วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม บ้านแก้งเหนือ จ.อุบลราชธานี

ประวัติและปฏิปทา พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม บ้านแก้งเหนือ จ.อุบลราชธานี

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม บ้านแก้งเหนือ จ.อุบลราชธานี

(พ.ศ. ๒๔๗๖) 

ชาติภูมิ 

พระบวรปริยัติวิธาน(บุญเรือง สารโท) นามเดิม บุญเรือง นามสกุล คำแดง เกิดวันที่ ๓๑ มีนาคม  พ.ศ.๒๔๗๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ ปีระกา ที่บ้านตาแหลว หมู่ที่ ๕ ตำบลเจียด (ปัจจุบันตำบลหัวนา) อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายหนู มารดาชื่อ นางจันทร์ คำแดง เป็นบุตรคนที่ ๑ ใน จำนวนพี่น้อง ๗ คน 

การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท 

เมื่ออายุได้ ๓ ขวบ บิดามารดาได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่บ้านอีเติ่ง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านอีเติ่ง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 

หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้ว ก็ช่วยบิดามารดาทำงานบ้านทุกอย่าง  

พ.ศ. ๒๔๙๑ บิดาพาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ศรีสว่าง บ้านตาแหลว โดยมี พระครูภัทรกิจโกศล เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาเสร็จกลับมาอยู่วัดโคกสว่าง บ้านอีเติ่ง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. ๒๔๙๒ ย้ายไปอยู่วัดยางกะเดา บ้านยางกะเดา ตำบลท่าเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานีที่วัดแห่งนี้ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และสอนได้นักธรรมชั้นตรี 

พ.ศ. ๒๔๙๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท 

เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดโพธิ์ศรี ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูภัทรกิจโกศล เจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เป็นพระอุปัชฌาย์เจ้าอธิการชา โชติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ จากนั้นได้ไปอยู่ที่วัดท่าบ่อแบง บ้านท่าบ่อแบง ตำบลขามเปี้ยอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๐๐ สอบได้นักธรรมชั้นเอกมุ่งมั่นบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน 

พ.ศ. ๒๔๙๓ ขณะที่เข้าไปนั่งสมาธิอยู่ในโบสถ์วัดยางกะเดา ได้เกิดปัญญาญาณขึ้นในดวงใจว่า  “การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารของข้าพเจ้าชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้ายของข้าพเจ้า การบวชครั้งนี้เป็นการบวชครั้งสุดท้าย ข้าพเจ้าจะไม่ลาสิกขาเลย” (พระมหาชอบ พุทฺธสโร, ๒๕๔๗) 

ด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจทุ่มเทปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างสุดชีวิต บางครั้งถึงกับทรมานตนจึงร่างกายผ่ายผอมด้วยการบำเพ็ญเพียรฉันภัตตาหารวันละมื้อ มื้อละ ๗ คำติดต่อกันนานถึง ๕ เดือน จนแพทย์ได้ขอร้องให้หยุดเกรงว่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต จึงได้กลับมาฉันภัตตาหารตามปกติ แล้วเริ่มฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างต่อเนื่องตามแนวเดินสายกลาง สำรวมระวังจิตให้ตื่นและมีสติระลึกรู้ในอิริยาบถต่างๆ กำกับตนเองไม่ให้ล่วงละเมิด แม้แต่สิกขาบทเล็กๆ ทำให้พลังจิตเข้มแข็งและแก่กล้าขั้นเรื่อยๆ 

การบำเพ็ญเพียรในครั้นนี้ ได้กำหนดอย่างเคร่งครัด คือ ๕ วัน ๗ วัน ๑๙ วัน และ๘๒ วัน ทุกครั้ง การปฏิบัติสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงตัดสินใจสอนผู้อื่นให้รู้ตามทั้งด้าน สมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนา กัมมัฏฐาน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา ที่มาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก การปฏิบัติก็ทำได้มากบ้างน้อยบ้างตามบุญบารมีของแต่ละรูปแต่ละคน 

พ.ศ. ๒๕๑๕ เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี จึงได้กล่าวคำสัจจปฏิญาณตน ท่ามกลางพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยมีพระครูเขมราฐเมธีเจ้าคณะอำเภอเขมราฐในขณะนั้นเป็นประธานว่าขอมอบกายถวายชีวิตอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จะไม่ลาสิกขาตลอดชีวิตด้วยเหตุ ๔ ประการคือ 

