วันศุกร์, 25 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อน้อย อินทสโร

วัดธรรมศาลา
อ.เมือง จ.นครปฐม

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสาโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

พระครู​ภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร)​ พระเถราจารย์​ผู้มีพุทธา​คมเข้มขลัง​ อำนาจจิตแก่กล้าแห่งเมืองนครปฐม เจ้าตำรับ “เหรียญหน้าเสือ-เหรียญหล่อคอน้ำเต้า” อันลือลั่นด้วยประสบการณ์ความเข้มขลัง สหธรรมิกร่วมยุคสมัยกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณ์ เป็นต้น

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อน้อย อินทสโร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พ.ค.๒๔๒๖ เวลา ๐๔.๐๐ น. ที่บ้านหนองอ้อ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม โยมบิดาชื่อ “แสง” โยมมารดาชื่อ “อ่อน” โยมพี่เป็นหญิงชื่อ “ปู๋

◉ ปฐมวัย
ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ในยุคนั้นเพื่อการศึกษาเล่าเรียนและรับการอบรม จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอม กระทั่งอายุ ๑๕ ปี บิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อศึกษาต่อและบรรพชาเป็นสามเณร

โดยระหว่างที่เป็นสามเณรได้ไปมา หาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำ จวนโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน ท่านจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือครอบครัว ในการประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

◉ อุปสมบท
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีจึงเข้าอุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๖ โดยมี พระอธิการทอง วัดละมุด อ.นครชัยศรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ (นวม) วัดธรรมศาลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า “อินฺทสโร

หลังอุปสมบทแล้ว มีความสนใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวท ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้นจากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานนุรักษ์ (นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์แสง วัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์อู๊ด ที่เป็นฆราวาส โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่นคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคมของท่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จ

พระครู​ภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร)​ ท่านอุปนิสัยรักสงบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิตย์ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า มีดีอย่างไร แต่มีสิ่งที่แสดงออกหลายประการ เช่น วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่าคือ วานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจ ประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของท่าน รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัด ท่านก็ให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่มีผู้ใดกล้าเข้ามาทำ อันตรายได้

ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียว ทำเอานักเลงปืนขยาดไปตามๆ กัน ที่สำคัญ ข่าวนี้ได้ร่ำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้าง จึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น
นอกจากนี้ ท่านยังมีความมักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสาโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

◉ ด้านการปกครอง
ในระยะแรกที่ หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร ครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่นใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะ โล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิตย์ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าว
ในสมัยที่ หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น ท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดี

และในฤดูกาลเข้าพรรษา ท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ (นวกะ) ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่ท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสม ณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ โดยท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันก็จะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่ นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาใครก็ตามที่มาพบ ท่านมักสอนธรรมะเสมอ โดยมักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดี

นอกจากนี้ ท่านยังสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลา ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกน เพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประ พฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าว หน้าในบวรพระพุทธศาสนา ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไป

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร ท่านมีคุณวิเศษหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทรายและการลงไม้หลักมงคลซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนปรากฏว่าสังฆเสนาสนะทั้งหลาย ที่ท่านได้สร้างไว้ ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์ ดังมีเรื่องเล่าขานว่า โจรใจบาปหยาบช้าที่เข้ามาโจรกรรมสิ่งของมีค่าภายในปูชนียสถานวัตถุเหล่านั้น ไม่อาจเล็ดลอดออกไปได้ ถึงออกไปแล้วก็ต้องกลับมาให้จับจนได้

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสาโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร ท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง โดยช่วงเบื้องปลายชีวิตท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่น ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้เข้าร่วมชุมนุมพระอาจารย์ ๑,๗๘๒ รูปในพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาล

มีบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า “พระอาจารย์น้อย อินทสโร อายุ ๗๗ ปี พรรษา ๕๗ เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา ลงทางมหาอุตม์ กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย ปลอดภัย กันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้นถุง มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ”

หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสาโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

นอกจากนี้ พิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๘ ท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย ปรากฏว่าแผ่นโลหะนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลาย ซึ่งเป็น ๑ ใน ๕ ของพระอาจารย์ที่เกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกันจนเป็นที่โจษจันในอิทธิ ปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์
ใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อน้อยจึงหวงแหนมาก

◉ มรณภาพ
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร ท่านได้ถึงมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ พ.ย.๒๕๑๓ เวลาประมาณ ๑๘.๓๔ น. สิริอายุรวมได้ ๘๓ ปี พรรษา ๖๗

บรรดาศิษยานุศิษย์ต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ ๑๐๐ วัน ปรากฏว่าสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย แม้วันเวลาจะผ่านไป ชื่อเสียงของพระเกจิอาจารย์รูปนี้ก็ไม่มีวันจางหายไปในใจศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธา

◉ ด้านวัตถุมงคล
หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร ท่านได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง ๕๐ กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่ มากราบนมัสการ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัด

ทั้งนี้ วัตถุมงคลยอดนิยมของท่าน ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ “เหรียญทรงเสมา หลวงพ่อน้อยรุ่นแรก” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นเหรียญอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมทองแดง

เหรียญเสมา หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสาโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
เหรียญเสมา หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

ด้านหน้าเหรียญ ด้านบนมีอักษรตัวนูน เขียนคำว่า หลวงพ่อน้อย” ตรงตัว “ห” มีขีดบริเวณหัว ขอบด้านหน้ามีลายกนก กึ่งกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านล่างรูปประมาณแนวอกตัดตรง และไม่มี ส่วนใดชิดเส้นขอบ จุดสังเกตมีเส้นขนแมวคมๆ ขวางเหรียญ ด้านหลังเรียบ มียันต์นะปถมัง ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา เป็นเหรียญเก่าที่หายากมาก

เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร วัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม

เหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก หลวงพ่อน้อย​ อินฺทสโร สร้างราวปีพ.ศ.๒๔๙๗-๒๔๙๘ ส่วนครั้งที่ ๒ และ ๓ ด้านหลังใต้ยันต์ปลายเหรียญมีเลขไทยปรากฏอยู่ ความคมชัดจะไม่เหมือนกัน, เหรียญหล่อคอน้ำเต้า สร้างราวปีพ.ศ.๒๔๙๗-๒๔๙๘ มีหลายรุ่นหลายเนื้อเช่นกันกับเหรียญหล่อหน้าเสือ นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายชนิด คือ รูปหล่อ พระพิมพ์สมเด็จ พระยอดธง พระปิดตา และเครื่องรางอื่นๆ