วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่สุภา กันตสีโล
วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กันตสีโล) วัดวัดคอนสวรรค์ อริยสงฆ์ห้าแผ่นดิน พระเถระที่มีอายุยืนกว่า ๑๑๙ ปี แห่งเมืองสกลนคร

๏ ชาติภูมิ
พระมงคลวิสุทธิ์ หรือ หลวงปู่สุภา กันตสีโล นามเดิมชื่อ “สุภา วงศ์ภาคำ” วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก ณ บ้านบ่อคำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร บิดาชื่อ “ขุนพลภักดี” ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคำบ่อ และมารดาชื่อ “นางสอ วงศ์ภาคำ” มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ
๑. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
๒. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ – มรณภาพ)
๓. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
๔. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
๕. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
๖. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล (มรณภาพ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖)
๗. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
๘. นางกา วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๘ ขวบ ชีวิตในบรรพชิตของท่านเกินกว่ากึ่งหนึ่งใช้ไปกับการธุดงค์ และบำเพ็ญธรรมตามป่าเขาลำเนาไพร เป็นเวลากว่า ๔๕ ปี และเกือบทั้งหมดเป็นไปเพื่อปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง วิชาความรู้ในปฏิปทาจากประสบการณ์ของท่านมีมากมาย ทั้งทางโลก และทางธรรม

ในวัยหนุ่ม ท่านชอบเล่าเรียนศึกษา ได้ยินว่าที่ใดมีพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม และวัตรปฏิบัติดี ท่านก็มักจะไปขอเล่าเรียนด้วย อาทิ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อโอภาสี ฯลฯ

ท่านออกธุดงค์จากภาคอีสาน สู่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก จนมาถึง จ.ภูเก็ต

เนื่องจากในขณะที่หลวงปู่เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในป่าในถ้ำบุหลันแดง เขาตะนาวศรี จ.กาญจนบุรี ได้มีเทพองค์หนึ่งมาบอกกับหลวงปู่ว่า ได้รับบัญชาจากเทพเบื้องสูงให้มาแจ้งกับหลวงปู่ว่า มีชนกลุ่มหนึ่งที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งไม่ได้นับถือศาสนาอะไรเลย มาเป็นพันๆ ปี มีแต่การกราบไหว้ผีสางนางไม้ วิญญาณต่างๆ ไม่มีผู้ใดที่สามารถเปลี่ยนจิตใจชนกลุ่มนี้ให้หันมานับถือศาสนาพุทธได้ มีแต่หลวงปู่รูปเดียวเท่านั้น ที่จะทำได้ จึงขอให้หลวงปู่เดินทางไปที่ จ.ภูเก็ต

หลวงปู่จึงได้เดินธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ถึง จ.ภูเก็ต ปี พ.ศ.๒๕๐๑ จากนั้นท่านได้นำหลักธรรมคำสอน และวิธีการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า อบรมสั่งสอนแนะนำชมกลุ่มนั้น คือ “ชาวเล” หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “กลุ่มชนไทยใหม่” อยู่ที่เกาะสิเหร่ ปัจจุบัน ชนกลุ่มนี้ได้หันมานับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง

เนื่องจากการสร้าง “วัดเกาะสิเหร่” เป็นภาระที่หนักมาก และต้องหาทุนทรัพย์ ท่านจึงต้องเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพฯ และวัดเกาะสิเหร่ เป็นประจำ

ต่อมาหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสจอมอาคม จากสำนักเขาอ้อ คือ อาจารย์ชุม ไชยคีรี และอาจารย์อุทัย ดุจศรีวัชร ซึ่งมีความศรัทธาในหลวงปู่มาก จึงให้การช่วยเหลือ โดยร่วมกันสร้างวัตถุมงคล “พระเสด็จกลับ” เพื่อนำปัจจัยสร้างวัดเกาะสิเหร่

ปัจจุบัน “พระเสด็จกลับ” เป็นที่นิยมของศิษยานุศิษย์อย่างกว้างขวาง และมีการเช่าบูชาในราคาแพง