๑. เพื่อช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนา 

๒. เพื่อบำเพ็ญบารมีให้ยิ่งๆขึ้นไป 

๓. เพื่อตอบสนองอุปการคุณของบิดามาร และอุบาสิกา ที่ให้ความอุปการะ 

๔. เพื่อช่วยแบ่งเบาภารธุระของครูอุปัชฌาย์อาจารย์ในการบริหารงานพระศาสนา เต็มความสามารุตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่าที่สามารถจะทำได้ 

หน้าที่การงาน 

ด้านการปกครอง 

พ.ศ. ๒๕๑๒ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม ตำบลขามป้อม (ปัจจุบันคือตำบลแก้งเหนือ)  อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. ๒๕๐๓ รักษาการเจ้าคณะตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๐๕ เจ้าคณะตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๐๘ เจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม 

พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอุปัชฌาย์ ตำบลขามป้อม เนื่องจากทางราชการแบ่งการปกครอง ตำบลขามป้อม ลาออกจากเจ้าคณะตำบลขามป้อม และตำบลแก้งเหนือ 

พ.ศ. ๒๕๓๓ เจ้าคณะตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๓๘ รองเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ 

ด้านการศึกษา 

พ.ศ. ๒๔๙๖ ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกาวัดสวนตาล ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการ พืชผลจังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. ๒๔๙๗ ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดสว่างโพธิ์ศรี ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๐๒ ครูสอนพระปริยัติธรรม และเจ้าสำนักศาสนศึกาวัดพิชโสภารามและวัดลัฏฐยาวาส ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๐) ได้จัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมศึกษาทั้งชั้นตรี โท เอก ที่วัดพิชโสภาราม มาโดยตลอด 

พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์อำเภอเขมราฐ ให้เป็นภารธุระรับผิดชอบในการแยกหน่วยสอบธรรมสนามหลวง มาสอบที่วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จงถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๐) 

พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้เปิดเรียนและสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีและพระอภิธรรมขึ้นที่วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ 

พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นกรรมการสอบบาลีสนามหลวง ที่วัดมณีวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นประธานและผู้อำนวยการเปิดศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ที่ วัดพิชโสภาราม ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ 

พระบวรปริยัติวิธาน เป็นผู้ให้ความสำคัญในการปฏิบัติธรรมมากกว่าเรื่องอื่นใด เพราะเห็นว่า การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เป็นการเพิ่มความยุ่งยากให้กับชีวิตแต่เป็นการลดความยุ่งยากให้น้อยลง และหมดไป ใน การปฏิบัติธรรมจึงเป็นการดำเนินตามหลักของพุทธวิธีอันเป็นวิถีทางที่ถูกต้องและประเสริฐวิเศษสุด อันเป็นหลักยึดแห่งใน เป็นหลักชัยของสัตว์ทั้งหลายที่ใช้ก้าวสู่ทางแห่งสันติสุข สงบเย็นอย่างแท้จริง ท่านจึงจัด อบรมเผยแผ่การปฏิบัติธรรมตามหลักของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕  จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๐) มีผู้เข้าอบรมทั้งพระภิกษุ สามเณร แม่ชี ปะขาว อุบาสกอุบาสิกา รวมแล้ว มากกว่า ๑๐๕,๐๐๐ รูป/คน 

พระบวรปริยัติวิธาน เป็นผู้เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงจัดให้มี การเรียนการสอนธรรมศึกษาอภิธรรม และบาลี ภายในวัดพิชโสภาราม อำเภอเขมราฐ พัฒนาการเรียนการสอนจนได้รับรางวัลโรงเรียน พระปริยัติธรรม ดีเด่นของคณะสงฆ์ ภาค ๑๐ 

นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการศึกษา ดังนี้ 

พ.ศ. ๒๕๒๔ จัดตั้งกองทุนบุญนิธการศึกษา ประจำวัดพิชโสภาราม 

พ.ศ. ๒๕๒๖ จัดตั้งระบบเสียงตามสาย ภายในหมู่บ้านแก้งเหนือ บ้านเรืองอุดม และบ้านคำม่วง  เพื่ออำนวยความสุดวกในการศึกษา การบริการข่าวสาร การเผยแผ่ธรรมะและอื่นๆ 

