วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ

วัดศาลากุน
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน พระเกจิชื่อดังเจ้าตำรับเครื่องรางของขลัง หนึ่งในชุดเบญจภาคี “หนุมานแกะ” อันโด่งดัง

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ นามเดิมชื่อ “สุ่น” เป็นชาวเกาะเกร็ดโดยกำเนิด แต่ไม่มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ดูจากปีที่มรณภาพและสิริอายุ ประมาณการว่าน่าจะเกิดในราวปี พ.ศ.๒๔๐๓-๒๔๐๔ เมื่ออุปสมบทได้ฉายา “จันทโชติ” แปลว่า “รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ” ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นสมภาร ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา เมื่อเป็นสมภารคลองวัด จึงให้ลูกศิษย์ขุดรากไม้รักและพุดซ้อนตากจนแห้ง ให้ช่างมีฝีมือแกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่องสวยงาม นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อสุ่นยังเป็นหนึ่งในพระคณาจาจารย์ผู้ลงอักขระบนแผ่นทองแดงใช้เป็นมวล สารในการจัดสร้างเหรียญที่ระลึก วัดราชบพิธฯ ครั้งที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๘๑) หลวงพ่อสุ่น เป็นสหธรรมิกของ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง โดยมีอายุมากกว่าหลวงพ่อกลิ่นประมาณ ๕ ปี

ในสมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด ท่านมีจริยวัตรที่ดีงามจนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน จวบจนเจ้าอาวาสมรณะภาพลง ชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งท่านขึ้นเป็นพระอธิการเพื่อครองวัดแทน ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา แม้จะไม่มีใครรู้ว่าท่านศึกษาเล่าเรียนมาจากไหนเนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปสอบถามจนท่านมรณะภาพลงไป แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกนั้นเล่าว่า ท่านกับหลวงพ่อกลิ่นวัดสะพานสูงนั้น รักใคร่กันมาก และมักจะไปมาหาสู่กันเสมอ อีกทั้งท่านยังมีเมตตาต่อผู้ที่มากราบไหว้ ใครเจ็บป่วยมาก็รักษาเยียวยาจนหายเป็นปกติ

ในสมัยที่ท่านยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้นำไม้สองชนิดคือ “ต้นรักซ้อน” และ “พุดซ้อน” มาปลูกไว้ในบริเวณวัด ท่านได้ทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวันจะกระทั่งไม้ทั้งสองนั้นโตได้ที่ และได้ฤกษ์งามยามดี ท่านจึงลงมือขุด โดยทำพิธีพลีก่อนขุด พอเสร็จท่านก็นำไปตากให้แห้งสนิท เมื่อได้ที่แล้วท่านก็ให้ช่างฝีมือแกะสลักหนุมาน เมื่อแกะเสร็จท่านก็รวบรวมหนุมานที่แกะเสร็จทั้งหมดใส่ลงในบาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวห่อหุ้มภายนอก เก็บไว้ในกุฎิ ครั้นพอถึงวันเสาร์ท่านก็ให้พระลูกวัดลูกศิษย์ของท่านยกเข้าโบสถ์แล้วทำพิธีบวงสรวงบัดพลี เสร็จแล้วท่านจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดานโบสถ์ทั้งหมด เพื่อทำการปลุกเสก และจัดเวรยามไม่ให้ไปรบกวนท่าน ซึ่งท่านจะทำการปลุกเสกทุกๆ วันเสาร์ และเอาไปปลุกเสกต่อในกุฎิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนกระบวนวิธี ท่านจึงนำมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์

◉ มรณภาพ
เมื่อราว พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน มรณภาพลง สิริอายุประมาณ ๗๘ ปี ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ นั้น หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง

◉ ด้านวัตถุมงคล
หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง “หนุมาน” ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฎเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา และ “หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน” นั้นนับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสม ไม่แพ้ “มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ” และ “เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการทีเดียว

หนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พิมพ์หน้าโขน
หนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พิมพ์หน้าโขน

หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น แบ่งได้เป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าโขน และพิมพ์หน้ากระบี่ “พิมพ์หน้าโขน” นั้น เรียกกันว่า “หนุมานทรงเครื่อง” คือจะเก็บรายละเอียดต่างๆ จนครบ มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก ส่วน “พิมพ์หน้ากระบี่” จะเป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครา แต่ก็คงความเข้มขลังงดงามในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีคาถากำกับหนุมาน เริ่มด้วยตั้งนะโม ๓ จบ แล้วว่า “นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห

มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดย พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา ท่านได้ไปหาหลวงพ่อสุ่น หลวงพ่อก็ให้ “หนุมานหน้าโขน” มาตัวหนึ่ง พร้อมบอกในเชิงว่า “ผ่านไปสักพักเรื่องเลวร้ายก็ผ่านไปด้วยดี” แล้วก็เป็นดังที่หลวงพ่อกล่าว กิตติศัพท์และชื่อเสียงของ “หนุมานหลวงพ่อสุ่น” จึงขจรไกลนับแต่นั้นมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก khaosod.co.th