ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่แว่น ธนปาโล
วัดถ้ำพระสบาย
อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นศิษย์ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์หนึ่งจริยานิสัยอันงดงามมีความเชื่อมั่นกตัญญูรู้คุณของครูบาอาจารย์ และท่านยังมีความอ่อน น้อมเจียมตนอยู่เป็นนิจ
แม้ท่านจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายปฏิบัติธรรม ในสายของหลวงปู่มั่นที่อาวุโสพรรษา อีกทั้งยังแตกฉานในธรรมองค์หนึ่งก็ตาม แต่หลวงปู่ก็สามารถวางตัวเป็นพระผู้น้อยอยู่เสมอ
ปฏิปทาอันน่านิยมนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยมอบหมายให้ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ปกครองวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร มาแล้วสมัยหนึ่ง
ปกติท่านเป็นพระสงฆ์ที่รัก ความสันโดษเก็บตัวเงียบ มุ่งหวังความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงภายในชาตินี้ ท่านจึงไม่ประมาทรีบค้นคว้าหาธรรมะตามป่าดง เช่นที่ ถ้ําพระสบาย จ.ลําปาง ใน ปัจจุบัน
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านถือกําเนิดในตระกูลชาวนาเมื่อ วันเสาร์เดือน ๔ ข้างแรม ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๓ ปีจอ
บิดาชื่อ นายวันดี ทุมกิจจะ มารดาชื่อ นางคําไพร ทุมกิจจะ ในท้องที่จังหวัดสกลนคร มีพี่น้อง ๙ คน
ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ อายุของ ท่านได้ ๑๘ ปี ท่านได้อําลาเพศฆราวาส ขอบรรพชาเป็นสามเณร ที่ วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมี ท่านพระอาจารย์สีธร เป็นพระอุปัชฌาย์ (ฝ่ายมหานิกาย)
ภายหลังจากบวชเป็นสามเณรแว่นแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และรับใช้ครูบาอาจารย์มาด้วยดีตลอดเวลา ๒ ปี
เป็นด้วยบุญวาสนาของท่าน จึงเป็นเหตุให้ได้พบกับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม และเป็นญาติลูกผู้พี่ผู้น้องกับท่าน เดินทางมาคัดเลือกทหารในภูมิลําเนาเดิม เกิดเลื่อมใสในปฏิปทาเป็นอันมาก จึงขอติดตามไปอยู่ด้วย ณ ป่าช้า บ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น ซึ่งมีท่าน พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นเจ้าสํานัก
ต่อมาอายุครบที่จะอุปสมบทได้แล้ว ท่านจึงได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม โดยมี พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็น พระอุปัชฌาย์
กาลต่อมา หลวงปู่แว่น ธนปาโล ได้รีบเร่งประพฤติปฏิบัติ เดินธุดงค์ผ่านมาทางภาคกลาง เลยต่อไปทางภาคตะวันออก ได้มีโอกาสพบกับ ท่านพ่อลี วัดอโศการาม เห็นปฏิปทานั้นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่าง
ในพรรษาที่ ๑๒ ท่านได้มีวาสนาพบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้รับอุบายธรรมอันล้ําเลิศมาประพฤติปฏิบัติ และได้ติดตามหลวงปู่มั่นไปยังจังหวัดนครพนมอีกด้วย
อุบายธรรมที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้นํามาอบรมท่านในครั้งนั้น ท่านถือว่าเป็นประโยชน์อย่าง “มหาศาล” ท่านได้นํามาเป็นเครื่องดําเนินแนวทางปฏิบัติ มาจนถึงปัจจุบันนี้
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ละม้ายคล้ายคลึง กับหลวงปู่สิม พุทธาจาโรมาก กล่าวคือ ท่านได้จดจําปฏิปทาในการปฏิบัติตนอบรมบ่มนิสัย ตลอดถึงสติปัญญาจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง เหมือนกันทุกอย่าง