พ.ศ. ๒๕๓๐ มอบเครื่องขยายเสียงให้แก่วัดต่างๆในเขตปกครอง และโรงเรียนประถมศึกษา กับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ ชุด 

จัดทำ โต๊ะ เก้าอี้ ให้แก่ โรงเรียนบ้านแก้งเหนือ ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ   จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน ๙๖ ชุด และอุปกรณ์การเรียนการสอนประกอบด้วย  กล้องถ่ายวิดีโอ (video) จ านวน ๑ เครื่อง เครื่องเล่นวิดีโอ จ านวน ๒ เครื่อง  โทรทัศน์สี National ขนาด ๒๐ นิ้ว จ านวน ๑ เครื่อง และม้วยวีดิโอสารคดี จำนวน ๘๙ ม้วน 

พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างห้องสมุดประจำโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร ชั้นเดียว 

พ.ศ. ๒๕๓๔ ประชุมสมาชิกสภาตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ เพื่อขอตั้งโรงเรียนมัธยมแก้งเหนือพิทยาคม โดยมีนายใบ การพันธ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเรืองอุดม ตำบลแก้งเหนือ บริจาคที่ดินจำนวน ๑ แปลง ขนาดเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๖ งาน จนสำเร็จโดยได้รับอนุมัติ จากทางราชการ 

มอบพระพุทธรูป ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว จ านวน ๒๐ องค์ ขนาดหน้าตัก ๑๕ นิ้ว  จำนวน ๙๐ องค์ ขนาดหน้าตัก ๓๐ นิ้ว จำนวน ๑๕ องค์ ให้แก่โรงเรียนทั้ง ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาต่างๆ ในเขตท้องที่อ าเภอเขมาฐและอ าเภอใกล้เคียง และมอบพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๓๐ นิ้ว จำนวน ๑๕ องค์ ขนาดหน้าตก ๔๐ นิ้ว จำนวน ๔ องค์ ขนาดหน้าตัก ๑ เมตร จำนวน ๓ องค์ให้แก่วัดต่างๆในเขต ปกครอง 

พ.ศ. ๒๕๓๕ มอบโต๊ะ เก้าอี้ ให้แก่โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จำนวน ๖๐ ชุด 

พ.ศ. ๒๕๓๙ บริจาคเงินช่วยเสริมอาคารเรียนให้แก่โรงเรียนแก้งเหนือและมอบหนังสือพระไตรปิฎกจำนวน ๔๕ เล่ม ให้แก่โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม 

พ.ศ. ๒๕๔๐ จัดหาผ้าสำหรับตัดชุดไทย เพื่อใช้ในงานศิลปวัฒนธรรมประเพณี เช่นงานแห่เทียนพรรษางานตรุษสงกรานต์ เป็นต้น โดยได้มอบแก่โรงเรียนบ้านแก้งเหนือ และโรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม 

พ.ศ. ๒๕๓๕-๔๐ช่วยค่าอาหารกลางวันแก่นักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 

ด้านสาธารณูปการ 

พระบวรปริยัติวิธาน เป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้รับความเคารพศรัทธาจากพระภิกษุ สามเณรตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป ได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนบริจาคทรัพย์ เพื่อขยาย พื้นที่ธรณีสงฆ์ให้กว้างขวางเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และก่อสร้างศาสนาสถานไว้สำหรับประกอบ กิจของ สงฆ์ รวมทั้งก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ดังนี้ 

พ.ศ. ๒๕๐๐ ช่วยเจ้าอาวาสวัดโคกสว่าง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ สร้างกุฏิด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสี ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๐๓-๐๗น าพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้าน สร้างอุโบสถต่อจากเดิมที่ ยังไม่แล้วเสร็จ ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕ ที่วัดพิชโสภาราม 

พ.ศ. ๒๕๐๖ น าชาวบ้านสร้างทำนบคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่แก่งนางลอยห้วยบังโกย ตำบลแก้งเหนือขนาดก้าง ๔ เมตร ยาว ๒๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๐๗ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ณ วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร นำชาวบ้านแก้งเหนือ บ้านเรื่องอุดม บ้านคำม่วง บ้านดอนเย็น บ้านดงเย็น บ้าน หนองบัว บ้านนาเจริญ สร้างถนนยกร่อง ลงหินลูกรัง เชื่อมระหว่างหมู่บ้านคำม่วง บ้านดอนเย็น บ้านดงเย็น บ้านหนองบัว บ้านนาเจริญ ระยะทาง ๙ กิโลเมตร และวัดพิชโสภารามได้ออกเงินเป็นค่าอาหารแก่แรงงานที่ช่วยสร้างถนน 

พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างศาลาการเปรียญที่วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๑๔ เมตรยาว ๓๐ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๐๙ นำชาวบ้านสร้างสะพานข้ามห้วยบังโกย จากหมู่บ้านคำม่วงเชื่อมกับหมู่บ้านดอนเย็น ฯลฯ ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นสะพานปูด้วยไม้ด้านล่างทำเป็นช่องระบายน้ำ และเป็นทำนบกั้นน้ำไว้ใช้ในหน้า แล้วด้วย 

พ.ศ. ๒๕๑๐ นำชาวบ้านสร้างทำนบกั้นน้ำที่หมู่บ้านแก้งเหนือ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ประธานรื้อโบสถ์เก่าแล้วสร้างขั้นใหม่ ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๑ เมตร ที่วัดบูรพาบ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ โดยเป็นช่างตัดหลังคาโบสถ์ ด้วยตนเอง 

พ.ศ. ๒๕๑๑ ประธานสร้างอุโบสถ์ ขนาดกว้าง ๖ เมตรยาว ๑๓ เมตร ที่วัดโคกสว่าง ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ โดยเป็นช่างตัดหลังคาด้วยตนเอง 

พ.ศ. ๒๕๐๒ สร้างกุฏิที่วัดพิชโสภาราม จำนวน ๖ หลัง แต่ละหลังมีขนาดเท่ากัน คือ กว้าง ๒.๕๐ เมตรยาว ๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๑๔ ประธานสร้างศาลาการเปรียญ ที่วัดสว่างอารมณ์ตำบลแก้งเหนือ ขนาดกว้าง ๑๐  เมตร ยาว ๑๘ เมตร และนำชาวบ้านสร้างสะพานข้ามห้วยบังโกยเชื่อมระหว่างหมู่บ้านแก้งเหนือ กับหมู่บ้านห่องไผ่ ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๗ เมตร คิดหาวิธีเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้น โดยทดลองทำดูเมื่อสำเร็จตามตั้งใจแล้ว ได้ออกหนังสือเชิญบุคคลสำคัญ ภายในหมู่บ้านตำบลแก้งเหนือ ตำบลขามป้อม ตำบลเจียด ตำบลหนองผือ มาดูการสาธิตวิธีเจาะ ตลอดถึงวิธีการแก้ปัญหา เช่น เมื่อแป๊บน้ำหรือเสียมเจาะขณะอยู่ในบ่อบาดาล เป็นต้น จนเป็นที่เข้าใจแล้วจึงนำไปเจาะที่บ้านตนเอง ทำให้การเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้น ได้แพร่กระจายไปจนเกือบทุกหมู่บ้าน ภายในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 

พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างกุฏิที่วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓ เมตร จำนวน ๘ หลัง 

พ.ศ. ๒๕๑๗ จัดหาที่ดินจำนวน ๑ แปลง ขนาด ๔ ไร่ เพื่อสร้างอนามัยประจำหมู่บ้านแก้งเหนือ 

พ.ศ. ๒๕๐๘ ประธานสร้างศาลาการเปรียญที่วัดศรีบุญนาค ตำบลขามป้อม ขนาดกว้าง ๑๒ เมตรยาว ๑๒ เมตร 

ประธานการสร้างศาลาการเปรียญที่วัดห่องไผ่ ตำบลแก้งเหนือ กว้าง ๑๑ เมตรยาว ๑๗ เมตร 

สร้างประปาบาดาลที่วัดพิชโสภาราม บ้านคำม่วงและบ้านเรื่องอุดม ตำบลแก้งเหนือ 

พ.ศ. ๒๕๑๙ ประธานการสร้างศาลากาเปรียญ ที่วัดนาแมด ต าบลแก้งเหนือ จำนวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร 

ประธานรื้อโบสถ์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลแก้งเหนือ แล้วสร้างใหม่ ขนาดกว้าง ๕  เมตร ยาว ๑๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างก าแพงรอบวัด ที่วัดพิชโสภารามขนาดสูง ๑.๘๐ เมตรยาว ๓๗๐ เมตร 

