วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ) วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ประวัติความเป็นมาทั้งหมด หลวงพ่อฤาษีลิงดํา ท่านได้เล่าไว้ว่า

วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ปีกุน เป็นวันที่หลวงพ่อปานได้ถือกําเนิดเกิดมา ณ บ้านบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยาฯ

บิดามารดาของท่านคือ คุณพ่ออาจและคุณแม่อิ่ม สุทธิวงศ์ เป็นชาวบ้านมีอาชีพทํานา อยู่ที่บ้านบางนมโคนั่นเอง

การตั้งชื่อบุตรชายของท่าน เหตุที่มีปานแดงตั้งแต่เกิด คือ มีปานแดงที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว มองดูคล้ายปลอกนิ้ว อันเป็นสัญลักษณ์ประจําตัว ของหลวงพ่อปาน คงจะเป็นด้วยเหตุนี้กระมังท่านจึงได้รับขนาน นามว่า “ปาน

ครั้นเติบโตมาพอที่จะบวชได้แล้ว บิดามารดาจะต้องส่งบุตรไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรมและท่องขานนาค

แต่หลวงพ่อปาน (สมัยเป็นฆราวาส) ยังมีความสงสัยในสตรีเพศ ไฉนจึงมีความดึงดูดจิตใจบุรุษเพศ ให้หลงใหลใฝ่ฝันยิ่งนัก..

วันหนึ่งโอกาสปลอดคน จึงเดินไปหาพี่เขียว ซึ่งเป็นหญิงรับใช้คนหนึ่งภายในบ้านท่าน

ท่านได้ขออนุญาตจับเนื้อ ของพี่เขียวสักหน่อย ฝ่ายพี่เขียวเห็นความบริสุทธิ์ใจของท่านก็อนุญาต

ท่านก็เลือกจับเนื้อหน้าอก ของพี่เขียว

เมื่อจับแล้ว ท่านก็มาจับเนื้อ ที่น่องของท่านดูบ้าง…

“มันก็เหมือนกล้ามเนื้อที่น่องของฉันนี่ ทําไมผู้ชายจึงหลงใหลนัก”

เมื่อหายสงสัยแล้ว ท่านได้ตั้งใจว่า“ถ้าบวชคราวนี้จะไม่สึก”

หลวงพ่อปาน ท่านเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ําเดือน ๕ ปีมะแม

โดยมีท่านหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์จ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์อุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “โสนันโท

หลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว หลวงพ่อปาน ก็ได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ โดยหลวงพ่อสุ่น ท่านเมตตาถ่ายทอดวิชาให้จนเกิดอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย ฤทธิ์ทางอภิญญานั้น หลวงพ่อปานมีความชํานาญเป็นพิเศษ

นอกจากนี้แล้วท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และในทุกตารางนิ้วที่เดินธุดงค์ไปนั้น ท่านประกอบด้วยสติครบถ้วนไม่หลงใหล โลกธรรม ๘ ประการ ถูกตัดขาดจากจิตใจของท่าน นอกจากการประพฤติปฏิบัติแล้ว ท่านยังเมตตาต่อหมู่มนุษย์-สัตว์โดยทั่วไป

ลักษณะการบําเพ็ญเพียร ของท่านหลวงพ่อปานนั้น ท่านได้น้อมรับคําสอนของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ซึ่งท่านได้พูดว่า

“ปาน เอ็งต้องจําไว้นะ เอ็งต้องบวชต่อไปจนตลอดชีวิตนะ เอ็งไม่มีโอกาสได้สึกหรอก บุญวาสนาบารมีของเอ็งมีมาก เอ็งบําเพ็ญบารมีมาเยอะแล้ว ชาตินี้เป็นการบําเพ็ญชาติสุดท้าย ต่อไปเอ็งจะเกิด โดยตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น”

หลวงพ่อปาน โสนันโท ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความคิดสร้างสรรในถิ่นต่าง ๆ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง แม้แต่บ้านบางนมโคเองก็ตาม หลวงพ่อปานไม่เคยเบื่อหน่าย ที่จะรับภาระกิจอันหนักหนานั้น ด้วยความเต็มใจยิ่ง

นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อปาน ยังได้เดินธุดงค์ไปโปรดคณะญาติโยมในจังหวัดไกล ๆ อีกหลายแห่ง แต่ละแห่งท่านได้ฝากฝังธรรมะให้แก่หมู่ชนได้ประกอบคุณงามความดี และได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ จะได้มีสถานที่ อบรมจิตใจ

