วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน

วัดหนองจอก
อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน) แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่งในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง ท่านถวายตัวเป็นลูกศิษย์ตถาคตสืบทอดและเผยแผ่พุทธศาสนาตามแนวทางของพระศาสดาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน มีนามเดิมว่า “ยิด ศรีดอกบวบ” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๗ บิดา–มารดา ชื่อนายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ

◉ อุปสมบท ครั้งที่ ๑
อายุได้ ๒๐ ปี จึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดนาพรม โดยมี หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล วัดนาพรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “จนฺทสุวณฺโณ” แปลว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์

ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๖ บิดา–มารดา ชื่อนายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ

◉ ปฐมวัย
ในวัยเยาว์ โยมบิดา-มารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับ หลวงพ่อหวล วัดนาพรม ที่มีศักดิ์เป็นน้าของท่าน จนมีอายุได้ ๙ ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดนาพรม โดยมีหลวงพ่อหวล เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาอักขระสมัย อักขระขอม เลขยันต์ และแพทย์แผนโบราณ ภายหลังหลวงพ่อหวลได้พาไปฝากศึกษาต่อกับ หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน

พออายุได้ ๑๔ ปี ท่านได้ลาสิกขาบทออกมาช่วยโยมบิดา-มารดาประกอบอาชีพ เพราะครอบครัวย้ายไปประกอบอาชีพที่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะนั้นครอบครัวของท่านมีความลำบากยากจน ท่านจึงต้องช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

◉ อุปสมบท ครั้งที่ ๑
อายุได้ ๒๐ ปี จึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดนาพรม โดยมี หลวงพ่ออินทร์ วัดยาง (เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล วัดนาพรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “จนฺทสุวณฺโณ” แปลว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์

ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ทองศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น

จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๗ บิดาล้มป่วย จึงเดินทางกลับมา และลาสิกขาออกมาดูแล และได้แต่งงานมีครอบครัว

◉ อุปสมบท ครั้งที่ ๒
ท้ายที่สุด เมื่อบิดา–มารดาถึงแก่กรรม และด้วยจิตใจที่ใฝ่ทางธรรมและเห็นว่าบุตรของท่านเติบใหญ่เลี้ยงตนเองได้ ครอบครัวอยู่กินได้อย่างไม่เดือนร้อน ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้ง ณ พัทธสีมาวัดเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ และได้ไปจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย ตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี

อยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน ๒๑ ไร่ ๒ งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้สร้างวัดขึ้น

ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลของท่านมีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

วัตรปฏิบัติ ใน ๑ ปี หลวงพ่อยิดจะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิด จะมอบวัตถุมงคลให้นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

สำหรับปัจจัยที่ได้รับจะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของหลวงพ่อยิด

◉ มรณภาพ
แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน ท่านจึงมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๘ สิริอายุรวมได้ ๗๑ ปี พรรษา ๓๐

แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะและปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาลพระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนนักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

◉ ด้านวัตถุมงคล
ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อติดตัว ชื่อเสียงของหลวงพ่อจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่นในด้านเมตตาแคล้วคลาด เล่นหาบูชากันในวงกว้าง

พระเครื่องเมืองเพชรเมืองที่เคยขึ้นชื่อว่านักเลงในอดีต การสร้างเหรียญจะเน้นพุทธคุณด้านคงกระพัน มหาอุด รวมทั้งแคล้วคลาด และด้วยกระแสความนิยมความศรัทธาของลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณ

สําหรับ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงพ่อยิด สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๐ เพื่อเป็นที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดหนองจอก โดยการนําของ คุณลาวัณย์ ใบหยก และศิษย์ทางสายกรุงเทพฯ ตั้งใจที่จะสร้างจํานวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ เป็นเหรียญทรงเสมาด้านหน้ารูปหลวงพ่อยิดนั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านหลังมียันต์และเขียนรายละเอียดกับบอกปีที่สร้างเอาไว้

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

เมื่อปั้มเหรียญไปได้ไม่นาน แม่พิมพ์ด้านหน้าเกิดชํารุดจึงต้องแกะพิมพ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม ส่วนด้านหลังมีแม่พิมพ์เดียว จํานวนที่สร้างคือ เนื้อเงิน ประมาณไม่เกิน ๕๐ เหรียญ เนื้อทองแดง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ แบ่งเป็นบล็อกไม่มีกระเดือกจํานวน ๓,๐๐๐ เหรียญ บล็อกมีกระเดือกจํานวน ๗,๐๐๐ เหรียญ สําหรับเหรียญทองแดงจะมีทั้งทองแดงผิวไฟ และทองแดงรมดํา ทุกๆ เหรียญได้มีการตอกโค้ดเอาไว้ที่ด้านหน้าเหรียญตรงสังฆาฏิของหลวงพ่อ โดยเหรียญทั้งหมดหลวงพ่อได้ปลุกเสกให้ทั้งไตรมาส จึงได้นํามาแจกจ่ายต่อไป

อนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๓๒ มีงานทอดผ้าป่าที่วัดคณะกรรมการได้นําเหรียญรุ่นแรกจํานวน ๓๙ เหรียญไปชุบกะไหล่ทอง และมีการตอกโค้ดเพิ่มเติมอีกหนึ่งตัวที่ด้านหน้าเหรียญใต้อาสนะเหนือชื่อของหลวงพ่อ และได้นํามาแจกแก่ผู้มีอุปการะคุณต่อวัดหนองจอก ในขณะนั้น

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อ เมื่อท่านเริ่มแจกเพียงไม่นานก็ได้หมดไปจากวัด ผู้ที่นําไปบูชาติดตัวต่างเชื่อมั่นในพุทธคุณเป็นที่เชื่อถือกล่าวขานว่า ดีทั้งทางเมตตามหานิยม ค้าขายดี แคล้วคลาดปลอดภัย ยิ่งเรื่องคงกระพันชาตรี มีประสบการณ์เป็นที่เลื่องลือ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นหนึ่งในวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิด แห่งวัดหนองจอก พระเกจิอาจารย์วิชาอาคมเข้มขลัง ที่เป็นที่นับถือของศิษย์ทั่วทั้งเมืองไทย ต่อไปอีกนานเท่านาน