ประธานสร้างศาลาการเปรียญที่วัดนาเจริญ ต าบลขามป้อม ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๑ สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา ที่วัดพิชโสภารามขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร 

หาทุนซื้อที่ดิน เพื่อขยายเขตของวัดพิชโสภาราม จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ขนาด ๑๐  ไร่ และหาที่ดินแปลงนี้ ได้แบ่งให้ทางราชการสร้างสถานีอนามัย ประจำตำบลแก้งเหนือ บนเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่เศษ 

พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างห้องสุขา ขนาดกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๘ เมตร และสร้างก าแพงวัดพิชโสภาราม ขนาดสูง ๒ เมตร ยาว ๒๘๗ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๓ สร้างกุฏิที่วัดพิชโสภาราม จำนวน ๑๗ หลัง แต่ละหลังขนาด ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๕ สร้างอาคารเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๗ เมตร และสร้างกุฏิ จำนวน ๑๕ หลัง แต่ละหลังกว้าง ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๖ สร้างอาคารเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๑ เมตร และสร้างถังเก็บน้ำฝน ขนาดกว้าง ๒ เมตร สูง ๓ เมตร ลักษณะทรงกลม จำนวน ๑๓ ถัง 

พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๐ ชักชวนพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และชาวบ้าน บริจาคโลหิตให้ หน่วยกาชาดอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ไม่น้อยกว่า ๖๐ ขวด ขวดละ ๓๐๐ ซีซี เป็นประจำทุกปี 

พ.ศ. ๒๕๒๗ สร้างอาคารเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิชโสภาราม ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๑ เมตร และสร้างกุฏิขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร จำนวน ๓๐ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร ประเภทยกพื้นสูง เป็นแบบ ๒ เมตร สูง ๓ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๒๘ สละที่ดินของวัดปราณ ๔ ไร่เศษ เพื่อสร้างสถานีอนามัยประจำตำบลแก้งเหนือ 

พ.ศ. ๒๕๒๙ ซื้อที่ดินเพื่อขยายเขตของวัดพิชโสภาราม เพิ่มออกไปอีก จำนวน ๓ ไร่ และสร้างกุฏิจำนวน ๓ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างถังเก็บน้ำฝนด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กที่วัดพิชโสภารามขนาดกว้าง ๑.๒๐  เมตร สูง ๓ เมตร จ านวน ๒ ถัง และประธานการสร้างถังน้ าขนาด ๑,๒๓๙ ลูกบาศก์เมตร เพื่อกักเก็บน้ำประปา ประจำหมู่บ้านเรืองอุดม และหมู่บ้านคำม่วง อีกจุดหนึ่ง ขนาดกว้าง ๒ เมตร ๑๔ เมตร และสร้างกำแพงแก้ว รอบอุโบสถวัดพิชโสภาราม ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด สูง ๑.๒๐ เมตร ยาว ๑๖๘ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างกุฏิทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียว ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้อง  พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๑๓ เมตร สูง ๑๒ เมตร 

พ.ศ. ๒๕๓๓ ประธานสร้างอาคารเจียระไนพลอยและเย็บผ้า จ านวน ๑ หลัง ที่วัดพิชโพภาราม  ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๗ ชุด เพื่อใช้ในการฝึกวิชาชีพแก่เยาวชน 

พ.ศ. ๒๕๓๕ สร้างกุฏิที่วัดพิชโสภาราม จำนวน ๙ หลัง แต่ละหลังมีขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔  เมตร 

พ.ศ. ๒๕๓๖ ติดตั้งฝ้าเพดานศาลาการเปรียญ ที่วัดพิชโสภาราม พื้นที่ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างด้วยวัตถุยิบซั่มบอร์ดกันความร้อน และเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้นให้แก่ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม 

พ.ศ. ๒๕๓๘ ปรับปรุงตกแต่งห้องปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานใหม่ ภายในเขตวัดพิชโสภาราม เช่น สร้างกุฏิเพิ่มเติม สร้างห้องน้ำห้องสุขา สร้างถังน้ำ สร้างหอถังน้ำ เจาะบ่อบาดาล ขนาด ๔ นิ้ว ลึก ๔๐ เมตร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เดินสายไฟ และตัดถนนภายในใหม่ เป็นต้น 

