วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร

วัดสะพานสูง
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร พระเกจิผู้สืบทอดวิชาสายวัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเป็นปูชนียสงฆ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวนนทบุรี

◉ ชาติภูมิ
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๔ ปีเถาะ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี บิดาชื่อ “นายคง และมารดาชื่อ “นางแพ บุญมี” มีพี่น้องรวม ๕ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง

◉ ปฐมวัย
เมื่ออายุ ๑๑ ปี ศึกษาหนังสือไทยและขอมที่วัดหนองหว้า อยู่กับอาจารย์จ้อย, อาจารย์สาย และอาจารย์นิ่ม จนอ่านเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอมได้ อายุ ๑๓ ปีออกจากวัดแล้วไปอยู่กับอาที่จังหวัดราชบุรี ประมาณ ๕ ปี ก่อนที่จะกลับมาอยู่กับบิดามารดา ทํานาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิด

กระทั่งอายุ ๒๐ ปี ถูกเกณฑ์ทหารเป็นทหารราบที่จังหวัดเพชรบุรี รับราชการอยู่ถึง ๒ ปี ๑ เดือน แล้วจึงมาสมัครเป็นตํารวจภูธรได้ยศเป็นสิบตํารวจตรี เพราะมียศทางทหารอยู่แล้ว เป็นตํารวจประจําเพชรบุรีอยู่ ๒ ปี แล้วถูกย้ายไปอยู่หลายจังหวัด อาทิ จังหวัดพัทลุง, จังหวัดชุมพร, จังหวัดสงขลา จนได้รับยศเป็นสิบโท แล้วย้ายไปอยู่จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดสตูล, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดสุรินทร์ จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

◉ อุปสมบท
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร เข้าอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ ที่วัดนาพรม โดยมี หลวงพ่อหวล เจ้าอาวาสวัดนาพรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ผ่อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “อินทสาโร

หลังจากบวชแล้วได้จําพรรษาที่วัดหนองหว้า หนึ่งพรรษา ศึกษาวิชาอาคมจาก หลวงพ่อหวล (หลวงน้าของหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก) แล้วไปเรียนกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อเพลิน วัดหนองไม้เหลือง

เมื่อเรียนอาคมมามากแล้ว ทั้งได้เรียนด้านปริยัติธรรม หาความรู้จนได้นักธรรมโท จึงมุ่งหน้าออกเดินธุดงค์หาความสงบไปตามป่าเขาลําไพร แม้กระทั่งทางอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ดินแดนที่เต็มไปด้วยยาสั่ง ท่านก็ไม่หวั่นกล้วแต่อย่างใด มีพวกที่ลองวิชาและคิดทําร้ายหลายครั้งหลายคราว แต่ไม่อาจทําอะไรท่านได้เลย

ต่อมามีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อ “อาจารย์เพ็ง” จําพรรษาอยู่ที่วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ได้เดินธุดงค์มาพบกันจนคุ้นเคย และชักชวนให้เดินทางมาด้วยกัน โดยจําพรรษาที่วัดท่าเกวียน ตําบลคลองข่อย อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อยู่ที่วัดนี้ได้ ๓ พรรษา

ขณะนั้นวัดท่าเกวียนยังไม่มีสํานักเรียนนักธรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงเพื่อมาศึกษาปริยัติธรรม โดยมี พระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส มีอาจารย์เพ็ง เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ปี พ.ศ.๒๔๗๕ สอบนักธรรมตรี ปี พ.ศ.๒๔๗๖ สอบนักธรรมโท ในขณะนั้น วัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่น จึงมอบหมายให้ท่านทําหน้าที่ สอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรตลอดมา และถ่ายทอดตําราเวทมนตร์คาถาต่างๆ เช่น ลงตะกรุต ทําผง พระปิดตา ทําน้ำมนต์ให้จนหมดสิ้น

หลังสิ้น หลวงปู่กลิ่น แล้ว ท่านก็รับภาระหน้าที่ปกครองวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นต้นมา ปี พ.ศ.๒๕๐๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูนนทกิจโสภณ ปี พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นเจ้าคณะตําบลคลองพระอุดม ต่อมาวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

ตลอดเวลาที่อยู่ในเพศบรรพชิต “หลวงพ่อทองสุข” ปฏิบัติไปด้วยคุณธรรมหลายประการ ถือขันติธรรมคือความอดทนเป็นหลัก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง อบรมสั่งสอนภิกษุ สามเณรให้อยู่ในธรรมวินัยให้การศึกษาแก่พระเณร ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ในวัดได้รับความสุขและสะดวก รวมทั้งบูรณะพัฒนาวัดโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จนทําให้วัดเจริญรุ่งเรืองมาตามลําดับ

