเพื่อล่าช้างก็ปรากฏว่าไม่พบช้างเลยแม้แต่ตัวเดียวเพราะช้างป่าเหล่านั้นได้ชวนกันมาหากินอยู่ภายในบริเวณวัดหมด นายพรานจึงต้องคว้าน้ำเหลวกลับไป

ต่อมาหลวงพ่อพร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๔ รูป ได้ชวนกันไปหากระเพรา ๗ อ้อม ด้วยการเดินธุดงค์เมื่อเดินทางไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อบอกว่าสงสัยจะเป็นเขตจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นท้องที่เดิมบางนางบวชในปัจจุบันได้พบศาลายกพื้นสูงมากหลังหนึ่งอยู่ในป่าทึบ มีหนังสือเขียนไว้มีข้อความว่า “ใครผ่านมาทางนี้เมื่อมืดแล้วให้ขึ้นไปอยู่ข้างบนเพราะมีสัตว์ชุกชุมมาก” แต่หลวงพ่อกลับบอกพระที่ไปด้วยกันว่าเราปักกลดกันอยู่ข้างล่างนี้แหละไม่ต้องขึ้นไปหรอก ทั้งหมดก็ปักกลดอยู่ข้างล่างนั้นเอง เมื่อปักกลดเสร็จหมดทุกองค์แล้วหลวงพ่อก็ได้เสกทรายซัดล้อมกลดไว้โดยรอบ และสั่งพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดว่าอย่าได้ออกไปนอกกลดเป็นอันขาดไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ชวนกันนั่งสมาธิเจริญภาวนาแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์โดยทั่วกันซึ่งในคืนวันนั้นปรากฏว่ามีสัตว์ร้ายหลายชนิดมาวนเวียนอยู่แถวรอบๆ กลดเหมือนกันแต่ไม่มีตัวใดเข้ามาทำร้ายจนรุ่งเช้าสัตว์เหล่านั้นก็หายไปในป่าหมด หลวงพ่อจึงได้ชวนพระที่มาด้วยกันเดินทางต่อไป

ในการเดินทางต่อไปในช่วงนี้ หลวงพ่อเล่าว่าเป็นป่าเขาโดยตลอดขนาดเดินทางมาสามวันแล้วยังไม่พบบ้านเรือนคนเลยแม้แต่หลังเดียวต้องอดอาหารกันทั้งสามวันจนกระทั่งวันที่สี่จึงได้สวนทางกับชาวบ้านคนหนึ่งหาบขนมจีนผ่านมาแล้วเอาขนมจีนนั้นถวายทุกองค์ได้ฉันกันจนอิ่มหลวงพ่อได้ถามชายคนนั้นว่า “ต่อจากที่นี่ไปอีกไกลไหมจึงจะถึงบ้านคน” ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า “พอพลบค่ำก็จะเห็นแสงไฟบ้านคน” แล้วเดินหายไปในป่านั้น หลวงพ่อจึงชวนพระที่ไปด้วยออกเดินทางต่อไปซึ่งตลอดทางที่เดินผ่านไปนั้นไม่พบบ้านคนเลยจึงน่าสงสัยว่าคนที่ถวายขนมจีนนั้นเป็นใครกันแน่ เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาจะอยู่แถวนั้นได้อย่างไรกัน จนกระทั่งเวลาพลบค่ำจึงได้พบบ้านคน จริงตามที่ชายคนนั้นบอกไว้ จึงชวนพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดปักกลดพักที่บริเวณใกล้ๆ กับหมู่บ้านนั้น และต่อมาก็เดินทางกลับวัดซากหมากฯ โดยไม่ได้กระเพรา ๗ อ้อมมาตามต้องการ เพราะไม่พบว่ามีอยู่ที่ใดเลย ส่วนเรื่องที่พบคนเอาขนมจีนมาถวายกลางป่าทั้งๆ บริเวณใกล้ๆ นั้นไม่มีบ้านคนเลยก็คงเป็นปริศนาให้แปลกใจอยู่ตลอดมา

