วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

ตำนาน ประวัติ หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

             กลางสายน้ำโขงแห่งนี้ มีตำนานเรื่องเล่าขาน ที่เป็นปริศนามานานนับร้อยปี แต่ด้วยพระบารมีแห่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะจมอยู่ใต้บาดาล ก็ยังบันดาลความร่มเย็นผาสุข แก่ชาวบ้านเสมอมา

ตำนานนั้นมีอยู่ว่า เจ้าสุก เจ้าเสริม เจ้าใส พระธิดาสามพี่น้องของพระมหากษัตริย์แห่งล้านช้าง มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ โดยมีพุทธลักษณะแบบล้านช้าง ช่างสกุลเวียงจันทน์ แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม พระใส

              โดยพระพุทธรูปมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ พระสุกนั้น เป็นพระประจำพี่คนโต พระเสริมประจำคนกลางและพระใสประจำคนสุดท้อง ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการมีชาวบ้าน และวัดช่วยกันยิ่งใหญ่ มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะเวลา ๗ วันแล้ว ทองก็ยังไม่ละลาย จนถึงวันที่ ๘ เวลาเพล เหลือเพียงหลวงตาสามเณรน้อยสุบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาวตนหนึ่ง มาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพล จะลงไปช่วย แต่เมื่อมองไป ก็เห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไป ก็เห็นเพียงชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จ คนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะทองทั้งหมด ถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้า แต่ไม่เห็นชีปะขาวเสียแล้ว หลังสร้างเสร็จ

ได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้าง แต่คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองจะนำพระพุทธรูปทั้ง ๓ ไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย จนเหตุการณ์สงบแล้ว จึงนำกลับมาไว้ดังเดิม

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น ที่เมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระบวรราช เจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้รับพระบัญชา ให้ยกพลมาปราบกบฏจนสำเร็จ และได้อัญเชิญ พระสุก พระเสริม พระใส มาประดิษฐานที่จังหวัดหนองคาย การอัญเชิญนั้น ได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้ง ๓ ไว้บนแพไม้ไผ่ ล่องมาตามลำน้ำงึม ได้เกิดเหตุอัศจรรย์คือ พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัด พัดแพจนเอียง ชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพ ไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ พระสุกได้แหกตาจุ่มลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆจึงหายไป แพซึ่งล่องข้ามแม่น้ำโขง มาถึงบริเวณปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า เวินพระสุก ตั้งแต่นั้นมา แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป จึงเหลือแค่คำว่า เวินสุก

แม้พระสุกจะยังคงเป็นปริศนากล่าวขาน ว่าจมอยู่ใต้ลำน้ำโขง แต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปล้านช้าง ที่งดงามยิ่ง และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก จึงมีการสร้างองค์จำลองขึ้น เพื่อให้สาธุชน ได้สักการบูชา

             กาลต่อมาจนถึงพุทธศักราชที่ ๒๕๕๒ ปริศนาพระสุก ได้ถูกเปิดเผยขึ้น ณ แผ่นดินยโสธร โดยพระอริยสงฆ์เจ้ารูปหนึ่ง ที่มีบุญบารมียิ่งนัก ได้ดูแลปกปักรักษาพระศุกร์ ให้อยู่รอดปลอดภัย ตลอดชีวิตของท่าน พระรูปนั้น คือ หลวงตาพวง สุขินทริโย หรือ พระเทพสังวรญาณ แห่ง วัดศรีธรรมาราม พระอารามหลวง ซึ่งนำความปลื้มปิติยินดี มาสู่ชาวบ้านชาวเมือง

บัดนี้ ได้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแห่งแผ่นดินยโสธร และให้ประชาชน ได้มีโอกาสกราบสักการะบูชาเป็นครั้งแรกการปรากฏขึ้นของพระสุก เป็นสิ่งมหัศจรรย์ใจของคนไทยทั้งประเทศ พระบารมีของพระสุก ยิ่งใหญ่เกริกไกรยิ่งนัก แรงศรัทธาของมหาสาธุชน ทั้งจากยโสธร และทั่วทุกสารทิศ ได้จัดพิธีอัญเชิญพระศุกร์ขึ้น เพื่อแผ่บารมี ทั่วแผ่นดินอีสาน และประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์หลวงตาพวง เจดีย์พระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม
หลวงพ่อพระสุก วัดศรีธรรมาราม

โดยอัญเชิญประดิฐษฐานไว้ ณ เจดีย์พระสุก ที่สร้างขึ้นอย่างงดงาม และสมพระเกียรติ ตามปณิธาน หลวงตาพวง สุขินทริโย ตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ ในค่ำคืน ได้มีพิธีพุทธาภิเษก เฉลิมฉลององค์พระสุกตลอดคืน

และเมื่ออรุณรุ่ง ข้าวทิพย์ที่พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นภัตตาหารมื้อแรก และครั้งแรกของการปรากฏขึ้นของประสุก บนแผ่นดินนี้ เจดีย์พระสุก ณ วัดศรีธรรมารามแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระสุก และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พระเทพสังวรญาณ ได้ถูกสร้างขึ้นจากแรงศรัทธา และจิตกตัญญุตาของชาวยโสธร และศิษยานุศิษย์ทั่วทั้งแผ่นดิน ที่มีต่อหลวงตาพวง สุขินทริโย หรือ พระเทพสังวรญาณ ผู้ที่ทำให้ชาวไทย ได้มีโอกาสเคารพสักการะบูชาพระสุก พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประโยชน์เพื่อความร่มเย็นผาสุก ของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย แม้หลวงตาพวง สุขินทริโย จะละสังขารไปแล้ว แต่พระราชนีและคุณความดีของท่าน ที่รักษาพระสุกให้เราได้กราบไหว้สักการะบูชา จะยังอยู่ในความศรัทธา ของพุทธศาสนิกชน ตราบนานแสนนาน