เมื่อสร้างวัดเกาะสิเหร่สำเร็จแล้ว หลวงปู่สุภาได้ธุดงค์ขึ้นสู่ภาคเหนือ จนถึงค่ายทหารที่เขาค้อ สมัยที่ต้องต่อสู้กับพวก ผกค. หลวงปู่ได้พักอยู่ในค่ายทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ตลอดจนสร้างเครื่องรางของขลัง ให้แก่บรรดาทหารหาญ ไว้คุ้มครองภัยโดยทั่วกัน

หลังจากนั้น ท่านได้ธุดงค์กลับบ้านเกิดที่ จ.สกลนคร และออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ จนกระทั่งกลับไปสู่ จ.ภูเก็ต อีกครั้งหนึ่ง บรรดาลูกศิษย์ที่เคยรู้จักกันมาก่อน จึงได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่อยู่กับที่ โดยได้สร้างสำนักสงฆ์เทพขจรจิต (ตามชื่อเจ้าของที่ดิน) ขึ้นที่เขารัง เพื่อให้หลวงปู่ได้พำนักตลอดไป

หลวงปู่ได้พัฒนาสำนักสงฆ์ จนได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

ต่อมา หลวงปู่ได้ดำริที่จะสร้างสถานปฏิบัติธรรม สำหรับแม่ชีที่มาบวชเรียน แต่สถานที่ที่เขารังคับแคบมาก จึงต้องหาสถานที่ตั้งวัดแห่งใหม่ บนเนื้อที่ ๓๘ ไร่ที่ ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต คือ วัดสิลสุภาราม (ได้รับพระราชทานชื่อวัดจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)

วัดสิลสุภาราม มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยหลวงปู่ได้ทำหน้าที่สงเคราะห์ญาติโยมที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าทางจิตใจ หรือแม้ผู้ที่ถูกคุณไสย ทั้งยังเป็นวิปัสสนาจารย์ อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ในการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งมีอยู่มากมาย

ทั้งนี้ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ด้วยวัยที่ชราภาพมากขึ้นประกอบกับสุขภาพของหลวงปู่สุภาเริ่มที่จะไม่ค่อยที่จะแข็งแรง จึงต้องการที่จะกลับมาพักผ่อนที่จังหวัดสกลนครซึ่งเป็นบ้านเกิด โดยได้สั่งให้พระอาจารย์ดาและแม่ชีเปียหลานแท้ๆ เป็นผู้ที่ดูแลปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดมายาวนานตลอดและเป็นผู้ที่หลวงปู่ไว้วางใจให้พาเดินทางจากหมู่ที่ ๖ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น

วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

วัดคอนสวรรค์แห่งนี้เป็นวัดหนี่งในจำนวน ๓๙ วัดที่หลวงปู่ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลายาวนานในการครองเพศบรรพชิตเกินร้อยปีและที่วัดนี้ยังเป็นวัดบ้านเกิดด้วย

ส่วนคำสอนที่หลวงปู่บอกลูกศิษย์เป็นประจำ คือ “กินน้อย นอนน้อย รักสันโดษ” และ “ถ้าเสียสัตย์ ก็เสียศีล เสียศีลแล้ว ธรรมก็ไม่บังเกิด” และ “ฆ่าจิตของเราให้มันตาย อย่าให้มีโกรธ อย่าให้โลภ อย่าให้มีหลง” เป็นอมตะวาจาของหลวงปู่สุภา ที่บอก และสอนลูกศิษย์เป็นประจำ

รูปเหมือน หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
รูปเหมือน หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดวัดคอนสวรรค์ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

๏ มรณภาพ
หลวงปู่สุภา กันตสีโล ได้ละสังขารลงเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ตรงกับแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ กุฏิภายในวัดคอนสวรรค์ ต.ค้อเขียว อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร สิริอายุรวม ๑๑๗ ปี ๑๑ เดือน ๑๕ วัน ภายหลังเข้ารับการรักษาตัวจากอาการอาพาธที่โรงพยาบาลสกลนคร นานกว่า ๓ เดือน ทั้งนี้หลวงปู่สุภา เริ่มอาพาธมาตั้งแต่ ๒ ปีที่ผ่านมา ด้วยอาการโรคชราภาพมีการเข้าออกรับการรักษาอยู่ตลอดกระทั่งล่าสุดมีปัญหาลิ้นหัวใจรั่วและน้ำท่วมปอด

