ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
“พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอาจารย์มั่น”
พระเดชพระคุณหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยบากบั่น อุตสาหะ พยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อหาทางพ้นทุกข์ บารมีธรรมคําสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจและหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน ท่านได้อบรมสั่งสอนบรรดาสานุศิษย์ ด้วยเมตตาธรรมดุจดังพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก
นับได้ว่าท่านเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่นที่ สําคัญยิ่งรูปหนึ่ง หลังจากท่านละสังขารไม่นาน อัฐิได้กลายเปลี่ยนเป็นพระธาตุ ได้รับคําชมและยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่า
“เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจใส่ในอาจริยวัตรเสมอ แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคําสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ําสอน และ เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านพระอาจารย์มั่น”
ท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายอุปัฏฐากแด่ท่าน พระอาจารย์มั่นอย่างใกล้ชิด มีภาระปฏิบัติหลายหน้าที่ อาทิ การสรงน้ํา การซักย้อมสบงจีวร การตามไฟถวายเมื่อองค์ท่าน จงกรมในยามค่ําคืน การดูแลไฟให้ความอบอุ่นในยามหนาวเย็น การชําระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่
ได้สังเกตศึกษาปฏิปทาและจริยาวัตรของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา ๔ ปีสุดท้ายแห่งชนม์ชีพของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
ท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับ วันขึ้น ๓ ค่ํา ปีกุน ณ บ้านกุดสระ ตําบลกุดสระ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายคูณ และนางแพง เสวตร์วงศ์
อายุได้ ๑๘ ปี บวชเณร ณ วัดบัวบาน บ้านกุดสระ ตําบลกุดสระ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระอาจารย์หนู ติสสเถโร เป็นพระปัพพชาจารย์
อุปสมบทครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ โดยมี พระอาจารย์หนู ติสสเถโร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชได้ไม่นานก็ได้ลาสิกขา ภายหลังท่านได้แต่งงาน ๒ ครั้ง มีบุตร ๑ คนกับ ภรรยาคนแรก และมีบุตร ๓ คน กับภรรยาคนต่อมา
อายุได้ ๓๒ ปี ได้กลับคืนสู่เพศพรหมจรรย์อีกครั้งใน เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ วัดบ้านยาง โดยมีพระครคูณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เสาร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
บวชอยู่ได้ ๓ พรรษา โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม ภายหลังฌาปนกิจศพมารดาก็ได้กราบลาอุปัชฌาย์จารย์ ไปศึกษาธรรมกับ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ณ วัดโพธิสมภรณ์ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมธร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๕ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน พระอาจารย์มั่น และตั้งสัจวาจาว่า
“ขอมอบกายถวายชีวิตต่อ ท่านพระอาจารย์มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ใน ที่นี้ทุกๆ องค์ด้วย”
ท่านพระอาจารย์มั่น ได้กล่าวสอนสั้นๆว่า
“กรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย”
ต่อจากนั้นหลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะในสมัยนั้นได้กล่าวเตือนว่า
“เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวา ตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเช่นหนักนะ”
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ จําพรรษาที่วัดโคกกลอย ตําบลนากลาง อําเภอโคกกลอย จังหวัดพังงา กับหลวงปู่เทสก์ เทสรงสี
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔-๙๕ จําพรรษาที่วัดป่าตะโหนด อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา กับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖-๒๔๙๙ จําพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อําเภอคําชะอี จังหวัดมุกดาหาร กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ท่านได้อยู่จําพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ ต่อเนื่องมาจนถึงกาลเป็นที่สุดแห่งชนม์ชีพของท่าน
วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งคณะแพทย์ก็ได้กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ หลวงตามหาบัวได้ เมตตาให้คําแนะนําว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้วก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน ซึ่งหลวงปู่หล้าก็ได้ละสังขารไปเมื่อเวลา ๑๓.๕๙ น. ในวันนั้นเอง
วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ทําการถวายเพลิงศพ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต โดยมี หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นประธาน พระเถรานุเถระและศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และ คฤหัสถ์จากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาร่วมในงานนี้อย่างเนืองแน่น สิริอายุ ๘๔ ปี ๑๑ เดือน พรรษา ๕๒