ลูกศิษย์ลูกหาเล่าขานกันปากต่อปากว่า ท่านเก่งทางเรื่องแก้คุณไสย บางรายถูกมาอย่างหนัก ท่านจะใช้วิธีเรียกคุณนั้นเข้าลูกมะพร้าว แล้วให้ใช้มีดโต้ลงยันต์ผ่าออกมาดู จะเห็นเป็นอะไรต่ออะไรที่คนเขาทํามามากมาย อาทิ ด้ายสายสิญจน์ ตะปู เทียน เป็นต้น คนที่ถูกลมเพลมพัด ท่านให้อาบน้ำมนต์ก็หาย เรื่องผีเข้าผีสิงท่านก็ปราบมาเยอะเพียงแค่เอาตะกรุดคล้องคอเท่านั้น

บั้นปลายชีวิตท่านต้องทํางานหนัก คือให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไปที่มาให้ท่านสงเคราะห์ตั้งแต่เช้าจรดเย็น รวมทั้งงานของคณะสงฆ์ จนทําให้ต้องเข้าโรงพยาบาลหลายครั้ง ด้วยโรคชราและโรคปวดศีรษะ ซึ่งเป็นโรคประจําตัว

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

◉ มรณภาพ
จนถึงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ท่านได้อาพารปวดท้องอย่าง รุนแรง ลูกศิษย์นําส่งโรงพยาบาลเพชรเวช ได้รับการรักษา แต่อาการยังไม่ดีขึ้น กระทั่งวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ท่านก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๙ ปี ๑๙ วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๖ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ เมรุลอยวัด สะพานสูง

รูปเหมือนบูชา หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
รูปเหมือนบูชา หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลของ หลวงพ่อทองสุข นั้นท่านสร้างไว้มากมายหลายอย่าง อาทิเช่น พระปิดตารุ่นต่างๆ เหรียญปั๊มและเครื่องรางของขลังประเภทตะกรุด ส่วนวัตถุมงคลที่เรียกว่าได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็คือรูปหล่อโบราณหลวงปู่เอี่ยม,หลวงปู่กลิ่น รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เหรียญเสมาบล็อคเอื่อมเหรียญหลวงปู่กลิ่นและเหรียญข้าวหลามตัดรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๕๐๗ อีกทั้งเหรียญข้ามหลามตัดและเหรียญเสมาบล็อกต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมทั้งมีประสบการณ์ ล้วนแล้วแต่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อทองสุขทั้งสิ้น ส่วนพระปิดตาของท่านนั้น ถือว่าเป็นพระที่น่าใช้มากๆ ท่านสร้างขึ้นตามตำหรับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงทุกประการ เรียกว่าใช้แทนปิดตาหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่นได้เลย

โดยพระปิดตาของท่าน จะผสมกับผงเก่าของวัดที่ตกทอดมาตั้งแต่ครั้งหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น ว่ากันว่าหลวงพ่อทองสุขท่านเริ่มสร้างพระตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ๆ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๐ กว่า ๆ

โดยพระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นนั้นต่างได้รับความนิยมด้วยกันทั้งหมด ยิ่งโดยเฉพาะพิมพ์สะดื่อจุน,พิมพ์ ๒ สะดื่อและพิมพ์ตะพาบ ปิดตายุคแรกปี พ.ศ.๒๔๙๕ นั้นจัดว่าเป็นพิมพ์นิยมและได้รับความนิยมมากที่สุด แต่พระปิดตาพิมพ์สะดื่อจุ่นนั้นไม่ได้มีการสร้างแค่วาระปี พ.ศ.๒๔๙๕ แค่ครั้งเดียว แต่ท่านยังใช้บล็อกเดิมสร้างมาเรื่อยๆ จนกระทั้งปีพ.ศ.๒๕๑๐ กว่าๆ ถึงปีพ.ศ.๒๕๒๐ ต้น ๆ แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของหลวงพ่อทองสุข พุทธคุณของพระปิดตาหลวพ่อทองสุข ถือว่าครบครัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโภคทรัพย์,เมตตามหานิยม,แคล้วคาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี

และหนึ่งในของงดี คู่ วัดสะพานสูง นั้น คือ พระคาถาบทสำคัญ ที่ชื่อว่า พระคาถาโสฬสมงคล ซึ่งผู้คนทั่วไปมีความเชื่อว่าเป็น พระคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ ปกป้อง คุ้มครองชีวิต ครอบครัวให้มีความรุ่งเรือง ปลอดภัย

◉ พระคาถาโสฬสมงคล วัดสะพานสูง
ตั้งนะโม ๓ จบ

โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมะตา จัตตาโรจะมหาทีปาปัญจะพุทธามหามุนี ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา ฉะกามาวะจะราตะถาปัญจะทัสสะกะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ เตรัสสะธุตังคาจะปาฎิหารัญจะทะวาทัสสะ

เอกะเมรุจะ สุราอัฎฐะ ทะเวจันทังสุริยังสัคคาสัตตะโพชฌังคาเจวะ จุททัสสะจักกะวัตติจะ เอกาทะสะวิสะณุราชา

สัพเพเทวา สะมาคะตา มังรักขันตุ ปะลายังตุ เตสัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