ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อพระมหาธนิต ปญฺญาปสุโต
สำนักปฏิบัติธรรมบ้านประโดก
อ.เมือง จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อพระมหาธนิต ท่านเป็นพระผู้มีความรู้ทางด้านการศึกษา พระธรรมวินัยที่สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค การศึกษาธรรมของท่านนั้น เป็นไปด้วยความวิริยะ อุตสาหะ แม้จะเป็นความทุกข์ด้วยการเงินขัดสนเจ็บป่วย ก็ต้องต่อสู้เพื่อการศึกษา แม้ครั้นเมื่อสําเร็จผล ตามที่ท่านได้ตั้งใจแล้ว เมื่อได้รับพัดยศไม่นาน ท่านก็ได้สละพัดยศ คืนต่อกรมการศาสนา
ในเรื่องนี้เป็นความฉงนงุนงงกันมาก เมื่อมีใครไปสอบถามท่าน ท่านก็ตอบให้ฟังว่า.. “ตราบใดที่ท่านยังไม่จบกิจ ท่านยังไม่พัก ณ แห่งใดเกิน ๗ เดือน”
คําตอบของท่านนี้ เป็นนัยอยู่ เพราะจิตใจที่แท้จริงของท่านนั้น ต้องการแสวงหาทางปฏิบัติภาวนา ฝึกจิตฝึกใจบําเพ็ญเพียรธรรม
ความที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว มุ่งประพฤติปฏิบัติธรรมของท่าน หลวงพ่อพระมหาธนิต นี้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ จากพระเถระผู้อาวุโสหลายท่าน อาทิเช่น เช่น หลวงปู่สุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลําพูน , หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี , หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.ชัยนาท
พระเถระตามที่กล่าวมานี้ ยกย่องว่า “พระองค์นี้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เจริญตามคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างน่าสรรเสริญยิ่งองค์หนึ่ง”
หลวงพ่อพระมหาธนิต ปัญญาปสุโต ท่านสละพัดยศในครั้งนั้นแล้ว ท่านได้ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ไปในภาคต่าง ๆ เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้ในธรรมปฏิบัติ เช่น ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก -ตก
สภาพของพระธุดงค์เช่นท่าน แม้ไม่มีใครรู้จักว่าท่านเป็น พระเปรียญ ๙ ประโยค แต่ก็มองเห็นเป็นพระหลวงตา หลวงลุง องค์หนึ่ง ซึ่งเปี่ยมล้นด้วยปฏิปทา
อันนิ่มนวล ต่างก็ได้สรรเสริญ ในความเคร่งครัดเด็ดเดี่ยว
บางโอกาส จะเห็นความอ่อนน้อมถ่อมตน สังวรกาย วาจา ใจ เข้าหมู่ฟ้องผู้ปฏิบัติธรรม ได้อย่างน่านิยม
หลวงพ่อพระมหาธนิต ปัญญาปสุโต นามเดิมของท่านชื่อ ธนิต ปุราถานัง เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ ปีกุน เกิด ณ บ้านเหล่าค้อ ต.นาเชือก อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม บิดาชื่อ นายทา ปุราถานัง และมารดาชื่อ นางเหง้า ปุราถานัง อาชีพหลักคือ การทํานา
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านได้ขออนุญาตบิดามารดา และเหล่าคณะญาติ ขอบวช ดังนั้นในปีนี้ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร โดย เจ้าอธิการเรือง พุทธปัญโญ เป็น พระอุปัชฌาย์
สมัยแรกในการบวชเป็นสามเณร ท่านยังไม่เข้าใจหลักธรรมมากนัก เพียงรู้จักการวางตัวเอง อยู่ในขอบเขตของศีล ในเพศสมณะเดียวกัน คอยกําหนด จดจําดูแบบอย่าง จากคนอื่นไปก่อน
