วันเสาร์, 26 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อศรีสุข ปัญญาทีโป วัดห้วยแก้วหลวง อ.ภูกามยาว จ.พะเยา

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อศรีสุข ปัญญาทีโป

วัดห้วยแก้วหลวง
อ.ภูกามยาว จ.พะเยา

หลวงพ่อศรีสุข ปัญญาทีโป วัดห้วยแก้วหลวง
หลวงพ่อศรีสุข ปัญญาทีโป วัดห้วยแก้วหลวง

๑๐ กว่าปีที่เด็กหนุ่มแห่งเมืองพะเยา ได้ปล่อยจิตและชีวิตล่องลอยไปตามกระแสวนแห่งห้วงเหวลึก ดุจคนตาบอดโดยหารู้ไม่ว่ารอบ ๆ ตนนั้น เป็นปิศาจร้าย ที่คอยขย้ําย้ําเขี้ยวให้ลึกลงไปอย่าง หาที่สุดมิได้

เด็กหนุ่มผู้นี้ใช้ชีวิตที่โลดแล่นไปพักหนึ่ง เมื่อบุญและวาสนาตามมาถึงก็ทําให้หยุดชีวิตอันแสนเร่าร้อนนั้นได้

ด้วยการอุทิศตนเข้าสู่ร่มโพธิ์ทองแห่งพระพุทธศาสนา แล้วศึกษาพระธรรมวินัย มีการเรียนพระปริยัติธรรมเป็นปฐมบท

หลังจากช่วงชีวิตได้นําพามาถึง ทําให้พระภิกษุหนุ่ม ได้พบกับแนวทางการปฏิบัติธรรม ณ วัดศรีดอนไชย จ.เชียงใหม่

พระภิกษุรูปนั้นคือ ท่านพระอาจารย์ศรีสุข ปัญญาทีโป ท่านผู้นี้ได้ถือเอาแนวทาง ส่วนดีวิเศษของ หลวงพ่อโอภาสี แห่งสํานักอาศรมบางมดไว้พอสมควร
อดีตชีวิตก่อนเป็นพระภิกษุผู้เจริญสมณธรรม และพัฒนาความเจริญสู่ท้องถิ่น

ท่านพระอาจารย์ศรีสุข ปัญญาทีโป นามเดิมท่านชื่อ ศรีสุข สิงห์แก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๑ ปีมะโรง ณ บ้านห้วยแก้วหลวง หมู่ที่ ๓ ต.ห้วย แก้ว อ.เมือง จ.พะเยา เป็นบุตรของ นายหลวง และ นางมี สิงห์แก้ว อาชีพทํานาและสวนไร่ ท่านมีพี่น้อง ๔ คน ท่าน เป็นคนที่ ๓ พี่น้องเสียชีวิตหมดแล้ว

อายุได้ ๒๓ ปี ท่านได้เข้า บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดหย่วน ต.หย่วน อ.เชียงคํา จ.พะเยา เมื่อสอบนักธรรมโทได้แล้ว ก็ถูกจัดให้ดูแลวัดที่ว่างเจ้าอาวาสแห่งหนึ่ง จนเป็นเหตุให้ตนเองสอบนักธรรมเอกไม่ได้

ต่อมาได้เดินทางมาศึกษากรรมฐานกับ หลวงพ่อโอภาสี (อาศรมบางมด ฝั่งธนบุรี) เพราะในยุคนั้น หลวงพ่อโอภาสีมีชื่อเสียงโด่งดังมาก

ตลอดเวลา ๓ ปี ในการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ จากหลวงพ่อโอภาสี ทําให้เกิดความรู้ความสามารถพอสมควร

จากนั้นท่านได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ออกเผยแพร่ธรรมะ อบรมสั่งสอนในหลักสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้รับความไว้วางใจจากครูบา อาจารย์พระเถระและประชาชน เป็นอันมาก