องค์ความรู้ที่สำคัญ 

นอกจากการทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ดังกล่าวมาแล้ว พระบวรปริยัติวิยังให้หลักธรรมคำสอนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถนำไปปฏิบัติได้ดีงาม เข้าใจง่าย ดังข้อความบางตอนว่า 

…เกิดเป็นคนขอให้ทำตนเหมือนแผ่นดิน จึงจะอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อนแผ่นดินเป็นที่รองรับของสรรพสิ่ง และพรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ ก็ต้องอาศัยแผ่นดิน เป็นที่ตั้งอยู่ แผ่นดินเป็นของไม่มีวิญญาณ จึงไม่มีความทุกข์ ความน้อยใจ ในการที่ตนเองเป็นที่รองรับสรรพสิ่งฉันใด ในตัวของเรานี้ก็เหมือนกัน ใจนี้เปรียบเหมือนแผ่นดิน อารมณ์ทั้งปวงเปรียบเหมือนสรรพสิ่ง อันอาศัยใจเป็นที่เกิด ถามใจของเราไม่ยินดียินร้ายในสรรพอารมณ์แล้วใจเราก็ย่อมเปรียบได้เหมือนแผ่นดิน เพระเป็นปกติในสรรพอารมณ์แล้วใจเราก็ย่อมเปรียบได้ เหมือนแผ่นดิน เพราะเป็นปกติในสรรพอารมณ์เหมือนแผ่นดินเป็นปกติต่อสรรพสิ่ง ฉันนั้น… (พระมหาชอบ พุทธสโร, ๒๕๔๗ : ๕) 

สมณศักดิ์ 

พ.ศ. ๒๕๑๕ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูวิศาลเขมคุณ 

พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชาคณะชั้นสามัญที่พระบวรปริยัติวิธาน 

พระบวรปริยัติวิธาน เป็นผู้เกิดมาเพื่อพระพุธศาสนาอย่างแท้จริง นับตั้งแต่ท่านได้ อุทิศตนเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม มีปฏิปทา ที่น่าเลื่อมในเป็นที่รักของพระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระ ธรรมวินัย กระทั่งเรียนจบนักธรรมชั้นเอก เป็นครูสอนปริยัติธรรมมาโดยตลอด และเป็นพระภิกษุผู้สวดปาฏิ โมกข์ได้ ซึ่งใช้เวลาท่องจ าเพียง ๑๒ วัน เท่านั้น 

ด้วยปณิธานและความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะธำรงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ได้ส่งลูกศิษย์ ไปศึกษาพระอภิธรรมและบาลี จนสำเร็จเป็นพระมหาอภิธรรมบัณฑิต ๒ รูป และเปรียญธรรม ๓ ประโยค อีก ๑ รูป แล้วให้กลับมาเปิดสำนัก สอนพระอภิธรรมและบาลีพัฒนามาเป็นลำดับ จนมีพระภิกษุสามเณร สอบได้เปรียญธรรมตั้งแต่ ๓ ประโยคจนถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค หลายรูป 

ส่วนวิปัสสนากรรมฐานนั้นได้ฝึกฝนด้วยตนเองจนเข้าใจทั้งด้าน ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ เปิดสอนทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ปี (พ.ศ. ๒๕๑๕) เป็นเวลา ๓๖ ปี มีพระภิกษุสามเณร  ชีปะขาว แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วประเทศ ตลอดจนชาวต่างประต่างประเทศร่วมปฏิบัติธรรมจำนวน มากกว่า ๑๐๕,๐๐๐ รูป/คน แล้ว 

นอกจากนั้นยังเป็นผู้น าในการเชิญชวนประชาชนทั่วไป ร่วมกันก่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น อุโบสถ  วิหาร ศาลา การเปรียญ เมรุเผาศพ และสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ทำนบ ฝาย สร้างสะพาน ถนน  โรงเรียน ไฟฟ้า บ่อบาดาล น้ำตื้น เป็นด้วยคุณลักษณะดังกล่าว พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) จึง เห็นควรได้รับการเคารพบูชา และยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง 

หนังสืออ้างอิง 

พระมหาชอบ พุทธสโร พิธีฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระราชาครณะชั้นสามัญและงานทำบุญอายุวันเฉลิมมงคลครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท)  

เจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม รองเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. ม.ป.ท. , ๒๕๔๗

ปัจจุบัน พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) มรณภาพ เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