วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท อ.เกาะคา จ.ลำปาง

ประวัติ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท อ.เกาะคา จ.ลำปาง

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดสําราญนิวาส

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดสําราญนิวาส จังหวัดลําปาง และยังเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีจริยาวัตรงดงาม เจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

ธรรมะที่เกิดขึ้นกับความรู้สึก ภายในจิตใจของท่าน เมื่อครั้งสมัยเป็นฆราวาส อายุ ๑๗-๑๘ ปี ก็เพราะท่านได้รับหนังสือวิธีปฏิบัติทางจิต คือ “หนังสือพระไตรสรณคมน์” ที่แต่งโดย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ความซาบซึ้งในธรรม ก็มีอํานาจนําจิตใจเข้ามาตั้งแต่บัดนั้น

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีความมานะอดทน ฝึกฝนจิตใจ จนมีความแก่กล้าในธรรม จนเป็นที่ยอมรับของบรรดาเพื่อนพระสหธรรมมิกด้วยกัน ตลอดจนถึงประชาชนชาวพุทธทุกคน ต่างก็มีความเคารพนับเนื่อง เข้านมัสการอยู่ไม่เคยขาด

นอกจากนี้แล้ว ท่านยังเคยได้ออกติดตามครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน ออกเผยแพร่ธรรมทางภาคใต้ ซึ่งมีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นหัวหน้าคณะนําไป

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเป็นกําลังสําคัญองค์หนึ่งในสายของ “กองทัพธรรม” ท่านเคยกล่าว เป็นส่วนตัวไว้ดังนี้ว่า

“ในประเทศไทยนี้ ที่พระพุทธศาสนา และแนวการปฏิบัติธรรมรุ่งเรืองขึ้นมาในทุกภาค ก็เพราะพระธุดงค์ในสายของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อย่างเช่นภาคเหนือนี่ สมัยที่หลวงปู่มั่นและพระธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสาน เดินธุดงค์มาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ชาวภาคเหนือตลอดจนถึงชาวดอยชาวเขา ต่างก็รู้จักพระพุทธศาสนา และการกระทํากรรมฐานได้หมด

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ บันทึกภาพร่วมกันหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งพระศาสดา ญสส. (รุ่นแรก) เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕
แถวนั่ง จากซ้าย
1. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพพต จ.หนองคาย
2. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก จ.สกลนคร
3.หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น
4.หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม จ.สกลนคร
5.พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย จ.สกลนคร
6.พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่
7.หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล จ.สกลนคร
8.พระอาจารย์จันดี เขมปัญโญ วัดศรีสะอาด จ.สกลนคร

แถวยืน จากซ้าย
1. หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา
2.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง
3.พระพรหมวชิรญาณ (พระมหาประสิทธิ์ เขมังกโร) วัดยานนาวา กรุงเทพฯ

ไม่ว่าท่านจะโคจรไป หรือพักบําเพ็ญเพียรในที่แห่งใด ที่นั้นจะมีคนเข้าฟังธรรมขึ้นมาก เท่ากับชักจูงจิตใจ เข้าสู่กระแสสว่างของชีวิต ได้อย่างแท้จริง

ความจริงคนไทยเรานี่ ก็มีความพร้อมอยู่แล้วในเรื่อง “พระศาสนา” แต่ขาดความจูงจิตใจให้ ถึงขั้นละเอียดอ่อน

เมื่อครูบาอาจารย์ออกเผย แพร่ธรรมปฏิบัติ ธรรมอันเป็นขั้นละเอียด พร้อมกับได้ฟังธรรม ตามความเป็นจริง จึงได้ผล ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้นะ”

ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ เดิมท่านมีชื่อว่า หลวง สอนวงศ์ษา เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ปีระกา ณ หมู่บ้านบัว ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

บิดาชื่อ นายสน สอนวงศ์ษา มารดาชื่อ นางสียา สอนวงศ์ษา ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ในจํานวน ๗ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๔ อาชีพทํานา

แต่สมัยเป็นเด็ก ท่านอ่อนในการเรียน คือ เรียนไม่เก่งเหมือนเพื่อน ๆ ถึงกระนั้นท่านก็ยังพยายามศึกษาไป จนจบประถมศึกษา

วงศ์ญาติของท่านหลวงปู่หลวง นี้ บรรพบุรุษเป็นชาวเผ่าภูไท ได้อพยพมาจากนคร เวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งก็ ได้อพยพมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว

หลวงปู่หลวง สมัยเป็นฆราวาส ท่านได้อยู่ช่วยบิดามารดา ทํานา ทําไร่ มาโดยตลอด เพราะท่านในฐานะเป็นพี่ชายคนโต ที่มีน้องเล็ก ๆ อีก ๖ คน