การเดินทางไปสั่งสอนอบรมธรรมะแก่ญาติโยมนั้นตลอดเวลา ๑๖ พรรษา นับว่าได้ผลเป็นที่น่าปลื้มใจมาก

หลังจากหวนกลับถิ่นอันเป็นภูมิลําเนาเดิมนั้น ก็เป็นช่วงที่ สํานักสงฆ์บ้านห้วยแก้วหลวง กําลังเสื่อมโทรมอย่างมาก ประชาชนชาวบ้านไม่เอาใจใส่ดูแล มองดูสภาพแล้วเกือบจะร้าง

แม้แต่บ้านห้วยแก้วหลวงเอง ก็เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ห่างไกลความเจริญ ชาวบ้านก็ยากจน ผู้ร้ายก็ชุกชุม มองเห็นสภาพโดยทั่วไปแล้วเกิดสลดใจอย่างใหญ่หลวง
ท่านเดินเข้าหาพระพุทธปฏิมากรกราบลงด้วยจิตสลดสังเวช

ขณะนั้นจิตร่ำไห้ถึงกับสะท้าน อยู่ต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระศาสดา แล้วได้ตั้งปรารถนาว่า…
“บุตรแห่งพระองค์ ขอสละชีวิต ขอทุ่มเทกายใจทั้งหมด จะพัฒนาวัดวาอาราม ตลอดถึงจิตใจมนุษย์ และการเป็นอยู่ของญาติโยม ให้ดีขึ้นและขอบารมีพระพุทธ องค์เป็นพลังใจ…”

เมื่ออธิษฐานแล้ว ท่านก็เริ่มทุ่มเทชีวิตจิตใจจนสําเร็จทุกประ การดังนี้

๑. น้อมจิตใจบุคคลทั้งปวง ให้มองเห็นคุณค่าของความดี แล้ว มีการปฏิบัติบูชา เลิกละการเป็น โจร ทํามาหากินอย่างปกติสุข

๒. ได้กําลังคนมาช่วยกัน สร้าง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ที่เสื่อมโทรมให้เป็นสภาพดีปกติ และสร้างพระอุโบสถเพียง ๖ เดือน เท่านั้นสําเร็จได้

๓. พัฒนาหมู่บ้าน บ่อน้ํา พืชไร่ ปลูกผลไม้ ช่วยเป็นกําลังใจ ตรวจดูแลส่งเสริมการส่งพืชไร่ ไปค้าในเมือง โดยท่านได้ติดต่อสถานที่จากลูกศิษย์ในตลาดและลูกศิษย์ข้าราชการทั้งหลาย

๔. ปลูกยาสมุนไพร เป็นผู้ปรุงยาโบราณและเป็นผู้รักษาอาการโรคจนเป็นที่พึ่งของประชาชน ในยามบ้านเมืองไม่เจริญรุ่งเรือง
(ปัจจุบัน ก็ยังมีสวนสมุนไพร)

๔. ตั้งชมรมพัฒนาศิลปาชีพแก่เด็กหนุ่มและเด็กสาว ให้มีการเรียนรู้ด้วยวิธีการเย็บปัก ถักร้อย ตลอดถึงการทอผ้า จักสานสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้กระเป๋าต่าง ๆ แล้วส่งจําหน่ายเอารายได้ นั้นมาเป็นทุนแบ่งปัน จนชาวบ้าน มีฐานะดีขึ้น
โดยเฉพาะเด็กสาว ๆ มีสถิติลด ! ในการที่บิดามารดานํามา ขายเป็นสินค้ายังเมืองหลวง ต้องใช้ชีวิตที่ลําเค็ญและน่าอดสูได้มาก เป็นพัน ๆ คน
(ผลงานเช่นนี้น่าจะมีคนเห็น และน่าจะมีคําสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง)

ท่านหลวงพ่อศรีสุข ปัญญาทีโป ท่านเป็นพระที่พึ่งของประชาชนโดยทั่วไป มีเมตตาควรค่าแก่การกราบไหว้บูชายิ่งองค์หนึ่งแห่งจังหวัดพะเยา