ประวัติและปฏิปทา
พระครูอุดมญาณโสภ (หลวงปู่หลอ นาถกโร)
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง)
อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
หลวงปู่หลอ นามเดิมชื่อ หลอ นามสกุล ประทาเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๕ ๑๑ ค่ำ ปี มะเมีย ณ บ้านเลขที่ ๘๙ หมู่ที่ ๘
ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
โยมบิดาชื่อ นายทัง ประทาเพชร และโยมมารดาชื่อ นางตุ่น ประทาเพชร ท่านเคยรับราชการหรือเคยปฏิบัติงานสำคัญมาแล้ว
บรรพชา
วันที่ ๑๕ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอุปัชฌาย์ พระครูพุฒิวราคม วัดคามวาสี ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
อุปสมบท
วันที่ ๑๕ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ ที่วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระครูพุฒิวราคม พระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ประสาร ปญฺญาพโล พระกรรมวาจาจารย์ และมี พระปั่น ญาณวโร พระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ.๒๔๙๙ สำเร็จการศึกษาชั้น ป.๔ โรงเรียน บ้านหนองแสง
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
(๒) พ.ศ.๒๕๑๒ สอบไล่ได้ น.ธ. เอก สำนักเรียน วัดคามวาสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
หลังจากท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ได้มรณภาพลงด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่จังหวัดปทุมธานี และได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่หลอ นาถกโร ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทนมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา ได้ดูแลวัดวาอาราม ดูแลพระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกามาโดยตลอด
ขอย้อนอดีตไปนิดหนึ่งในช่วงหลวงพ่อใหญ่ (ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม) ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้วางโครงการช่วยเหลือชาวบ้าน การก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และอ่างเก็บน้ำหลาย ๆ อ่าง ในเขตพื้นที่อำเภอส่องดาว ตลอดทั้งต่อน้ำประปาให้ทุกโครงการนั้น ได้ดำเนินการต่อจนสำเร็จลุล่วงได้ดีทุกโครงการ คงถือได้ว่าหลวงปู่หลอได้ช่วยเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ให้สำเร้๗ลุงล่วงไปด้วยดีทุกประการ เมื่อได้สร้างสำเร็จแล้วก็ได้มอบให้ทางหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลแต่ละโตรงการตะละหมู่บ้าน โครงการเหล่านั้นก็ได้ใช้น้ำมาตลอดจนทุกวันนี้ ส่วนรายละเดียดต่าง ๆ นั้น ได้เขียนไว้ในภาคที่ ๕ แล้ว
ต่อจากนั้นมาหลวงปู่หลอก็ได้เป็นผู้นำของหมู่คณะรักษาปฏิปทาข้อวัติปฏิบัติของครูบาอาจารย์เอาไว้ให้คงเส้นคงวา ในเมื่อไม่มีอาจารย์แล้วจำเป็นต้องเป็นตัวของตัวเองสิ่งใดเป็นว่าไม่าดีไม่งามจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสยก็พยายามดต่ตัวออกห่าง สิ่งใดเห็นว่าจะเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งความเจริญในตัวและหมู่คณะก็พยายามทำสั้งนั้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเรื่องข้อวัติปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ถ้าหมากไม่พิถีพิถันก็อาจละเลยเมินเสียได้ง่าย ๆ พระเจ้า พระสงฆ์ จะอยู่ในพระพุทธศาสนาได้ก็ต้องอาศัยข้อวัติปฏิบัติเป็นพื้นฐานที่เรียกว่าอาสัยธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นเอง
คำว่าธรรม มีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกก็คือ ข้อวัติธรรม ที่ทำกันมาเป็นประจำทั้งเข้าเย็น คือตอนเช้าควรทำอะไร ตอนเย็นควรทำอะไร อันนี้เราทำเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนข้อธรรมภายในคือ หว้พระสวดมาตต์ทำจิตใจให้เกิดด สงบตามกำลังความสามารถของแต่ละคน ถ้ามีข้อวัติปฏิบัติเห่านี้ เป็นประจำเรียนกว่า มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวรั้งใจเอาไว้ ไม่คลอนแคลน มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ มีอะไรมากระทบก็ไม่อาจเอนเอียงหวั่นไหวไปได้ มีอะไรมากระทบก็ไม่อาจเอนเอียงหวั่นไหวไปได้ เรียกว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ จินใจมีความอาลัยอาวรณ์ในเพศพรหมจรรย์ของตนะเอง ไม่เกิดความเหนื่อยหน่ายเฉื่ยชา เมื่อเป็นอย่างนี้ รจึงเรียนกว่าเป็นผู้มีกำลังใจที่มีความเข้มแข็งและมีความอดทน
