ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อถิร ปญฺญาปโชโต
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อถิร ท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคหนึ่ง เพราะท่านเป็นพระที่พึ่งของประชาชน เป็นพระผู้ให้ทุกสิ่งที่ประชาชนอยากได้
แต่…กาลเวลาอันยาวนาน ได้เป็นเครื่องพิสูจน์คุณธรรมของท่านมาแล้วเป็นอย่างดียิ่งว่า
หลวงพ่อถิร ปญฺญาปโชโต มิใช่ว่าจะเป็นพระผู้เรียนรู้แต่ฝ่ายเดียว แม้แต่การปฏิบัติภาวนา ท่านก็ได้ฝึกฝนอบรมมาแล้วมิใช่น้อย
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงสมควรที่จะน้อมระลึกถึงพระคุณ ทั้งกราบไหว้บูชาด้วยจิตใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ปฏิปทาในฐานะของผู้นําเช่น หลวงพ่อถิร หรือ ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิสารเถร แห่งวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ท่านจึงต้องสํารวมในการปฏิบัติตน ซึ่งบางครั้งจักต้องมีความเด็ดขาด มั่นคง ไม่หวั่นไหว
ส่วนลึกของจิตใจ ท่านจักต้องทรงพระวิหารธรรม ๔ โดย ปกติวิสัย ดังนั้น จะเห็นว่าท่านหลวงพ่อถิรมีความเมตตา ชุ่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ
ในชีวิตของท่าน เคยอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ของท้องทุ่งนา และป่าเขาท่านจึงเข้าใจจิตใจมนุษย์โดย ส่วนมากว่าต้องการที่พึ่งทางใจ มากกว่า สมบัติแก้วแหวนเงินทอง เพราะสิ่งดังกล่าวนี้ สามารถหามาได้ และหมดสิ้นไปได้โดยเร็วไวได้
ส่วนที่พึ่งทางใจนั้น สามารถสถิตอยู่ชั่วนิรันดร.อันได้แก่ชาตินี้ และชาติหน้า ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นพระสงฆ์ผู้ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ในการพากเพียรจนเป็นครูผู้สร้างบุคคลให้ เป็นคนดีมีศีลธรรม สามารถนําวิชาความรู้ไปประกอบกิจและ ช่วยสังคมได้อย่างกว้างขวาง
หลวงพ่อถิร แห่งวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ชาติภูมิของท่าน เกิดที่บ้านพลูหลวง ตําบลพิหารแดง อําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ท่านอุปสมบทเมื่อมีอายุครบบวช ณ วัดหน่อพุทธางกูร โดยมี ท่านพระครูโพธาภิรัต (สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปัญญาปโชโต ภิกขุ”
เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ได้ย้ายไปจําพรรษาวัดสุวรรณภูมิ ศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมตรี…นักธรรมโท…และนักธรรมเอก ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติ ธรรมอยู่ ณ วัดสุวรรณภูมิ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ท่านพระครูโพธาภิรัต (โต๊ะ) เจ้าอาวาส ๆ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ได้ลาออก ในระหว่างนี้วัดก็เสื่อม สมบัติสงฆ์ถูกโจรผู้ร้ายลักลอบเอาไปเป็น อันมาก
ในวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านเจ้าคุณพระเทพเวที ประธานคณะกรรมการมณฑลราชบุรี วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงรับบัญชาจาก สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายพระถิร นักธรรมเอก จากวัดสุวรรณภูมิ ให้ไปเป็นผู้รักษาการ เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
การย้ายมาจําพรรษาครั้งนั้น ท่านหลวงพ่อถิร มีอายุได้ ๓๘ ปี พรรษา ๑๘ หลังจากท่านมาอยู่จําพรรษา ที่วัดป่าเลไลยก์แล้ว ท่านได้บูรณะ ซ่อมแซมถาวรวัตถุอย่างมากมาย มโหฬาร เช่นพื้นที่บริเวณธรณีสงฆ์ วิหาร ถนน กุฏิ พระอุโบสถ โดย เฉพาะพระพุทธรูป ที่ชาวบ้านเรียก นามท่านว่า “หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์”
พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวจังหวัดสุพรรณบุรีมีความเคารพนับถือ มาก เพราะเป็นปูชนียสถานอัน ศักดิ์สิทธิ์ พระคู่บ้านคู่เมืองประจํา
จังหวัดสุพรรณบุรี
อย่างไรก็ตาม เมื่อหลวงพ่อถิร มาอยู่จําพรรษาแล้ว ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นลําดับ ๆ มา นับได้ว่า ทางโลกได้ตอบแทนคุณ งามความดีของท่านได้อย่างสมบูรณ์ แก่อัตภาพ
นอกจากนี้ ท่านยังออกโปรด ชาวบ้านที่ทรงวิสัยโลกด้วยเมตตา ท่านจะรับกิจนิมนต์ในปีหนึ่ง ๆ เป็นจํานวนหลายสิบแห่ง เพราะ
ว่ากระแสโลกกระแสอุปาทานยังเกาะจิตใจของปุถุชนอยู่ จําต้องโปรดค่อย ๆ แกะออกทีละน้อย ๆ พอแก่กําลัง
ส่วนทางด้านข้อวัตรปฏิบัติ หลวงพ่อถิร ท่านเคยฝึกอบรม จิตใจมาอย่างพอเพียง และสามารถ เอาตัวรอดได้ทุกขณะจิต เเนาหลักสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่ท่านดํารงอยู่นั้น ถือเป็นความปกติทางใจ ท่านจะ
พิจารณาธรรมอยู่เสมอ
หลักฐานแห่งการบําเพ็ญเพียรภาวนา โดยสมณศักดิ์ที่พระวิสุทธิสารเถร อันเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นที่ภาคภูมิใจแก่ศิษย์ทั้งหลาย
หลวงพ่อถิร ปัญญาปโชโต เป็นพระที่ควรเคารพยกย่องมาก ท่านประกอบด้วยศีลาจารวัตร สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร และ ประชาชนโดยทั่วไปด้วยจิตใจ เที่ยงธรรมเสมอ ๆ มาตลอดชีวิตของท่าน
มีเกร็ดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า เมื่อหลวงพ่อถิร ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและไม่เกิดปัญหาเช่นหลวงพ่อโต๊ะ เนื่องจากท่านเป็นที่รักศรัทธาเสื่อมใสของชุมเสือก๊กต่าง ๆ เช่น เสือฝ้าย เสือมเหศวร เสือใบ ที่มักมาหาเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อถิรเสมอตั้งแต่ครั้งอยู่ที่วัดสุวรรณภูมินั้นแล้ว เสือเหล่านี้ต่างพากันประกาศก้องว่า ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้างพัฒนาวัดของหลวงพ่อถิร ให้เดือนเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่เป็นได้เจอกัน…ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และนั่นก็เป็นเหตุมีผู้กล่าวหาว่า หลวงพ่อถิรเลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า“ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก…”
เมื่อเสือก๊กต่าง ๆ ลงให้หลวงพ่อถิร นับถือเป็นอาจารย์ ชื่อเสียงความขลังของท่านจึงเป็นที่รู้จักที่วไป กอปรกับท่านมีสีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาจิตจึงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ในงานพุทธาภิเษกสำคัญแทบทุกงานในประเทศมาตั้งแต่อายุพรรษาไม่มากนัก
หลวงพ่อถิร นอกจากเป็นพระเกจิเรืองวิทยาคมแล้ว ท่านยังเป็นนักการศึกษา นักอ่าน นักเขียนตัวยงหนังสือประวัติวัดป่าเลไลยก์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นผลงานการค้นคว้าของท่านเอง ทางวัดยังรักษาลายมือต้นฉบับเอาไว้อย่างดี
หลวงพ่อถิร ได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี มีภิกษุสามเณรจำพรรษาปีละเกือบร้อยรูป ได้ปรับสานที่ ย้ายกุฏิ ซ่อมพระวิหารใหญ่มุงหลังคา กระเบื้องสี สร้างถนน สร้างศาลาสมเด็จพระนเรศวร ทำการซ่อมและสร้างเสมอมาจดวัดป่าได้รับเกียรติบัตรเป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา หลวงพ่อถิรได้ริเริ่มจัดงานประจำปีวัดป่าเลไลยก์ กำหนดงานเทศกาลปิดทองหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ในวันทางจันทรคติ วันขึ้น ๕-๙ ค่ำ ของเดือน ๕ และเดือน ๑๒ ของทุกปี วัดป่าเลไลยก์เริ่มเปิดกว้างสู่สาธารณชนยิ่งขึ้น
พระวิสุทธิสารเถร (หลวงพ่อถิร ปญฺญาปโชโต) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ สิริรวมอายุได้ ๘๑