ประวัติ หลวงพ่อทา (พระครูอุตรการบดี) วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม
หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ท่านเป็นโบราณจารย์ ที่เลื่องลือมากในยุคหนึ่ง
เพราะหลวงพ่อทา ท่านเป็นพระจริง มีคําพูดสัญญาที่ฝังลึกด้วยสัจจะ กล้าทํา กล้าปฏิบัติตาม สมกับเป็นพระเถระผู้ยิ่งยงในครั้งกระนั้น
หลวงพ่อทา คนส่วนมากมอง แต่ความสามารถของท่านในเชิงอยู่ยงคงกระพันชาตรี โดยมีความเข้าใจว่า ท่านบวชเข้ามาเพื่อเล่นฤทธิ์ เล่นเดช มีอํานาจปาฏิหาริย์
แม้บุคคลถ้าจะคิดไปทํานองนี้อย่างเดียว ก็เห็นที่ว่า ท่านผู้คิดนั้นยังไม่มีความเข้าใจคำว่า พระพุทธศาสนา และ พระภิกษุสงฆ์ เท่าใดนัก
หลวงพ่อทา ท่านบวชพระมาตั้งแต่เริ่มหนุ่ม ไม่รู้จักคําว่า “รักผู้หญิง” (เชิงชู้สาว) ก็เพราะบารมีทางธรรมของท่าน มีกําลังมากกว่ากระแสวนของโลก
เพียงเท่านี้เราก็จะรู้ได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ท่านไม่ประสงค์จะติดข้องอยู่กับอารมณ์โลกอีกต่อไป
ดังนั้นเรื่องฤทธิ์เดชเป็นเรื่อง โลก ท่านจึงสงเคราะห์บุคคลไปเท่าที่จะช่วยสงเคราะห์ได้เท่านั้น
ก็หลวงพ่อทาองค์นี้ ท่านเกิดมาเพื่อสร้างเสริมบารมี โดยอาศัยวิชาความรอบรู้ที่มีอยู่ สร้างประโยชน์สุขแก่สัตว์โลกที่มีความทุกข์ ร้อนผ่อนคลายลงสู่ความสบาย เยือกเย็น
หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ถวายแด่พระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง จนปรากฏในประวัติของท่านว่า
ท่านเป็นพระภิกษุองค์หนึ่ง ที่เป็นพระสงฆ์ที่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทรงพระศรัทธาเลื่อมใสยิ่ง
หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ เจริญสมาธิภาวนา จิตใจเป็นสัมมาปฏิบัติ มีแนวทางแห่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนา กรรมฐาน อันจะเกิดสติปัญญา
ศิษย์ของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อเต๋ คงทอง ได้อธิบายไว้ว่า
“อาจารย์ท่านเตือนว่า การปฏิบัติธรรมจนเกิดอภิญญา เกิด สมาบัติ ฤทธิ์ทางใจ ต้องเป็นผู้ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นแหละจึงน่าสอน
เพราะเขาสามารถดําเนินจิต เข้าแนวทางพ้นทุกข์ได้ คือรู้แล้ว ปล่อยวางเสีย จึงจะไม่เกิดทุกข์”
หลวงพ่อทา หรือ ท่านพระครูอุตรการบดี แห่งวัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม เดิมท่านเป็นคนที่ มีเชื้อสายมาจากประเทศลาว (นครเวียงจันทน์)
บรรพบุรุษของท่าน ได้อพยพมาอยู่ในประเทศสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ จึงสรุปความได้ว่า
ท่านเกิดประมาณ พ.ศ.๒๓๗๕ ปีวอก ณ บ้านหนองเสือ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
อีกกระแสหนึ่งก็ว่า ท่านเป็นชาวรามัญ เกิดที่หนองเสือ แขวงโพธาราม เมืองราชบุรี
โดยสันนิษฐานกันว่า เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นถิ่นฐานของมอญเก่าอยู่กันอย่างหนาแน่น มีประเพณีต่างๆ ล้วนเป็นพิธีการ ของชาวมอญ
อนึ่ง คําว่า “ทา” เป็นคํา เรียกของคนมอญโดยตรง
อายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณร ณ วัดโพธาราม เพื่อศึกษาธรรมวินัย
อายุ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดฆ้อง อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
มื่อได้บวชเป็นพระภิกษุทาแล้ว ก็ไม่อยู่ช้า มุ่งมั่นที่จะศึกษาสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน โดยท่านได้ศึกษาอยู่กับพระกรรมฐานชื่อดังแห่งวัดฆ้อง ซึ่งเป็นพระมอญ
จากนั้นก็ได้ออกเดินธุดงคกรรมฐานไปตามป่าดงพงไพร ผลที่ได้รับ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น คือ มีสมาธิจิตแก่กล้า มีความแข็งแกร่งอาจหาญ กล้าทํา กล้าปฏิบัติ เป็นพระธุดงค์ชั้นยอดที่สู้อดทนอยู่ในป่าดงดิบ
ท่านออกป่าหาความจริง แห่งธรรมะ โดยประกอบอยู่ด้วย คุณธรรมประจําใจ คือ
ท่านมี หิริ อายต่อความชั่ว
ท่านมี โอตตัปปะ กลัวความลามกในใจ
ท่านมี ขันติ อดทนทุกข์ยาก ลําบาก
ท่านมี โสรัจจะ สงบเสงี่ยม เจียมใจ
หลังจากอยู่ป่าดงจนสมควร แก่เวลาแล้ว ท่านได้มาสร้างวัดพะเนียงแตก โดยอาศัยสมบัติ เก่าโบราณใต้พื้นดินที่เจ้าของเดิม ได้ฝังเอาไว้เป็นจํานวนมาก
ปรากฏว่าวัดพะเนียงแตก มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด
แม้ปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสผู้รับ สืบทอดเจตนา ก็ได้พากันดําเนินการ ไม่ให้วัดพะเนียงแตกเสื่อมคลาย
วัดพะเนียงแตก ยังคงเป็นลานนาบุญอันอุดมที่ยังคงมีประชาชนทั้งหลาย เดินทางไปกราบ น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของ หลวงพ่อทาอย่างเชื่อมั่นและไม่เสื่อมคลาย