ท่านอยู่ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์นับตั้งแต่สามเณรจนถึงมรณกาลเป็นระยะเวลา ๑๐๙ ปี นับรวมพรรษาที่ท่านบวชเป็นพระภิกษุในพรรษานี้เป็นพรรษาที่ ๙๗

นับเป็นเรื่องยากที่จะมีพระภิกษุในบวรพุทธศาสนายุคใดยุคหนึ่งที่จะมีอายุวัฒนมงคลยั่งยืนมาได้ยาวนานเหมือนหลวงปู่สุภานี้

● ด้านวัตถุมงคล
สำหรับวัตถุมงคลที่ หลวงปู่สุภา กันตสีโล สร้างนั้นมีจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหาที่จะมีไว้บูชา แต่ที่เป็นที่นิยมมาก ก็มี “พระเสด็จกลับ” ซึ่งเป็นวัตถุมงคลที่ทำขึ้นเป็นครั้งแรก ที่วัดเกาะสิเหร่

ขุนแผนเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา เนื้อดำ พิมพ์ใหญ่ ปี ๒๕๐๖
ขุนแผนเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา เนื้อดำ พิมพ์ใหญ่ ปี ๒๕๐๖
ขุนแผนเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา กันตสีโล เนื้อดำ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๖
ขุนแผนเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา กันตสีโล เนื้อดำ พิมพ์เล็ก ปี ๒๕๐๖

และยังมี เหรียญกลมรุ่นแรก หลวงพ่อสุภา กันตสีโล สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๔ เหรียญรุ่นนี้ วัดเกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง ซึ่งวัดเกาะสิเหร่เป็นหนึ่งใน ๓๙ วัดที่หลวงปู่สุภาสร้างขึ้น เพื่อหารายได้ในการพัฒนาวัด สร้าง ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง (แจกกรรมการ) จัดสร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้าง ๓,๐๐๐ เหรียญ

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดเขารัง จ.ภูเก็ต
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่สุภา กันตสีโล วัดเขารัง จ.ภูเก็ต

ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่สุภาครึ่งองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “หลวงพ่อสุภา
ด้านหลังเหรียญ ไม่มีขอบเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ธงรูปสามเหลี่ยม มีคำว่า “อุ” ล้อมรอบ

ทุกวันนี้ กลายเป็นอีกเหรียญวัตถุมงคลที่หายาก

นอกจากนั้น ยังมี แมงมุมเรียกทรัพย์ จระเข้เฝ้าทรัพย์ สำหรับวิชาแมงมุมมหาลาภ เป็นตำราที่หลวงปู่สุภาได้เรียนมาจากหลวงปู่ศุข โดยนำแร่ธาตุ หรือขดไม้สน มาผูกเป็นแมงมุมพร้อมลงอักขระ สวดคาถากำกับลงไป เมื่อนำเอาไปไว้ในร้านค้าแห่งใด คนจะเข้าร้านไม่ขาดสาย พ่อค้าแม่ค้าที่เปิดร้านขายของไม่ต้องไปเร่ขาย เปรียบเทียบแมงมุมซึ่งไม่ใช่นักล่าที่แสวงหาชีวิตของผู้อื่นกินเป็นอาหาร อาหารของแมงมุมเป็นอาหารที่หมดอายุขัยแล้ว เพราะมันจะชักใยไว้ในที่ที่เหยื่อมองเห็น ไม่ได้ซ่อน หรือดักไว้ในที่ลับตา เหยื่อจะวิ่งเข้ามาติดใยโดยไม่ต้องออกไปวิ่งไล่หาเหยื่อนั่นเอง ส่วนจระเข้อาคม เป็นของขลังที่มีมาแต่สมัยโบราณ จระเข้ที่ว่านี้แกะสลักมาจากไม้ทองหลางกิ่งที่หันไปทางทิศตะวันออกเท่านั้นแล้วลงอักขระ จากนั้นสวดยันต์ปลุกเสกแล้วติดไว้ที่หน้าประตู หลวงปู่สุภา จึงได้ขอวิชาเป็นที่มาของการทำจระเข้มาให้บูชากัน จระเข้อาคมมีสรรพคุณคุ้มครองป้องกันอันตรายจากโจรผู้ร้ายได้ผลดี นอกจากนั้น ยังมีวัตถุมงคลอื่นๆ อีกจำนวนมาก