ส่วนทางด้านวัดวาอาราม ที่อยู่ ที่อาศัย สิ่งใดเห็นว่าจะสมควรเพิ่มเติมเสริมต่อก็ช่วยทำไปเรื่อย ๆ ตามแต่ความจำเป็น เป็นต้นว่า กุฎิที่พักสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ ห้องสุขา ถนนหนทาง ไปมาให้สะดวกสบาย วัดถ้ำพวงถือว่าเป็นวัดที่ใหญ่โตพอสมควร มีเนื้อที่ประมาณ ๗๐๐ กว่าไร่ ประกอบกับมีสถานที่สำคัญไว้กราบไหว้สักการะบูชาหลายอย่าง โดยเริ่มต้นจากกวงพ่อมงคลมุจลินท์ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระอาจารย์วัน อุตตโม และสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล เมื่อมีความสำคัญอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้คนทั้งหลายก็หลั่งไหลมาทุกทิศทกทางนับวันจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งใกล้และไกล โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น มีผู้คนมากราบไหว้มาเป็นพิเศษ ส่วนวันธรรมดา และวันเสาร์ อาทิตย์ก็ยังคงมีมากพอสมควร
สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ถือเป็นปูชนียสถาน เป็นสถานที่ดึงดูดจิตใจของชาวพุทธทั้งหลาย ให้หันหน้าเข้าวัด ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เพราะการเข้าวัดไม่เสียประโยชน์ เป็นการสร้างกำไรในชีวิต ผู้มาเยือนได้กราบไหว้บูชา เป็นขวัญตาขวัญใจ อิ่มอกอิ่มใจ บางคนไปถึงบ้านแล้วก็อยากจะกลับมาอีก ทั้งหมดที่เล่านี้เป็นบ่อเกิดของบุญกุศลจริง ๆ และอีกอย่างสถานที่เหล่านี้ก็อยู่บนภูเขา มีหน้าผาโดยรอบ มีจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของท่าที่มาพบเห็น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ก็เป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก มีแห่งเดียวเท่านั้นในเมืองไทย แม้สังเวชนียสถานทั้ง ๔ จะเล็กกว่าของจริงในจำนวน ๒-๓ แล้ว เรายังพยายามเน้นความเหมือนจริงอีกด้วย สิ่งใดที่ไม่มีความจำเป็นเราจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวพุทธทั้งหลายก็นิยมชมชอบ หลวงปู่หลอเป็นผู้นำในการก่อสร้างก็หายเหนื่อย ทั้งที่ก่อสร้างทั้งแล้งทั้งฝน จำนวน ๖ ปีเต็ม ๆ ไม่ขาดวรรคขาดตอน ถือว่าเป็นการก่อสร้างที่ยาวนานพอสมควร แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ จึงขออนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องใการก่อสร้างสิ่งท้งหลายเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ลำพังหลวงปู่หลอคนเดียวคงไม่สามารถทำให้สำเร็จลงได้ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญของหลวงปู่หลออีกชิ้นหนึ่ง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๖,๓๐๒,๒๐๔ บาท
ด้านการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนอุดมสังวรวิทยา หลวงปู่หลอ ท่านเล่าว่า อดีตที่ผ่านมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้มองเห็นการเรียนของลูกหลานบ้านหนองแซง บ้านโนนสะอาดและบ้านอาสารักษาดินแดนไม่มีโรงเรียน จำเป็นต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนชุมชนส่องดาว ระยะทางเกินกว่า ๓ กิโลเมตร นักเรียนได้รับความลำบากในการเดินทางไปเรียน หลวงปู่หลอท่านจึงคิดหาวิธีที่จะก่อตั้งโรงเรียนขึ้น ประกอบกับในตัวอำเภอส่องดาวก็ไม่มีโรงเรียนเป็นของตัวเอง ในที่สุดก็ได้ซื้อที่ดินของนายคำบุญ แก้วขาว จำนวน ๒๐ ไร่ ในราคา ๖๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินงบประมาณจากคณะคุณอาคม ทันนิเทศ ๐๑ กรุงเทพฯ มีนบุรี
นอกจากนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ส . ส . อวยชัย สุขรัตน์ เป็นเงิน ๑,๑๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและใช้ทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา แต่ด้วยอำนาจแห่งกาลเวลา อาคารชั่วคราวหลังนั้นได้ชำรุดไปมาก หลวงปู่หลอท่านจึงคิดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยได้รับงบประมาณจากคุณเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของบริษัท กระทิงแดง จำกัด เป็นผู้บริจาคให้ เมื่อได้รับงบประมาณก็ลงมือสร้างไปเรื่อย ๆ โดยใช้แบบแปลนของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คือแบบอาคารเรียน ๒๖๑ ล /๔๑ หลังคาทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๓ ชั้น ความยาว ๘๑ เมตร กว้าง ๑๐.๕๐ เมตร รวม ๑๘ ห้องเรียน ประกอบด้วยห้องพิเศษคือหนึ่งห้องประชุมใหญ่ หนึ่งห้องพักครู และหนึ่งห้องพยาบาล งบประมาณทั้งสิ้น ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง ๑๒ เดือน เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่กลางปี ๒๕๔๙ กำหนดเสร็จกลางปี ๒๕๕๐ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์ได้อีกด้วย ปัจจุบันโรงเรียนอุดมสังวรวิทยาเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ประมาณ ๑๐๐ กว่าคน มีครูอาจารย์ ๘ คน และนับเป็นผลงานที่สำคัญของท่านหลวงปู่หลออีกชิ้นหนึ่ง นอกจากนี้หากเห็นว่าสิ่งใดสมควรที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์อย่างไรก็ได้ช่วยเหลือไปตามกำลังความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามที่อยู่ใกล้เคียงก็ดี โรงเรียนก็ดี ทางราชการก็ดี ได้ช่วยเหลือเรื่อยมา
ปัจจุบัน พระครูอุดมญาณโสภณ (หลวงปู่หลอ นาถกโร) ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร สิริอายุ ๗๘ พรรษา ๕๗
ที่มา :ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://watthamphuang.com