ซึ่งคุณงามความดีที่ท่านได้สละไว้นั้น ทางฝ่ายบ้านเมือง ได้มอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่าน เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ ปีมะแม เป็นที่ “พระครูวิหารกิจจานุการ” โดยมี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ เป็นประธาน นําคณะมาถวายจนถึงวัดบางนมโค ตามพระบรมราชโองการ ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๗

หลวงพ่อปาน โสนันโท นอกจากจะเป็นพระนักเทศน์ฝีปากกล้า ปัญญาและไหวพริบว่องไวแล้ว ท่านยังเป็นพระนักเดินธุดงคกรรมฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นเครื่องระลึกฝังจิตใจท่านไว้ เป็นเสบียง

นอกจากนี้ หลวงพ่อปาน ยังเป็นนักพัฒนาที่มีความรอบรู้ในเชิงช่างอีกด้วย การสร้างพระอุโบสถ ศาลา หอฉัน หอสวดมนต์ กุฏิ ศาลาท่าน้ํา สะพาน ถนนหนทาง ดูเหมือนกับว่า หลวงพ่อปาน ท่านจะรอบรู้ไปหมดทุกอย่างเลยทีเดียว

ผู้เขียนเคยได้เรียนถามเรื่องนี้ จากท่านพระอาจารย์ชา สุภัทโท ท่านได้เมตตาอธิบายไว้ว่า…

“ปัญญา ที่เกิดจากความสงบ เกิดจากสมาธินี้ มันจะมีความเก่งกล้าไปหมดทุกอย่าง พูด คิด นึก ตรึกตรองอะไรต่างๆ ดูมันรอบคอบไปหมด นี่ปัญญาภายในตัวมนุษย์นี่มันรู้จริง ๆ

อย่างเครื่องบินที่วิ่งบินอยู่นี่ ทําจากปัญญาของคนใช่ไหมล่ะ แล้วมันเป็นเหล็กด้วย ทําไมจึง บินได้ นี่คนที่มันนึกคิดจากความสงบตรงนี้ เอาปัญญาตรงนี้ที่จะยกเหล็กให้บินไปไกล ๆ ได้นะ เก่งก็ต้องฝึกไว้ซี”

ก่อนที่หลวงพ่อปานจะถึง

กาลมรณภาพนั้น ท่านได้บอกกล่าวแก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายว่า “อีกสามปีอาตมาจะมรณภาพในวัน แรม ๑๔ ค่ํา เดือน ๘ เวลา ๖ โมง เย็น”

เมื่อครบกําหนดที่ท่านกล่าวไว้ ท่านเดินทางไปสั่งวัสดุก่อสร้างสะพานลาดชัน มีตะไคร่น้ําจับอยู่ ท่านจึงล้มลง คณะติดตามได้นําท่านกลับวัดทันที

วันแรม ๑๔ ค่ํา เดือน ๘ นับ ตั้งแต่เวลาเช้า-บ่ายและใกล้เวลา ๖ โมงเย็นลงทุกขณะ ทุกคนที่เฝ้าดูอาการของท่านนั้น มีแต่ความเงียบและน้ําตาเท่านั้น

ท่านได้สั่งกิจการงาน และ โอวาทธรรมแก่บรรดาศิษย์ พร้อมกับให้เร่งถามปัญหาได้ถ้าใครยัง สงสัย..!

ครั้งสุดท้ายเมื่อชีพจรหยุด ลมหายใจสิ้นลง ก็เป็นเวลา ๖ โมงเย็น นาฬิกาตีกังวาน ๖ ครั้งพอดี หลวงพ่อปานได้จากพวกศิษย์ทั้งปวงไปแล้ว เหลือไว้ซึ่งสิ่งก่อสร้างเป็นอนุสรณ์ไว้เบื้องหลัง

เป็นคติเตือนใจแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทให้เห็นคุณงาม ความดี ประโยชน์ตน ประโยชน์ ท่านไม่เห็นแก่ตัวกู ของกู ละความโลภ โกรธ หลง ทั้งปวง สมลักษณะ นิสัย พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้เจริญแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ตามคําตรัสสอนของพระผู้มีพระ ภาคเจ้าทุกประการฯ