หลวงปู่แว่น ท่านเป็นพระที่รักชอบในการปฏิบัติเป็นวัตร ของผู้มีความรักชอบและภักดีต่อพระพุทธศาสนาอันมีพระศาสดาเจ้าเป็นบรมครู ท่านถือเป็นเครื่องดําเนิน คือ “ผู้มีฝั่งมีฝา มีพระศาสดาเป็นสรณะในอิริยาบถทั้งปวง”
แม้จะอยู่ป่าดงโดดเดียวห่างจากผู้คน ท่านก็ไม่ว้าเหว่เร่ร่อนคลอนแคลน ท่านหลวงปู่แว่น ท่านมีหลักใจเป็นหลักธรรม
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านอยู่จําพรรษาที่ วัดถ้ําพระสบาย อ.แม่ทะ จ.ลําปาง เป็น แหล่งปฏิบัติธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ธุดงควัตร แต่ละข้อ ท่านถือว่า “นี้ล้วนแต่เป็นเครื่องสนับสนุนเพื่อธรรมเบื้องสูงขึ้นไปเป็นลำดับ ดังนั้นจะไม่มีอุปสรรคอันใดมาขัดขวางการดําเนินมรรค ผลนิพพานของท่านได้
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นพระผู้มีความสันโดษ ไม่ลุ่มหลงกับสิ่งที่จะมาชักนําจิตใจของท่านให้ได้เอนเอียงไปในทางโลก
ดังจะสังเกตเห็นว่า…ท่านเคยได้รับเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ท่านได้รับธรรมสอนจิตใจของท่านได้มากมาย เพราะเหตุของโลกธรรมที่เข้ามาเป็นครูสอน
ครั้นเมื่อได้รู้เล่ห์เหลี่ยม ทันกลของกิเลส ท่านก็ได้น้อมเข้ามาพิจารณา จนมีความชื่นบานที่จะทุ่มเทให้แก่การปฏิบัติต่อไป
นิสัยแห่งการปฏิบัติ ไม่เคยได้เปลี่ยนแปลง เมื่อหลวงปู่แว่น ธนปาโล ได้ออกเดินธุดงค์ไปในถิ่นต่างๆ จนที่สุดท่านก็ได้มาอยู่ ในถ้ําพระสบาย จังหวัดลําปาง ซึ่งเป็นวัดที่ห่างไกลผู้คนมาก
ท่านได้อาศัยสถานที่อันวิเวกนี้ ปฏิบัติธรรมจนบังเกิดผลแห่งองค์ธรรมอย่างเต็มที่ และเป็นการก้าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรมของ ท่านด้วย
ชีวิตของการต่อสู้นี้ ท่านได้เรียนรู้มาจาก หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งวัดถ้ําผาปล่อง เมื่อครั้งได้ออกเดินธุดงค์ร่วมกัน ซึ่งหลวงปู่ทั้งสองมีความตั้งใจที่เด็ดเดี่ยวมั่นคง บุกป่าฝ่าดงขึ้นเขานับไม่ถ้วน
ในสมัยนั้น ท่านเป็นพระผู้ติดตาม หลวงปู่แว่น จึงมีความอดทนเป็นพิเศษ แม้จะลําบากยากแค้นเพียงใด ท่านก็สู้ทนเพื่อธรรมเป็นการบูชา พุทธบูชา ธรรม บูชา สังฆบูชา
คุณธรรมจริยาลักษณ์ทั้งปวง จึงเพียบพร้อมอยู่ในตัวของ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ทั้งสิ้น หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านมีความรู้ความเห็นพิเศษ ๆ อยู่หลายประการ เช่น เรื่องของเทวดา เทพทั้งหลาย ตลอดจนถึงบรรดาวิญญาณต่าง ๆ
ซึ่งวิญญาณเหล่านี้ได้มานมัสการหลวงปู่เป็นประจํา และ พร้อมกับขอเมตตาแสดงธรรมบ้าง กล่าวเป็นธรรมะบ้าง มาช่วยเหลือในการก่อสร้างเสนาสนะบ้าง เป็นไปตามกาลเวลา…
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านยังอยู่เป็นครูบาอาจารย์คอยให้การอบรมสั่งสอน แล้วแต่ผู้ใดชอบ ธรรมบทใดท่านก็จะอธิบายให้ฟัง เป็นตอน ๆ และเป็นรายๆ ไป โดย ไม่อัดอั้นในการสงเคราะห์ด้วย อรรถธรรมที่รู้แจ้งภายในจิตใจ ของท่าน
เมื่อผู้ฟังธรรมที่มีภูมิต่างกัน ท่านก็จะบรรยายจนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง สมกับที่ท่าน เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างแท้จริง และเป็นพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่งในปัจจุบัน
หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา หลวงปู่ได้อบรมพร่ำสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก-อุบาสิกา มิได้ขาดจวบจนวาระที่ท่านละสังขาร เมื่อวันอังคาร ที่ ๘ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๘ เดือก ๖๘ พรรษา