ครั้นเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้าน เหล่าค้อ ต.นาเชือก อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมี เจ้าอธิการเรือง พุทธปัญโญ เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระอาจารย์จันทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ภายหลังจากบวชเป็น พระภิกษุธนิต ปัญญาปสุโต แล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้ เดินทางเข้ามาเรียนพระปริยัติ ธรรม ที่กรุงเทพฯ
แต่ก่อนเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ นั้น ท่านได้เข้าอยู่จําพรรษาใน สํานักต่าง ๆ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
ส่วนทางด้านเปรียญธรรมท่านได้เข้ามาศึกษา ณ วัดมหาธาตุฯ เรื่อยมา จนที่สุด เปรียญ ๙ ประโยค ท่านสอบได้จากสํานัก วัดชนะสงคราม การเดินธุดงคกรรมฐาน ท่านได้เริ่มไปทางภาคใต้ จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ ซึ่งเป็นขั้นปฐม การเดินธุดงค์ไปอยู่จําพรรษา ท่านได้เจริญสมาธิ ทําด้วยเพียรในธรรม เพราะท่านคิดอยู่เสมอว่า “การปฏิบัติธรรมเพื่อบุญกุศล”
นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อพระมหาธนิต ได้ไปอยู่จําพรรษาอีกหลาย ๆ สิบวัด แต่ละสถานที่นั้น ท่านจะอยู่จําพรรษาไม่เกิน ๑ พรรษา ท่านก็จะจากไป หมู่คณะพระภิกษุสงฆ์ ในพระบวรพุทธศาสนานี้ในเมืองไทย มีอยู่สองนิกาย คือ ธรรมยุต และ พระมหานิกาย
หลวงพ่อพระมหาธนิต บวชอยู่ฝ่ายมหานิกาย แต่ท่านเคยพูดอยู่เสมอว่า ใน “การประพฤติปฏิบัติธรรม ท่านไม่สนใจในนิกายอันใด จะเป็นวัดธรรมยุต หรือมหานิกาย ท่านอยู่ได้ทั้งนั้น อยู่เพื่อขอศึกษา เล่าเรียนธรรมะของพระพุทธเจ้า
แต่ละสํานักครูบาอาจารย์ ท่านก็ไม่เคยรังเกียจตัวท่านเลย ท่านอยู่อย่างสบาย ไม่มีทิฐิต่อกัน เพราะถือว่าศีล-ธรรม-พระวินัยอันเดียวกัน คําสอนออกจาก ปากของพ่อแม่คนเดียวกัน”
ขณะเดินธุดงค์ หลวงพ่อพระมหาธนิต ท่านกําหนดสติ ระลึกอยู่เสมอในเรื่อง ภัยของพรหมจรรย์ที่ เกิดอยู่กับท่าน ท่านจึงมีเหตุผลในการป้อง กันคือ
“ความรู้ทางโลก” นั้นท่าน ไม่คิดจะไปสอบเทียบวิชาทางโลก อีก….
“เงิน” มีแต่พออาศัยและไม่เก็บสะสม..
“สตรีเพศ” ท่านได้อธิษฐานใจไว้แล้วว่า “การเดินธุดงค์นี้ ออกมาเพื่อปฏิบัติธรรม ทำพระนิพพานให้แจ้ง มิได้ออกมาเป็นลูกเขยคน”
ฉะนั้น สติที่คอยควบคุมจิตใจท่าน จึงเป็นปกติ นี่เป็นสมัยที่ท่านเดินธุดงค์ในครั้งแรก
ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ท่านได้เดินธุดงค์มาพบกับสถานที่แห่ง หนึ่งเป็นป่าช้า ชาวบ้านเรียกว่า โนนโคกน้อย (บ้านประโดก) อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นป่าช้า หลวงพ่อพระมหาธนิต ปัญญาปสุโต จึงพักปักกลด บําเพ็ญสมณธรรม
สถานที่แห่งนี้สงบ น่าเป็นที่บําเพ็ญธรรมมาก เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ท่านจึงคิดสร้างเป็นสํานักปฏิบัติธรรมขึ้น
เมื่อคณะศิษย์ได้ทราบความ เช่นนั้น ก็ได้ช่วยกันก่อสร้างเสนาสนะขึ้น ต่อมาอุบาสก อุบาสิกา คณะญาติโยมใกล้ไกล ต่างก็ทราบข่าวอันมงคลนี้ ก็ได้ร่วม แรงร่วมใจ ก่อสร้างถาวรวัตถุ ขึ้นอีกหลายอย่าง จนสําเร็จความ ประสงค์นั้น
หลวงพ่อพระมหาธนิต ปัญญาปสุโต ก็ได้อยู่จําพรรษาเพื่อเป็นการ ฉลองศรัทธาแก่ชาวบ้าน ณ สํานักปฏิบัติธรรมบ้านประโดก (ป่าช้าโนนโคกน้อย) อ.เมือง จ.นครราชสีมา จนกระทั่งปัจจุบัน