ต่อมาอายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านได้บรรพชา ฃอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดศรีรัตนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในสังกัดมหานิกาย และที่วัดนี้ เจ้าอาวาสเป็นลุงของ ท่านด้วย

การบวชในครั้งนี้ ท่านได้ศึกษาวิชาการหลายสิ่งหลายอย่าง ด้วยเจ้าอาวาสในศักดิ์เป็นลุง มีวิชาอยู่บ้างพอสมควร นอกจากนี้แล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และหัดนั่งกรรมฐานภาวนา โดยอาศัยหนังสือ “แบบ ถึงพระไตรสรณคมน์” ของท่าน พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จนบังเกิดความอัศจรรย์ในธรรม จนบังเกิดศรัทธาชีวิตเพศแห่งพระศาสนา

ทางด้านพระปริยัติธรรม หลวงปู่หลวง กตปุญโญ สามารถสอบได้นักธรรมตรี-โท-เอก และ พระธรรมบาลี

ต่อมาครูบาอาจารย์ เจ้าอาวาส ต่างก็ได้ลาสิกขาบทเสียหมด ท่านพระอาจารย์หลวง จําต้องอยู่เป็นสมภารเจ้าวัด ในพรรษาที่บวชเป็นพระมหานิกายนั้น และยังได้เป็นครูสอนนักเรียน เป็นเจ้าคณะตําบลอีกด้วย

ในปีต่อมา หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้เดินทางมาเยี่ยมบ้าน (หลวงปู่สิม ก็ดี หลวงปู่แว่น ธนปาโล ก็ดี ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านเล่าว่า เป็นญาติพี่น้องกันและเป็นคนบ้านเดียวกัน)

ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ มองเห็นปฏิปทาอันงดงาม ไม่ว่าจะเดิน จะพูด จะกระทําสิ่งใดก็ดูถูกอกถูกใจเป็นยิ่งนัก จึงพอใจในเรื่องออกเดินธุดงค์ปฏิบัติภาวนา ธรรม ท่านหลวงปู่หลวง จึงขอศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านด้วย

ครั้นเมื่อ หลวงปู่สิม เดินทางกลับเชียงใหม่แล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติอยู่คนเดียว ในวัดป่าแห่งหนึ่ง

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ

ต่อมา ท่านได้ลาออก จากการเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตําบล ตําแหน่งงานต่าง ๆ ออกจนหมดสิ้น เพื่อมุ่งปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียว ขณะนั้นอายุของท่านได้ ๓๕ ปี พรรษาที่ ๘ ครั้งนั้น ท่านมีฉายาว่า “ขันติพโล

ภายหลังท่านได้แปรญัตติเป็นพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพแล้ว ณ วัดพระเชตวัน

 โดยมีท่านพระครูธรรมมาภิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ฉายาว่า “กตปุญโญ” ฝ่ายธรรมยุตนิกาย

หลวงปู่แว่น ธนปาโล กับ หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ
ด้านหน้าทางเข้าทัชมาฮาล เมืองอักรา ประเทศอินเดีย
เมื่อเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓

เมื่อได้แปรญัตติแล้ว ท่านได้ออกเดินธุดงคกรรมฐานร่วม กับ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ท่านพระอาจารย์น้อย เป็นต้น

นอกจากนั้น ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานกับครูบาอาจารย์ กับหลวงปู่สิม, ท่านพ่อลี, อาจารย์ถวิล (วัดยางระหง) ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะ เดินทางไปเผยแพร่ธรรมในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย

(จากซ้าย) หลวงปู่หลวง กตปุญโญ , หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม , หลวงปู่แว่น ธนปาโล

ท่านหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ท่านได้ดําเนินจิตเข้าสู่องค์ภาวนาธรรม มีความสันโดษ ชอบแหล่งสงบแห่งจิตใจ มากกว่ายศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านจึงกล้าออกแสวงหาโมกขธรรมเพียงอย่างเดียว ด้วยจิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง สมกับความตั้งใจของท่าน คือ ดําเนิน จิตใจแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา

โดยไม่คํานึงถึงภยันตราย และอุปสรรคนานัปการ อย่างยอม ตายถวายชีวิต

เพราะชีวิตนี้ท่านได้มอบให้ พุทธศาสนาเสียแล้ว

แหละจักต้องทําทุกสิ่งทุก อย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งคําว่า “บุตรของตถาคต”

 พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลา ๐๑.๑๐ น. ซึ่งตรงกับวันปวารณาเข้าพรรษา ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ ๘๒ ปี