สมัยอู่ตะเภามีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่ ได้มีฝรั่งนิโกร ซึ่งเป็นทหารนักบินคนหนึ่งมีเมียเช่าเป็นคนไทยภาคอีสาน ได้พากันไปหาหลวงพ่อที่วัด แล้วเช่าพระกริ่งรูปเหมือนของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวเป็นประจำ และมีอยู่ครั้งหนึ่งทหารฝรั่งนิโกรคนนี้ได้ถูกคำสั่งให้ขับเครื่องบินไปนครพนม แต่บังเอิญไปเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกระหว่างทาง เครื่องบินนั้นได้รับความเสียหายจนใช้การไม่ได้ ทหารที่ไปด้วยกันก็เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสกันทุกคน แต่ฝรั่งนิโกรซึ่งเป็นนักบินคนนี้ไม่ได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย จึงบังเกิดความเลื่อมใสหลวงพ่อเป็นอย่างมาก เมื่อมีโอกาสจะต้องมาหาหลวงพ่อที่วัดเป็นประจำ เมื่อวัดหลวงพ่อมีงานก็จะมาช่วยงานอย่างแข็งขันทุกครั้งไป เมื่อถูกส่งกลับไปอเมริกาแล้วก็ยังส่งเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่เนืองๆ

มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรักกรุงเทพฯ ยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆ ที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี “สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯ ซึ่งไปทอดที่วัดซากหมากฯ แล้วเช่า “สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า “ถ้ารังแกข่มเหงเขา สิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ

ตามธรรมดาทุกๆ ปี ที่วัดซากหมากฯ จะต้องมีงานประจำปีและมีอยู่ปีหนึ่งหลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นรุ่นแรก ได้มีทหารจำนวนหนึ่งไปเที่ยวงานและเช่าพระกริ่งนี้คนละองค์แล้วชวนกันไปหลังโรงเรียนวัดซากหมากซึ่งอยู่ใกล้วัดนั้นเอง เพื่อจะทดลองความศักดิ์สิทธิ์ดูให้แน่ใจ จึงได้นำเอาพระกริ่งของหลวงพ่อออกมาวางรวมกันแล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ก็ปรากฏว่ายิงกี่ครั้งๆ ก็ไม่ออก แต่เมื่อเบนปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออกทุกนัด ทหารเรือกลุ่มนั้นจึงกลับเข้ามาในวัดและขอเช่าเพิ่มกันอีกจนเงินหมดกระเป๋า เมื่อกลับไปแล้วยังได้บอกกล่าวให้บรรดาเพื่อนฝูงพากันมาเช่ากันไปไว้ประจำตัวอีกมากมาย และตั้งแต่นั้นมาเมื่อหลวงพ่อมีงานอะไรขึ้น บรรดาทหารเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบจะมาช่วยกันอย่างมากมายทุกครั้งไป

เมื่อนายสงั่น ไตร่ตรอง ได้เป็นกำนันตำบลสำนักท้อนใหม่ๆ เคยขับรถยนต์ไปธุระที่สมุทรปราการพร้อมกับลูกบ้านอีก ๘ คนแต่พอรถไปถึงโค้งบางปิ้งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโค้งผีสิง จะด้วยเหตุอันใดก็ไม่อาจทราบได้รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปหลายตลบ เผอิญมีตำรวจอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์เข้าคิดว่าจะต้องมีคนในรถได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายแน่ๆ จึงรีบวิ่งเข้าไปเพื่อจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน แต่เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพระไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดที่อยู่ในรถคันนั้นได้รับบาดเจ็บกันเลย ซึ่งต่อมาเมื่อมีการสอบถามกันขึ้นด้วยความสงสัย จึงทราบว่าทุกคนที่ไปกันในรถคันนั้นต่างก็มี “สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อหอมติดตัวกันทั้งนั้น

สิงห์แกะ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
สิงห์แกะ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อเข่ากว้าง หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปหล่อ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

การประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการใช้รถใช้ถนนแล้วไม่ได้รับอันตรายแก่ร่าง รายนี้ นายเก่ง เชื้อชาติ ซึ่งเป็นคนอยู่ใกล้กับวัดชากหมากคนหนึ่งก็ได้เคยประ ไปมาแล้ว โดยครั้งนั้นนายเก่งได้ขับรถไปธุระนอกบ้าน แต่พอรถไปถึงหน้าบริษัท ไทยวา จํากัด สาขาที่ ๕ รถที่นายเก๋งขับไปเกิดเสียหลักพุ่งชนต้นมะขามหน้าบริษัท จนรถพังไม่มีชิ้นดี แต่นายเก่งกับคนโดยสารอีก ๕ คนไม่มีใครได้รับบาด เจ็บกันเลยแม้แต่น้อย โดยทุกคนยืนยันว่าในวันนั้นต่างก็มีของดีของหลวงพ่อหอม ติดตัวไปด้วยทั้งนั้น คือบางคนก็มีเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อ บางคนก็มีสิงห์งา ข้างของหลวงพ่อ บางคนก็มีแหวนของหลวงพ่อ บางคนก็มีแหนบของหลวงพ่อ บางคนก็มีสมเด็จงาช้างของหลวงพ่อ และบางคนก็มีผ้ายันตร์ของหลวงพ่อ

รูปอัดกระจก หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
รูปอัดกระจก หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

วิทยาเวทย์ที่เป็นคุณวิเศษของหลวงพ่อหอมวัดซากหมากอีกประการหนึ่งที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยได้เรียนรู้มาก่อนคือ “การต่อชะตาดิน” ซึ่งคุณวิเศษนี้ก็เป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างมากทีเดียว คือ หากที่ดินของผู้ใดที่เคยอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการใดๆ มาก่อน เกิดอาการเสื่อมโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ดีเหมือนเดิม หรือกิจการบนดินนั้นเสื่อมโทรมลง หลวงพ่อก็จะไปทำพิธี “ฝังหิน” ให้ แล้วกิจการบนที่ดินแห่งนั้นก็จะกลับคืนเป็นคุณแก่เจ้าของดั่งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ซึ่งวิชาต่อชะตาดินนี้ได้เคยมีบรรดาศิษย์อยากจะเรียนจากหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็บอกว่าผู้ที่จะเรียนได้จะต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น และเมื่อเรียนแล้วก็จะต้องตั้งมโนปนิธาณด้วยว่า “จะบวชจนตายในผ้ากาสาวพัตร์” คือจะสึกออกไปครองเพศฆราวาสไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าผิดไปจากนี้แล้วจะต้องถูก “ฟ้าผ่า” ทันที จึงไม่มีใครกล้าพอที่จะเรียนต่อจากท่าน เพราะการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ใช่เป็นของง่ายนักที่จะประกาศตนว่าจะไม่สึกไว้ล่วงหน้า

เหรียญ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เหรียญ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เหรียญ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เหรียญ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เหรียญโบว์ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เหรียญโบว์ หลวงพ่อหอม จันทโชโต วัดซากหมาก อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

นอกจาก หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก จะเป็นผู้มีวิทยาคุณในทางเครื่องรางของขลังแล้ว ท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดอีกด้วย ทั้งนี้เพราะท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นแพทย์ประจำตำบล ในสมัยเมื่อท่านยังเป็นฆราวาสอยู่

ตามธรรมดาทุกๆ วันจะมีคนป่วยด้วยโรคต่างๆ มาหาท่านที่วัดเพื่อขอให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าโรคร้ายเหล่านั้นให้หาย วันหนึ่งๆ ถึง๔๐-๕๐ คน หลวงพ่อจึงเป็นพระภิกษุผู้ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง ทั้งที่เป็นคนไทย จีน แขกซิกส์ และฝรั่ง ดังจะเห็นได้จากเมื่อหลวงพ่อมรณภาพได้มีผู้หลั่งไหลกันไปเคารพศพของท่านอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในวันถวายน้ำสรงศพของท่าน เจ้าหน้าที่ได้จัดให้เรียงแถวกันเข้าไป ต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมงเศษจึงหมดคนที่ไปถวายน้ำสรงท่าน